สจล.เปิดบ้านจัดเอ็กซ์โปโชว์นวัตกรรม 1,111 ชิ้น

Loading

    สจล.หนุนนวัตกรรมไทยสู่ระดับโลก เตรียมจัดงาน KMITL INNOVATION EXPO 2023 วันที่ 27-29 เมย.นี้ โชว์พลังสิ่งประดิษฐ์ฝีมือคนไทย 1,111 ชิ้น เผยโฉม ‘แบตเตอรี่กราฟีน’ เปลี่ยน EV ให้โลกยั่งยืน   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นำโดย รศ.ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการอธิการบดี ผนึกความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และพันธมิตรนานาชาติ แถลงเตรียมจัดงาน “KMITL Innovation EXPO 2023” ในวันที่ 27 – 29 เม.ย. 2566 ที่ สจล.   การแสดงนวัตกรรมและผลงานวิจัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 1,111 ชิ้น เผยตัวอย่าง 4 นวัตกรรมสุดว้าว แบตเตอรี่กราฟีนสำหรับยานยนต์ EV ในอนาคต ผ้าไหมไทยย้อมกราฟีนแบบใส่ในเมืองร้อนและเมืองหนาว เม็ดพลาสติกกราฟีน และระบบตรวจจับ…

เอกชน-รัฐ เช็คด่วน! ระบบประชุมออนไลน์ e-Meeting ที่ใช้อยู่ ผ่านมาตรฐาน ปลอดภัยไหม และมาดูการรับรองระบบในปัจจุบันโดย ETDA

Loading

    “การประชุมออนไลน์” หรือ e-Meeting กลายเป็นสิ่งที่หลายคน หลายองค์กรต่างใช้งานและคุ้นชินไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการประชุมออนไลน์ภายในองค์กรหรือนอกองค์กร ที่ต้องมีการติดต่อกับลูกค้าหรือหุ้นส่วนใดๆ ก็ตาม และดูเหมือนว่าการประชุมออนไลน์จะยังคงเป็นส่วนสำคัญของทุกการทำงานและธุรกิจต่อไป เพราะหลายธุรกิจต่างปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid ที่การทำงานไม่จำกัดอยู่แค่ภายในออฟฟิศเท่านั้น เห็นได้จากข้อมูลของ World Economic Forum ระบุว่า พนักงานทั่วโลกเลือกทำงานนอกสถานที่ทำงาน เพิ่มขึ้นสองเท่า จากเดิมปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 16.4 เพิ่มเป็นร้อยละ 34.4 ในปี 2564 โดยใช้แพลตฟอร์มในการประชุมออนไลน์ที่หลากหลาย อาทิ Microsoft Teams, Google Meet, ZOOM และ Cisco WebEx เป็นต้น   แม้ทุกวันนี้การประชุมออนไลน์ จะเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ได้รับความนิยม ที่จะช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น แต่เมื่อหลายองค์กรมีการจัดประชุมและกิจกรรมออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญระหว่างกันทางออนไลน์ “เราจะมั่นใจได้อย่างไร? ว่าระบบการประชุมออนไลน์ ที่เราเลือกใช้งานมีความปลอดภัยและเป็นระบบที่สอดคล้องเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด”   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า)…

