ยุคทอง ’Machine Learning’ จุดเปลี่ยนไอทียุคใหม่

Loading

  รายงาน “Technology Radar” ฉบับล่าสุดโดย “Thoughtworks” บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำคาดการณ์ว่า แมชีนเลิร์นนิงจะมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเทคโนโลยีไอโอทีและระบบการบริหารจัดการภายในต่าง ๆ   รีเบคกา พาร์สันส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี Thoughtworks ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ Machine Learning (แมชีนเลิร์นนิง) ว่าจากที่เคยต้องใช้ชุดข้อมูลขนาดใหญ่และการเข้าถึงพลังประมวลผลมหาศาลเพื่อจัดการกับปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนนั้น   ขณะนี้ องค์กรด้านไอทีสามารถใช้ประโยชน์จาก Machine Learning ได้เพิ่มขึ้น ทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในหลายภาคส่วนมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการพัฒนาของเครื่องมือ แอปพลิเคชัน และเทคนิคต่าง ๆ ที่ก้าวหน้าไปอย่างมาก     ท้าทาย การบริหารข้อมูล   ด้วยประสิทธิภาพในการคำนวณที่ดีขึ้นบนอุปกรณ์ทุกขนาดและทุกประเภท รวมทั้งการใช้เครื่องมือแบบ open-source ที่แพร่หลายและใช้งานได้ง่ายขึ้น ได้ส่งผลให้ Machine Learning สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แม้กระทั่งองค์กรที่มีขนาดเล็กมาก   นอกจากนี้ ข้อกำหนด และข้อควรระวังของข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้มงวดมากขึ้น ได้ผลักดันให้องค์กรต่างๆ พยายามค้นหาเทคนิค เช่น federated machine learning…

จับตาการโจมตีแบบใหม่ ‘Spear Phishing’

Loading

  การปกป้องและต่อต้าน Spear Phishing เราจำเป็นที่จะต้องให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรทุกคนตระหนักถึงเรื่อง Cybersecurity Awareness   “Spear-Phishing” คือ การโจมตีที่มีเป้าหมายชัดเจน เหล่าบรรดาแฮกเกอร์จะค้นหาข้อมูลของเหยื่อที่เป็นเป้าหมายในหลายหลายช่องทางเพื่อสร้างอีเมล Phishing และแนบมากับอีเมล โดยเนื้อหาในอีเมลจะตรงกับลักษณะกิจกรรมที่เหยื่อกำลังสนใจอยู่   กลุ่มแฮกเกอร์เกาหลีเหนือได้ใช้โปรแกรม PuTTY SSH ซึ่งเป็นโปรแกรมลูกข่ายที่ใช้เชื่อมต่อไปยังเครื่องผู้ให้บริการและฝังโทรจันเพื่อติดตั้งแบ็คดอร์บนอุปกรณ์ของเหยื่อ   โดย Mandiant บริษัทข่าวกรองด้านภัยคุกคามได้ตรวจสอบการคุกคามครั้งนี้และได้ระบุว่า แคมเปญใหม่นี้มาจากคลัสเตอร์ภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งติดตามภายใต้ชื่อ UNC4034 หรือ เรียกอีกอย่างว่า Temp.Hermit หรือ Labyrinth Chollima ในขณะนี้   วิธีการทำงานของ UNC4034 กำลังพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ โดยกระบวนทำงานคือแฮกเกอร์จะพยายามหลอกล่อให้เหยื่อคลิกไฟล์แบบประเมินงานของ Amazon ซึ่งเป็นไฟล์ปลอมที่สร้างขึ้นจาก Operation Dream Job ที่มีอยู่แล้ว   UNC4034 เลือกใช้วิธีการสื่อสารกับเหยื่อผ่าน WhatsApp และล่อให้เหยื่อดาวน์โหลดแพ็คเกจ ISO ที่เป็นอันตรายเพื่อเสนองานปลอมซึ่งจะนำไปสู่การปรับใช้แบ็คดอร์ AIRDRY.V2 ผ่านโทรจันไปยัง PuTTY…

