ชายแดนใต้ : คนรุ่นใหม่สามจังหวัดฯ ในวงการไอทีที่มาเลเซีย

Loading

    หลายคนอาจจะเข้าใจว่า คนไทยที่ไปทำงานในมาเลเซีย มีแต่แรงงานในร้านต้มยำกุ้ง แต่เรื่องราวต่อไปนี้ บีบีซีไทยจะชวนไปทำความรู้จักกลุ่มคนรุ่นใหม่จากจังหวัดชายแดนใต้ที่อยู่ในแวดวงอาชีพของบริษัทด้านไอทีในประเทศมาเลเซีย   จากสามจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่ที่ได้ชื่อว่ารายได้ต่อหัวประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย พวกเขาเป็นคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในรุ่น “ทศวรรษที่สูญหาย” จากความไม่สงบในชายแดนใต้ที่ดำเนินมา 19 ปี เด็กสามจังหวัดฯ จำนวนไม่น้อยที่พัฒนาศักยภาพของตัวเองผ่านระบบการศึกษา ความสามารถทางภาษา จนสามารถเข้าทำงานในองค์กรชั้นนำในมาเลเซียได้   ด้วยภาษา วัฒนธรรม วิถีศาสนาที่ใกล้เคียงกัน นี่จึงเป็นพื้นที่ที่คล้ายบ้านสำหรับพวกเขา แต่โอกาสในชีวิตกลับแตกต่าง เพียงแค่ข้ามเขตแดนมายังฝั่งไทย   สำหรับคนอายุวัยกลาง 30 ปี ซึ่งอาจจะนิยามตัวเองว่าเป็นชนชั้นกลาง ในจังหวัดอื่นของประเทศไทยเช่นผู้เขียน ที่เติบโตมากับการเรียนในโรงเรียนมัธยมสามัญ ก่อนแสวงหาเส้นทางเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ผู้เขียนเคยมีคำถามสงสัยว่า แล้วเส้นทางชีวิตของคนรุ่นราวคราวเดียวกันในพื้นที่ความไม่สงบอย่างชายแดนใต้ เป็นแบบไหน   การสนทนากับ นัสมี สาและ คนหนุ่มจาก จ.ยะลา เจ้าหน้าที่วิทยาการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ซึ่งเคยทำงานในบริษัทไอบีเอ็มในไซเบอร์จายา เมืองศูนย์กลางทางด้านไอทีของมาเลเซีย ทำให้รู้ว่าคนจากจังหวัดชายแดนใต้ที่ไปทำงานในมาเลย์ ไม่ได้มีเพียงแต่แรงงานในร้าน “ต้มยำกุ้ง” ธุรกิจร้านอาหารไทยฮาลาลที่เฟื่องฟูในประเทศเพื่อนบ้าน   แต่คนไทยจากชายแดนใต้อีกกลุ่ม คือ หนุ่มสาวที่ทำงานในออฟฟิศ และส่วนใหญ่เป็นทรัพยากรมนุษย์ในแวดวงบริษัทด้านไอที…

กฎหมายต้านจารกรรมจีน สะเทือน’ธุรกิจต่างชาติ’

Loading

    กฎหมายต้านจารกรรมจีน สะเทือน’ธุรกิจต่างชาติ’ ขณะที่การขาดความโปร่งใสของการตรวจสอบของจีน สร้างความตื่นตระหนกให้กับบรรดากลุ่มธุรกิจข้ามชาติในจีนอย่างมาก   ธุรกิจต่างชาติในจีนตกอยู่ในภาวะกระวนกระวายใจ หลังมีการตรวจสอบด้านความมั่นคงแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง ในบรรดาธุรกิจให้คำปรึกษาที่เป็นของต่างชาติ ตอกย้ำถึงความความเสี่ยงในการทำธุรกิจยุคผู้นำจีนอย่าง “สี จิ้นผิง”   “เอริก เจิ้ง” ประธานหอการค้าอเมริกัน (แอมแชม) เปิดเผยว่า บริษัทที่ให้บริการด้านการตรวจสอบหรือวิเคราะห์สถานะทางธุรกิจของกิจการหลายแห่ง ตกเป็นเป้าของการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รัฐ   “เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีน ควรวิเคราะห์ขอบข่ายการทำงานให้ชัดเจนว่า บริษัทต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์ทรัพย์สินของกิจการต่าง ๆ ได้หรือไม่ เพราะการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนจะทำให้บริษัทต่างชาติมีความมั่นใจมากขึ้นและสามารถปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลจีนได้” เจิ้ง กล่าว   คำแนะนำของเจิ้ง เกิดขึ้นหลังจากกลุ่มธุรกิจสหรัฐได้รับคำเตือนที่คล้ายกันจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งมาจากการขยายขอบข่ายกฎหมายจารกรรมฉบับล่าสุดของจีน ที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจในจีนมากขึ้น   “จอร์จ โทเลโด อัลบินานา” เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป (อียู) ในจีน แถลงเมื่อวันอังคาร (9 พ.ค.) ว่า กฏหมายกฎหมายต้านจารกรรมจีนดังกล่าวไม่ใช่ข่าวดีสำหรับธุรกิจที่คาดหวังว่า เศรษฐกิจจีนจะเปิดกว้าง   หอการค้าสหภาพยุโรป เผยว่า การปราบปรามของรัฐบาลปักกิ่ง ส่งสัญญาณหลายอย่างมาก…