“หลอกเชือดหมู” ลวงรักสาวเอเชียจากฐานใหญ่ในกัมพูชา

Loading

    ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วโลกได้สูญเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับแก๊ง “หลอกเชือดหมู” ซึ่งเป็นขบวนการโรมานซ์สแกมที่ต้มตุ๋นให้เหยื่อหลงรัก โดยเริ่มจากการปลอมตัวเป็นคนแปลกหน้าทรงเสน่ห์ที่ส่งข้อความเป็นมิตร สานสัมพันธ์ให้เหยื่อตกหลุมรักก่อนหลอกชวนลงทุนแล้วเชิดเงินหนีไป   เบื้องหลังภาพโปรไฟล์อันหรูหราที่ใช้หลอกล่อเหยื่อคือความจริงอันดำมืดที่ตัว “สแกมเมอร์” หรือนักต้มตุ๋นหลายคนที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ถูกบังคับให้ทำงานหลอกเงินผู้คนจากสถานที่ที่ไม่ต่างจากคุกในประเทศต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น กัมพูชา และไทย   การตรวจสอบของทีมข่าวบีบีซี เวิลด์เซอร์วิส ได้เปิดโปงสภาพชีวิตในสถานที่ทำงานของอาญชากรเหล่านี้ และได้พูดคุยกับอดีตหัวหน้าแก๊งเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการอันแยบยลในการหลอกเอาเงินจากเหยื่อ   *คำเตือน* บทความนี้มีการบรรยายเหตุการณ์ที่รุนแรงซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านบางคนรู้สึกไม่สบายใจ   ตอนที่ “เสี่ยว จุ้ย” (นามสมมุติ) ทำงานเป็นสแกมเมอร์ เขามองว่าเสียงอันแหบลึกของเขาเป็นคุณสมบัติอันโดดเด่นที่สุดในตัว เพราะมันช่วยให้เขาพูดกล่อมเหยื่อให้ทำในสิ่งที่เขาต้องการได้   เขาเรียกเหยื่อเหล่านี้ว่า “หมู” ลับหลังพวกเธอ และเป้าหมายของเขาคือการ “ขุน” แล้ว “เชือด” เหยื่อในท้ายที่สุด ซึ่งหมายถึงการใช้กลวิธีต่าง ๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์ให้เหยื่อหลงรัก ก่อนจะหลอกให้ร่วมในการลงทุนสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่มีอยู่จริงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   “กุญแจสำคัญของการหลอกเชือดหมูคืออารมณ์ความรู้สึก” เสี่ยว จุ้ย ชาวจีนวัย 20 ตอนปลายให้สัมภาษณ์กับบีบีซีจากเซฟเฮาส์แห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ…

เปิดใจหญิงผู้ถูกสแกมเมอร์ขโมยภาพไปหลอกรักออนไลน์ จนผู้ชายสูญเงินเป็นล้าน

Loading

  เป็นเวลากว่า 1 ทศวรรษ ที่ภาพของอดีตนักแสดงในรายการสำหรับผู้ใหญ่ถูกใช้หลอกเงินเหยื่อรวมมูลค่ามหาศาล แล้วบุคคลที่ถูกนำภาพไปใช้ล่ะ รู้สึกอย่างไร   ทุกวัน แวเนสซา จะได้ข้อความจากผู้ชายที่เชื่อว่า พวกเขามีความสัมพันธ์เชิงรักใคร่กับเธอ บางคนถึงกับคิดว่าเธอเป็นภรรยาของพวกเขา   พวกเขาโกรธ สับสน และอยากได้เงินคืน พวกเขาบอกว่า โอนเงินให้เธอนำไปใช้จ่ายรายวัน จ่ายค่ารักษาพยาบาล และช่วยเหลือญาติมิตร   แต่นั่นเป็นคำโกหกทั้งหมด แวเนสซา ไม่รู้จักผู้ชายเหล่านี้เลย แต่ภาพและวิดีโอของเธอ ในชีวิตที่พ้นจากวงการหนังผู้ใหญ่ ถูกลักลอบนำไปใช้เพื่อหลอกลวงหาคู่ หรือ “พิศวาสอาชญากรรม” (romance scam) ย้อนไปตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 2000s   เหยื่อเหล่านี้ ถูกหลอกเงินจากบัญชีออนไลน์ที่ใช้ชื่อ หรือรูปโปรไฟล์ของแวเนสซา หรือเป็นการหลอกลวงประเภท catfishing แปลว่า การใช้ภาพคนอื่นมาแอบอ้างเป็นตัวเอง แล้วไปล่อลวงคนอื่น   “ฉันเริ่มซึมเศร้า โทษตัวเอง เพราะถ้ารูปของฉันไม่ได้ถูกนำไปใช้ ผู้ชายเหล่านี้ก็ไม่ต้องถูกหลอกเงิน” แวเนสซา กล่าว โดยบีบีซีไม่ใช้นามสกุลของเธอ เพื่อพิทักษ์ตัวตนของเธอ ไม่ให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์   เป็นเวลา…

