สรุปเหตุการณ์ใน ซีเรีย กลุ่มกบฎโค่นรัฐบาลอัล-อัสซาด ยึดเมืองหลวงใน 10 วัน

Loading

  เหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศซีเรียดูจะหายไปจากหน้าสื่อพักใหญ่ จนหลายคนอาจคิดไปว่าสถานการณ์สงบลงแล้วจริง ๆ แต่ล่าสุดกลับปะทุขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อพันธมิตรกลุ่มกบฏซีเรียนำกำลังบุกยึดเมืองอเลปโป เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศในวันที่ 27 พ.ย. 67   ก่อนจะเดินหน้าปฏิบัติการรุกคืบอย่างต่อเนื่อง และสามารถยึดกรุงดามัสกัส เมืองหลวงของประเทศได้ในวันที่ 8 ธ.ค. 67 ทำให้ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน หลบหนีออกนอกประเทศ   ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์ซีเรียนี้ เกิดขึ้นในเวลาเพียง 10 วันเท่านั้น แต่จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทั้งหมดมาจากไหน ทำไมรัฐบาลถึงถูกโค่นได้ง่ายดายนัก และอนาคตของซีเรียจะเป็นอย่างไร ทีมเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์สรุปมาให้อ่านกัน     การเมืองใน “ซีเรีย” และจุดเริ่มต้นสงคราม   ซีเรียเป็นประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง มีชายแดนทางเหนือติดกับตุรกี ทางใต้ติดกับจอร์แดน ทางตะวันออกติดกับอิรัก และทางตะวันตกติดกับเลบานอน อิสราเอล และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีประชากรราว 20.6 ล้านคน   ซีเรีย มีรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐภายใต้การปกครองโดยทหาร (ตั้งแต่ ค.ศ.1964) โดยอยู่ภายใต้การนำของตระกูลการเมือง “อัล-อัสซาด” มายาวนานกว่า 53…

คุยกับ ‘นักวิจัย AI ไทย’ พัฒนา ‘Sovereign AI’ ให้พึ่งพาตนเองได้จริง

Loading

    ดีลยักษ์ใหญ่ของ สยามเอไอ (SIAM AI) ที่ลงทุนซื้อชิป NVIDIA H100 และได้เชิญ เจนเซ่น หวง ผู้ก่อตั้ง เอ็นวิเดีย (Nvidia) มาเยือนประเทศไทย ได้ปลุกกระแสปั้นไทยเป็นผู้นำการประมวลผล AI ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   แต่เส้นทางการไปสู่ดาต้าเซนเตอร์ระดับภูมิภาคนั้นไม่ง่ายและไม่ถูก หนึ่งในนักวิจัย AI ไทยที่สัมผัสชิป เอ็นวิเดียตั้งแต่รุ่นแรก ได้วิเคราะห์โอกาสและความท้าทายของไทยที่ต้องเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน AI ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้อย่างน่าสนใจ   รศ.ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์ เจ้าของเพจ Carbonoi หรือ อ.ฝน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และรองคณบดี สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า ย้อนไปตั้งแต่ปี 2563 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าแรกที่ลงทุนซื้อ NVIDIA DGX A100 มูลค่าหลายล้านบาทมาใช้ในงานวิจัย     คุยกับ ‘นักวิจัย AI ไทย’ พัฒนา…

‘แฮ็กเกอร์’ ถูกเปิดโปงประวัติการโจมตีทางไซเบอร์ ไทยไม่รอด!

Loading

  ปัจจุบันแฮ็กเกอร์คือปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยมีการเลือกใช้และพัฒนาวิธีและกลยุทธ์ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งเป้าการโจมตีไปที่การโจรกรรม การทำให้หยุดชะงัก และ ผลประโยชน์ทางการเงิน เป็นหลัก ไม่นานมานี้มีการออกมาเผยแพร่ชุดเครื่องมือของแฮ็กเกอร์ โครงสร้างและกระบวนการการโจมตี และยังมีข้อมูลการก่อเหตุต่างๆ โดยแก๊งแฮ็กเกอร์นี้รู้จักกันในนามของ Dark Cloud Shield จุดเด่นคือ ใช้เครื่องมือที่มีความซับซ้อนออกลาดตระเวน   อย่างเช่น WebLogicScan – เครื่องสแกนช่องโหว่ WebLogic ที่ใช้ Python, Vulmap – ใช้ประเมินช่องโหว่ของเว็บ Xray – สแกนช่องโหว่ของเว็บไซต์โดยเฉพาะ, Dirsearch ใช้ค้นเส้นทาง URL โดยแก๊งนี้เลือกใช้วิธีการโจมตีหลักผ่านการใช้ประโยชน์จากการติดตั้งซอฟต์แวร์ “Zhiyuan OA” ผ่านการโจมตี “SQL insert” ที่กำหนดเป้าหมายไปที่องค์กรเภสัชกรรมของเกาหลีใต้ หลังจากการแสวงหาประโยชน์จากส่วนต่างๆ ในระบบแล้ว แฮ็กเกอร์ใช้เครื่องมือขั้นสูงในการยกระดับสิทธิ์ เช่น “Traitor” สำหรับระบบ Linux และ “CDK” สำหรับสภาพแวดล้อม “Docker” และ “Kubernetes”  …

