ระวังแอปดูดเงินปลอม อาละวาด อ้าง Google Play ใช้นามสกุลเว็บ .CC

Loading

สตช. แจ้งเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงของคนร้าย ส่ง sms พร้อมแนบลิ้งก์คุมมือถือ ป้องกันง่ายๆ คือ ไม่เปิดอ่าน หรือ อย่ากดลิ้งก์แปลกปลอม หากต้องการติดตั้งแอป ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Playstore หรือ App Store เท่านั้น พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ คดีหลอกลวงให้กู้เงิน คดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) นอกจากนี้ เมื่อช่วงเดือน มีนาคม 2566 – มิถุนายน 2566 สถิติคดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ อยู่ในลำดับที่ 7 แต่ช่วง 2 สัปดาห์นี้ สถิติการรับแจ้งความเพิ่มมากขึ้นจนขยับมาอยู่ลำดับที่ 4   สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ในรอบ 2 สัปดาห์…

19 ก.ค. 1947 นายพลออง ซาน บิดาแห่งเอกราช วีรบุรุษของพม่า ถูกลอบสังหาร

Loading

  นายพลออง ซาน หรืออู อองซาน เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 ที่เมืองนัตเม่าก์ บิดาคืออูเผ่า เป็นทนายความ มารดาชื่อด่อซู ผู้เป็นปู่คือ โบมีงยอง เป็นนักต่อสู้ที่รักชาติและเคยต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษ นายพลออง ซาน จึงได้สืบทอดมรดกทางจิตใจคือความรักชาติและเป็นนักต่อสู้มาจากคุณปู่   นายพลออง ซานเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์กับคนทุกคนอย่างเสมอภาค และคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของเขา คือ การเคารพในความถูกต้อง ไม่กล่าวเท็จและยึดมั่นในคุณธรรม เป็นคนที่ไม่หลงใหลในลาภยศหรือเงินทอง นายพลเป็นคนที่พูดจาเด็ดขาด การทำงานก็ตรงไปตรงมา และได้เป็นผู้นำการต่อสู้กับอังกฤษเพื่อเอกราชของพม่า โดยได้เป็นผู้นำของ “สมาคมชาวเราพม่า” หรือ “พรรคตะขิ่น” (thakin) โดยมีจุดประสงค์คือ การต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษและความต้องการเอกราชทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ   เมื่อพม่าถูกอังกฤษยึดเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ ใน ค.ศ. 1855 อังกฤษได้ปกครองพม่าโดยตรง และได้ยกเลิกระบบการปกครองเดิมของพม่า สถาบันที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจเดิมคือสถาบันกษัตริย์ที่รุ่งเรืองมาในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพม่า และยังเป็นสถาบันรักษาศิลปวัฒนธรรมและศาสนาสิ้นสุดลง การปกครองระยะเริ่มแรกคือระหว่างปี 1886-1925 อังกฤษได้ให้พม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ยกเลิกการปกครองในหมู่บ้านแบบเก่า จากเดิมที่เคยผูกขาดโดยชนชั้นสูงในหมู่บ้าน ด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านแบบหมุนเวียนกัน นำระบบเทศบาลเข้ามาใช้ตามเมืองใหญ่ๆ ทางตอนล่างของพม่า…

มธบ.เปิดพื้นที่ระดมสมองดึงกูรูร่วมถกทิศทางอนาคตโดรน

Loading

  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดพื้นที่ระดมสมองดึงกูรูร่วมถกทิศทางอนาคตโดรน ชี้ กฎหมายใหม่บินโดรนต้องมีใบขับขี่ หลายประเทศจะมีโดรนขนส่งผู้โดยสารในอีก 2 ปี วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (CADT DPU) ร่วมกับ ชมรมสถาบันการศึกษาและบุคลากรด้านการบินประเทศไทย จัดสัมมนาเรื่อง อากาศยานไร้คนขับ (Drone) กับทิศทางการกำกับดูแลของไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยมี ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน น.ต.ดร.วัฒนา มานนท์ คณบดีวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มธบ. กล่าวต้อนรับตอนหนึ่งว่า สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาบุคลากร และส่งเสริมความร่วมมือด้านอากาศยานไร้คนขับ Drone ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้ขยายไปในวงกว้างมากขึ้น เพื่อนำไปวางแผน และศึกษาต่อ รวมถึงการกำหนดทิศทางการกำกับดูแลการใช้โดรนในประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดการต่อยอดการนำโดรนมาใช้อย่างแพร่หลาย และเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป   กองทัพกับการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ   นาวาอากาศเอกทรงศักดิ์ ธรรมสาร นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำเสนาธิการทหารอากาศ กล่าวว่า บทบาทอากาศยานไร้คนขับทางการทหารและความมั่นคง โดยภารกิจทางด้านการทหาร มีการบินลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ…

องค์กรของท่านกำลังเผชิญ “ความเสี่ยงจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก” มากขึ้น โดยไม่รู้ตัวหรือไม่

Loading

    ปัจจุบันหลายๆ องค์กร ได้พึ่งพาการใช้บริการบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก (เช่น คู่ค้าทางธุรกิจ ซัพพลายเออร์ ผู้ให้บริการด้าน IT และอื่นๆ) เข้ามาช่วยในงานด้านต่างๆ มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่การใช้บริการบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกอาจส่งผลให้องค์กรต้องเผชิญความเสี่ยงในหลายด้านได้เช่นกัน   ยกตัวอย่างเช่น การใช้บริการ Cloud Computing เพื่อใช้ระบบงาน ประมวลผล และเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือข้อมูลที่มีความอ่อนไหว อาจทำให้องค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับของทางการ รวมไปถึงอีกหนึ่งความเสี่ยงซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น   นั่นคือความเสี่ยงด้านไซเบอร์ ที่องค์กรอาจถูกโจมตีและนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลลูกค้า ปัจจัยที่ทำให้องค์กรอาจต้องเผชิญความเสี่ยงด้านต่างๆ อาจมาจากหลายสาเหตุ อาทิ พนักงานขาดความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ (People) ไม่มีกรอบหรือนโยบายการบริหารความเสี่ยงฯ ที่ชัดเจน (Framework & Policy) ไม่มีระบบหรือเครื่องมือที่สนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (System/Tool)   รวมทั้งกระบวนการที่สนับสนุนการบริหารความเสี่ยงฯ ที่ยังไม่เหมาะสม (Process) ซึ่งกระบวนการในที่นี้ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก การบริหารจัดการเรื่องสัญญาที่เหมาะสม การควบคุมการเข้าถึงและความปลอดภัยของระบบหรือข้อมูลลูกค้า การประเมินผลการปฎิบัติงานและความเสี่ยงฯ อย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึง เรื่องที่ควรพิจารณาในกรณีที่มีการยกเลิกหรือสิ้นสุดสัญญา  …

ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง ป้องกันมิจฉาชีพแอบอ้างผู้ให้บริการทางการเงิน

Loading

  ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง เพื่อป้องกันการโดนหลอกโดนขโมยเงินโดยมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน ซึ่งยังระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้คำแนะนำให้คุณลองตรวจสอบ 3 สิ่งที่ต้องทำ ก่อนกู้เงินออนไลน์   ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง   1. เช็กว่าเป็นผู้ให้บริการตัวจริงหรือไม่ โดยตรวจสอบได้ที่ “เช็กแอปเงินกู้” จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย คลิกที่นี่ https://www.bot.or.th/th/involve-party-license-loan.html   2. โทรเช็กตรวจสอบกับผู้ให้บริการที่ถูกอ้างชื่อ ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ปรากฎบนเว็บไซด์ ก่อนตัดสินใจกู้เงิน   3. ตั้งสติหน่อยระวังตัวก่อน ถ้าผู้ให้กู้รายใดแจ้งให้โอนเงินก่อน ให้คิดไว้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพหลอกลวงแน่นอน   ดังนั้นใครคิดจะกู้เงินออนไลน์ อย่าลืมตรวจสอบด้วย 3 ข้อที่ดังกล่าวเพื่อไม่ให้โดนหลอก     อ้างอิง   ธนาคารแห่งประเทศไทย         ————————————————————————————————————————- ที่มา :         …

แก๊งแรนซัมแวร์ ‘Cyclops’ ช่วยอาชญากรไซเบอร์โจรกรรมข้อมูล

Loading

  ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังคงเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลของทุกหน่วยงานและองค์กร ไม่ว่าจะทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ตาม   ด้วยรูปแบบการโจมตีที่หลากหลายซึ่งได้รับการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้มีความซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับแรนซัมแวร์ที่กำลังเป็นที่สนใจในต่างประเทศอย่างแก๊งแรนซัมแวร์ Cyclops ที่ได้ออกประกาศนำเสนอมัลแวร์ที่สามารถขโมยและดักจับข้อมูลละเอียดอ่อนจากโฮสต์ที่ติดไวรัสแล้ว   และแน่นอนว่าตัวการที่อยู่เบื้องหลังการคุกคามคือ Ransomware-as-a-Service (RaaS) คือแพลตฟอร์มที่ให้บริการเช่ามัลแวร์เพื่อเรียกค่าไถ่กับเหยื่อ โดยจะมีการแบ่งผลกำไรเมื่อมีการดำเนินการแรนซัมเรียบร้อย   Cyclops ransomware มีความโดดเด่นในเรื่องการกำหนดเป้าหมายที่ระบบปฏิบัติการเดสก์ท๊อปหลักทั้งหมด รวมถึง Windows, macOS และ Linux นอกจากนี้ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อหยุดกระบวนการที่อาจขัดขวางการเข้ารหัส   โดย Cyclops ransomware เวอร์ชัน macOS และ Linux เขียนด้วย Golang ซึ่งแรนซัมแวร์ใช้โครงร่างการเข้ารหัสที่มีความซับซ้อนและผสมผสานระหว่างการเข้ารหัสแบบอสมมาตรและสมมาตร (Asymmetric and Symmetric encryption) สำหรับการโจรกรรมแบบ Go-based ออกแบบมาเพื่อ Windows และ Linux จะดักจับข้อมูลในระบบปฏิบัติการ   อาทิ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน process และไฟล์สำคัญต่าง ๆ…