“เนปาล” ประเทศที่การนั่งเครื่องบินอันตรายที่สุดในโลก

Loading

  อุบัติเหตุเครื่องบินตกเป็นเรื่อง “ปกติ” ที่เกิดขึ้นเฉลี่ยปีละครั้งในเนปาล จนได้สมญานาม “ประเทศที่เสี่ยงเกิดเหตุเครื่องบินตกมากที่สุดในโลก”   เวลามีคนบอกว่ากลัวการขึ้นเครื่องบินเพราะกังวลว่า “เครื่องบินจะตก” เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นชินกับการโน้มน้าวด้วยการเปรียบเทียบที่ว่า “โอกาสที่จะเกิดเหตุเครื่องบินตก ยังน้อยกว่าโอกาสที่รถจะชนเสียอีก”   ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า โอกาสที่คนเราจะเสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตกอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 11 ล้าน ส่วนโอกาสเสียชีวิตจากเหตุรถชนนั้นสูงกว่า อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 5,000   อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบินนั้นดูจะสูงเป็นพิเศษในประเทศ “เนปาล” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ประเทศที่เสี่ยงเกิดเหตุเครื่องบินตกมากที่สุดในโลก”   และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (15 ม.ค.) ที่ผ่านมา ก็ดูจะยิ่งตอกย้ำชื่อเสียงในด้านนี้ของเนปาล เมื่อเครื่องบินโดยสาร ATR 72 สองเครื่องยนต์ของสายการบินเยติแอร์ไลน์ส ซึ่งกำลังมุ่งหน้าจากกาฐมาณฑุ เมืองหลวงเนปาล ไปยังโปขรา (Pokhara) หนึ่งในเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง เกิดตกระหว่างทาง จนล่าสุดมีผู้เสียชีวิตแล้ว 68 ราย เป็นอุบัติเหตุทางเครื่องบินครั้งใหญ่สุดในรอบ 30 ปีของเนปาล  …

คำถามที่ยังไม่มีคำตอบกรณีพบเอกสารลับของไบเดน

Loading

  จะเป็นแค่เรื่องน่าขายหน้า หรือจะส่งผลกระทบร้ายแรงทางการเมือง นี่คือคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกรณีการพบเอกสารลับทางราชการที่บ้านของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในรัฐเดลาแวร์ และสำนักงานในกรุงวอชิงตันดีซีที่เขาเคยใช้ทำงาน   ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ม.ค. ทำเนียบขาวออกมาบอกว่าพบเอกสารลับเพิ่มอีก 5 หน้า ที่บ้านของผู้นำสหรัฐฯ ในเดลาแวร์ โดยทีมทนายความของนายไบเดนบอกว่าเอกสารชุดนั้นมาจากตอนที่เขาเป็นรองประธานาธิบดีสมัยบารัค โอบามา   ตอนนี้ได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาพิเศษด้านกฎหมายเพื่อสอบสวนเรื่องนี้แล้ว และนี่คือ 4 คำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับกรณีนี้     เนื้อหาในเอกสาร   นายไบเดนบอกว่าเขาไม่รู้ว่าเนื้อหาในเอกสารลับที่เจอคืออะไร   หากเรายังไม่รู้เนื้อหาในเอกสารเหล่านี้ ก็ยากที่จะบอกได้ว่านี่เป็นเรื่องร้ายแรงแค่ไหน แหล่งข่าวบอกกับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ว่า เอกสารลับชุดแรกมีข้อมูลเรื่องประเทศต่างๆ รวมถึงยูเครน อิหร่าน และสหราชอาณาจักร จากสมัยที่นายไบเดนเป็นรองประธานาธิบดี   ซีเอ็นเอ็นระบุว่า เอกสารเหล่านี้ไปปะปนอยู่กับเอกสารอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นความลับ อาทิ เอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับงานศพของโบ ไบเดน ลูกชายของนายไบเดนที่เสียชีวิตเมื่อปี 2015   อย่างไรก็ดี ซีเอ็นเอ็นก็บอกด้วยว่าเอกสารบางส่วนเป็นข้อมูลลับสุดยอด (top secret) ซึ่งจัดว่าเป็นระดับขั้นความลับสูงสุด     ใครสามารถเข้าถึงเอกสารเหล่านี้ได้…

