‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’

Loading

  ‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’ โดยการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานรัฐบาล 1,900 รายการ ยังคงใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบเก่า เช่น ซีดี, แผ่นดิสก์ขนาดเล็ก และฟลอปปีดิสก์   ญี่ปุ่น ในความทรงจำของคนทั่วโลกเป็นดินแดนแห่งอนาคต เพราะเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นดินแดนแห่งวิทยาการด้านหุ่นยนต์ แต่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ ยังมีอีกหลายด้านที่ขัดแย้งในตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัล และดูเหมือนว่าการชอบใช้เงินสดของชาวญี่ปุ่น เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของความเฉื่อยชาในการตอบสนองต่อกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียตะวันออก   ข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(เมติ) ระบุว่า แม้การชำระเงินแบบไร้เงินสดในญี่ปุ่นจะเติบโตกว่า 2 เท่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดอยู่ที่ 36% ในปี 2565 แต่สัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดของญี่ปุ่น ยังคงล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งเกาหลีใต้และสิงคโปร์ ที่ล้วนเป็นประเทศที่มีการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากที่สุด   อาซาฮิ ร้านอาหารของ’ริวอิจิ อูเอกิ’ เป็นร้านที่รับเฉพาะเงินสด เช่นเดียวกับร้านอาหารอื่น ๆ ที่เขารู้จัก โดยอูเอกิ เจ้าของร้านอาซาฮิ รุ่นที่…

ถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมรถไฟชนกันที่อินเดีย

Loading

  การรถไฟของอินเดียทำงานอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อฟื้นสภาพรางรถไฟ หลังเกิดเหตุรถไฟชนกัน ครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโศกนาฏกรรมที่จุดกระแสความกังวล เกี่ยวกับเครือข่ายระบบรางขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกอีกครั้ง   นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดีย ผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟให้ทันสมัย ด้วยงบประมาณ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1 ล้านล้านบาท) เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการเชื่อมต่อของอินเดีย โดยให้รถไฟเป็นรูปแบบการเดินทางระยะไกลที่ต้องการ และมีราคาถูกที่สุด สำหนับประชาชนและการขนส่งสินค้า ทว่าเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว โมดีกลับพบซากรถไฟ 3 ขบวนในสภาพพังยับเยิน และแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตเกือบ 300 ราย   ผู้สันทัดกรณีหลายคนกล่าวว่า เหตุรถไฟชนกันที่เขตบาลาซอร์ ในรัฐโอริสสา ทางตะวันออกของอินเดีย บ่งชี้ระบบรถไฟที่ซับซ้อนและล้าสมัยของประเทศ ยังคงต้องพัฒนากันอีกยาวไกล   “ความล้มเหลวในการดำเนินงานเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับการรถไฟของอินเดีย” นายสุพจน์ เชน อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของการรถไฟอินเดีย กล่าว “ขณะนี้ กลไกด้านความปลอดภัยมีความมั่นคงมากขึ้น แต่มันอยู่ระหว่างดำเนินการ”   Guardian News   การรถไฟอินเดีย…

ทำความเข้าใจ GDC กับ 8 เสาหลักหนุนไทย บรรลุเป้าหมาย SDGs

Loading

    สรุปผลจากการประชุม คณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (Commission on the Digital Economy) หอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce : ICC) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อกลางพฤษภาคมที่ผ่านมา   ผู้เขียนได้มีโอกาสครั้งสำคัญ เป็นตัวแทนประเทศไทยในนามหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย (International Chamber of Commerce Thailand) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (Commission on the Digital Economy) หอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce : ICC) ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับ Global Digital Economy     17 เป้าหมายของ SDGs กับประเด็นที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล   ผู้เขียนขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญของโลกที่กำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations)…

เช็คฟีเจอร์ใหม่ของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย Apple เพิ่ม Check In, NameDrop, Family Password , คำเตือนเนื้อหาที่ละเอียดอ่อน

