เทคโนโลยีที่อาจ “สอดแนม” คุณ!!!

Loading

  เมื่อเราก้าวเข้าสู่พรมแดนใหม่ ๆ ด้วยเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุด และเพลิดเพลิน ผสมปนเปได้ด้วยความสะดวกสบาย ไปกับประโยชน์เชิงบวกมากมายที่จะเกิดขึ้นกับวิธีการทำงาน การเล่น การบันเทิง พักผ่อน และการใช้ชีวิต   แต่เหรียญนั่นมีสองด้าน ดาบนั่นมีสองคม เราต้องมีสติอยู่เสมอและเตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมอยากบอกเล่าถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่อันตรายที่สุด อีกประเภทที่มีผลทั้งในแง่บวกและลบ อีกทั้งยังอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด     เทคโนโลยีการสอดแนมอุปกรณ์สมาร์ทโฮม (Spying Smart Home Devices)     เพื่อให้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมตอบคำถาม รับคำสั่ง และมีประโยชน์มากที่สุด อุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องฟัง และติดตามข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรา และนิสัยประจำของเราตลอดเวลา ปัจจุบันแกนหลักของเทคโนโลยีนี้ คือ ลำโพงอัจฉริยะ ที่จะเชื่อมต่อและส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์สมาร์ทโฮมชิ้นอื่นๆภายในบ้าน ซึ่งเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบแนวคิด I.O.T หรือชื่อเต็มๆว่า Internet Of Thing คือการเชื่อมต่อถึงได้อย่างครอบคลุมจากอุปกรณ์ที่หลากหลายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยสั่งเปิด-ปิด ผ่านระบบผ่านลำโพงอัจฉริยะ เพื่อเชื่อมต่อ ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ กล้องวงจรปิด และอีกมากมาย…

ญี่ปุ่นกับภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วม

Loading

  คอลัมน์ “เรื่องเล่าสะใภ้ญี่ปุ่น” โดย “ซาระซัง”   สวัสดีค่ะเพื่อนผู้อ่านทุกท่าน ช่วงนี้ญี่ปุ่นอยู่ในฤดูมรสุมต้องเผชิญพายุไต้ฝุ่นเป็นประจำทุกปี หลายครั้งสร้างความเสียหายอย่างหนักและมึผู้เสียชีวิตด้วย เราจะไปดูกันว่าญี่ปุ่นเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติจากพายุและน้ำท่วมอย่างไร   เดือนกันยายนและตุลาคมเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นเป็นประจำ หลายคนอาจคิดว่าเมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวและสึนามิแล้ว ภัยจากพายุไม่ได้น่ากลัวมากนัก แต่ความจริงแล้วพายุก่อภัยพิบัติทั้งจากลมแรง ฝนตกหนัก น้ำท่วม ดินถล่ม สร้างความเสียหายต่อทั้งพืชผลการเกษตร บ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ หลายครั้งมีผู้เสียชีวิตด้วย และหลายครั้งความเสียหายก็เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึง     ตัวอย่างที่ชัดเจนครั้งหนึ่ง คือ เมื่อเดือนกันยายน 2561 พายุได้พัดเรือลำหนึ่งไปชนเข้ากับสะพานที่เชื่อมเมืองโอซากากับสนามบินคันไซจนสะพานหักลง สนามบินคันไซที่สร้างขึ้นบนเกาะเทียมบนทะเลต้องถูกตัดขาดจากโลกภายนอก นักเดินทางจำนวนมากติดค้างอยู่ภายในสนามบินที่ถูกน้ำท่วม ไม่มีน้ำ-อาหารเพียงพอ และไม่มีไฟฟ้าด้วย ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะอพยพคนที่อยู่ในสนามบินออกมาได้ การกู้สนามบินที่น้ำท่วมรันเวย์และชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสารใช้เวลานานถึง 17 วัน ส่วนสะพานต้องใช้เวลาซ่อนนานกว่า 7 เดือน จึงจะเปิดการจราจรเชื่อมโยงตัวเมืองกับสนามบินได้อย่างสมบูรณ์     รับมือพายุอย่างไรจึงจะปลอดภัย   ภัยที่เกิดจากพายุหลัก ๆ แล้วเกิดจากลม (วาตภัย) และฝน (อุทกภัย) ซึ่งทำให้น้ำท่วม แม่น้ำเอ่อล้น และดินโคลนถล่ม…

