สิบปีในดินแดนลี้ภัยรัสเซียของ ‘เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน’

Loading

AFP   เมื่อสิบปีก่อน เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนเปิดโปงปฏิบัติการจารกรรมของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ จากนั้นเขาต้องซ่อนตัว ลี้ภัยไปยังรัสเซีย และตอนนี้ได้ฉลองวันเกิดครบรอบ 40 ปีที่นั่น   ก่อนหน้านั้นเขาเคยยื่นเรื่องขอลี้ภัยไปลาตินอเมริกาและยุโรปด้วยเหมือนกัน แต่ไม่มีประเทศไหนรับประกันความปลอดภัยของเขาได้ รัสเซียมองเห็นประโยชน์จากกรณีของสโนว์เดนในการกล่าวหาสหรัฐฯ ว่า “สองมาตรฐาน” จึงอ้าแขนต้อนรับเขา เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐฯ ประเทศซึ่งอ้างตัวเป็นต้นแบบของเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่กลับข่มเหงทางการเมืองกับสโนว์เดนและคนอื่น ๆ   วันพุธที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา สโนว์เดนฉลองวันเกิดครบรอบ 40 ปีพร้อมกับการได้สัญชาติรัสเซีย วันศุกร์เมื่อสิบปีก่อนเขาเดินทางถึงมอสโกด้วยเครื่องบินของสายการบินแอโรฟลอต เขาใช้เวลานานถึง 40 วันในเขตทรานสิตที่สนามบินเชเรเมเตียโว ท่ามกลางสื่อมวลชนทั่วโลกที่พยายามเข้าถึงตัวเขา ก่อนหน้านั้นไม่นานเขาได้ส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับการสอดแนมของหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ และ GCHQ ของอังกฤษให้กับสื่อมวลชน   ตามคำบอกเล่าของสโนว์เดน เขาต้องการเดินทางไปยังเอกวาดอร์ โดยผ่านฮ่องกง แต่แล้วเขาต้องไปติดอยู่ที่สนามบินเชเรเมเตียโวในมอสโก หลังจากที่สหรัฐฯ ยกเลิกหนังสือเดินทางของเขา เขาไม่มีวีซ่าผ่านแดน และดูเหมือนไม่มีประเทศไหนอยากยุ่งกับสหรัฐฯ เหลือแต่รัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินเท่านั้นที่กล้าเปิดประตูบ้านต้อนรับเขา ถึงตอนนั้นสโนว์เดนก็นิ่งเงียบเกี่ยวกับการเมืองของรัสเซีย แลกกับแหล่งพักพิงที่ถูกปกปิดเป็นความลับ   หลังจากครบรอบหนึ่งปีของการลี้ภัย สโนว์เดนให้สัมภาษณ์กับเกลนน์ กรีนวัลด์-นักข่าวสหรัฐฯ ยืนยันว่าข้อมูลเกี่ยวกับการซ้อมรบที่รั่วไหลจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ…

แอปฯ “แทนใจ” เช็กตำรวจจริง-ปลอม ได้ใน 3 วินาที

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พัฒนาแอปพลิเคชัน “แทนใจ” นวัตกรรมเพื่อการสื่อสารภายในองค์กรของตำรวจ ขณะที่ประชาชนใช้ตรวจสอบได้ว่าคนนี้เป็นตำรวจจริงหรือไม่ เพียงสแกนคิวอาร์โค้ด รู้ผลภายใน 3 วินาที   พล.ต.ท.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ ผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล (ผบช.สกพ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า แอปพลิเคชัน “แทนใจ” นวัตกรรมเพื่อการสื่อสารภายในองค์กรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในเวอร์ชันแรกเปิดตัวใช้งานเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข อดีต ผบ.ตร. เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าและขับเคลื่อนไปอย่างทันสมัยในยุคเทคโนโลยี 5G จึงได้นำข้อมูลด้านกำลังพล สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการเข้าสู่ระบบดิจิทัล เพื่อแสดงผลผ่านแอปฯ แทนใจ อีกทั้งยังจับมือกับองค์กรพันธมิตรอื่น ๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), Shopee, LINE MAN Wongnai และ Minor group เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่พี่น้องข้าราชการตำรวจ และอีกก้าวของการพัฒนาด้านการสื่อสารด้วยระบบ Notification เพื่อแจ้งเตือนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจหรือข่าวสารที่สำคัญ ทำให้มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องมือรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรอย่างสร้างสรรค์…