แนวทางในการคัดเลือก เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

Loading

  เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer:DPO) ถือเป็นบุคคลสำคัญในการกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร   พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้กำหนดหน้าที่ในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ โดยให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มี DPO ในกรณีดังต่อไปนี้   (1) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหน่วยงานของรัฐตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด หรือ   (2) การดำเนินกิจกรรมของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบอย่างสม่ำเสมอโดยเหตุที่มีข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด หรือ   (3) “กิจกรรมหลัก” ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 26   ในปัจจุบัน คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังไม่ได้มีการออกประกาศตามข้อ (1) และ (2) ดังกล่าวข้างต้น   ในส่วนของบุคคลที่จะทำหน้าที่ DPO กฎหมายกำหนดว่าอาจเป็นพนักงานของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นผู้รับจ้างให้บริการตามสัญญาก็ได้เช่นกัน   หน้าที่หลัก ๆ ของ DPO คือ การให้คำแนะนำและตรวจสอบองค์กรนั้น ๆ ในการปฏิบัติและดำเนินการให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ…

ระบบคาดการณ์สึนามิจาก AI ที่แจ้งเตือนในเวลาไม่กี่วินาที

Loading

  สึนามิ ถือเป็นภัยธรรมชาติร้ายแรงที่ฝังใจคนมากมาย โดยเฉพาะประเทศไทยกับเหตุการณ์ปี 2004 ปัจจุบันเรามีระบบแจ้งเตือนสึนามิได้รับการพัฒนาขึ้นมากมาย แต่ระบบนี้กำลังจะก้าวกระโดดครั้งใหญ่ เมื่อ AI สามารถคาดการณ์คลื่นที่จะเกิดขึ้นได้ในไม่กี่วินาที   ภัยธรรมชาติถือเป็นหนึ่งในภัยพิบัติร้ายแรงสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ในจำนวนนั้นเมื่อพูดถึงภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุด ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลทั้งหลายย่อมคิดถึง สึนามิ หนึ่งในภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตของผู้คนจำนวนมากอย่างฉับพลัน ดังเช่นเหตุการณ์สึนามิปี 2011 ในญี่ปุ่นที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 18,500 ราย   นั่นเป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาระบบวิเคราะห์แบบใหม่ช่วยประเมินและแจ้งเตือนสึนามิได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที     ระบบตรวจสอบสึนามิที่ใช้งานในไทยปัจจุบัน   ปัจจุบันระบบตรวจสอบสึนามิมีการใช้งานทั่วไปในหลายประเทศที่มีชายฝั่งทะเล เกือบทุกประเทศที่มีชายฝั่งทะเลและเคยประสบภัยพิบัติสึนามิมาก่อน ไม่เว้นกระทั่งประเทศไทยยังมีการติดตั้งระบบเตือนภัยหลังเหตุการณ์ปี 2004 เป็นต้นมา แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีรายงานว่าทุ่นแจ้งเตือนสึนามิเริ่มเสียหายจนไม่ทำงานก็ตาม   ระบบการแจ้งเตือนสึนามิในปัจจุบันจะอาศัยอาศัยทุ่นลอยที่ติดตั้งอุปกรณ์วัดความดันใต้ทะเลในการแจ้งเตือน โดยจะทำการตรวจวัดข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของความดันน้ำส่งข้อมูลไปยังทุ่นที่ลอยบนผิวน้ำ จากนั้นจึงส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมไปยังหน่วยงานเพื่อแจ้งเตือนภัยสึนามิต่อไป   นอกจากทุ่นลอยที่ใช้งานยังมีอีกหลายภาคส่วนทำหน้าที่ตรวจสอบการเกิดสึนามิ ตั้งแต่หน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา(NOAA) คอยรับหน้าที่แจ้งเตือนภัยสึนามิทั่วโลก ไปจนสถานีวัดระดับน้ำทะเลในประเทศต่างๆ รวมถึงในไทย เพื่อตรวจสอบข้อมูลแนวโน้มการเกิดคลื่นสึนามิทั่วโลก   เมื่อได้รับข้อมูลว่าจะมีการเกิดคลื่นสึนามิที่อาจเป็นอันตราย ระบบจะแจ้งเตือนผ่านดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยภายในพื้นที่เสี่ยงชายฝั่งทะเลที่มีอยู่กว่า 226 แห่ง จากนั้นจึงส่งข้อความ SMS เพื่อแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานราชการและองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายข้อมูลในการแจ้งประชาขนในพื้นที่เตรียมการรับมือจนถึงอพยพต่อไป  …

เปรียบเทียบกรณีเอกสารลับ “ไบเดน-ทรัมป์” ใครร้ายแรงกว่า

Loading

  กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เริ่มสอบสวนกรณีพบเอกสารลับของทางการที่เกี่ยวข้องกับประธานาธิบดีไบเดนสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีภายใต้รัฐบาลโอบามา โดยเอกสารลับที่พบมี 2 ชุด ชุดแรกเจอที่สำนักงานของไบเดนที่วอชิงตันดีซีซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานหลังจากหมดวาระในฐานะรองประธานาธิบดีส่วนอีกชุดเจอที่บ้านของไบเดนที่รัฐเดลาแวร์ และในวันนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเริ่มสอบสวนกรณีพบเอกสารลับนี้แล้ว   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมอร์ริค การ์แลนด์ ได้แต่งตั้งที่ปรึกษาพิเศษด้านกฎหมาย ให้ทำหน้าที่สอบสวนไบเดนว่าได้ดูแลจัดการเอกสารลับของทางการอย่างเหมาะสมหรือไม่   โดยการสอบสวนครั้งนี้นำโดยโรเบิร์ต เฮอร์ ซึ่งเคยได้รับการเสนอชื่อให้เป็นอัยการของรัฐฯ ในรัฐแมรีแลนด์สมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในปี 2017 และดำรงตำแหน่งมาจนถึงปี 2021   ในการสอบสวนนี้เขาจะทำหน้าที่กึ่งอัยการอิสระเพื่อตรวจสอบว่า เอกสารของทางการที่พบทั้ง 2 จุดได้รับการจัดเก็บอย่างถูกต้องหรือไม่และมีใครที่ทำผิดกฎหมายในกรณีนี้หรือไม่อย่างไร     ทั้งนี้เอกสารลับชุดแรกซึ่งมีทั้งหมด 10 รายการถูกพบที่สำนักงานคลังสมองในกรุงวอชิงตันดีซี ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไบเดนใช้ทำงานหลังจากที่หมดวาระจากการดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในสมัยของประธานาธิบดีโอบามา   โดยเรื่องนี้ถูกเปิดเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เอกสารส่วนใหญ่ที่พบเป็นข้อมูลข่าวกรองของสหรัฐฯ รวมถึงมีรายงานสรุปเกี่ยวกับยูเครน อิหร่านและสหราชอาณาจักร   เอกสารลับบางส่วนเป็นข้อมูลลับสุดยอดของสหรัฐฯ และมีเอกสารที่ไม่ระบุประเภทซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐบัญญัติว่าด้วยบันทึกของประธานาธิบดี (Presidential Records Act)   ด้านประธานาธิบดีไบเดนได้ออกมาเปิดเผยว่า หลังจากที่ทนายความของเขาค้นพบเอกสารลับชุดแรก ก็ได้รีบติดต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ ทันที และส่งเอกสารลับทั้งหมดให้หอจดหมายเหตุตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว   ไบเดน ระบุด้วยว่า รู้สึกประหลาดใจที่มีเอกสารลับดังกล่าวอยู่ในสำนักงานเก่าของเขา…

“ม.ออสเตรเลีย” กลับไปสอบ “ปากกา-กระดาษ” สกัดนศ.ใช้ “AI” โกงข้อเขียน

Loading

  เทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่สามารถคิดและวิเคราะห์ได้ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ หากใช้ผิดทางย่อมนำมาซึ่งผลเสียมหันต์ เช่น มหาวิทยาลัยชั้นนำในออสเตรเลีย จำต้องเปลี่ยนกลับมาใช้วิธีสอบด้วย “ปากกาและกระดาษ” หลังพบนักศึกษาทุจริตใช้เอไอเขียนเรียงความแทน   เมื่อไม่นานนี้ มีปรากฏการณ์แชทบอทอัจฉริยะที่พัฒนามาจากปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่เรียกว่า “ChatGPT” ของบริษัท OpenAI ซึ่งสร้างความฮือฮาไปทั่วโลก หลังจากเปิดตัวเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมกับความสามารถสุดน่าทึ่ง เช่น สนทนาโต้ตอบในหัวข้ออะไรก็ได้ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยากรู้ ตั้งแต่ประเด็นเชิงประวัติศาสตร์ ปรัชญา ไปจนถึงวิทยาศาสตร์ และทฤษฎีวิชาการต่าง ๆ   ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนรัฐหลายแห่งในนิวยอร์กของสหรัฐจึงสั่งห้ามนักเรียนใช้ ChatGPT ในทุกอุปกรณ์ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับ “ผลกระทบเชิงลบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน” และอาจมีการคัดลอกผลงานผู้อื่นด้วย   ล่าสุดในออสเตรเลีย สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับ ChatGPT และความสามารถของเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึงกัน ในการเลี่ยงซอฟต์แวร์ตรวจจับการคัดลอกผลงาน พร้อมกับช่วยนักศึกษาเขียนงานวิชาการได้อย่างรวดเร็วและน่าเชื่อถือเสมือนเขียนด้วยตัวเอง   Group of Eight หรือกลุ่ม 8 มหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยระดับชั้นนำของออสเตรเลีย ระบุว่า ได้แก้ไขวิธีสอบวัดผลในปีการศึกษานี้…