10 วิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ ที่ชอบหลอกดูดเงิน

Loading

    ปัญหาการหลอกดูดเงินจากมิจฉาชีพออนไลน์ ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องกังวลอยู่เสมอ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ออกคำเตือนและวิธีป้องกันการโดนหลอกนี้   ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย มิจฉาชีพซึ่งแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่องค์กรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความต่างๆ รวมทั้งชักชวนให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์   โดยมิจฉาชีพจะทำการล็อกหน้าจอโทรศัพท์ ทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง ซึ่งมักจะแสดงข้อความว่า อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ ห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือ ทำให้มิจฉาชีพออนไลน์ สามารถนำรหัสที่ผู้เสียหายเคยกรอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ ทำการโอนเงินออกจากบัญชี   แนวทางการป้องกันจากมิจฉาชีพออนไลน์   – ไม่กดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือที่ส่งมาทางสื่อสังคมออนไลน์ ไม่กดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่างๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ ให้รางวัล หรือโปรโมชันต่างๆ   – หากได้รับโทรศัพท์จากหมายเลขที่ไม่คุ้นเคย และมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ให้ขอชื่อนามสกุล และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับของเจ้าหน้าที่ โดยให้แจ้งว่าจะติดต่อกลับไปภายหลัง   – ตรวจก่อนว่ามาจากหน่วยงานนั้นๆ จริงหรือไม่ โดยการโทรศัพท์ไปสอบถามผ่านหมายเลขคอลเซ็นเตอร์ หรือผ่านเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานนั้น โดยตรง รวมถึงตรวจสอบว่ามีการประกาศแจ้งเตือนการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวหรือไม่   – ระวัง LINE Official Account…

นักเรียนต่างชาติกังวลเรื่องความรุนแรงในรั้วมหาวิทยาลัย

Loading

  ความรุนแรงจากการใช้ปืนอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน ขบวนพาเหรดในวันหยุด หรือร้านขายอาหาร และยังอาจเกิดขึ้นได้ในรั้วมหาวิทยาลัยอีกด้วย   เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ มือปืนคนหนึ่งเข้าไปก่อเหตุในบริเวณมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและบาดเจ็บอีก 5 คน และเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย 3 คนถูกเพื่อนร่วมชั้นฆ่าตายขณะที่เดินทางกลับมาจากกรุงวอชิงตัน   นอกจากนี้ยังมีการใช้ความรุนแรงรูปแบบอื่น ๆ ตามรั้วมหาวิทยาลัย อย่างเช่นเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว มีการก่อเหตุโดยใช้มีดคร่าชีวิตนักศึกษา 4 คนจากมหาวิทยาลัยไอดาโฮ ในขณะที่พวกเขานอนหลับอยู่ในบ้านที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน ปัจจุบันยังคงมีการสืบสวนคดีนี้กันอยู่ ส่วนที่รัฐมิชิแกน ชายที่ก่อเหตุยิงนักเรียนฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา และที่รัฐเวอร์จิเนีย ตำรวจได้จับกุมนักเรียนที่ก่อเหตุยิงเพื่อนร่วมชั้นของเขาเอง   ข้อมูลจาก Violence Project ระบุว่า มีการก่อเหตุกราดยิงเก้าครั้งทั้งในหรือรอบ ๆ มหาวิทยาลัยในอเมริกาตั้งแต่ปี 1966   สำหรับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคในปี 2007 โดยนักศึกษาคนหนึ่งได้สังหารผู้คนไป 32 คนและบาดเจ็บอีก 17 คน   15 ปีต่อมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและกฎเกณฑ์บางอย่าง แต่การก่อเหตุกราดยิงก็ยังคงเกิดขึ้น  …

ถึงเวลา…กำหนดมาตรฐาน AI ไทย แบบไหน ? ใช้งานได้ประโยชน์ !!

