ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสมีสายลับอยู่ในป้อมพระจุลฯ หรืออย่างไร ได้แปลนป้อมไทยจากไหน?

Loading

เรือรบฝรั่งเศสสามลำจอดทอดสมอคุมเชิงอยู่ด้านหน้าสถานทูตฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112   จากการศึกษาตามบันทึกและปูมเรือของฝรั่งเศสในช่วงก่อนการเข้าตีฝ่าปากน้ำเจ้าพระยานั้น จะพบข้อมูลที่เรือลูแตงของฝรั่งเศสได้พยายามมาจอดบริเวณปากน้ำ หลังจากเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม และไม่ยอมถอนออกไปตามกำหนดวันที่ 21 มีนาคม รวมทั้งยังแอบสังเกตการณ์ในวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทางชลมารค และขึ้นตรวจการก่อสร้างที่ ป้อมพระจุลฯ ในวันที่ 10 เมษายน ร.ศ. 112 อย่างใกล้ชิด และยังติดตามดูการเสด็จตรวจป้อมผีเสื้อสมุทรด้วย   ที่น่าสังเกตก็คือ ในเที่ยวเรือนี้ เรือลูแตงได้นำผู้บัญชาการสถานีทหารเรือไซ่ง่อนเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ด้วย จนหลังการเสด็จตรวจป้อมเมื่อวันที่ 10 เมษายน แล้ว วันที่ 11 เมษายน เรือโคแมตที่ฝ่ายสยามไม่ยอมให้ขึ้นไปจอดที่กรุงเทพฯ (เพราะเรือลูแตงยังไม่ถอนออกไป) จึงได้จอดรออยู่ที่สมุทรปราการ และรับ ผบ. สถานีทหารเรือไซ่ง่อนถ่ายลำจากเรือลูแตงกลับไปด้วย ซึ่งน่าจะเป็นที่เข้าใจว่านายทหารระดับบัญชาการท่านนี้ได้มาหาข่าวและเตรียมการที่บุกไว้ก่อนที่จะกลับไปกำหนดแผนบุกในขั้นรายละเอียด (มีการตรวจดูพื้นที่เกาะเสม็ดและบริเวณใกล้เคียง ในระหว่างการเดินเรือช่วงเดือนมีนาคม – กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ด้วย)   การพยายามบันทึกที่หมายทางเรือ และตำแหน่งเสาธงของป้อมผีเสื้อสมุทร ที่ได้มีการก่อสร้างปรับปรุงเพื่อเตรียมการติดตั้งปืนเสือหมอบแบบเดียวกับของป้อมพระจุลฯ ในขณะวิ่งเรือผ่าน…

ชีวิตน่าพิศวงของ “ออปเพนไฮเมอร์” บิดาแห่งระเบิดปรมาณู

Loading

จูเลียส โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ บิดาแห่งระเบิดปรมาณู   เมื่อเอ่ยถึงอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอานุภาพทำลายล้างมหาศาลนั้น หลายคนมักนึกถึงเหตุโศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่น คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดคิดว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้คิดค้นความรู้ทางทฤษฎีที่นำไปสู่การพัฒนาระเบิดปรมาณูนั้น คือผู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่อมรณกรรมของผู้คนเรือนแสน ในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง   อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์กลับบันทึกชื่อของ จูเลียส โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) นักฟิสิกส์รุ่นน้องของไอน์สไตน์ ชี้ว่า เขาต่างหากที่เป็นผู้มีส่วนรับผิดชอบโดยตรงต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งยังเป็นคนที่เกิดความสำนึกเสียใจอย่างมาก หลังทราบว่าอาวุธที่เขาประดิษฐ์ขึ้นได้ล้างผลาญชีวิตเพื่อนมนุษย์ไปมากมายเพียงใด   เหล่านักประวัติศาสตร์ต่างชี้ตรงกันว่า ออปเพนไฮเมอร์คือ “บิดาแห่งระเบิดปรมาณู” ตัวจริง เนื่องจากเป็นผู้บุกเบิกและดำเนินโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ที่พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลกจนสำเร็จ ทั้งยังเป็นผู้แนะนำให้รัฐบาลสหรัฐฯ รีบนำอาวุธร้ายแรงนี้ไปใช้เพื่อยุติสงครามโลกอีกด้วย   ชีวิตของออปเพนไฮเมอร์นั้นน่าพิศวง และเต็มไปด้วยความขัดแย้งในตนเอง จากเด็กอัจฉริยะที่พุ่งทะยานสู่ความสำเร็จในวงการฟิสิกส์ยุคใหม่อย่างรวดเร็ว จนเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในหมู่นักวิทยาศาสตร์รุ่นเดียวกัน มาสู่การเป็นนักวิจัยผู้ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายความมั่นคงของชาติมหาอำนาจในยุคหนึ่ง แต่ความสำเร็จนี้กลับนำพาเขาสู่วังวนความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งได้ทำลายชีวิตของเขาจนย่อยยับในที่สุด   อัจฉริยะของวงการฟิสิกส์ยุคใหม่   ออปเพนไฮเมอร์เกิดที่นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เมื่อปี 1904 ในครอบครัวชาวยิวผู้มั่งคั่งที่อพยพมาจากเยอรมนี ตั้งแต่วัยเยาว์เขามีความสนใจในวิชาธรณีวิทยาและผลึกคริสตัลเป็นพิเศษ และได้เขียนจดหมายโต้ตอบเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับเหล่านักธรณีวิทยาผู้มีชื่อเสียงอยู่เสมอ…