‘ใบสั่งออนไลน์’ ของจริง-ของปลอม ดูยังไง แนะวิธีตรวจสอบจะได้ไม่โดนหลอก

Loading

  ‘ใบสั่งจราจรออนไลน์’ ตรวจสอบยังไงระหว่างของจริงกับของปลอม แนะวิธีตรวจสอบผ่านระบบ PTM จะได้ไม่หลงกลมิจฉาชีพ   ‘ใบสั่งจราจรออนไลน์ปลอม’ กำลังระบาด หลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พบว่า มีมิจฉาชีพหัวใส แอบอ้างเป็นส่วนราชการหลอกลวงประชาชนในรูปแบบการแอบอ้างเรื่องการชำระค่าปรับต่าง ๆ โดยหนึ่งในนั้นคือใบสั่งจราจร ที่ออกโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีประชาชนหลงเชื่อและยอมโอนเงินจ่ายให้กับมิจฉาชีพ   นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้บริการของภาครัฐสะดวก รวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎหมายผลักดันรัฐบาลดิจิทัล   พร้อมจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตลอดจนมอบหมายให้หน่วยงานรัฐพัฒนาแอปฯ และบริการออนไลน์จำนวนมากเพื่อพัฒนาภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ทั้งนี้ หน่วยงานราชการหลาย ๆ หน่วยงานได้สานต่อนโยบาย พัฒนารูปแบบการให้บริการแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน   นางสาวรัชดา กล่าวว่า เพื่อให้รู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะวิธีสังเกตใบสั่งจราจรอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดส่งทางไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถถึงบ้าน ว่าฉบับไหนเป็นของจริง-ของปลอม   วิธีดูใบสั่งจราจรของจริง…

เปิดมุมมองความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

    ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการจัดงาน Trend Micro Risk to Resilience World Tour โดยมีผู้เชี่ยวชาญได้มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมไปถึงการวางกลยุทธ์รับมือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน จึงอยากมาแชร์มุมมองต่างๆ เพราะปัจจุบันเรื่องภัยไซเบอร์นับว่าเป็นปัญหาใกล้ตัวทุกคนเป็นอย่างมาก   เริ่มกันที่ ชัชวัฒน์ อัศวรักวงศ์ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (CISO) กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เล่าถึงสถานการณ์ที่ธุรกิจต้องรับมือกับการโจมตีว่า ในวันที่ธุรกิจธนาคารต้องยกระดับ ดิสรัปต์ตัวเองเข้าสู่ดิจิทัล เพื่อลดต้นทุนและเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ทุกธนาคารต้องรับมือการโจมตีในรูปแบบคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น มัลแวร์ แรนซัมแวร์ หากใครมีจุดอ่อนหรือช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เห็นก็จะถูกโจมตีทันที ขณะที่การโจมตี DDoS ยังมีอยู่ตลอดและไม่ได้ลดลง   ขณะที่บางองค์กรถูกโจมตีผ่าน Third Party เพราะเปิดให้พนักงานนำเครื่องมือส่วนตัวมาเชื่อมกับเน็ตเวิร์กในองค์กร หรือการนำเครื่องจากองค์กรกลับไปทำงานต่อที่บ้าน ซึ่งองค์กรจะต้องตระหนักว่าการทำงานลักษณะนี้มันปลอดภัยหรือไม่ และองค์กรพร้อมรับมือจากการถูกโจมตีรูปแบบนี้ไหม หรือในปัจจุบันที่ ChatGPT เข้ามาช่วยให้คนทำงานง่ายขึ้น ที่ผ่านมามีหลายองค์กรนำโค้ดหรือช่องโหว่องค์กรไปถาม ChatGPT ว่าสิ่งที่ทำอยู่มันดีหรือไม่ เพียงเพราะอยากให้ ChatGPT ช่วยแนะนำ กลับกลายเป็นว่าข้อมูลบริษัทของตัวเองรั่วไหลออกไปสู่โลกออนไลน์…

