“4 ทักษะดิจิทัล”ที่จำเป็น ต่อการทำงานในอนาคต

Loading

  วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิดมีการทำงานจากที่บ้าน ประชุมออนไลน์ และทำงานแบบลดการใช้กระดาษ จึงทำให้ใครก็ตามที่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้อีกต่อไปแล้ว ในยุคก่อนการสรรหาพนักงานใหม่ เรามักพิจารณาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมสำนักงานต่างๆ เช่น โปรแกรมการทำเอกสาร โปรแกรมการนำเสนอ รวมถึงการใช้สเปรดชีต จำได้ว่ามีช่วงหนึ่งทางราชการถึงกับต้องกำหนดเกณฑ์ให้ข้าราชการที่ต้องการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ผ่านการอบรมทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางอย่าง แต่วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิดมีการทำงานจากที่บ้าน ประชุมออนไลน์ และทำงานแบบลดการใช้กระดาษ จึงทำให้ใครก็ตามที่ขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้อีกต่อไปแล้ว ดังนั้นทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรมต่างๆ จึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนทำงานในยุคปัจจุบัน แต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ได้หยุดอยู่แค่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมในรูปแบบเดิม ปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมาย ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อุปกรณ์สวมใส่ ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต พาเราเข้าสู่โลกดิจิทัลได้ในแทบทุกอุปกรณ์ อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ๆ ที่ต้องดาวน์โหลดมาใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเล่นโปรแกรมที่หลากหลายขึ้นด้วย กลายเป็นว่า วันนี้ใครใช้เทคโนโลยีดิจิทัลไม่คล่องนอกจากจะทำงานลำบากขึ้นแล้ว ก็จะเริ่มใช้ชีวิตประจำวันลำบากมากขึ้น ไล่มาตั้งแต่การชำระเงินซึ่งการใช้ QR code กลายเป็นเรื่องปกติ บางร้านค้าปฏิเสธที่จะรับเงินสดก็มีแล้ว การใช้โมบายแบงค์กิ้งในการทำธุรกรรมการเงิน การสั่งอาหาร สั่งสินค้าออนไลน์ การจองตั๋วเดินทาง ที่พัก หรือแม้แต่การเช็คอินเที่ยวบินก็กลายเป็นว่าต้องใช้สมาร์ทโฟนจัดการ รวมไปถึงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์บางอย่างที่ทำงานผ่านโปรแกรมบนมือถือ จึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทักษะด้านดิจิทัลปัจจุบัน กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานที่โลกกำลังเปลี่ยนไป จากการทำงานแบบเดิมๆ กลายเป็นโลกการทำงานที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ…

เครื่องเอธิโอเปียนแอร์ไลนส์ไม่ยอมลงจอด เพราะนักบินหลับปุ๋ยทั้งกัปตัน&ผู้ช่วย!! ทุกคนปลอดภัยแล้ว

Loading

  อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อนักบินกัปตันและนักบินผู้ช่วยพากันหลับสนิทไปในระดับความสูง 37,000 ฟุต และปล่อยให้อากาศยานเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆ ด้วยระบบการบินอัตโนมัติ จนกระทั่งพาผู้โดยสารผ่านสนามบินเป้าหมายกันเลยทีเดียว   สายการบินเอธิโอเปีย แอร์ไลนส์ มีคำตอบให้แล้ว จากประสบการณ์จริงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา 15 สิงหาคม 2022 กล่าวคือ ระบบเตือนภัยจะดังระรัว ปลุกนักบินให้ตื่นขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างแน่นอน   บรรดานักบินสาวผู้สุดสวยสง่างามในภาพนี้ มิใช่ผู้ที่ขับขี่เครื่องบินลำดังกล่าว พวกเธอเป็นนักบินหญิงที่ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงานกับสายการบินเอธิโอเปีย แอร์ไลนส์   ตามนโยบายของประเทศซึ่งส่งเสริมสนับสนุนศักยภาพสตรี โดยที่พนักงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินเป็นทีมงานสตรีทั้งหมดตั้งแต่งานภาคพื้นดินไปถึงงานบนเครื่องบิน นโยบายนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2015 และเว็บไซต์ข่าว Pilot Career News นำเสนอไว้เมื่อวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2020 ในภาพนี้เป็นทีมนักบินและลูกเรือหญิงล้วน ของเครื่องโบอิ้ง777 บันทึกภาพและออกเดินทางวันที่ 7 มีนาคม 2020 จากกรุงแอดดิส อาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย และเดินทางถึงกรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 8 มีนาคม 2020   กัปตันพร้อมเพรียงกับนักบินผู้ช่วยหลับปุ๋ยระหว่างขับเคลื่อนโบอิ้ง 737-800 ของเอธิโอเปียน…