Loading

    เช็คฟีเจอร์ใหม่ของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย Apple หลังเผยในช่วงงาน WWDC 2023 ซึ่งจะมาอยู่บนระบบปฏิบัติการใหม่ทั้ง iOS17 , iPadOS17 , watchOS10 และอีกมากมาย สิ่งที่ Apple ให้ความสำคัญมากอยู่คือ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้ โดยได้เปิดฟีเจอร์ใหม่เพียบใน WWDC 2023 ครั้งนี้   Craig Federighi รองประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของ Apple กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์และคุณสมบัติใหม่ๆ ทั้งหมดของ Apple ล้วนได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวตั้งแต่แรกเริ่ม เมื่อเป็นเรื่องของข้อมูล เราเน้นให้ผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมเองทั้งหมดโดยการเดินหน้าพัฒนาคุณสมบัติด้านความเป็นส่วนตัวชั้นแนวหน้าของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีที่สุดในโลก และแนวทางนี้ก็ปรากฏเด่นชัดในหลายคุณสมบัติบนแพลตฟอร์มของเรา อย่างการอัปเดตครั้งใหญ่สำหรับการท่องเว็บแบบส่วนตัวใน Safari รวมถึงการขยายขอบเขตของโหมดล็อคดาวน์   เช็คฟีเจอร์ใหม่ของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย Apple มีอะไรบ้าง   อัปเดตครั้งใหญ่สำหรับการท่องเว็บแบบส่วนตัวใน Safari     ทั้งจากการถูกติดตามขณะท่องเว็บ และจากผู้ที่อาจเข้าถึงอุปกรณ์ของผู้ใช้ได้ อย่างคุณสมบัติอันล้ำสมัยที่ปกป้องผู้ใช้จากการถูกติดตามและสะกดรอยนั้นก็ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีกเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ใช้เทคนิคล่าสุดในการติดตามหรือระบุอุปกรณ์ของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังมีการล็อคหน้าต่างการเลือกชมเว็บแบบส่วนตัวเมื่อไม่ใช้งาน ผู้ใช้จึงสามารถเปิดแถบเว็บไซต์ทิ้งไว้ได้แม้จะต้องลุกไปทำอย่างอื่น   ปรับปรุงการขออนุญาตเพื่อความเป็นส่วนตัวสำหรับรูปภาพ…

‘มัลแวร์’ รัสเซียตัวใหม่ ทำลายระบบเครือข่ายไฟฟ้า

Loading

    มัลแวร์ (Malware) ยังคงเป็นภัยคุกคามตัวฉกาจที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อบุกโจมตีเหยื่อและแสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่หยุดหย่อนอยู่ตลอดเวลา   มีการตรวจพบมัลแวร์ตัวใหม่ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับรัสเซีย โดยฟังก์ชั่นการทำงานหลักคือ “การใช้ทำลายระบบเครือข่ายไฟฟ้า” โดยมัลแวร์ในเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ หรือ Operational Technology (OT) อย่าง COSMICENERGY ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อขัดขวางระบบการทำงานด้านพลังงานไฟฟ้า   โดยการใช้คำสั่งตาม IEC 60870-5-104 (IEC-104) กับอุปกรณ์สแตนดาร์ด เช่น ระบบควบคุมและหน่วยทำงานระยะไกล (RTU) และแน่นอนว่า เหล่าแฮ็กเกอร์ก็จะสามารถส่งคำสั่งจากระยะไกลในการสั่งงานไปยัง Switch และ Circuit Breaker ให้ระบบไฟฟ้าเริ่มหรือหยุดทำงานได้อย่างง่ายดาย และที่น่าสนใจก็คืออุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการส่งและจ่ายไฟฟ้าในยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย   จากการตรวจสอบของนักวิจัยพบว่า การโจมตีครั้งนี้มีความคล้ายกับการโจมตีที่ยูเครนในปี 2559 ที่เข้าโจมตีโครงข่ายไฟฟ้าเป็นเหตุการณ์ Industroyer ซึ่งมีผลทำให้ไฟฟ้าดับที่กรุงเคียฟทันทีและเชื่อกันว่า Sandworm กลุ่ม APT ของรัสเซียเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนั้น   มัลแวร์สามารถควบคุมสวิตช์ของสถานีไฟฟ้าย่อยและเบรคเกอร์ของวงจรได้โดยตรงรวมทั้งจัดการออกคำสั่งเปิด-ปิด IEC-104 เพื่อเป็นการโต้ตอบกับ RTU และใช้เซิร์ฟเวอร์ MSSQL เป็นตัวจัดการระบบเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ…

ผ่าแนวคิด สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ‘บิ๊กดาต้า’ ประเทศไทย!!!

Loading

  “ณัฐพล” ผอ.ดีป้า แจงพร้อม ถ่ายโอน ทรัพย์สิน บุคลากร และ งบประมาณปี 2565 ให้ สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นองค์กรบิ๊กดาต้าของประเทศไทย หลังราชกิจจานุเบกษา ประกาศ จัดตั้งสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) ครั้งแรก รวมข้อมูลให้ทั้งภาครัฐ เอกชน ร่วมมือใช้ประโยชน์   นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ สขญ.ที่จะเป็น บิ๊กดาต้า ประเทศไทย เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของรัฐบาล หรือบิ๊กดาต้า ภาครัฐ แต่ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณทำให้ยังไม่สามารถตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาได้   ดีป้าจึงรับเข้ามาเป็นแผนกหนึ่งของดีป้าตั้งแต่ปี 2562 จากงบประมาณกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) มาโดยตลอด ปัจจุบันมีบุคลากรประมาณ 70 อัตรา จากนักเรียนทุนที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล มีทรัพย์สินประมาณ 200 ล้านบาท   ดังนั้น เมื่อมีการยกระดับสขญ.เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ ดีป้ามีความพร้อมในการถ่ายโอนทรัพย์สิน บุคลากร…