‘เทคนิคโจร’ ก็พัฒนา ‘ปล้นออนไลน์’ อาวุธ ‘จุดอ่อนเหยื่อ’

Loading

  นอกจาก “ภัยโฆษณาเกินจริง” ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ได้ชี้ให้เห็น “อันตราย” ไปแล้ว…กับ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” อย่างการ “ขโมยข้อมูล-ต้มตุ๋นออนไลน์” ก็เป็นอีกภัยที่ใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ   ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของไทย ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยอ้างอิงผลสำรวจของ Identity Theft Resource Center ที่พบว่า…ปี 2565 ทั่วโลกมีการโจมตีด้านข้อมูลส่วนบุคคลมากมาย โดยมีผู้เสียหายที่ถูกขโมยข้อมูลมากถึง 442 ล้านคน!!! ซึ่งแน่นอนว่าในจำนวนนี้ก็ย่อมมี “เหยื่อคนไทย” รวมอยู่ด้วย   ตัวเลขนี้ฉายชัด “สถานการณ์ปัญหา”   ที่โลกยุคใหม่ต้องเผชิญ “โจรไซเบอร์”   อีกหนึ่ง “ภัยคุกคามที่น่ากลัว” ในยุคนี้   “การแฮ็กข้อมูล การถูกเจาะระบบ กำลังเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะข้อมูลส่วนบุคคลได้กลายเป็นแหล่งทำเงินของแฮกเกอร์ไปแล้ว โดยแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลเหล่านี้ไปจะนำไปขายต่อเพื่อหาเงิน หรือแม้แต่สวมรอยแทนตัวตนของคนที่ถูกขโมยข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้” …เป็น “อันตราย”…

สรุป อุตสาหกรรม Cybersecurity ฉบับภาษาคน

Loading

  เมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลของคนไทย 55 ล้านบัญชี ถูกแฮก โดยแฮกเกอร์ที่ชื่อ “9Near”   ข้อมูลเหล่านั้นประกอบไปด้วย ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ รวมถึงเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งถ้าข้อมูลจำนวนมากนี้หลุดออกไป ก็ถือเป็นความอันตรายต่อคนไทยทั้งประเทศ และอาจสร้างความเสียหายเป็นหลักพันล้านบาท   หากดูในภาพรวมจะพบว่า ในปีที่ผ่านมา Cyberattack หรือการโจมตีทางไซเบอร์ทั่วโลก มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 350,000 ล้านบาท..   สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้อุตสาหกรรม “Cybersecurity” หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ เติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัว   Cyberattack และ Cybersecurity คืออะไร   และมีรูปแบบไหนบ้าง​ ?   ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง   เรามาเริ่มกันที่ Cyberattack หรือ การโจมตีทางไซเบอร์ กันก่อน ภาษาบ้าน ๆ เลยก็คือ โจรที่พยายามจะเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา   โดยทั่วไปแล้วคนเหล่านี้…

ห้ามพูด! มีระเบิด-เครื่องบินจะตก คำต้องห้ามใน “สนามบิน” ฝ่าฝืนติดคุก 5 ปี

Loading

    พูดเล่นไม่ได้! “ระวังมีระเบิด-ก่อการร้าย-เครื่องบินจะตก” เหล่านี้เป็นตัวอย่างของ “คำต้องห้าม” ที่ห้ามพูดในสนามบินและบนเครื่องบิน หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท   จากกรณีอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังเอ่ยคำต้องห้ามในสนามบิน แม้เพื่อนๆ ในกลุ่มจะเตือนแล้วแต่ก็ยังพูดต่อ เมื่อคลิปเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็เกิดดราม่าในโลกโซเชียลแทบจะทันที   รู้หรือไม่? ในสนามบินหรือบนเครื่องบิน เป็นสถานที่ที่มีความเข้มงวดด้านการรักษาความปลอดภัยสูง ดังนั้นการกระทำหรือคำพูดต่างๆ ที่สื่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปในทางที่เป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องของคำพูดที่แม้จะเป็นเพียงการพูดเล่น แต่นั่นอาจทำให้คุณทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว   โดยสาเหตุที่มีกฎหมายควบคุมไม่ให้ผู้โดยสารเผลอพูด “คำต้องห้าม” บางคำในสนามบินหรือบนเครื่องบินนั้น ก็ด้วยเหตุผลสำคัญหลายข้อ ได้แก่   1. เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและระเบียบวินัยอันดีภายในสนามบินและบนเครื่องบิน   2. เพื่อป้องปรามไม่ให้เกิดการกระทำดังกล่าวอันเป็นการแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่หรือทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการบินลดลง   3. เพื่อจัดการกับบุคคลที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมภายในสนามบินและบนเครื่องบิน เช่น ใช้คำพูดลวนลามหรือข่มขู่ให้กลัว   4. เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้แก่เครื่องบิน สนามบิน บุคคล และทรัพย์สินต่างๆ บนเครื่องบินหรือที่สนามบิน     ส่วนคำพูด…

กูเกิลเปิดตัว Google Cloud Security AI Workbench สู้ co-pilot ของไมโครซอฟท์ที่ใช้ GPT-4

