อยู่ไหนกันบ้าง? สำรวจฐานทัพสหรัฐทั่วโลก

Loading

    การเมืองไทยหลังเลือกตั้งยังไม่ลงตัว แต่คนไทยบางกลุ่มกังวลไปถึงความสัมพันธ์กับมหาอำนาจสหรัฐ กลัวว่าจะถูกแทรกแซงโดยเฉพาะประเด็นการตั้งฐานทัพ กรุงเทพธุรกิจชวนสำรวจฐานทัพสหรัฐทั่วโลกว่าอยู่ที่ไหนกันบ้าง   เว็บไซต์ thesoldiersproject.org รายงานว่า สหรัฐเป็นหนึ่งในประเทศท็อปไฟว์ ที่มีกองทัพใหญ่สุดและอาวุธดีสุดของโลก จึงไม่ต้องแปลกใจที่สหรัฐมีฐานทัพมากมายในต่างประเทศ ราว 750 แห่งใน 80 ประเทศ รองลงมาคือสหราชอาณาจักรแต่มีเพียง 145 แห่งเท่านั้น ตามด้วยรัสเซียราว 36 แห่ง ส่วนจีนมีเพียง 5 แห่ง นั่นเท่ากับว่า สหรัฐมีฐานทัพมากกว่าอีกสามประเทศรวมกันถึงสามเท่า ข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้     หน่วยบัญชาการรบ (ขึ้นตรงกับสำนักงานใหญ่เพนตากอน)   สหรัฐมีหน่วยบัญชาการรบ 11 แห่ง ได้แก่   – หน่วยบัญชาการแอฟริกา คุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์สหรัฐในประเทศแอฟริกา   – หน่วยบัญชาการกลาง เน้นตะวันออกกลาง   – หน่วยบัญชาการไซเบอร์   – หน่วยบัญชาการยุโรป เน้นยุโรป ยูเรเชีย…

สกมช. ร่วมกับ โคลสเตอร์สติลมีเดียร์ นำ 500 ผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งจากประเทศไทยและเอเชีย-แปซิฟิค ร่วมเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกผ่าน Smart Cybersecurity Summit Thailand

Loading

    สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมมือกับ โคลสเตอร์สติลมีเดียร์ และ เอ็กซโปซิส เปิดสุดยอดการประชุมและนิทรรศการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ “Smart Cybersecurity Summit Thailand 2023” ที่รวบรวมเหล่าผู้นำและผู้ใช้งานจริงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งจากภาครัฐและเอกชนกว่า 500 ท่าน พร้อมด้วยบริษัทชั้นแนวหน้าในอุตสาหกรรมกว่า 30 บริษัทจากทั้งประเทศไทยและทั่วภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ที่มาอัปเดตข่าวสารล่าสุด รวมไปถึงเทรนด์ในอุตสาหกรรม พร้อมกับข้อมูลเชิงลึก ความรู้ประสบการณ์ กรณีศึกษา และแนวทางในการจัดการกับเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่ผ่านมา   จากสถิติพบว่าในประเทศไทย มีภัยคุกคามจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ประเทศไทยประสบกับการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ จาก 135 เหตุการณ์ในปี 2564 เป็นมากกว่า 772 ครั้งในปี 2565 การโจมตีทางไซเบอร์ 44,144 ครั้ง เป็นจำนวนที่น่าตกใจอย่างยิ่ง และเชื่อมโยงกับการทำงานจากระยะไกล และเกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาเพียงสี่เดือนของปีที่แล้ว การโจมตีเหล่านี้สร้างความเสียหายหลายพันล้านบาทในแต่ละปี และไม่มีอุตสาหกรรมใดที่ปลอดภัย เนื่องจากภาคการศึกษา หน่วยงานรัฐบาล…

มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีโรงพยาบาล: ไซเบอร์ฆ่าคนได้จริง

Loading

    คืนวันที่ 11 กันยายน ของปี 2020 คงเป็นหนึ่งในค่ำคืนอันโศกเศร้ามากที่สุดของครอบครัวของผู้ป่วยวัย 78 ปีรายหนึ่ง ซึ่งป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่ต้องมาจบชีวิตลง เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟได้ เพราะระบบขัดข้องจากการมัลแวร์เรียกค่าไถ่     หญิงสูงวัยผู้นี้ต้องไปจบชีวิตบนรถพยาบาลระหว่างเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในเมืองวุพเพอร์ทาลที่อยู่ไกลออกไปกว่า 30 กิโลเมตร ทำให้การรักษาล่าช้าไปเป็นชั่วโมง   หากไม่มีแฮกเกอร์หิวเงินที่ปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เข้าสู่ระบบโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยดึสเซิลดอร์ฟ ผู้ป่วยรายนี้ก็คงได้รับการรักษาจนกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวได้อีกครั้ง   แฮกโรงพยาบาลกระทบถึงชีวิตคนไข้   ระบบการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งหันมาพึ่งพาระบบไอทีเพิ่มมากขึ้น ทั้งระบบคลาวด์ เครือข่ายฐานข้อมูลภายใน ไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์ เพื่อยกระดับการทำงาน ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้เข้ารับการรักษาให้มากขึ้น   แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์ โดยเฉพาะมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่ไม่เฉพาะแต่สร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังสร้างความสูญเสียให้เกิดกับคนไข้ที่มารับการรักษาด้วย   เนื่องจากการโจมตีแต่ละครั้งทำให้โรงพยาบาลต้องหันกลับใช้ระบบการทำงานด้วยมือ กระดาษ และปากกา ทำให้ระบบการทำงานช้าลง และแบกรับภาระคนไข้ไม่ได้เท่าที่เคย   ในกรณีโศกนาฎกรรมที่ดึสเซิลดอร์ฟ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ทำให้โรงพยาบาลรับคนไข้ได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งจากที่เคยรับได้ถึงวันละมากกว่า 1,000 คน และยังไม่สามารถรับคนไข้ใหม่ได้อีกด้วย   บางโรงพยาบาลอย่างในฝรั่งเศส แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นต้องส่งคนไข้ที่อยู่ในการดูแลไปโรงพยาบาลอื่น ๆ…

