การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้าใจหลักการความปลอดภัย

Loading

  การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้าใจหลักการความปลอดภัยเพื่อยกระดับการทำงานที่มีประสิทธิภาพ   เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันมีส่วนช่วยในการอำนวยความสะดวกในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมที่เร็ว ง่าย และสะดวก เพราะมีระบบรองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาอำนวยความสะดวกหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับการระบุตัวตนแบบดิจิทัลได้เลย ไม่ต้องไปสำนักงานเพื่อเซ็นสำเนายืนยันตัวตนให้เสียเวลาอีกต่อไป ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน หรือจะ work from home ในยุคโควิด-19 ก็สามารถทำธุรกรรมแบบไม่ต้องกังวลอีกต่อไป     e-Signature คืออะไร   หากตอบแบบง่ายๆ ก็คือการนำเอาคำว่า Electronic มารวมกับ Signature กลายเป็นการลงลายมือชื่อที่ยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ลายมือชื่อเท่านั้น จะเป็นตัวอักษร อักขระ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ก็ได้ สาระสำคัญคือต้องทำหน้าที่ระบุตัวตนบุคคลที่เป็นเจ้าของลายมือชื่อและเจ้าของลายมือชื่อจะต้องยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเซ็นข้อตกลงในการสมัครสินเชื่อ เป็นต้น   ข้อดีของ e-Signature ที่เหนือกว่าการเซ็นด้วยปากกาแบบดั้งเดิมก็คือ มันสามารถเซ็นที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องพึ่งพากระดาษปากกา ไม่ต้องเดินทางไปทำธุรกรรมถึงสำนักงาน หรือใช้บริการเมสเซนเจอร์ส่งเอกสารกลับไป-กลับมา แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะลดการใช้ทรัพยากร และที่สำคัญ ในปัจจุบัน e-Signature นั้นมีผลผูกพันตามกฎหมายอีกด้วย    …

ย้อนอดีตรถไฟสายชายแดนใต้ฝ่าดงระเบิด

Loading

  เหตุการณ์โจมตีรถไฟและลอบวางระเบิดรางไฟเกิดขึ้นมาแล้วนับร้อยครั้ง ตั้งแต่มีเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา   ข้อมูลที่รวบรวมโดย “ศูนย์ภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา” ระบุว่า ตลอด 18 ปีไฟใต้ มีเจ้าหน้าที่และพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เสียชีวิตจากเหตุการณ์โจมตีรถไฟทุกรูปแบบมาแล้ว จำนวน 8 ราย บาดเจ็บ 48 ราย โดยจำนวนนี้นับรวมเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดระเบิดรางรถไฟล่าสุดสายชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ด้วย   ประเด็นที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งก็คือ เส้นทางรถไฟสายชายแดนใต้มี 2 สายหลัก ๆ ถ้านับจากชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กล่าวคือ   1.เส้นทางรถไฟที่ไปจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จนถึง สถานีสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร มีสถานี 27 สถานี มีจุดล่อแหลมหรือจุดเสี่ยงรวมทั้งสิ้น 12 จุด ส่วนใหญ่เป็นช่วงจากสถานียะลาถึงสถานีสุไหงโก-ลก (ผ่าน อำเภอรือเสาะ เจาะไอร้อง ระแงะ และสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส)…

เผย 5 รูปแบบภัยไซเบอร์จ่อรอโจมตีในปีหน้า!!