Loading

    ในสนามสงครามธุรกิจคลาวด์ ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ Generative AI สามารถนำมาใช้งานเพื่อให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมได้ในเวลาสั้นลง เหมือนมี AI เป็นผู้ช่วย ซึ่งไมโครซอฟท์ ก็ได้นำเอนจิ้น GPT มาใช้งานกับ Microsoft Azure คลาวด์ของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   แน่นอนว่า กูเกิลก็ไม่สามารถอยู่เฉยได้ ล่าสุดในงาน RSA Conference 2023 กูเกิลได้เปิดตัว Google Cloud Security AI Workbench เป็นแพลตฟอร์มใช้สำหรับงานความปลอดภัยไซเบอร์โดยเฉพาะ โดยใช้พลังจาก Sec-PaLM ระบบโมเดลภาษาขนาดใหญ่ ที่สร้างมาเพื่อทำงานเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์   ตัวอย่างหนึ่งที่กูเกิลยกมาคือ ระบบ VirusTotal Code Insight ช่วยให้วิศวกรความปลอดภัย สามารถนำเข้าสคริปต์ และวิเคราะห์พฤติกรรมที่เป็นอันตรายได้ หรืออีกระบบคือ Mandiant Breach Analytics แจ้งเตือนผู้ใช้งานอัตโนมัติเมื่อพบพฤติกรรมละเมิด   Security AI Workbench เปิด API…

รู้จัก ‘ตำรวจลับ’ รัฐบาลทหารพม่า เครื่องมืออำมหิตที่ใช้ปราบฝ่ายประชาธิปไตย

Loading

  บทความในอิรวดีพูดถึงบทบาท ‘ตำรวจลับ’ ของเผด็จการพม่าที่ใช้สอดแนม-ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และล่าสุดยุครัฐบาลทหารมินอ่องหล่าย นอกจากเครือข่ายที่ใช้จับตาความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านเผด็จการพลัดถิ่นที่อยู่ในไทยแล้ว ยังพบว่าผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและปฏิรูปการเมืองช่วงรัฐบาลเต็งเส่ง ก็ยังกลายเป็นผู้ให้ข้อมูลกับตำรวจลับพม่าอีกด้วย   เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่เชี่ยวชาญประเด็นพม่าเขียนบทความเผยแพร่ในอิรวดี เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา พูดถึงการที่เผด็จการพม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้ “ตำรวจลับ” เพื่อคอยสอดแนมและปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งในประนอกประเทศ รวมถึงมีตำรวจลับเหล่านี้ในประเทศไทยด้วย แต่เผด็จการในยุคต่างๆ ก็มีการกวาดล้างเหล่าตำรวจลับพวกนี้เองและตั้งหน่วยใหม่ในชื่อใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ยุคของเนวิน มาจนถึงเผด็จการมินอ่องหล่ายในปัจจุบัน   โดยเผด็จการเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมี “ตำรวจลับ” เอาไว้ใช้งานเพื่อที่จะคงอยู่ในอำนาจได้ และยิ่งตำรวจลับเหล่านี้ มีความโหดเหี้ยมอำมหิตมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลดีกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น พวกนาซีเคยมีตำรวจลับชื่อหน่วยเกสตาโป ชาห์แห่งอิหร่านเคยอาศัยหน่วยซาวัคเป็นตำรวจลับและหน่วยข่าวกรอง เผด็จการแห่งโรมาเนีย นิโคแล โจเชสกู มี “กรมความมั่นคงแห่งรัฐ” ส่วนนายพลพม่านั้นมีหน่วยข่าวกรองของตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหลายชื่อในช่วงเวลาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเสาหลักทางอำนาจให้กับรัฐเผด็จการทหาร   แต่ด้วยความที่ว่า หน่วยตำรวจลับของพม่านั้นมีลักษณะปกปิดเป็นความลับ ทำให้มีอยู่อย่างน้อยสองครั้งที่หน่วยงานข่าวกรองกองทัพพม่าเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบรัฐซ้อนรัฐ ซึ่งกลายเป็นภัยต่อระเบียบรัฐแบบดั้งเดิม ทำให้มีการกวาดล้างผู้นำของตำรวจลับบางส่วนโดยมีการลงโทษคุมขังพวกเขาเป็นเวลายาวนาน   เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเผด็จการพม่าเริ่มหันมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจลับมีความจงรักภักดีต่อพวกเขาโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ นั่นกลายเป็นสาเหตุที่มินอ่องหล่าย ผู้นำระดับสูงของกองทัพและผู้นำเผด็จการทหารยุคปัจจุบัน ได้ให้ผู้นำระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเผด็จการคนก่อนๆ   พล.ท.เยวินอู ผู้ที่เป็นประธานของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักงานแห่งกิจการความมั่นคงเสนาธิการทหาร…

กฎหมายกับการกำกับธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

    “Platform economy” หรือ เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมากได้ ดังนั้น กฎหมายเพื่อควบคุมและดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงมีเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน   ผู้เขียนจึงข้อหยิบยกเนื้อหาบางส่วนของกฎหมายฉบับนี้ มาอธิบายให้ฟัง   ที่มาของกฎหมาย   ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีการตรา พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 (พ.ร.ฎ. แพลตฟอร์มดิจิทัล) โดยเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กำหนด “สิทธิ” ให้บุคคล “สามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ได้   หากภาครัฐเห็นว่า การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นว่านั้น อาจกระทบกับความมั่นคงทางการเงิน การพาณิชย์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับประชาชน ก็สามารถตรากฎหมาย เพื่อกำหนดให้การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ   แจ้งให้หน่วยงานใดทราบ?   กฎหมายกำหนดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลต้องแจ้งให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี หากเป็นผู้ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ใช้บังคับ ให้มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายภายใน 90…