แคสเปอร์สกี้ เปิดข้อมูล ‘ไทย’ รั้งอันดับ 3 ของอาเซียน ‘ฟิชชิง’ ระบาดหนัก

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์เกี่ยวกับการโจมตีแบบ ฟิชชิงในไทยในปี 2565 พบและบล็อกอีเมลฟิชชิงเกือบ 6.3 ล้านรายการ ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในไทย   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดเผยรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์เกี่ยวกับการโจมตีแบบฟิชชิงในประเทศไทยในปี 2565 โดยแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกอีเมลฟิชชิงเกือบ 6.3 ล้านรายการ ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทย   ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการโจมตีด้วยฟิชชิงจำนวน 6,283,745 ครั้ง ในประเทศไทย โดยรวมแล้วแคสเปอร์สกี้ป้องกันผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ทั้งหมด 43,445,502 รายการ พบผู้ใช้ในเวียดนาม มาเลเซีย และไทย ตกเป็นเป้าหมายมากที่สุด   สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2566 มีการส่งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ จำนวน 23,616 รายการ บนเว็บไซต์ของสำนักงาน และก่อให้เกิดความเสียหายประมาณ 1.155 หมื่นล้านบาท     นายเอเดรียน…

ไทยพร้อมมั้ย?… รับมือ AI ครองโลก!

Loading

  ปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) หรือ เอไอ ได้เข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลก!!   เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ ที่ถูก “เทรน” ให้มีความสามารถเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ เช่น จดจํา แยกแยะ ให้เหตุผล ตัดสินใจ คาดการณ์ สื่อสารกับมนุษย์ ฯลฯ โดยเฉพาะการมาของ แชทจีพีที (Chat GPT)  ที่สร้างความฮือฮา ไปทั่วโลก!!   ซึ่งได้มีการนำเอไอมาประยุกต์ใช้แล้วในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน แต่การนําเอไอมาใช้โดยไม่มีการเตรียมความพร้อมและควบคุมที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การดําเนินชีวิต และสังคมส่วนรวมอย่างมาก!?!   จึงเป็นเรื่องจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจว่า การนำเอไอมาใช้นั้นถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิตามกฎหมายของประเทศ และไม่ทําให้ผู้ใดได้รับความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สิน!?!     อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยได้เตรียมพร้อม มีการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 – 2570) แต่จากผลการศึกษาและจัดอันดับความพร้อมด้านเอไอของรัฐบาลทั่วโลก (Government…

รู้ทัน Cyber Attack โจรไซเบอร์ที่ติดตามคุณไปทุกที่

Loading

  ปัญหาโจรกรรมข้อมูล การจับข้อมูลเป็นประกันเพื่อเรียกค่าไถ่ การแฮคบัญชีเพื่อขโมยเงิน ยังคงเป็นอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ หรือ Cyber Attack ที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนต้องพึงระวังให้มากและรู้ให้เท่าทันกลโกง   Cyber Attack หรือ อาชญากรรมทางไซเบอร์ คือ เป็นอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและช่องทางออนไลน์ต่างๆ   รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2565 ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศษฐกิจและสังคม ประจำปี 2565 เปิดเผยว่า     – คนไทยใช้เวลาในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยคนละ 7 ชั่วโมง 4 นาทีต่อวัน     – กิจกรรมออนไลน์ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การดูหนัง/ฟังเพลง การซื้อขายของ การทำธุรกรรม ทางการเงิน และการอ่านข่าว     – 3 อุปกรณ์หลัก (devices) ที่นิยมใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ 97.07% แท็บเล็ต…

เมื่อ Emoji ก่อให้เกิดสัญญาที่มีผลทางกฎหมาย

Loading

  เมื่อต้นเดือน ก.ค. 2566 มีคดีน่าสนใจ โดยศาลในประเทศแคนาดา ตัดสินให้ Emoji เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่งที่มีผลทางกฎหมายและเป็นบ่อเกิดของสัญญา   ข้อเท็จจริง   เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในกรณีที่โจทก์และจำเลยพูดคุยกันทางโทรศัพท์ เพื่อตกลงจะเข้าทำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตร (ต้นแฟลกซ์) ต่อมาเมื่อพูดคุยเสร็จสิ้น โจทก์ได้ส่งข้อความหาจำเลยเพื่อยืนยันการซื้อขายดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (Text Message)   โดยมีข้อความว่า “โปรดยืนยันสัญญาซื้อขายต้นแฟลกซ์” จำเลยพิมพ์ตอบกลับมาโดยใช้ Thumbs-up Emoji (สัญลักษณ์ยกนิ้วหัวแม่มือ) อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาผ่านไป จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้นำส่งต้นแฟลกซ์ตามที่ได้ตกลง   ต่อมาเมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยส่งมอบต้นแฟลกซ์ดังกล่าว จำเลยได้กล่าวอ้างว่า การใช้ส่งสัญลักษณ์ Thumbs-up Emoji นั้น เป็นเพียงการบอกให้ทราบว่าได้รับข้อความแล้ว ไม่ได้หมายว่า ยอมรับ ตกลง หรือผูกพันตามข้อความในสัญญา   ทั้งนี้ จำเลยยังได้ให้เหตุผลว่า ตนเข้าใจว่าโจทก์ “จะนำส่งสัญญาฉบับเต็มมาทางแฟกซ์หรืออีเมล เพื่อตรวจสอบอีกครั้งก่อนมีการเซ็นสัญญาซื้อขาย” ดังนั้น เพียงแค่การส่งข้อความตอบโต้ผ่านระบบ Messenger จึงยังไม่ได้แปลว่าจะตกลงขายต้นแฟลกซ์ให้โจทก์ตามที่โจทก์เข้าใจ คำถามคือ ข้อกล่าวอ้างของจำเลยฟังขึ้นหรือไม่   จากกรณีข้างต้น…