Loading

    เมื่อโลกเข้าสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ คนหันมาใช้ชีวิตโดยพึ่งพาออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ “อาชญากรรมไซเบอร์” ก็ขยายตัวสูงตามไปด้วย   เกิดภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆที่เตรียมโจมตีโดยมีเป้าหมาย คือ ผู้ใช้งานทั่วไป หรือถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ ซึ่งแนวโน้มภัยคุกคามบนไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้าและต่อไปในอนาคต จะเป็นอย่างไร ทาง ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจร ได้เผยผลการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์จาก ฟอร์ติการ์ด แล็บส์ (FortiGuard Labs)     โดยแนวโน้มภัยคุกคามใหม่ในปี 2023 หรือ ปีหน้า และต่อไปในอนาคต ที่ต้องเฝ้าระวัง คือ   1. การเติบโต แบบถล่มทลายของการให้บริการอาชญากรรมบนไซเบอร์ตามสั่ง หรือ Cybercime-as-a-Service (CaaS) จากความสำเร็จของอาชญากรไซเบอร์กับการให้บริการแรนซัมแวร์ในรูปแบบ as-a-service (RaaS) ทางฟอร์ติเน็ตคาดการณ์ว่าจะมีกระบวนการหรือเทคนิคการโจมตีแบบใหม่ๆ จำนวนมากที่จะมาในรูปแบบของ as-a-service ผ่านทางเว็บมืด (dark web) และยังเป็นจุดเริ่มต้นของโซลูชั่นให้บริการแบบ a-la-carte หรือให้เลือกได้จากเมนูอีกด้วย   ภาพ pixabay.com   หนึ่งในวิธีการป้องกันการโจมตีใหม่ ๆ นี้ คือการให้การศึกษาและอบรมเรื่องของความตื่นรู้ ทางด้านความ ปลอดภัยไซเบอร์ โดยในหลายองค์กรสร้างโปรแกรมฝึกอบรมด้านความปลอดภัยพื้นฐานสำหรับพนักงาน และเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้รับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน เช่น ภัยคุกคามที่ใช้ เอไอ ในการทำงาน   2. บริการสอดแนมตามสั่ง (Reconnaissance-as-a-Service) การโจมตีทุกวันนี้ มีการล็อคเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น ผู้คุกคามจึงหันไปจ้าง “นักสืบ” จากเว็บมืดให้รวบรวมข้อมูลเชิงลึก หรือข่าวกรองที่เกี่ยวกับเป้าหมายก่อน ที่จะทำการโจมตีมากขึ้นเหมือนการจ้างนักสืบเอกชน บริการ นี้ ยังอาจเสนอสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นพิมพ์เขียว หรือ blueprint ของการโจมตี ที่จะให้มาพร้อมกับข้อมูลโครงสร้างระบบความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กร บุคลากรที่เป็นแกนหลักด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ จำนวนเซิร์ฟเวอร์ที่องค์กรมีอยู่ รวมไปถึงช่องโหว่ภายนอกที่รู้กัน ตลอดจนจำนวนเซิร์ฟเวอร์หรือช่องโหว่ภายนอกที่มี แม้กระทั่งข้อมูลการถูกบุกรุก หรืออื่นๆ เพื่อช่วยให้อาชญากรไซเบอร์สามารถโจมตีเป้าหมายได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ   การล่อหลอกอาชญากรไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยีลวงจะให้ประโยชน์ นอกจากจะช่วยตอบโต้การทำงานของ RaaS แล้วยังรวมถึง CaaS ในขั้นตอนของการสอดแนมไปด้วย จะช่วยให้องค์กรสามารถรู้ทันศัตรู เพื่อสร้างความได้เปรียบในการป้องกัน   ภาพ pixabay.com   3. กระบวนการฟอกเงินที่อาศัยพลังของแมชชีนเลิร์นนิง โดยจะมีการฟอกเงินที่แยบยลมากขึ้น โดยอาศัยการทำงานของระบบอัตโนมัติ ซึ่งในอดีตการจะล่อลวงให้คนเข้ามาติดกับได้นั้นต้องผ่าน กระบวนการที่ใช้ระยะเวลานาน จากการสำรวจพบว่า อาชญากรไซเบอร์เริ่มใช้แมชชีนเลิร์นนิง (ML) ในการกำหนดเป้าหมายเพื่อสรรหาบุคคล ซึ่งช่วยให้ระบุตัว ล่อที่มีศักยภาพได้ดีขึ้น  …

วิธีป้องกันบัญชี LINE ถูกแฮกด้วยวิธีตั้งค่าการตรวจสอบยืนยันสองระดับ Two-factor authentication

Loading

  วิธีป้องกันบัญชี LINE ถูกแฮกด้วยวิธีตั้งค่าการตรวจสอบยืนยันสองระดับ คุณสามารถเพิ่มความปลอดภัยในกรณีการล็อกอินผ่านเว็บไซต์ด้วยบัญชี LINE ของคุณได้ โดยเปิดใช้การตรวจสอบยืนยัน 2 ระดับ เพื่อตรวจสอบได้ว่าเราใช้บัญชี LINE นี้ในการเข้าสู่ระบบจริง ๆ ไม่ได้สวมรอยแอบใช้บัญชี LINE ของเราในการ Login โดยมีขั้นตอนการเปิด Two-factor authentication บนแอป LINE ดังนี้     วิธีป้องกันบัญชี LINE ถูกแฮกด้วยวิธีตั้งค่าการตรวจสอบยืนยันสองระดับ Two-factor authentication   iT24Hrs   แตะที่ไอคอน การตั้งค่า บนแอป LINE   iT24Hrs   เลือกที่บัญชี และเลื่อนเปิดที่ การตรวจสอบยืนยัน 2 ระดับ เท่านี้ก็เรียบร้อย   iT24Hrs   คราวนี้เมื่อ Login คลิกปุ่ม LINE บนเว็บเบราว์เซอร์…