จับตา 5 ปี ไทยเผชิญวิกฤติ แรงงาน ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’

Loading

  การเติบโตของดิจิทัล เพิ่มความจำเป็นให้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้รับการฝึกอบรมมากขึ้น แต่แรงงานไอทีที่มีความชำนาญยังมีจำนวนน้อย บวกกับคนที่ได้รับการฝึกอบรมและมีคุณสมบัติยังไม่เพียงพอ การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในปี 2560 อุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 8.64 หมื่นล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเติบโตเกือบ 80% ภายในปี 2570 ด้วยมูลค่าสูงถึง 4.03 แสนล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 2563 ถึง 2570 มีอัตราการเติบโตเปลี่ยต่อปี 12.5% ​​ หากถามว่าทำไมอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเติบโตอย่างมาก ผมขอพูดง่ายๆ คือ มีการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นในทุกๆปี อ้างอิงตามรายงาน State of Cybersecurity ของเอคเซนเชอร์ปีที่ผ่านมา เฉพาะระหว่างปี 2563 ถึง 2564 จำนวนการโจมตีความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นถึง 31% ขณะที่จำนวนเฉลี่ยของการโจมตีที่สำเร็จคือ 29 ครั้งต่อบริษัท อีกทางหนึ่ง อัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลมาจากวงจรของการก่ออาชญากรรมในโลกไซเบอร์ระหว่างผู้ก่ออาชญากรรมและหน่วยงานข่าวกรอง ที่ผ่านมาผู้ก่ออาชญากรรมได้นำผลกำไรที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายไปลงทุนซ้ำเพื่อพัฒนาความสามารถใหม่ จ้างพนักงานเพิ่มขึ้น และกระจายห่วงโซ่อุปทานของตนเอง โดยวัฏจักรนี้จะดำเนินต่อไปตราบใดที่มันยังคงสร้างผลกำไรสำหรับผู้ก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุผลดังกล่าว การลงทุนเพื่อสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอจึงกลายเป็นการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ ควบคู่ไปกับ การลงทุนเอไอ…

‘ฟิชชิง-ช่องโหว่ซอฟต์แวร์’ ต้นตออุบัติการณ์ภัยไซเบอร์

Loading

  อาชญากรรมทางไซเบอร์ กำลังแผ่ขยาย กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อองค์กรธุรกิจ ลุกลามไปยังระบบเศรษฐกิจโลก เพราะเมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำไปมากเท่าไหร่ ช่องโหว่ของระบบยิ่งกว้างมากขึ้น รายงานการรับมืออุบัติการณ์จาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เผยว่า ปัญหาฟิชชิง และช่องโหว่ซอฟต์แวร์ คือต้นตอของอุบัติการณ์ทางไซเบอร์เกือบ 70% ที่ผ่านมาเกิดการใช้ ช่องโหว่ซอฟต์แวร์ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตรงตามพฤติกรรมฉวยโอกาสของวายร้ายที่คอยสอดส่องมองหาช่องโหว่ และจุดอ่อนบนอินเทอร์เน็ตตามที่ตนเองต้องการ พบว่า ภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ อยู่ในกลุ่มที่โดนเรียกค่าไถ่ข้อมูลคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยสูงสุดที่เกือบ 8 ล้านดอลลาร์ และ 5.2 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ โดยรวมแล้วมัลแวร์เรียกค่าไถ่และภัยจากอีเมลหลอกลวงทางธุรกิจ (BEC – Business Email Compromise) ติดอันดับต้นๆ ตามประเภทอุบัติการณ์ที่พบบ่อย ซึ่งทีมรับมืออุบัติการณ์ได้เข้าไปช่วยจัดการในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมัลแวร์เรียกค่าไถ่และภัยจากอีเมลหลอกลวงทางธุรกิจคิดเป็นราว 70% ของกรณีการรับมืออุบัติการณ์ทั้งหมด อาชญากรรมไซเบอร์ทำเงินง่าย เวนดี วิตมอร์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าทีม Unit42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ บอกว่า…