Loading

    เทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมา ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน   เทคโนโลยี “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมา ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และได้ถูกกล่าวถึงและถูกจับตาอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา   โเดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาชอง “ChatGPT” ที่เป็น “กระแสร้อนแรง” จนสั่นสะเทือนวงการ เอไอ เพราะเป็นแชตบอตสุดล้ำ สามารถสร้างข้อความตอบโต้กับมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ถามอะไรตอบได้หมด!! จนมีความใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้นทุกที??   ต่อไป “ChatGPT” จะกลายเป็น Digital Disruption โลกใบนี้หรือไม่ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกำลังจับตามอง!! ว่าจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนของหลายอุตสาหกรรม!?!   การที่เอไอ มีการใช้งานแพร่หลายมาขึ้น ให้หลายประเทศทั่วโลก เร่งพัฒนามาตรฐาน และหลักธรรมาภิบาล ปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance) เพื่อมาใช้เป็นกรอบในการประยุกต์ใช้ AI เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของสากล   แล้วประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหน? เมื่อทุกวันนี้ ก็เริ่มมีการนำเอไอมาใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งทาง ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Clinic หรือ AIGC)  สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์…

แก๊งแรนซัมแวร์ ‘BianLian’ ขู่กรรโชกข้อมูลจากเหยื่อ

Loading

    สัปดาห์นี้ผมจะขอพูดถึงแรนซัมแวร์อีกหนึ่งตัวที่อยู่ในกระแสอย่าง “BianLian” ซึ่งเริ่มปฏิบัติการโดยการเปลี่ยนโฟกัสการโจมตีจากการเข้ารหัสไฟล์ของเหยื่อมาเป็นการเลือกเฉพาะข้อมูลที่พบบนเครือข่ายที่เข้าโจมตีและใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อขู่กรรโชกและเรียกค่าไถ่   โดยเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ชื่อดังได้เปิดเผยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบของ BianLian ทำให้เห็นสัญญาณของกลุ่มภัยคุกคามที่พยายามขู่กรรโชกและเพิ่มแรงกดดันกับเหยื่อ เมื่อช่วงก.ค.ปีที่ผ่านมา   แก๊งแรนซัมแวร์นี้ได้ออกปฏิบัติการและสามารถเจาะระบบองค์กรที่มีชื่อเสียงหลายแห่งได้อย่างง่ายดาย โดยการติดตั้ง backdoor แบบ Go-based ที่กำหนดได้เองในการช่วยรีโมทเข้าไปยังอุปกรณ์ที่บุกรุก เมื่อปฏิบัติการเสร็จสิ้นจะแจ้งไปยังเหยื่อโดยให้เวลา 10 วัน สำหรับการจ่ายเงินค่าไถ่   เมื่อช่วงกลางเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา แก๊งแรนซัมแวร์ได้เปิดเผยชื่อองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อรวมทั้งหมด 118 องค์กรผ่าน BianLian Portal โดยกว่า 71% ของเหยื่อคือบริษัทที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา   มีหนึ่งข้อสังเกตที่น่าสนใจจากการโจมตีครั้งล่าสุดคือ ความพยายามในการสร้างรายได้จากการละเมิดโดยไม่เข้ารหัสไฟล์ของเหยื่อแต่ใช้วิธีการข่มขู่ว่าจะปล่อยข้อมูลที่โจรกรรมมาให้รั่วไหล   แต่ในขณะเดียวกันแก๊งแรนซัมแวร์ก็ยืนยันว่าจะไม่ปล่อยข้อมูลออกมาหรือแม้กระทั้งการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าองค์กรของเหยื่อถูกโจรกรรมข้อมูล หากเหยื่อยอมจ่ายเงินค่าไถ่ เพราะแก๊งเหล่านี้อ้างว่าชื่อเสียงขององค์กรมีผลต่อธุรกิจของเหยื่อ ดังนั้นหากภาพลักษณ์ของเหยื่อได้รับความเสียหาย พวกเขาก็จะเสียประโยชน์ด้วยเช่นกัน   ยิ่งไปกว่านั้น BianLian ได้หยิบยกประเด็นด้านกฏหมายและวิเคราะห์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เหยื่ออาจต้องเผชิญหากมีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่าองค์กรนั้น ๆ กำลังประสบกับการถูกคุกคามและการละเมิด   ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่อาจทราบได้เลยว่าทำไม BianLian ถึงยอมทิ้งกลยุทธ์การเข้ารหัสเพื่อแฮ็กข้อมูลอาจจะเป็นเพราะ Avast ได้เปิดตัวอุปกรณ์ถอดรหัสฟรีในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา…