ตีแผ่ซีไอเอ! อดีตสายลับแฉเรื่องราวถูกหลอกใช้ ทอดทิ้ง ติดคุกนานนับสิบปี

Loading

Biden CIA   สำนักข่าวรอยเตอร์จัดทำรายงานพิเศษ เกี่ยวกับชีวิตของอดีตสายลับของรัฐบาลสหรัฐฯ ในอิหร่าน ที่ตีแผ่ถึงวิธีที่เจ้าหน้าที่ซีไอเอใช้ในการรับสมัครสายลับและติดต่อสื่อสาร ไปจนถึงชีวิตหลังจากที่ถูกเปิดเผยตัวตน การถูกทอดทิ้ง จับกุมคุมขัง และทรมานนานนับสิบปี   โกลัมเรซา ฮอสเซนี (Gholamreza Hosseini) ถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานอิมาม โคไมนี ในกรุงเตหะราน เมื่อปีค.ศ. 2010 ขณะกำลังจะขึ้นเครื่องบินไปยังกรุงเทพฯ เขาถูกคุมขังนานเกือบ 10 ปีในข้อหาเป็นสายลับให้กับรัฐบาลต่างชาติและเพิ่งได้รับอิสระเมื่อ 3 ปีที่แล้ว   วิศวกรอุตสาหการชาวอิหร่านผู้นี้ คือหนึ่งในอดีตสายลับชาวอิหร่าน 6 คนที่ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ ถึงเรื่องราวการจับพลัดจับผลูไปเป็นสายลับให้แก่สำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ (Central Intelligence Agency – CIA) ไปจนถึงความยากลำบากจากการถูกซีไอเอทอดทิ้ง ถูกเปิดเผยตัวตน และถูกทางการอิหร่านจับกุมคุมขังในข้อหาจารกรรม   รายงานของรอยเตอร์ชิ้นนี้พบว่า ซีไอเอพยายามใช้ทุกวิถีทางเพื่อเก็บข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ในประเทศเป้าหมาย รวมทั้งอิหร่าน ซึ่งหลายครั้งสร้างความเสี่ยงให้แก่บรรดาผู้ที่ทำงานให้กับหน่วยงานข่าวกรองขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้   FILE – In this…

เปิด 3 แอปพลิเคชัน ถูกแบนเพราะผิดกฎหมาย เปิดให้สอดแนม-แฮกมือถือได้

Loading

  เปิด 3 แอปฯ มือถือ ที่ถูกแบนเพราะผิดกฎหมาย เพราะเปิดข้อมูลส่วนบุคคลให้คนอื่นรู้ เสี่ยงโดนสอดแนม ถูกคุกคามทางเพศ และแฮกมือถือชาวบ้านได้   ชวนวัยรุ่นดิจิทัลไลฟ์ มาทำความรู้จัก เปิด 3 แอปฯ มือถือ ที่ผิดกฎหมายและถูกแบนเพราะเปิดโอกาสให้ชีวิตดิจิทัลเราเสี่ยงภัยมากขึ้น     AndroDumpper   แอปฯ AndroDumpper เป็นแอปพลิเคชันที่เปิดให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ของคนอื่นได้โดยไม่ต้องใช้รหัส Wi-Fi ด้วยฟีเจอร์ของมันทำให้คนร้ายอาจใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ จึงถูกถอดออกจาก Play Store และมีส่วนที่ผิดกฎหมายด้วย เพราะการพยายามเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่ามีความผิด ในการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น   ดังนั้นถ้าใครที่แอปฯ แฮก Wi-Fi ข้างบ้านก็ระวังตัวให้ดีครับ ถ้าเขาจับได้ก็อาจเจอดีได้ ส่วนใครที่บ้านมี Wi-Fi แรก ๆ ก็ระวังให้ดี เพราะไม่แน่ใครที่เดินผ่านไปมาอาจะแอบพยายามยืนแฮก Wi-Fi หน้าบ้านของคุณได้     Secret SMS Replicator  …