Smart Device หรือ Cyber Spy? นักล้วงข้อมูลเรียลไทม์ที่ต้องระวัง

Loading

  8 ปีที่แล้ว Gartner เคยพยากรณ์ว่าบ้านแต่ละหลังจะมีอุปกรณ์ Smart Device มากถึง 500 ชิ้น ซึ่งฟังดูแล้วทีมวิจัยคงอ่านนิยายวิทยาศาสตร์มากไปสักหน่อย แต่มาถึงวันนี้แล้วเราอาจไม่คาดคิดว่าตัวอุปกรณ์ดิจิทัลรอบตัวเราถ้านับแล้วมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน่าตกใจ   ถ้าไม่นับคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำ เราจะพบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดา ๆ ในบ้านอย่างทีวี เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องดูดฝุ่น เครื่องฟอกอากาศ พัดลม หม้อหุงข้าว กล้องวงจรปิด หลอดไฟ ฯลฯ ล้วนแปลงร่างเป็นอัจฉริยะหรือ Smart Device กันหมดแล้ว     นั่นหมายความว่าอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ตลอดเวลา อยากรู้ว่าอากาศที่บ้านเป็นยังไง อยากรู้ว่าลืมปิดพัดลมหรือเปล่าก็รู้ได้ทันที จะสั่งเปิดปิด ตั้งเวลาทำงานล่วงหน้า ก็ใช้มือถือสั่งการได้ตลอดเวลา   อุปกรณ์หลาย ๆ อย่างที่เราไม่เคยคิดจินตนาการว่ามันจะมีความจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น หวี ไม้แคะหู (ส่องเห็นทุกอณูของรูหู ราคาอันละไม่ถึงพัน ซื้อได้ทางเว็บออนไลน์) ต่างก็พาเหรดมาเป็น Smart…

กลาโหมสหรัฐฯ เปิดตัวเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบล่องหนรุ่นใหม่ล่าสุด

Loading

Future Bombers   สหรัฐฯ เปิดตัวเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบล่องหนรุ่นใหม่ล่าสุด หลังซุ่มพัฒนามาหลายปี เล็งเป็นยุทโธปกรณ์เตรียมรับมือความขัดแย้งกับจีนในอนาคต ตามรายงานของเอพี   เครื่องบินรุ่น บี-21 ไรเดอร์ นี้ถูกเปิดตัวหลังสหรัฐฯ ไม่มีเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่มาแล้วกว่า 30 ปี โครงการผลิตเครื่องบินรุ่นนี้แทบทั้งหมดอยู่ในชั้นความลับ โดยมีเพียงการเปิดเผยภาพวาดเครื่องบินรบโดยศิลปินเท่านั้นก่อนที่จะมีการเปิดตัวเครื่องบินรบที่ฐานทัพของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในเมืองปาล์มเดล รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันศุกร์   การผลิตเครื่องบินรบนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่ต้องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์หลักทั้งสามด้านให้ทันสมัย รวมทั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์พิสัยไกลและหัวรบที่ยิงจากเรือดำน้ำ เพื่อปรับยุทธศาสตร์จากการต่อต้านการก่อการร้ายในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ เป็นการรับมือกับกองทัพจีนที่มีความทันสมัยขึ้นอย่างรวดเร็ว   ทั้งนี้ จีนวางแผนสั่งสมหัวรบนิวเคลียร์ 1,500 ลูกภายในปี 2035 โดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า แต้มต่อของจีนทางด้านอาวุธความเร็วเหนือเสียง สงครามไซเบอร์ ความสามารถในอวกาศและด้านอื่น ๆ เป็น “ความท้าทายที่ต่อเนื่องและเป็นระบบที่สุดต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และระบบระหว่างประเทศที่เสรีและเปิดกว้าง”   เดโบราห์ ลี เจมส์ อดีตรัฐมนตรีทบวงทหารอากาศสหรัฐฯ เมื่อครั้งที่มีการประกาศสัญญาผลิตเครื่องบินรุ่น บี-21 ไรเดอร์เมื่อปี 2015 กล่าวในขณะนั้นว่า สหรัฐฯ ต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่ซับซ้อนขึ้น เช่น…