แม้เปิด 2FA ก็ถูกแฮกบัญชีได้ ด้วยการขโมย “คุกกี้” บนเว็บเบราว์เซอร์

Loading

  คุกกี้ ของหวานของเหล่าแฮกเกอร์ ที่ทำให้บัญชีของคุณถูกแฮกได้ภายในไม่กี่วินาที   การยืนยันตัวตนขั้นที่สอง หรือ Two–Factor Authentication (2FA) คือ หนึ่งในวิธีการที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่บัญชีออนไลน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอีเมลและบัญชีโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม แม้นี่จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ แต่ไม่มีวิธีใดที่ป้องกันได้ 100% และคุณยังสามารถถูกแฮกบัญชีได้แม้จะเปิดใช้งาน 2FA แล้ว   แต่แฮกเกอร์เจาะเข้าระบบที่มี 2FA ได้อย่างไร? ในบทความนี้จะขอเตือนภัยผู้อ่านทุกท่าน ถึงวิธีการที่แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลบนโลกออนไลน์ของคุณได้โดยไม่ผ่าน 2FA พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นที่สามารถทำได้   ที่มาของภาพ Unsplash   รู้จัก Two–Factor Authentication (2FA)   การยืนยันตัวตนขั้นที่สอง หรือ 2FA ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันชั้นที่สองให้แก่บัญชีผู้ใช้ของคุณ ซึ่งมักอยู่จะในรูปรหัสผ่านตัวเลขแบบสุ่ม โดยทางแพลตฟอร์มจะส่งรหัสผ่านเหล่านี้มาให้คุณผ่านทางข้อความ SMS, อีเมล หรือใช้รหัสผ่านจากแอปพลิเคชันสร้าง 2FA ที่แพลตฟอร์มรองรับ   ที่มาของภาพ Wiki Commons   ซึ่งรหัสผ่านของ…

ถอดบทเรียนเหยียบกันตาย เอาตัวรอดอย่างไร ถ้าอยู่ในสถานการณ์นี้

Loading

  โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นย่านอิแทวอน แหล่งท่องเที่ยวยามราตรีชื่อดังใจกลางกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ในค่ำคืนวันเสาร์ (29 ต.ค.) หลังจากที่คนนับหมื่นไปรวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองวันฮาโลวีน จนเป็นเหตุให้เกิดการเบียดเสียด มีคนเป็นลมล้มพับทับกันจนขาดอากาศหายใจ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 153 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 82 ราย ทำให้บรรยากาศความสุขในเวลาแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปีกลายมาเป็นความเศร้าสลดไปทั่วโลก   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอิแทวอน เป็นโศกนาฏกรรมเหยียบกันตายที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลักร้อยคนเป็นครั้งที่ 2 ในเวลาแค่ 1 เดือน หากยังจำกันได้เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา ก็มีเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นที่สนามฟุตบอลในอินโดนีเซีย หลังจากที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเพื่อควบคุมฝูงชนที่ก่อจลาจลหลังจบเกมการแข่งขัน ทำให้ผู้ที่อยู่ร่วมในสนามพากันแตกฮือหนีเอาตัวรอดจนเกิดการชุลมุน เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 120 ราย   โศกนาฏกรรมใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากและเกิดขึ้นในแบบที่เรียกว่าแทบจะไล่เลี่ยกัน ในช่วงเวลาที่โลกเพิ่งจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังทุกอย่างแทบจะหยุดชะงักไปนานกว่า 2 ปีจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความอัดอั้นของผู้คนที่ต้องการความสุขความบันเทิงหลังจากห่างหายมาเป็นเวลานาน และดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวไปอีกต่อไป   หากวันใดวันหนึ่งต้องตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้จะทำอย่างไร workpointTODAY จะพาไปเข้าใจสาเหตุ และวิธีการเอาตัวรอดถ้าต้องเจอกับสถานการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้   คนตายเพราะขาดอากาศหายใจ ไม่ใช่ถูกเหยียบ   ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สาเหตุที่คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เรียกว่า ‘เหยียบกันตาย’ หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Stampede ไม่ได้เกิดจากการเหยียบกันด้วยเท้า…

