รู้ทัน Survey Scams หลอกเอาข้อมูล ผ่านแบบสำรวจออนไลน์

Loading

    ต้องยอมรับว่า การหลอกลวงยุคนี้มาในทุกรูปแบบ บางคนอาจเคยได้ยิน Romance Scams ที่หลอกให้รักแล้วให้โอนเงิน ช่วงนั้น สาวไทยโดนกันไปไม่ใช่น้อย   ตอนนี้กำลังมี Survey Scams ที่ให้คนตอบแบบสอบถามแล้วพยายามขอข้อมูลส่วนตัว แต่ Techhub มีวิธีหลีกหนี Scam เหล่านี้มาแชร์ให้อ่านกัน ลองไปทำความรู้จัก Survey Scams แต่ละชนิดกันครับ   1. Survey Scams   โดยทั่วไปแล้ว Scams เหล่านี้จะเริ่มต้นด้วยการติดต่อมาให้เราด้วยวิธีต่าง ๆ และบอกว่า เราอาจได้ส่วนลด โค้ดพิเศษ (หลอก) จากร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้ง Lazada , Shopee และแพลตฟอร์มอื่น ๆ รวมทั้งอาจได้รางวัล หรือของแถมสุดพรีเมียม เพียงแค่เสียเวลาทำแบบสำรวจ ซึ่งเราจะถูกจูงใจให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเราให้กับเขา เช่น ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ หรืออาจมากกว่านั้น  …

สำรวจประเทศสั่งแบน “ติ๊กตอก” นิวซีแลนด์รายล่าสุด

Loading

FILE PHOTO: TikTok head office in United States   รัฐบาลสหรัฐฯ เรียกร้องให้บริษัทเจ้าของติ๊กตอก (TikTok) แอปพลิเคชั่นวิดีโอยอดนิยมจากจีน ให้ขายหุ้นของติ๊กตอกทิ้ง หากไม่ต้องการถูกสั่งห้ามใช้ในสหรัฐฯ ตามข้อมูลที่ทางบริษัทกล่าวกับรอยเตอร์ในสัปดาห์นี้   ท่าทีของสหรัฐฯ มีขึ้นหลังมีการออกกฎหมายที่อนุญาตให้ทำเนียบขาวสามารถสั่งห้ามใช้ติ๊กตอกหรือเทคโนโลยีต่างชาติอื่น ๆ ได้ หากมีความเสี่ยงว่าอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงประเทศ ขณะที่ประเทศและหน่วยงานอื่น ๆ กำลังเล็งแบนติ๊กตอกเช่นกัน   ทั้งนี้ ติ๊กตอกเป็นของบริษัทไบต์แดนซ์ (ByteDance) บริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก โดยหลายประเทศกังวลว่า บริษัทดังกล่าวใกล้ชิดกับรัฐบาลจีนและเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ติ๊กตอกไว้ทั่วโลก   รอยเตอร์รวบรวมประเทศและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ออกคำสั่งห้ามใช้ติ๊กตอกบางส่วนหรือห้ามใช้โดยเด็ดขาด   นิวซีแลนด์ ประเทศล่าสุดที่เพ่งเล็งติ๊กตอก โดยสั่งห้ามใช้แอปพลิเคชั่นดังกล่าวในอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายของรัฐสภานิวซีแลนด์ได้ ท่ามกลางความกังวลด้านความมั่นคงทางไซเบอร์   อังกฤษ เตรียมสั่งแบนติ๊กตอกในโทรศัพท์ราชการทันที และได้ขอให้ศูนย์ความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติให้พิจารณาถึงจุดอ่อนของข้อมูลรัฐบาลต่อแอปดังกล่าว และความเสี่ยงที่ข้อมูลอ่อนไหวอาจถูกเข้าถึงและนำไปใช้ได้   อินเดีย สั่งแบนติ๊กตอกและแอฟพลิเคชั่นจีนอื่น ๆ ในอุปกรณ์ทุกอย่างเมื่อเดือนมิถุนายน 2020 โดยอ้างว่า แอปเหล่านี้อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงและบูรณภาพของประเทศ  …

ChatGPT:กฎหมาย AI และอนาคต (จบ)