ไอโฟนหาย? มาดูวิธีป้องกันคนขโมยไอโฟน หรือคนที่เจอไอโฟนหายยึดบัญชี Apple ID

Loading

    ไอโฟนหาย? มาดูวิธีป้องกันคนขโมยไอโฟน หรือคนที่เจอไอโฟนหายอาจขโมยและยึดบัญชี Apple ID ของคุณได้ด้วย ? แม้ว่า Apple ได้ออกแบบป้องกันมากมายเพื่อป้องกันไม่ให้โจรไซเบอร์เจาะเข้าไปใน iPhone ของคุณ แต่ดูเหมือนว่าโจรทั่วไปแม้ไม่เก่งเรื่องแฮกก็มีวิธีที่จะขโมยไอโฟนของคุณได้เช่นกัน โดย The Wall Street Journal รายงานว่าหัวขโมยทั่วอเมริกากำลังใช้กลอุบายธรรมดาเพื่อขโมยรหัสผ่าน iPhone   ระวังกลอุบายของโจร จ้องคุณในที่สาธารณะ   เพียงแค่สังเกตคุณอยู่ห่างๆ หรือหลอกให้คุณเปิดเผยรหัสผ่านโดยการตีสนิททักทายคุยกับคุณในร้านกาแฟหรือบาร์ โดยเอาโทรศัพท์ไปถ่ายรูปแล้วปิดเครื่อง เมื่อพวกเขารู้รหัสผ่านแล้ว พวกเขาก็แค่ฉก iPhone ของเหยื่อขโมยไอโฟนของคุณไป ในบางกรณี ผู้ใช้ iPhone ก็ถูกวางยาด้วย ซึ่งเคยเกิดเหตุในสหรัฐมาแล้วด้วยมีผู้เสียชีวิต 1 ราย   เมื่อโจรได้รหัสอยู่ในมือแล้ว โจรเค้าใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการบล็อกไม่ให้คุณเข้าถึงบัญชี Apple ของคุณ พวกเขามักจะปิดการใช้งาน Find My iPhone เพื่อไม่ให้คุณค้นหาโทรศัพท์เจอ และเป็นการป้องกันที่คุณสั่ง Lost mode เพื่อล้างข้อมูล นอกจากนี้อาจใช้รหัสผ่านของคุณในการขโมยเงินในบัญชี…

‘แรนซัมแวร์’ ป่วนข้อมูลธุรกิจ พร้อม ‘จ่าย’ หรือ พร้อม ‘รับมือ’

Loading

    การโจรกรรมข้อมูลโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่กระทำการอย่างซับซ้อนกำลังเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนครั้งและขอบเขตการโจมตี   เพียร์ แซมซัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลรายได้ บริษัท Hackuity เล่าว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ช่วงปลายปี 2565 มีรายงานว่าเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียซึ่งกระทบต่อลูกค้าของ Optus บริษัทด้านโทรคมนาคมรวมแล้วกว่า 10 ล้านคน   สำหรับประเทศไทยเองก็พบปัญหาการละเมิดข้อมูลของโรงพยาบาลหลายแห่งรวมถึงกระทรวงสาธารณสุขในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยรั่วไหลและถูกเรียกค่าไถ่เพื่อนำฐานข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม   วันนี้อาชญากรไซเบอร์ เช่น Desorden Group คัดเลือกเหยื่ออย่างพิถีพิถัน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชียที่มีช่องโหว่ชัดเจนซึ่งสามารถเจาะระบบได้ง่าย โดยจะลอบดึงข้อมูลจากบริษัทหรือองค์กรให้ตกเป็นเหยื่อ และข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นหากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่   หากไม่ได้รับการตอบกลับ อาชญากรกลุ่มนี้ก็จะทำให้เหยื่อได้รับความอับอายไปทั่ว ปล่อยข้อมูลให้รั่วไหล และยกระดับการกดดันให้เข้มข้นยิ่งขึ้น   “วายร้ายทุกวันนี้ไม่ได้อยากเก็บตัวแบบในอดีต หากแต่พร้อมที่จะป่าวประกาศและเปิดเผยรายละเอียดกับสื่อมวลชนว่าตนเองเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของเหยื่ออย่างไร”   เตรียมพร้อม สกัดภัยไซเบอร์   ปัจจุบัน มีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายสามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์ นั่นก็คือ ความพร้อม (หรือการขาดความพร้อม) ของตนเอง   ช่วงที่โควิดระบาด บริษัทหลายแห่งได้ควบรวมและจัดแจงรายจ่ายทางเทคโนโลยีใหม่ ทั้งได้มีการลงทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นระบบดิจิทัล ด้านฝ่ายไอทีก็เน้นไปที่การเปิดใช้ระบบการทำงานจากทางไกล เพื่อให้พนักงานและระบบภายในองค์กรมีความปลอดภัย…