‘แฮ็กเกอร์’ระบาด ข้อมูลรั่ว..ใครรับผิดชอบ

Loading

  องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่กุม “ความลับ” ของคน ลูกค้า ผู้ใช้บริการเอาไว้ ต้องไม่นิ่งนอนใจ หาทางรับมือป้องกันการรั่วไหล หรือการถูกโจมตีจากบรรดาแฮกเกอร์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จะต้องทุ่มงบประมาณมากสักเท่าไหร่ในการรับมือ “ก็ต้องทำ   ประเทศไทยมีแนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเชิงปริมาณและความรุนแรง   เหตุการณ์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทวีความรุนแรงมากขึ้น รูปแบบการโจมตีมีแนวโน้มพัฒนาตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป   ภัยคุกคามเหล่านี้ ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยของสังคมเศรษฐกิจของประเทศ   ยิ่งเราต้องพึ่งพาเครื่องมือดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ สูญเสียข้อมูลที่มีความสำคัญ สูญเสียทรัพย์สินเงินทอง สูญเสียชื่อเสียง   ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นหนึ่งที่ยังวนเวียนอยู่ในสังคมไทย และเป็นประเด็นที่ทุกคนต้องตระหนักให้มาก คือ การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล จะทั้งข้อมูลอ่อนไหว หรือ ไม่อ่อนไหว ก็ไม่ควรหลุดออกมา สร้างความเสียหาย หวาดกลัวให้กับเจ้าของข้อมูล   องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่กุม “ความลับ” ของคน ลูกค้า ผู้ใช้บริการเอาไว้ ต้องไม่นิ่งนอนใจ หาทางรับมือป้องกันการรั่วไหล หรือการถูกโจมตีจากบรรดาแฮกเกอร์ทั้งในประเทศ…

ทำความรู้จักทหารชั้นผู้น้อย ผู้เผยแพร่เอกสารลับสะเทือนอเมริกา ตั้งแต่อายุ 21 ปี

Loading

  ทางการสหรัฐฯ จับกุมทหารอากาศ สังกัดกองกำลังพิทักษ์ชาติ วัย 21 ปี ฐานเผยแพร่เอกสารลับ ที่กลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา   ทหารนายนี้ คือ จ่าอากาศเอก แจ็ค เทเซรา (Jack Teixeira) เชื่อว่าเป็นหัวหน้ากลุ่มแชทเกมออนไลน์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เขานำเอกสารลับมาเผยแพร่   ภาพถ่ายทางอากาศ แสดงให้เห็น เจ้าหน้าที่สำนักสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ ดำเนินการจับ เทเซรา จากบ้านของเขาในเมืองไดห์ตัน เมืองขนาดเล็กที่มีประชากรเพียง 8,000 คน และอยู่ห่างจากเมืองบอสตัน เพียงหนึ่งชั่วโมง โดยการเดินทางด้วยรถ   นอกเหนือจาก เจ้าหน้าที่เอฟบีไอพร้อมอาวุธครบมือ ตำรวจยังปิดถนนบริเวณโดยรอบผู้ต้องสงสัย โดยประชาชนในพื้นที่บอกกับรอยเตอร์ว่า “มีทหารพร้อมปืนไรเฟิล 6-8 คน เดินไปมา… แถบนี้เป็นชุมชนสงบ ๆ”   ทางการสหรัฐฯ ระบุว่า เขาจะถูกตั้งข้อหาตามกฎหมาย “จารกรรม” ซึ่งเป็นข้อหาอาญาฐานเผยแพร่และส่งต่อ ข้อมูลลับด้านความมั่นคงของชาติ และมีกำหนดปรากฏตัวต่อศาลในเมืองบอสตัน วันนี้  …