‘การ์ทเนอร์’ เปิด 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ เขย่าลงทุนไอที ‘ภาครัฐ’

Loading

    การ์ทเนอร์ เผย 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ที่มีความสำคัญต่อกิจการภาครัฐปี 2566 แนวทางที่ผู้นำองค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (Post-Digital Government)   อาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ เปิดมุมมองถึง ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ว่า ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น   แต่ยังให้โอกาสสำคัญสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไป   พิทักษ์ ‘ซิเคียวริตี้’ องค์กร   สำหรับเทคโนโลยีที่ ซีไอโอ ภาครัฐควรพิจารณาและนำมาปรับใช้ เพื่อปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำ และสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น ประกอบด้วย     Adaptive Security : การ์ทเนอร์คาดว่า ปี 2568 ราว 75% ของซีไอโอในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัย โดยจะมีทั้งเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่างๆ เทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร   รวมไปถึงการผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ…

‘Royal ransomware’ โจมตีระบบไอทีเมืองแดลลัส

Loading

  ในวันนี้ ผมขอหยิบยกข่าวที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในสหรัฐเกี่ยวกับกรณีที่เมืองแดลลัส (Dallas) รัฐเท็กซัส ถูกโจมตีจาก “Royal ransomware” ทำให้ต้องปิดระบบไอทีบางส่วนชั่วคราวเพื่อเป็นการสกัดการแพร่กระจายของการโจมตีในครั้งนี้   อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า เมืองแดลลัส เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของสหรัฐ มีประชากรประมาณ 2.6 ล้านคน ซึ่งจุดนี้เองน่าจะเป็นสาเหตุที่ให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เลือกเมืองแดลลัสเป็นเป้าหมายในการโจมตี   โดยสื่อท้องถิ่นรายงานว่า ระบบการสื่อสารของตำรวจและระบบไอทีของเมืองถูกชัดดาวน์ เนื่องจากมีความสงสัยว่ามีการบุกโจมตีของแรนซัมแวร์   จากสถานการณ์นี้มีผลทำให้เจ้าหน้าที่ของ 911 ต้องจดบันทึกรายงานเหตุต่าง ๆ ที่ประชาชนแจ้งเข้ามาและส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแทนการส่งผ่านระบบสั่งการทางคอมพิวเตอร์โดยตรง และมีการปิดเว็บไซต์ของกรมตำรวจแดลลัสเพื่อความปลอดภัยก่อนกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งในเวลาต่อมา   นายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลเมืองได้รับการแจ้งเหตุการณ์การโจมตีตามแผนการตอบสนองภัยคุกคาม (IRP) โดยเครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยของแดลลัสได้แจ้งเตือนไปยังศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย (SOC) ว่ามีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์และได้รับการยืนยันว่าเซิร์ฟเวอร์จำนวนหนึ่งถูกแฮ็กซึ่งส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ  รวมถึงเว็บไซต์กรมตำรวจอีกด้วย   โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งจัดการแยกแรนซัมแวร์เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย เริ่มจากการลบแรนซัมแวร์ออกจากเซิร์ฟเวอร์ที่ติดไวรัสและกู้คืนบริการต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาใช้งานได้อย่างปกติ และในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็เร่งประเมินผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับประชาชน   กล่าวคือ หากประชาชนพบกับปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการสามารถโทรติดต่อ 311 แต่ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉินให้โทรติดต่อ 911 และมีผลกระทบกับระบบศาลของเมืองแดลลัสที่ต้องยกเลิกการพิจารณาคดีของคณะลูกขุนเพราะระบบไอทีใช้งานไม่ได้   มีรายงานเกี่ยวกับการออกปฏิบัติการของเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์พบว่า รัฐบาลท้องถิ่นถูกแรนซัมแวร์บุกโจมตีเพิ่มเรื่อย ๆ…

สรุป 3 เทรนด์ด้าน Identity and Access Management ปี 2023

Loading

    Identity and Access Management (IAM) คือ หนึ่งในรากฐานสำคัญของการทำ Digital Transformation อย่างมั่นคงปลอดภัย ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการ Identity ของผู้ใช้และการควบคุมการเข้าถึงระบบต่างๆ ขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถสร้าง Transparency, Trust และ Control บน Digital Journey ของตนเองได้ อย่างไรก็ตาม การมาถึงของระบบ Cloud, Distributed Apps และ Hybrid Workforces ทำให้โซลูชัน IAM จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้ยังคงจัดการกับ Identity และควบคุมการเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ   บทความนี้ i-Sprint Innovations ผู้ให้บริการนวัตกรรม Identity, Credential & Access Management ชั้นนำระดับโลก ได้ออกมาเปิดเผยถึง 3 เทรนด์ที่โซลูชัน IAM กำลังจะเดินทางไปในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้…