M-Flow กับรถสวมทะเบียน

Loading

    ปัญหารถสวมทะเบียน มีข่าวมานานแล้วกับใบสั่งจราจร กรณีขับรถเร็วเกินกำหนด มาคราวนี้เริ่มเกิดขึ้นกับระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ที่เพิ่งเปิดใช้เมื่อไม่นานมานี้ เมื่อวันก่อนเห็น เฟซบุ๊กของสมาร์ทแท็กซี่ โพสต์ภาพหนังสือเรียกให้มาชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางของระบบ M-Flow พบว่า มีการใช้รถยนต์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน M-Flow ผ่านในช่องทาง ทั้งที่รถแท็กซี่คันดังกล่าวจอดเสียในอู่นานเป็นปี หนังสือลงวันที่ 9 เมษายน 2565 ส่งไปที่ถึงสหกรณ์แท็กซี่ เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ทางทะเบียน แล้วทางอู่เพิ่งได้รับเมื่อไม่นานมานี้ ระบุค่าผ่านทาง 30 บาท บวกค่าปรับอีก 10 เท่า 300 บาท รวมเป็น 330 บาท ที่น่าสนใจก็คือ หนังสือเรียกให้มาชำระค่าธรรมเนียม M-Flow ฉบับนี้ มาเป็นข้อความยืดยาว แต่ไม่แนบรูปหลักฐานมาเลยเหมือนใบสั่งจราจร ไม่ได้ระบุว่าจุดไหน วันใด เวลาใด เลยไม่ทราบข้อเท็จจริง สงสารก็แต่ตาสีตาสาที่ไม่รู้เรื่องจะต้องทำไง?   ตัวอย่างหนังสือเรียกให้มาชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางของระบบ M-Flow (ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก Smart Taxi.,Ltd) ด้วยความรู้สึกกลัวว่าจะโดนกับตัวเอง เลยหาข้อมูลไว้ก่อนว่า ถ้ารถของเราโดนสวมทะเบียนจะทำยังไง…

Phoenix Ghost โดรนนกปีศาจจากสหรัฐ อาวุธสำคัญใหม่ในสมรภูมิดอนบัส

Loading

  สหรัฐฯงัดอาวุธใหม่ให้ยูเครน เผยเหมาะอย่างยิ่งกับสงครามในดอนบัสที่กำลังถูกโจมตีอย่างหนักจากรัสเซีย ตามรายงานของ Fortune ระบุว่านับตั้งแต่รัสเซียเปิดปฏิบัติการทางทหารในยูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา สหรัฐฯใช้งบประมาณไปแล้ว 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน และล่าสุดจะมีการส่งมอบ Phoenix Ghost โดรนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยถูกใช้ในสมรภูมิรบใดมาก่อน ซึ่งรวมอยู่ในแพ็คเกจมูลค่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐที่สหรัฐฯ จะมอบให้แก่ยูเครน จอห์น เคอร์บี โฆษกเพนตากอนยังเผยว่า Phoenix Ghost ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องและมีความเหมาะสมกับการใช้งานในภูมิภาคดอนบัส ทางตะวันออกของยูเครน ซึ่งมีภูมิประเทศที่ราบเรียบและเปิดโล่ง ซึ่งกำลังถูกโจมตีอย่างหนักจากกองทัพรัสเซีย ตามรายงานของ Aljazeera อย่างไรก็ตาม เคอร์บีปฏิเสธว่า Phoenix Ghost ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสงครามในยูเครนโดยเฉพาะ เนื่องจากเริ่มวางแผนพัฒนาโดรนมานานก่อนที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะสั่งการให้กองทัพรัสเซียบุกรุกยูเครน พร้อมเสริมว่าจะไม่มีทางสร้างโดรนได้ถึง 121 ลำอย่างแน่นอนหากเพิ่งเริ่มสร้างในวันที่ 24 ก.พ. (นั่นหมายถึงจำนวนโดรนที่สหรัฐฯ จะส่งไปยังยูเครนด้วย) รู้จัก Phoenix Ghost โดรนดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยบริษัท AEVEX Aerospace ในแคลิฟอร์เนีย โดยเคอร์บีก็ไม่รู้เหมือนกันว่าชื่อนี้มาได้อย่างไร…

วิธีป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพและแก็งคอลเซ็นเตอร์แฮกไลน์

Loading

  วิธีป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพและแก็งคอลเซ็นเตอร์แฮกไลน์ โดยมิจฉาชีพมีเบอร์โทรมาถึงเรา นั่นหมายความว่าหากเราเปิดด้วยเบอร์นี้บนไลน์ และรับเพื่อนผ่านไลน์ โจรก็อาจใช้แผนเข้าหลอกลวงผ่าน LINE ได้เช่นกัน ดังนั้นถึงเวลาที่จะป้องกันบัญชี LINE ของเรา ไม่ให้มิจฉาชีพแฮกผ่านเบอร์โทรศัพท์ด้วยวิธีการดังนี้ วิธีป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพและแก็งคอลเซ็นเตอร์แฮกไลน์ เปิดแอป LINE บน iOS , Android จากนั้นแตะไปที่หน้าหลัก แล้วเลือกไอคอนตั้งค่า เพื่อเข้าสู่การตั้งค่าแอป LINE     จากนั้นเลือก เพื่อน แล้วทำการปิด (OFF) ที่เพิ่มเพื่อนอัตโนมัติ และอนุญาตให้ผู้อื่นเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เพื่อนที่ไม่รู้จัก และคนอื่นที่อาจมีเบอร์ของเราอยู่และน่าจะเป็นมิจฉาชีพ เพิ่มเพื่อนด้วยเบอร์โทรบน LINE ทั้งนี้หากต้องการให่้เพื่อนคนนั้น เพิ่มเราเป็นเพื่อนให้บอกชื่อ ID LINE ของเราไปแทน เท่านี้มิจฉาชีพที่อาจมีเบอร์อยู่จะไม่สามารถหลอกลวงผ่าน LINE ได้แล้ว cover iT24Hrs-S     ที่มา : it24hrs    /   วันที่เผยแพร่ 24 เม.ย.65…

สงครามซ้อนสงคราม

Loading

  สงครามรัสเซีย – ยูเครน ยังดำเนินต่อไปอย่างดุเดือด ถ้าเป็นมวยก็คงอยู่ในช่วงยก 3-4 เท่านั้น และไม่ต้องแปลกใจว่ารัสเซียคะแนนนำอย่างชัดเจน เพราะยูเครนแบกน้ำหนักไว้เยอะ แต่ที่ผู้นำยูเครนยอมแบกน้ำหนักออกมาต่อยเพราะเชื่อแรงยุจากอเมริกา   เพียงเริ่มต้นไม่กี่ยก ยูเครนก็โดนพายุหมัดจนหน้าตาแหก ได้แต่ตะโกนปาว ๆ ขอให้อเมริกาและพันธมิตรส่งอาวุธมาให้เพิ่มเติม และคุยว่า หากได้อาวุธ ทหารยูเครนสู้ได้แน่ ๆ   เวลานี้ ทหารยูเครนจำนวนไม่น้อยทั้งตายและบาดเจ็บ ทหารรับจ้างต่างชาติร้อยพ่อพันแม่ที่รับจ้างมารบ เสียชีวิตและบาดเจ็บไปมากมาย บางคนถูกทหารรัสเซียจับตัวได้ทั้งที่ไปหลบซ่อนอยู่ที่ฐานใต้ดินลึกเป็นสิบเมตร   สหรัฐและเยอรมนีได้ส่งและเตรียมส่งอาวุธมาให้ยูเครนแล้ว ในกรณีของสหรัฐนั้น ได้ใช้งบประมาณที่รัฐบาลได้รับอนุมัติกรณีฉุกเฉินซื้ออาวุธจากโรงงานผลิตอาวุธอเมริกันและส่งมาให้ยูเครนส่วนหนึ่งแล้ว และจะทะยอยส่งมาให้เรื่อย ๆ   บริษัทผลิตและค้าอาวุธอเมริกันยิ้มแก้มปริ เพราะปีนี้คงได้กำไรไม่รู้เรื่อง ยิ่งสงครามยืดเยื้อไปนานเท่าไร รัฐบาลต้องซื้ออาวุธเพิ่มเติม บริษัทก็ขายอาวุธเพิ่มขึ้น ได้กำไรมากขึ้น หุ้นของบริษัทขึ้น นักการเมืองที่มีหุ้นอยู่ในบริษัทค้าอาวุธรับเงินอื้อตอนปลายปี   เยอรมนีหลังจากอิดออดมานาน และอาจถูกสหรัฐบีบ ในที่สุดได้ประกาศว่า จะส่งอาวุธไปช่วยยูเครนรบกับรัสเซีย เวลานี้กำลังจัดซื้ออาวุธจากบริษัทผลิตอาวุธเยอรมัน เข้าทำนองอเมริกันคือเอาอัฐยายซื้อขนมยาย บริษัทผลิตอาวุธของเยอรมนีคงดีใจจนเนื้อเต้น เพราะงบดุลปีนี้ของบริษัททำกำไรเพิ่มขึ้นแน่   ข่าวล่ามาเร็ว และเป็นข่าวจากรัสเซียรายงานว่า คลังเก็บอาวุธของยูเครนที่เครื่องบินอเมริกันนำมาให้นั้น…

เตรียมให้พร้อม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล องค์กรต้องทำอะไรบ้าง

Loading

  หลาย ๆ องค์กรเริ่มมีการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA กันบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องมีระบบใด หรือต้องจัดทำเอกสารอะไร ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเตรียมตัวในเบื้องต้นเพื่อให้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับของ PDPA   PDPA คืออะไร ก่อนจะเริ่มหัวข้อการเตรียมตัว ทีมงานขอเกริ่นเกี่ยวกับ PDPA สั้น ๆ ให้ผู้อ่านทราบว่า ทำไมต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของกฏหมายนี้ เนื่องจาก PDPA เป็นพระราชบัญญัติที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองด้านสิทธิและความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากมีการเปิดเผย ใช้ ดัดแปลง ถ่ายโอนข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำผิดจุดประสงค์ในการตกลงร่วมกัน ก็จะสามารถร้องเรียนเพื่อเอาผิดได้ โดยข้อมูลที่ PDPA คุ้มครอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ     ข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป  (Personal Data) ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป สามารถระบุตัวบุคลลนั้น ๆ เช่น – …

อาเซียนผวา!! ภัยคุกคามไซเบอร์ โจมตี ‘ผู้ใช้ดิจิทัลเพย์เมนต์’

Loading

  การนำการชำระเงินดิจิทัลมาใช้ ดูเหมือนเป็นดาบสองคม มีประโยชน์ที่ดีด้านความสะดวกสบาย ทว่าอีกทางหนึ่งเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ การวิจัยล่าสุดของ “แคสเปอร์สกี้” แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงเชิงบวก ระหว่างการนำการชำระเงินดิจิทัล (Digital Payment) มาใช้กับการตระหนักถึงความเสี่ยงและภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลศึกษาเรื่อง “Mapping a secure path for the future of digital payments in APAC” พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือราว 97% ตระหนักถึงภัยคุกคามต่อแพลตฟอร์มชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยหนึ่งประเภท และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเกือบสามในสี่ หรือ 72% ประสบกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้อย่างน้อยหนึ่งประเภท ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการรายงานข่าวของสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รวมถึงความพยายามร่วมกันของภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมความตระหนักด้านความปลอดภัยช่วงที่มีกระแสการใช้โมบายแบงกิ้ง และอี-วอลเล็ต เพิ่มขึ้นในภูมิภาค ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ หรือ 37% พบกลอุบายด้านวิศวกรรมสังคมผ่านทางข้อความหรือการโทร เว็บไซต์ปลอม ข้อเสนอและดีลปลอม และจำนวนหนึ่งในสี่ ระบุว่า พบการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง สูญเงินสูงถึง 5 พันดอลลาร์ ที่น่าสังเกต คือ การหลอกลวงด้วยวิธีวิศวกรรมทางสังคม เป็นภัยคุกคามที่พบได้มากสุดสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…