ย้อนรอยวิกฤติ ‘เลบานอน’ จาก ‘ปารีสแห่งตะวันออกกลาง’ มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

Loading

  ประเด็นความวุ่นวายใน “เลบานอน” กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง เมื่อธนาคารทุกแห่งทั่วประเทศปิดทำการไม่มีกำหนด เนื่องจากหวั่นความปลอดภัย หลังลูกค้าที่โกรธแค้นบุกปล้นธนาคารหลายแห่งเพื่อเอาเงินฝากตัวเองคืน ขณะที่ค่าเงินปอนด์เลบานอนอ่อนค่าลงถึง 90% นับตั้งแต่ปี 2562 เรามาย้อนรอยวิกฤติใหญ่ในเลบานอนกันว่า มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร   สถานการณ์ในเลบานอนขณะนี้ อาจแทบเรียกได้ว่าเข้าสู่ “กลียุค” เพราะถูกรุมเร้าจากทั้งหนี้สาธารณะท่วม เหตุจลาจลทั่วประเทศ และเศรษฐกิจล้มละลายจนต้องขอกู้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขณะที่ประชาชนที่ฝากเงินกับธนาคารไม่สามารถถอนเงินตัวเองออกมาใช้ได้ จนเกิดเหตุการณ์ปล้นธนาคารทั่วทุกหัวระแหง   เมื่อวันพฤหัสบดี (22 ก.ย.) สมาคมธนาคารเลบานอน ประกาศว่า ธนาคารทุกแห่งจะยังปิดทำการต่อไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากไม่ได้รับความมั่นใจจากทางการในการรักษาความปลอดภัย ยังคงมีความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องสำหรับพนักงานและลูกค้า และบรรยากาศของการปลุกระดมยังคงมีอยู่     – เหตุจลาจลในเลบานอนล่าสุด ก.ย. 2565 (เครดิจภาพ: REUTERS/Mohamed Azakir) – ธนาคารหลายแห่งปิดประตูไม่ต้อนรับลูกค้า หลังจากเกิดเหตุการณ์ประชาชนที่โกรธแค้นบุกปล้นธนาคาร 7 แห่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในขณะที่วิกฤติการเงินที่ยืดเยื้อนาน 3 ปีกลับเลวร้ายลงอีก และชีวิตชาวเลบานอนยากลำบากยิ่งขึ้น   ภาคธนาคารเลบานอน “อายัดเงินฝาก” มานานกว่า…

ข้อมูลรั่วไหล ‘คลาวด์’ โจทย์ท้าทายธุรกิจยุคใหม่

Loading

  บริษัทต่าง ๆ ต้องย้ายการดำเนินธุรกิจของตนไปยังระบบคลาวด์กันมากขึ้น การลดความเสี่ยงของบริษัทต่าง ๆ จึงเริ่มยากขึ้นเรื่อย ๆ   มีการคาดการณ์ว่า ตลาดการป้องกันข้อมูลรั่วไหล (Data Loss Prevention หรือ DLP) บนคลาวด์ จะเติบโตจาก 2.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2564 ไปเป็น 2.75 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2574 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตต่อปีถึง 28% ด้วยกัน   ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังได้สร้าง DLP ที่ซับซ้อนในระดับใหม่ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการกำกับดูแล   สาเหตุนี้เองที่ส่งผลให้ตลาด DLP เติบโตอย่างกะทันหัน อีกทั้งยังมีการเพิ่มขึ้นของข้อมูลที่ดาวน์โหลดไปยังอุปกรณ์ USB โดยพนักงานถึง 123% และกว่า 74% ของข้อมูลถูกจัดประเภทตามนโยบายการกำกับดูแลข้อมูลขององค์กร ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ครั้งใหญ่นี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน ลูกค้าจึงได้เปลี่ยนวิธีการคิดใหม่   โดยเริ่มหันมายอมรับและใช้งานเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายกันมากขึ้น มีการใช้โซลูชัน…