เตือน! พบ URL อันตรายเกี่ยวข้องกับ ChatGPT มากกว่า 100 รายการต่อวัน

Loading

  Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ แจ้งเตือนตรวจพบ URL อันตรายที่เกี่ยวข้องกับ ChatGPT มากกว่า 100 รายการต่อวัน ในทราฟฟิกที่วิ่งผ่านระบบกรอง URL ขั้นสูง พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เผยแพร่งานวิจัยจาก Unit42 ทีมข่าวกรองด้านภัยคุกคาม ที่บ่งชี้ถึงปัญหาการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นภายใต้ธีม ChatGPT ในช่วงที่กระแสการสร้างคอนเทนต์ด้วย AI กำลังได้รับความนิยม งานวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสารพัดเทคนิคที่บรรดานักล่อลวงใช้หลอกลวงเหยื่อให้เปิดเผยข้อมูลความลับหรือติดตั้งซอฟต์แวร์อันตราย อีกทั้งยังนำเสนอตัวอย่างและกรณีศึกษาเพื่อสาธิตวิธีการดังกล่าวด้วย   Unit 42 ตรวจพบ URL ประเภทฟิชชิงจำนวนมากที่แอบอ้างเป็นเว็บไซต์ทางการของ OpenAI โดยนักล่อลวงที่อยู่เบื้องหลังปัญหาเหล่านี้มักสร้างเว็บไซต์ปลอมที่มีหน้าตาเลียนแบบเว็บไซต์ทางการ ของ ChatGPT ด้วยประสงค์ในการหลอกล่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์อันตราย หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอันเป็นความลับ แม้ว่า OpenAI จะมี ChatGPT เวอร์ชันฟรีให้บริการ แต่นักล่อลวงก็มักทำให้เหยื่อเข้าใจผิดจนยินยอมจ่ายค่าบริการผ่านเว็บไซต์ปลอมเหล่านี้ ข้อมูลสำคัญจากรายงานฉบับนี้ประกอบด้วย – โปรแกรมแอบอ้างเป็นส่วนขยาย ChatGPT สามารถใส่สคริปต์ที่ทำงานเบื้องหลังเบราว์เซอร์ของเหยื่อ ซึ่งเป็น JavaScript…

สปายแวร์ ‘QuaDream’ วายร้ายโจมตีแบบ ‘Zero-Click’

Loading

  Zero-click จะทำงานอย่างอัตโนมัติ มักจะไม่ถูกตรวจจับ และไร้ร่องรอยทันทีที่รหัสเข้าสู่อุปกรณ์ของผู้ใช้งาน  ข่าวการติดตามการโจมตีแบบ “Zero-click” ของแอ๊ปเปิ้ล iOS 14 ถูกนำมาปรับใช้กับสปายแวร์มือถือ “QuaDream” โดยมีการสอดแนมกับกลุ่มนักข่าว นักการเมืองฝ่ายค้าน และพนักงาน NGO โดยจากการวิจัยของ Citizen Lab และ Microsoft Threat Intelligence ที่แคนนาดาพบว่า มีเหยื่ออย่างน้อย 5 คน ที่ถูกแฮกผ่านช่องโหว่ Zero-Click ทางปฎิทินของไอโฟน เพื่อเข้าสู่อุปกรณ์และทำให้เครื่องติดสปายแวร์ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่มาจากทวีปอเมริกาเหนือ เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป และตะวันออกกลาง ผมขออธิบายอย่างนี้ว่า สปายแวร์บนมือถือมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ ผลิตภัณฑ์จากองค์กรต่างๆ อย่าง QuaDream ที่มักจะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่แบบ Zero-Click และผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเดลิเวอรี่ที่ไม่ซับซ้อนอย่าง Social Engineering เพื่อทำให้อุปกรณ์ติดไวรัส แม้เทคนิคการเดลิเวอรี่จะแตกต่างกันแต่ความสามารถในการสอดแนมทั้ง 2 ประเภทแทบไม่แตกต่างกันเลยและแน่นอนว่าภัยคุกคามเหล่านี้ได้ก่อตัวเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อหน่วยงานของรัฐและกลุ่มเป้าหมายที่มีชื่อเสียงในหมู่ของนักข่าวและนักเคลื่อนไหวเท่านั้น แต่ยังเป็นภัยคุกคามต่อพนักงานในองค์กรทุกคนด้วย การใช้ประโยชน์จาก…

SMS แนบลิงก์ปลอมแก้ได้ แต่ต้องไม่ใช่แค่ประชาชนระวังตัว

Loading

    ในแต่ละปีมีผู้ตกเป็นเหยื่อ SMS ปลอมเป็นจำนวนมหาศาล คณะกรรมการการการค้ากลางของสหรัฐอเมริกา (FTC) เผยว่าในปี 2021 มูลค่าความเสียหายจากการหลอกลวงทาง SMS สูงกว่า 131 ล้านเหรียญ หรือกว่า 4,400 ล้านบาทเลยทีเดียว   แม้ปัจจุบันจะมีมาตรการให้ธนาคารเลิกส่งลิงก์ใน SMS มีการออกข้อแนะนำและคำเตือนต่าง ๆ และผู้ใช้บริการเองก็ป้องกันตัวอย่างดี แต่นั่นก็อาจไม่ใช่วิธีการแก้ไขการหลอกลวงผ่าน SMS ที่ยั่งยืน   ผู้ไม่หวังดีก็ยังสามารถส่ง SMS ตีเนียนเป็นธุรกิจประเภทอื่น ๆ ได้อยู่ดี เพราะยังมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ใช้ลิงก์ใน SMS เป็นช่องทางสื่อสารกับลูกค้า ทั้งการส่งข้อมูลที่จำเป็น การรับฟังความคิดเห็น และอีกมากมาย     การป้องกันการปลอมแปลง SMS (SMS Spoofing หรือ Smishing) อย่างยั่งยืนไม่สามารถทำได้ในระดับประชาชนผู้ใช้งาน แต่ต้องเป็นความรับผิดชอบระดับรัฐบาล และองค์กรที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ มาดูกันว่าปัจจุบันในประเทศต่าง ๆ มีมาตรการอย่างไรบ้าง   ทะเบียนผู้ส่ง SMS…

‘ยิ่งปะทุ!’ ช่วงเลือกตั้ง ‘ถ้อยคำอันตราย’ ระวัง ‘ฟื้นไฟรุนแรง?’

Loading

    “ข้อความหรือถ้อยคำอันตราย (Dangerous Speech) เป็นประเด็นสากลไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย โดยเรื่องนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบในแง่ลบ ตั้งแต่การบั่นทอนบรรทัดฐานของสังคม จนถึงขั้นเลวร้ายที่สุดคือการนำไปสู่ความรุนแรง”   …นี่เป็นการระบุไว้โดยผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ที่สะท้อนถึง “ปัญหาจากข้อความอันตราย” โดยเรื่องนี้มีการระบุไว้บน เวทีนักคิดดิจิทัล Digital Thinkers Forum ครั้งที่ 25 ที่ใช้ชื่อหัวข้อว่า “ตรวจสอบข้อความอันตรายบนโลกออนไลน์” ซึ่งจัดโดย Cofact – โคแฟค (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย เมื่อปลายเดือน เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา   ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องต้องกันในเรื่องนี้…   “Dangerous Speech” เป็นปัญหาสำคัญ   ที่ “สร้างผลกระทบเชิงลบให้สังคมมาก”   รายละเอียดเรื่องนี้ ที่ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลในวันนี้ มีหลายประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ “ปัญหาจากข้อความหรือถ้อยคำอันตราย” โดยเฉพาะบน “สื่อสังคมออนไลน์” ที่นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้มีการสะท้อนถึงมิติเรื่องนี้ไว้ในหลาย ๆ มุมมอง อาทิ สุภิญญา…