RDP Honeypot อ่วม ถูกบุกโจมตี 3.5 ล้านครั้ง (1)

Loading

    หากทุกท่านสังเกตดี ๆ จะพบว่า การโจรกรรมและการบุกโจมตีระบบเครือข่ายมีข่าวให้เห็นได้เกือบทุกวันจากทั่วทุกมุมโลก   แน่นอนว่าแฮ็กเกอร์ได้มีการพัฒนาและสร้างเครือข่ายขยายเป็นวงกว้างออกไปมากยิ่งขึ้นซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมีมูลค่ามากมายมหาศาลด้วยเช่นกัน   ไม่ว่าบุคคลหรือแม้กระทั้งองค์กรทั้งเล็กหรือใหญ่ก็ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีได้ด้วยกันทั้งสิ้น โดยวันนี้ผมขอหยิบยกเอากรณี Honeypot ที่กำลังตกเป็นข่าวอยู่ในช่วงนี้ซึ่งถือได้ว่ามีความน่าสนใจมากครับ   โปรแกรมการควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Remote Desktop Connection หรือ RDP) ถือได้ว่าเป็นแม่เหล็กและอาวุธอันทรงพลังของเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เลยก็ว่าได้   เนื่องจากมีการเชื่อมต่อจาก IP address ต่าง ๆ ของแฮ็กเกอร์โดยเฉลี่ยมากกว่า 37,000 ครั้งในแต่ละวันและเป็นการโจมตีอย่างอัตโนมัติ ในทันทีที่แฮ็กเกอร์ได้รับสิทธ์ให้เข้าถึงข้อมูลในระบบได้แล้ว กระบวนการค้นหาไฟล์ต่าง ๆ ที่สำคัญและมีความละเอียดอ่อนก็จะเริ่มต้นตามซึ่งหมายความว่าแฮ็กเกอร์จะสามารถเปิดเกมส์โดยบุกโจมตี RDP ได้ทันที   มีการทดลองใช้ Honeypot แบบ high-interaction กับ RDP ที่เชื่อมต่อการเข้าถึงจากเว็บสาธารณะได้โชว์ว่า แฮกเกอร์ไม่หยุดโจมตีระบบและมีการเปิดการโจมตีในช่วงเวลาทำงานของทุก ๆ วัน   โดยมากกว่า 3 เดือนที่นักวิจัยด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ของบริษัทจัดการกับภัยคุกคามซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สหรัฐและแคนนาดาได้พบว่า มีความพยายามในการเจาะระบบ RDP Honeypot…

เปิดอุบายใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้าง บริษัทเครือ Tiktok อยากเพิ่มผู้ติตดาม

Loading

  เปิดกลอุบายใหม่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นบริษัทในเครือ Tiktok อยากเพิ่มผู้ติตดาม หลอกโหลดแอปฯ เถื่อน ชี้ชัดเป็นกลุ่มแอปฯ ดูดเงิน   หลังจากประเทศไทยประสบภัย แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กันถ้วนหน้า ทั้งประชาชนธรรมดา ผู้บริหารใหญ่ และนายตำรวจระดับสูงยังโดน ล่าสุด ต๋าสปริงนิวส์ นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ ผู้สื่อข่าวและพิธีกรรายการ DigitalLife ของ SPRiNG News เจอเอง กับ อุบายใหม่ อ้างเป็นบริษัทเครือ Tiktok อยากเพิ่มผู้ติตดาม   โดยเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2566 แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ได้ใช้เบอร์ที่แสดงในโทรศัพท์มือถือขึ้นต้นด้วย 02 ซึ่งดูน่าเชื่อถือเมื่อเทียบกับเบอร์อื่น ๆ ที่ขึ้นต้นด้วย +67 หรือ +69 โทรเข้ามายังเบอร์ส่วนตัวของ ผู้สื่อข่าวและพิธีกรของสปริงนิวส์   ปกติแล้วมิจฉาชีพมักอ้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและพัสดุในชีวิตประจำวัน เช่น มีพัสดุไปรษณีย์ไทย , มีคดีความที่เกี่ยวกับเจ้าของเบอร์ เป็นต้น…