วิธีเช็กซิมลงทะเบียนด้วยชื่อใคร มีเบอร์อื่นที่เปิดด้วยบัตรประชาชนของเราหรือไม่

Loading

  วิธีเช็กซิมลงทะเบียนด้วยชื่อใคร มีหลายวิธีที่สามารถตรวจสอบได้ และมีวิธีเช็กเบอร์อื่นที่เปิดด้วยบัตรประชาชนของเราหรือไม่ และเช็กว่าบัตรประชาชนของเรานำไปใช้เปิดซิมเบอร์โทรศัพท์มือถือไปแล้วกี่เบอร์ เพื่อป้องกันถูกคิดค่าบริการจากคนอื่นที่ใช้บัตรประชาชนเราเปิดเบอร์ด้วย วิธีเช็กซิมลงทะเบียนด้วยชื่อใคร ? เบอร์เครือข่าย AIS หากทราบว่าเบอร์นี้เป็นเบอร์ของ AIS ง่ายสุดคือใส่ซิมลงในมือถือ ดาวน์โหลดแอป My AIS แล้วทำการ login ผ่าน OTP จะแสดงเบอร์โทรศัพท์ของคุณ หากมีการลงทะเบียนแล้วจะแสดงเป็นชื่อ นามสกุลเจ้าของเบอร์โทรในหน้าเมนูด้วย เบอร์เครือข่าย True ตรวจสอบได้ผ่านทางกด *153# โทรออก ระบบจะแจ้งว่าเบอร์นี้ลงทะเบียนกับบัตรลงท้ายอะไร สำหรับซิมระบบเติมเงิน ส่วนถ้าใช้ซิมรายเดือนก็จะเป็นการเช็คว่าจดทะเบียนแล้วหรือยัง เบอร์เครือข่าย dtac สามารถกด *102# โทรออกเพื่อเช็คเลขบัตรประชาชน 4 ตัวสุดท้ายที่จดทะเบียนด้วยเบอร์เติมเงิน วิธีตรวจสอบ มีเบอร์อื่นที่เปิดด้วยบัตรประชาชนของเราหรือไม่ หรือบัตรประชาชนของเราไปเปิดเบอร์มือถือเบอร์ไหนบ้าง     ดาวน์โหลดแอป 3 ชั้น ทาง App Store หรือ Google Play จากนั้นเตรียมบัตรประชาชนในการทำการลงทะเบียนด้วย เริ่มต้นเปิดแอป 3…

Human Error มนุษย์คือจุดอ่อน เปิดทางแฮกเกอร์เข้าโจมตี

Loading

ไม่มีใครไม่เคยทำผิดพลาด การทำผิดพลาดล้วนสร้างประสบการณ์และบทเรียนให้กับมนุษย์ นั่นคือวิธีที่เราเติบโตและเรียนรู้ แต่การรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ความผิดพลาดของมนุษย์อาจเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามมากเกินไป . จากการศึกษาของ IBM ข้อผิดพลาดของมนุษย์เป็นสาเหตุหลักของการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ 95 เปอร์เซ็นต์ พูดง่าย ๆ คือ หากเราสามารถลด Human Error ได้ เราสามารถลดการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากถึง 19 จาก 20 ครั้งเลยทีเดียว . ปัจจุบัน ประเทศถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกกำหนดเป็นเป้าหมายในการโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเราได้มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ในการดำเนินต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโควิด แต่นั่นก็ทำให้ตัวเลขการโจมตีเพิ่มสูงขึ้นมากเช่นกัน . ในบริบทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความผิดพลาดของมนุษย์หมายถึงการกระทำที่อาจไม่ได้ตั้งใจหรือขาดความยั้งคิดจนทำให้ความเสียหายเกิดขึ้น โดยพนักงานและผู้ใช้เป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่กระจาย หรืออนุญาตให้มีการละเมิดความปลอดภัยเกิดขึ้น ตั้งแต่การดาวน์โหลดไฟล์แนบที่ติดมัลแวร์มา การตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย ไปจนถึงการอนุญาติสิทธิ์โดยไม่รู้ตัว . ด้วยสภาพแวดล้อมการทำงานที่ก้าวหน้าและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงมีเครื่องมือและบริการต่างๆ ที่เราใช้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ในการยืนยันสิทธิ์เข้าใช้งาน เรามีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน และสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องจดจำสำหรับแต่ละรายการ ทั้งหมดนี้เพิ่มขึ้น ทำให้พนักงานเริ่มใช้ทางลัดเพื่อทำให้ชีวิตตัวเองง่ายขึ้น . สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิด…