“เทคโนโลยี” ที่ใช้ค้นหาแอตแลนติส และวัตถุโบราณใต้ทะเลทราย

Loading

  ในเทพนิยาย “หนึ่งพันหนึ่งราตรี” (One Thousand and One Nights) ซึ่งเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านของชาวอาหรับ และในคัมภีร์กุรอ่านของชาวมุสลิม ต่างก็กล่าวถึงเมือง Ubar ว่า เคยตั้งอยู่ในอาณาจักรอาหรับโบราณเมื่อ 5,000 ปีก่อน และเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก เพราะเป็นศูนย์กลางการค้ากำยาน อันเป็นยางไม้ที่มีกลิ่นหอม จึงเป็นที่นิยมใช้ในพิธีบวงสรวงทางศาสนาและพิธีศพ ตลอดจนถึงการใช้เป็นยาอายุวัฒนะด้วย การมีสรรพประโยชน์เช่นนี้ จึงทำให้กำยานมีคุณค่ามากประดุจทองคำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านนิยมปลูกกันมากในบริเวณเทือกเขา Al Qarah ของ Saudi Arabia และแม้แต่คัมภีร์ไบเบิลก็ยังกล่าวถึงปราชญ์จากเมือง Ubar ว่า ได้นำกำยานไปถวายเป็นของขวัญแด่ทารกเยซู เมื่อพระองค์ทรงประสูติใหม่ ๆ     ประวัติศาสตร์อาหรับยังได้จารึกอีกว่า Ubar เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงทางการค้าของชนชาติต่าง ๆ ในเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ประชากรแห่งเมือง Ubar จึงมีฐานะร่ำรวย แต่ในเวลาต่อมา พฤติกรรมของชาวเมืองตลอดจนถึงเจ้าเมืองได้เสื่อมลงมาก ความต่ำทรามของผู้คนในลักษณะนี้ได้ทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงพิโรธ จึงทรงบันดาลให้พายุทะเลทรายพัดถล่มเมือง จนหายสาบสูญไปอย่างที่ไม่มีใครได้พบเห็นเมืองอีกเลย     เรื่องเล่าขานนี้ได้จุดประกายให้บรรดานักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และนักผจญภัยทั้งหลายพยายามค้นหานคร…

สิบปีในดินแดนลี้ภัยรัสเซียของ ‘เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน’

Loading

AFP   เมื่อสิบปีก่อน เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนเปิดโปงปฏิบัติการจารกรรมของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ จากนั้นเขาต้องซ่อนตัว ลี้ภัยไปยังรัสเซีย และตอนนี้ได้ฉลองวันเกิดครบรอบ 40 ปีที่นั่น   ก่อนหน้านั้นเขาเคยยื่นเรื่องขอลี้ภัยไปลาตินอเมริกาและยุโรปด้วยเหมือนกัน แต่ไม่มีประเทศไหนรับประกันความปลอดภัยของเขาได้ รัสเซียมองเห็นประโยชน์จากกรณีของสโนว์เดนในการกล่าวหาสหรัฐฯ ว่า “สองมาตรฐาน” จึงอ้าแขนต้อนรับเขา เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ ประเทศซึ่งอ้างตัวเป็นต้นแบบของเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่กลับข่มเหงทางการเมืองกับสโนว์เดนและคนอื่น ๆ   วันพุธที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา สโนว์เดนฉลองวันเกิดครบรอบ 40 ปีพร้อมกับการได้สัญชาติรัสเซีย วันศุกร์เมื่อสิบปีก่อนเขาเดินทางถึงมอสโกด้วยเครื่องบินของสายการบินแอโรฟลอต เขาใช้เวลานานถึง 40 วันในเขตทรานสิตที่สนามบินเชเรเมเตียโว ท่ามกลางสื่อมวลชนทั่วโลกที่พยายามเข้าถึงตัวเขา ก่อนหน้านั้นไม่นานเขาได้ส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับการสอดแนมของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ และ GCHQ ของอังกฤษให้กับสื่อมวลชน   ตามคำบอกเล่าของสโนว์เดน เขาต้องการเดินทางไปยังเอกวาดอร์ โดยผ่านฮ่องกง แต่แล้วเขาต้องไปติดอยู่ที่สนามบินเชเรเมเตียโวในมอสโก หลังจากที่สหรัฐฯ ยกเลิกหนังสือเดินทางของเขา เขาไม่มีวีซ่าผ่านแดน และดูเหมือนไม่มีประเทศไหนอยากยุ่งกับสหรัฐฯ เหลือแต่รัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินเท่านั้นที่กล้าเปิดประตูบ้านต้อนรับเขา ถึงตอนนั้นสโนว์เดนก็นิ่งเงียบเกี่ยวกับการเมืองของรัสเซีย แลกกับแหล่งพักพิงที่ถูกปกปิดเป็นความลับ   หลังจากครบรอบหนึ่งปีของการลี้ภัย สโนว์เดนให้สัมภาษณ์กับเกลนน์ กรีนวัลด์-นักข่าวสหรัฐฯ ยืนยันว่าข้อมูลเกี่ยวกับการซ้อมรบที่รั่วไหลจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ…

แอปฯ “แทนใจ” เช็กตำรวจจริง-ปลอม ได้ใน 3 วินาที

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พัฒนาแอปพลิเคชัน “แทนใจ” นวัตกรรมเพื่อการสื่อสารภายในองค์กรของตำรวจ ขณะที่ประชาชนใช้ตรวจสอบได้ว่าคนนี้เป็นตำรวจจริงหรือไม่ เพียงสแกนคิวอาร์โค้ด รู้ผลภายใน 3 วินาที   พล.ต.ท.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ ผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล (ผบช.สกพ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า แอปพลิเคชัน “แทนใจ” นวัตกรรมเพื่อการสื่อสารภายในองค์กรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในเวอร์ชันแรกเปิดตัวใช้งานเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข อดีต ผบ.ตร. เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าและขับเคลื่อนไปอย่างทันสมัยในยุคเทคโนโลยี 5G จึงได้นำข้อมูลด้านกำลังพล สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการเข้าสู่ระบบดิจิทัล เพื่อแสดงผลผ่านแอปฯ แทนใจ อีกทั้งยังจับมือกับองค์กรพันธมิตรอื่น ๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), Shopee, LINE MAN Wongnai และ Minor group เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่พี่น้องข้าราชการตำรวจ และอีกก้าวของการพัฒนาด้านการสื่อสารด้วยระบบ Notification เพื่อแจ้งเตือนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจหรือข่าวสารที่สำคัญ ทำให้มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องมือรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรอย่างสร้างสรรค์…

‘ใบสั่งออนไลน์’ ของจริง-ของปลอม ดูยังไง แนะวิธีตรวจสอบจะได้ไม่โดนหลอก

Loading

  ‘ใบสั่งจราจรออนไลน์’ ตรวจสอบยังไงระหว่างของจริงกับของปลอม แนะวิธีตรวจสอบผ่านระบบ PTM จะได้ไม่หลงกลมิจฉาชีพ   ‘ใบสั่งจราจรออนไลน์ปลอม’ กำลังระบาด หลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พบว่า มีมิจฉาชีพหัวใส แอบอ้างเป็นส่วนราชการหลอกลวงประชาชนในรูปแบบการแอบอ้างเรื่องการชำระค่าปรับต่าง ๆ โดยหนึ่งในนั้นคือใบสั่งจราจร ที่ออกโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีประชาชนหลงเชื่อและยอมโอนเงินจ่ายให้กับมิจฉาชีพ   นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้บริการของภาครัฐสะดวก รวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎหมายผลักดันรัฐบาลดิจิทัล   พร้อมจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตลอดจนมอบหมายให้หน่วยงานรัฐพัฒนาแอปฯ และบริการออนไลน์จำนวนมากเพื่อพัฒนาภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ทั้งนี้ หน่วยงานราชการหลาย ๆ หน่วยงานได้สานต่อนโยบาย พัฒนารูปแบบการให้บริการแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน   นางสาวรัชดา กล่าวว่า เพื่อให้รู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะวิธีสังเกตใบสั่งจราจรอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดส่งทางไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถถึงบ้าน ว่าฉบับไหนเป็นของจริง-ของปลอม   วิธีดูใบสั่งจราจรของจริง…

เปิดมุมมองความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

    ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการจัดงาน Trend Micro Risk to Resilience World Tour โดยมีผู้เชี่ยวชาญได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมไปถึงการวางกลยุทธ์รับมือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน จึงอยากมาแชร์มุมมองต่างๆ เพราะปัจจุบันเรื่องภัยไซเบอร์นับว่าเป็นปัญหาใกล้ตัวทุกคนเป็นอย่างมาก   เริ่มกันที่ ชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (CISO) กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เล่าถึงสถานการณ์ที่ธุรกิจต้องรับมือกับการโจมตีว่า ในวันที่ธุรกิจธนาคารต้องยกระดับ ดิสรัปต์ตัวเองเข้าสู่ดิจิทัล เพื่อลดต้นทุนและเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ทุกธนาคารต้องรับมือการโจมตีในรูปแบบคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น มัลแวร์ แรนซัมแวร์ หากใครมีจุดอ่อนหรือช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เห็นก็จะถูกโจมตีทันที ขณะที่การโจมตี DDoS ยังมีอยู่ตลอดและไม่ได้ลดลง   ขณะที่บางองค์กรถูกโจมตีผ่าน Third Party เพราะเปิดให้พนักงานนำเครื่องมือส่วนตัวมาเชื่อมกับเน็ตเวิร์กในองค์กร หรือการนำเครื่องจากองค์กรกลับไปทำงานต่อที่บ้าน ซึ่งองค์กรจะต้องตระหนักว่าการทำงานลักษณะนี้มันปลอดภัยหรือไม่ และองค์กรพร้อมรับมือจากการถูกโจมตีรูปแบบนี้ไหม หรือในปัจจุบันที่ ChatGPT เข้ามาช่วยให้คนทำงานง่ายขึ้น ที่ผ่านมามีหลายองค์กรนำโค้ดหรือช่องโหว่องค์กรไปถาม ChatGPT ว่าสิ่งที่ทำอยู่มันดีหรือไม่ เพียงเพราะอยากให้ ChatGPT ช่วยแนะนำ กลับกลายเป็นว่าข้อมูลบริษัทของตัวเองรั่วไหลออกไปสู่โลกออนไลน์…

RDP Honeypot อ่วม ถูกบุกโจมตี 3.5 ล้านครั้ง (1)

Loading

    หากทุกท่านสังเกตดี ๆ จะพบว่า การโจรกรรมและการบุกโจมตีระบบเครือข่ายมีข่าวให้เห็นได้เกือบทุกวันจากทั่วทุกมุมโลก   แน่นอนว่าแฮ็กเกอร์ได้มีการพัฒนาและสร้างเครือข่ายขยายเป็นวงกว้างออกไปมากยิ่งขึ้นซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมีมูลค่ามากมายมหาศาลด้วยเช่นกัน   ไม่ว่าบุคคลหรือแม้กระทั้งองค์กรทั้งเล็กหรือใหญ่ก็ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีได้ด้วยกันทั้งสิ้น โดยวันนี้ผมขอหยิบยกเอากรณี Honeypot ที่กำลังตกเป็นข่าวอยู่ในช่วงนี้ซึ่งถือได้ว่ามีความน่าสนใจมากครับ   โปรแกรมการควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Remote Desktop Connection หรือ RDP) ถือได้ว่าเป็นแม่เหล็กและอาวุธอันทรงพลังของเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เลยก็ว่าได้   เนื่องจากมีการเชื่อมต่อจาก IP address ต่าง ๆ ของแฮ็กเกอร์โดยเฉลี่ยมากกว่า 37,000 ครั้งในแต่ละวันและเป็นการโจมตีอย่างอัตโนมัติ ในทันทีที่แฮ็กเกอร์ได้รับสิทธ์ให้เข้าถึงข้อมูลในระบบได้แล้ว กระบวนการค้นหาไฟล์ต่าง ๆ ที่สำคัญและมีความละเอียดอ่อนก็จะเริ่มต้นตามซึ่งหมายความว่าแฮ็กเกอร์จะสามารถเปิดเกมส์โดยบุกโจมตี RDP ได้ทันที   มีการทดลองใช้ Honeypot แบบ high-interaction กับ RDP ที่เชื่อมต่อการเข้าถึงจากเว็บสาธารณะได้โชว์ว่า แฮกเกอร์ไม่หยุดโจมตีระบบและมีการเปิดการโจมตีในช่วงเวลาทำงานของทุก ๆ วัน   โดยมากกว่า 3 เดือนที่นักวิจัยด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ของบริษัทจัดการกับภัยคุกคามซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สหรัฐและแคนนาดาได้พบว่า มีความพยายามในการเจาะระบบ RDP Honeypot…