Loading

  ความเดิมจากตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึง ChatGPT ในมุมที่อาจมีผลกระทบต่องานในปัจจุบัน โดยเน้นวิเคราะห์ในสายงานกฎหมาย ฉบับนี้จะวิเคราะห์ถึงข้อสังเกตทางกฎหมายในการใช้งาน ChatGPT และ AI   1.กฎหมายว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ ประเด็นแรก ธรรมาภิบาลและการประเมินความเสี่ยงจากการใช้ AI เพื่อรองรับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ จึงควรมีการกำหนดมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ และการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม อันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม   ในกรณีของ ChatGPT การใช้ AI จะอยู่ในรูปแบบของแชตบอตที่สื่อสารตอบโต้และให้ข้อมูลกับผู้ใช้งาน ดังนั้น การใช้งานในลักษณะดังกล่าวอาจมากับปัญหา AI bias and discrimination ซึ่งเป็นความเสี่ยงในเรื่องข้อจำกัดและคุณภาพของข้อมูล ความน่าเชื่อถือและการให้ข้อมูลที่เป็นกลาง   เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ควรมีแนวทางในการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมในระดับองค์กร และมีการกำหนดกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่ควบคุมการใช้งานอย่างเหมาะสม เช่น ในสหรัฐกำหนด AI Risk Management framework (จัดทำโดย NIST)   และในสหภาพยุโรปยกร่าง AI Act ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกำหนดแนวทางการจัดการ การประเมินความเสี่ยง และการตรวจสอบการงาน AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ AI…

อาชญากรรมจากความเกลียดชังในสหรัฐฯ พุ่งเป็นประวัติการณ์

Loading

สถิติของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (hate crime) ในสหรัฐฯ พุ่งสูงอย่างรวดเร็วในปี 2021 จนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เกือบ 11,000 ครั้ง ตามข้อมูลจากส่วนเสริมของรายงานประจำปีของสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI)   รายงานดังกล่าวระบุว่า คดีที่จัดให้อยู่ในกลุ่ม hate crime ในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 31% หรือจาก 8,263 ครั้งเป็น 10,840 ครั้ง   ก่อนหน้านี้ที่ออกมาเมื่อเดือนธันวาคม FBI รายงานว่า เกิดอาชญากรรมที่มาจากความเกลียดชังทั่วสหรัฐฯ ทั้งหมด 7,262 ครั้งในปี 2021 โดยอ้างอิงข้อมูลแบบไม่สมบูรณ์ครบถ้วนเนื่องจากหน่วยงานด้านรักษา กฎหมายราว 4,000 แห่งไม่สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบของ FBI ได้ จนสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ ต้องยอมรับตัวเลขผ่านระบบเก่าจากหน่วยงานประมาณ 3,000 แห่งเพื่อให้ได้ภาพอันสมบูรณ์   ไบรอัน เลวิน ผู้อำนวยการ Center for the Study of Hate and…

แอป ThaID (ไทยดี) แสดงบัตรประชาชนผ่านแอปได้ แอป ThaiD เปลี่ยนชื่อมาจากแอป D.DOPA

Loading

    แอป ThaID (ไทยดี) แสดงบัตรประชาชนผ่านแอปได้ หน่วยงานภาครัฐประกาศยกระดับการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกรรมและอำนวยความสะดวกการให้บริการภาครัฐเพื่อประชาชน โดยในเช้าวันนี้ 14 มีนาคม 2566 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง และคณะ นำเสนอนิทรรศการผลการพัฒนาระบบรับรองการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมเปิดตัวแอปพลิเคชัน “ThaID” หรือ “ไทยดี”   พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอขอบคุณกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ตอบรับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องรัฐบาลดิจิทัล โดยกระทรวงมหาดไทยคิดแพลตฟอร์มไทยดี (ThaID) เป็นการแสดงตัวตนออกมา เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนที่สามารถนำไปใช้ในการลงทะเบียน การแสดงตัวตนในสนามบินรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคส่วนต่าง ๆ แทนการใช้บัตรประชาชนและเอกสารทะเบียนบ้าน     การที่มหาดไทยได้พัฒนาการแสดงตัวตนและยืนยันตัวตนทางดิจิทัลนั้นสร้างประโยชน์อย่างมากในยุคสมัยนี้ เพราะการแสวงหาประโยชน์ การทุจริต…

ส่องอันดับ 10 ประเทศที่ใช้งบประมาณด้านอวกาศมากที่สุด

Loading

    ส่องงบอวกาศจาก 10 ประเทศ รัฐบาลของแต่ละประเทศใช้งบประมาณต่อปีเท่าไหร่ในการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการสำรวจอวกาศ   ในปี 2022 จำนวนเงินที่รัฐบาลจากทั่วโลกใช้จ่ายไปกับโครงการอวกาศสูงถึง 103 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท โดย 10 อันดับ ประเทศที่ใช้งบประมาณสำหรับพัฒนาโครงการด้านอวกาศมีดังนี้     1. ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณไป 61.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาท โดย 1 ในองค์กรที่ได้รับงบประมาณก้อนนี้ไปก็คือ องค์การนาซา (NASA)   2. ประเทศจีนใช้งบประมาณไป 11.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4 แสนล้านบาท โดย 1 ในองค์กรที่ได้รับงบประมาณก้อนนี้ไปก็คือ องค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CNSA)   3. ประเทศญี่ปุ่นใช้งบประมาณไป 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1 แสน 7…