ภัยไซเบอร์ยังน่ากลัว!ชี้ธุรกิจไทยโดนคุกคามทางเว็บ 5,811 รายการต่อวัน

Loading

    “แคสเปอร์สกี้” ชี้ธุรกิจไทยโดนภัยคุกคามทางเว็บเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน! เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 1.4 แสนต่อวัน   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ (web threat) หรือภัยคุกคามที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต (internet-born threat) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นทั้งศูนย์กลางการเติบโตและเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์   โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โซลูชันความปลอดภัยสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บในภูมิภาคมากกว่า 26 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วนับเป็นความพยายามโจมตีทางเว็บ 146,944 รายการต่อวัน ประเทศไทยพบความพยายามโจมตีทางเว็บทั้งหมด 1,057,732 รายการ คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดจากช่องโหว่ของผู้ใช้ ผู้พัฒนา ผู้ดำเนินการบริการเว็บ รวมถึงตัวบริการเว็บเอง ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือสาเหตุใด ภัยคุกคามทางเว็บอาจสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและองค์กร     บริษัทและองค์กรธุรกิจในมาเลเซียอยู่ในอันดับสูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ 19,615,255 รายการ…

กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับโกหก และช่วยสอบสวนคดีความ

Loading

  กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับ “โกหก” และช่วยสอบสวนคดีความ   “การโกหก” เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงนิสัยของมนุษย์อย่างหนึ่ง คือ ช่างเรียนรู้และช่างปรับตัว เมื่อใดก็ตามที่โกหก เราสามารถสังเกตโดยวิธีง่าย ๆ ด้วยการสังเกตสีหน้าและกิริยาท่าทาง หากพยายามจะปกปิดความจริง จะมีอาการหัวใจเต้นแรงหรือเลือดลมสูบฉีด อาการเหล่านี้เกิดจากความกลัวที่อาจถูกจับเท็จได้   หากแม้โกหกสำเร็จไปแล้วโดยเข้าใจว่าไม่มีผู้ใดทราบว่าตนพูดเท็จ ก็อาจจะหายใจแรงอย่างโล่งอก แต่ถ้าถูกจับเท็จได้ก็อาจรู้สึกร้อนหน้า กัดริมฝีปาก หลบสายตา พูดเสียงอ่อย หรือฝืนหัวเราะ ตลอดจนเคลื่อนไหวมือหรือเท้าที่มีลักษณะแสดงความไม่สบายใจ   มนุษย์ (ที่ชอบโกหก) เมื่อทราบว่ากิริยาอาการเหล่านั้น เป็นอาการ “เลิ่กลั่ก” จนทำให้ “โป๊ะแตก” เขาก็เรียนรู้และปรับตัว พยายามควบคุมสติ ควบคุมร่างกาย เพื่อปิดบังอาการเหล่านั้น และเมื่อไม่สามารถจับเท็จด้วยวิธีการดังนี้ได้แล้ว มนุษย์ก็เรียนรู้ได้ว่าจะต้องหากลวิธีใหม่มาจับเท็จ นั่นจึงนำไปสู่การสร้าง “เครื่องจับเท็จ” (Lie-Detector)   ตั้งแต่โบราณกาล มนุษย์ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อพิสูจนผู้ต้องสงสัยว่าใคร “โกหก” ใครเป็นผู้กระทําความผิด หรือเป็นผู้บริสุทธิ์   ตุลาการจีนเคยใช้ “สรีรวิทยา”…

ไทยเข้าวิน! เจ้าภาพประชุม AI โลก วางกรอบถกจริยธรรม-ความยั่งยืน

Loading

    ยูเนสโกเลือกไทย! จัดประชุมถกจริยธรรม AI ระดับโลกครั้งแรกในเอเชีย-แปซิฟิก รวมพลผู้นำ-ผู้เชี่ยวชาญ 194 ประเทศ แห่ร่วมงาน มิ.ย.68 ตั้งเป้าผู้เข้าร่วม 800 คน   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเดินหน้าสร้างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2567   รายงานจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า องค์กรในประเทศไทยมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นถึง 73.3% สูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 20% สะท้อนถึงความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม   ทั้งนี้ รัฐบาลยังผลักดันแนวทางสำคัญในการกำกับดูแล AI ด้วย “คู่มือแนวทางการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล” และ…