โศกนาฏกรรม “อิแทวอน” ป้องกันได้ไหม บทเรียนอีเวนต์ไม่มีเจ้าภาพ-คนรับผิดชอบ

Loading

  เกาหลีใต้เผชิญความสูญเสียครั้งใหญ่ในเหตุการณ์เลวร้ายที่ “อิแทวอน” อย่างไม่มีใครคิด คำถามใหญ่ โศกนากรรมครั้งนี้ ป้องกันได้หรือไม่ แล้วใครต้องรับผิดชอบ   บรรยากาศเฉลิมฉลองช่วงใกล้สิ้นปีในเกาหลีใต้ มีอันต้องพลิกผันเป็นความช็อก และเศร้าสลดทั้งประเทศ งานรื่นเริงต่าง ๆ ที่มีแผนจัดขึ้นในช่วงฮาโลวีน มีอันต้องยกเลิก เพื่อร่วมไว้อาลัยเหตุการณ์คลื่นมหาชนเบียดเสียดจนขาดอากาศหายใจ ในอิแทวอน ย่านสถานบันเทิงโด่งดังของกรุงโซล ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตล่าสุด 153 ราย จำนวนมากเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ บาดเจ็บอีกจำนวนมาก ในผู้เสียชีวิต มีชาวต่างชาติรวมอยู่ด้วย 19 คน ขณะเดียวกัน คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นในใจของหลายคนก็คือว่า ความสูญเสียในชีวิตเช่นนี้ ป้องกันได้หรือไม่ มาตรการความปลอดภัยและการบริหารจัดการฝูงชน อยู่ที่ไหน และใครควรรับผิดชอบ   ซอยที่เกิดโศกนาฏกรรมอิแทวอน   โศกนาฏกรรมช็อกโลก เกิดขึ้นขณะผู้คนแออัดกันแน่นในทางเดินแคบ ๆ เชื่อมระหว่างทางออกที่ 1 สถานีรถไฟอิแทวอน กับเวิล์ด ฟู้ด สตรีต ด้านหลังโรงแรมฮามิลตัน ผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายคน ให้ภาพว่า ผู้คนผลักกันไปผลักกันมา ขณะพยายามเดินขึ้นหรือเดินลงในซอยแคบ ที่มีความยาว 45 เมตร…

‘ดร.ไตรรงค์’ เล่า ‘การรักษาความปลอดภัยระดับการประชุมนานาชาติ’ ใช้กระสุนจริง

Loading

  วันที่ 27 ต.ค.65 ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี” ระบุข้อความว่า ….   #การรักษาความปลอดภัยระดับการประชุมนานาชาติ   เมื่อ พ.ศ. 2553 ผมได้รับเชิญจากท่านประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (Barack Obama) ให้เข้าประชุมร่วมกับผู้นำของประเทศต่างๆ รวมทั้งหมด 47 ประเทศ (ที่ต้องเชิญผมไปก็เพราะท่านนายกอภิสิทธิ์ติดภาระกิจที่ต้องแก้ปัญหาพวกเสื้อแดงที่ยึดสี่แยกราชประสงค์และสวนลุมพินีเอาไว้) วัตถุประสงค์ของการประชุมนานาชาติในครั้งนี้ก็เพื่อหามาตรการควบคุมการขยายการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศต่างๆในโลก หรือเรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า Nuclear Security Summit (12-13 เมษายน 2553)   สถานที่ที่เขาเตรียมไว้ใช้ในการประชุมจะเป็นห้องประชุมในอาคารใหญ่คล้ายๆ ศูนย์สิริกิตติ์แต่ใหญ่กว่าและมีพื้นที่ห่างระหว่างรั้วกับตัวอาคารก็มีมากกว่าด้วย นอกจากจะมีรั้วสูงแข็งแรงรอบด้านแล้วก็ยังมีกำแพงก้อนลวดหนาม (หีบเพลงลวดหนาม) อีกชั้นหนึ่งเพื่อกันคนกระโดดข้ามกำแพงเข้ามา ถัดจากกำแพงลวดหนามก็จะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (ไม่ทราบว่าเป็นตำรวจหรือทหาร) ซึ่งมีอาวุธครบมืออีกชั้นหนึ่ง และจะมีมากพร้อมเครื่องมือยานพาหนะเพื่อสลายการชุมนุมอย่างครบครันในบริเวณทางเข้า-ออกของบริเวณที่มีอาคารอยู่ภายในเพื่อใช้ในการประชุมในครั้งนั้น   เขาจัดให้ผมและภรรยาได้พักที่ห้อง 4 ตอน คือมีทั้งห้องนอน ห้องสมุด ห้องทานอาหาร และห้องรับแขกที่โรงแรมใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน เขาจะจัดให้มีฝ่ายรักษาความปลอดภัยอารักขาอยู่หน้าห้องที่เราอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง…