ส่องรถผู้นำจีน Hongqi N701 ลีมูซีนสุดไฮเทคของพญามังกร สี จิ้นผิง

Loading

  เช่นเดียวกับประธานาธิบดีและผู้นำแห่งขั้วอำนาจของโลก ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน นำรถประจำตำแหน่งประธานาธิบดีรุ่นใหม่ล่าสุดเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม เอเปก 2022 รถคันดังกล่าวคือ ยานยนต์ Hongqi N701 ซึ่งเป็นลีมูซีนรุ่นพิเศษที่ผลิตในจีน   Hongqi เป็นแบรนด์รถหรูสัญชาติจีน เจ้าของโดย FAW Car Company ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ FAW Group Hongqi เปิดตัวในปี 1959 ทำให้เป็นแบรนด์รถยนต์นั่งที่เก่าแก่ที่สุดของจีน       การออกแบบของ N701 แทบไม่แตกต่างจากรถซาลูนขนาดใหญ่ของฝั่งยุโรป ด้วยขนาดตัวถังที่ใหญ่โต รูปลักษณ์ออกแนวคลาสสิกร่วมสมัย และมีสไตล์เป็นของตัวเอง Hongqi N701 ถ่ายทอดภาพลักษณ์ที่สง่างาม ดูคล้าย Rolls Royce หรือ Bentley รุ่นพิเศษ ที่สั่งทำสำหรับผู้นำระดับสูง ภายในของ Hongqi N701 เป็นความลับจนไม่มีภาพถ่ายภายในที่ถูกเปิดเผยให้เห็นแต่อย่างใดทั้งสิ้น รวมถึงระบบขับเคลื่อนและอุปกรณ์อารักขาผู้นำสูงสุดของแดนมังกร ก็ไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างใดทั้งสิ้น    …

ญี่ปุ่นผลิตเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ป้องกันการลืมเด็กไว้บนรถ

Loading

    เมื่อไม่นานมานี้บ้านเรามีข่าวน่าสลดที่มีน้องนักเรียนชั้นประถมเสียชีวิตจากการที่อยู่บนรถไป ก่อนหน้านี้ก็เคยมีเหตุการณ์คล้าย ๆ แบบนี้เกิดขึ้นให้เราเห็นกันเนื่อง ๆ ซึ่งเรื่องนี้เองเราจะไม่มามองหาความผิดแต่วันนี้ มีประเทศหนึ่งที่มักจะสร้างสรรสิ่งใหม่ ๆ จากเหตุการณ์น่าสลดแบบนี้เพื่อยับยั้ง ป้องกันปัญหาอยู่ตลอด นั้นก็คือประเทศญี่ปุ่นนั้นเอง   ล่าสุดญี่ปุ่นเตรียมวางจำหน่ายเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของมนุษย์บนรถหลังดับเครื่อง เพื่อป้องกันการลืมเด็กไว้บนรถ บริษัทญี่ปุ่นเตรียมวางจำหน่ายเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวของมนุษย์บนรถยนต์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลืมเด็กไว้บนรถในขณะดับเครื่องยนต์จนทำให้เด็กเสียชีวิต   ย้อนกลับไปวันที่ 5 กันยายน ที่ประเทศญี่ปุ่นมีข่าวเด็กอายุ 3 ขวบเสียชีวิตเนื่องจากถูกทิ้งเอาไว้บนรถโรงเรียนในจังหวัดชิซุโอกะ     หลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น ทำให้โรงเรียนรวมถึงหน่วยงานท้องถิ่นทั่วประเทศเป็นกังวล และต้องการหาวิธีรับมือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์น่าเศร้านี้อีก     Sanyo Trading บริษัทที่ดูแลชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในโตเกียว ได้เตรียมวางจำหน่ายเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวหากมีคนถูกทิ้งไว้บนรถได้ หลังจากที่มีข่าวนี้ ทั้งโรงเรียนอนุบาลรวมถึงหน่วยงานท้องถิ่นทั่วญี่ปุ่นได้ติดต่อไปยังบริษัท Sanyo Trading เป็นจำนวนมาก     ตัวเซ็นเซอร์นี้ผลิตโดยบริษัทต่างประเทศ เซ็นเซอร์จะติดอยู่ที่เพดานรถ และหากตรวจพบความเคลื่อนไหวของมนุษย์ภายในรถหลังจากที่ดับเครื่องยนต์แล้ว จะมีการส่งอีเมลล์แจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือของผู้ที่ลงทะเบียนไว้เพื่อแจ้งถึงอันตรายให้ทราบ การติดตั้งเซ็นเซอร์นี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุการลืมเด็กไว้ในรถจนเด็กเสียชีวิต     Mitsuyasu Hirasawa เจ้าหน้าที่บริหารของ Sanyo…

ทักษะ ‘ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้’ ขาดแคลน เพราะผู้เชี่ยวชาญหมดไฟ

Loading

  ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ต้องเผชิญสำหรับอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ในขณะนี้ก็คือ การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะ   ปัจจุบันประเด็นปัญหาเกี่ยวกับช่องว่างด้าน “ทักษะทางไซเบอร์ซิเคียวริตี้” เป็นที่ถกเถียงไปทั่วโลก และองค์กรต่าง ๆ มีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอที่จะลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่   จากการประมาณการพบว่า มีตำแหน่งงานด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ยังขาดแคลนอยู่หลายล้านตำแหน่งทั่วโลกอย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักของปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความพร้อมของผู้สมัคร แต่เป็นความสามารถในการรักษาพนักงานที่มีทักษะและประสบการณ์ไว้กับองค์กรให้ได้   มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มเปิดสอนหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และ online learning โปรแกรมยังคงทำให้พื้นฐานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน   แต่ท้ายที่สุดแล้ว ไม่มีการรับรองหรือ e-learning ใดๆ ที่จะมาใช้แทนประสบการณ์จริงได้ และในขณะนี้มีคนจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่พยายามจะเข้าสู่อุตสาหกรรมด้านนี้มีการเปิดรับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและตำแหน่งงานระดับกลาง (mid-level) เพื่อทำให้เกิดความท้าทายในการสรรหาและการรักษาบุคคลากรเอาไว้   ในความเป็นจริงแล้ว องค์กรอาจต้องใช้เวลาในการเทรนต่างๆ ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปีกว่า ๆ ถึงได้นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์รายใหม่ที่มีความชำนาญ   ขณะที่อายุการใช้งานโดยทั่วไปของคนที่ทำงานด้านนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 ปี ซึ่งจะเหลือเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ที่พนักงานจะสามารถทำงานอย่างเต็มที่ให้กับบริษัท   จากการวิจัยในสหราชอาณาจักร พบว่า ผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะและประสบการณ์ในด้านนี้กำลังจะออกจากอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากความเหนื่อยหน่ายและความท้อแท้จากการทำงาน ทำให้จำนวนพนักงานรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ลดลง 65,000 คนในปีที่แล้ว…

ทำความรู้จักขีปนาวุธรุ่น S-300 ที่ต้องสงสัยว่าถูกยิงเข้าโปแลนด์

Loading

The debris, which the locals claim to be that of a missile, is pictured at the site of an explosion in Przewodow, a village in eastern Poland near the border with Ukraine, Nov. 16, 2022.   โปแลนด์ระบุว่า ขีปนาวุธที่โจมตีโรงเก็บธัญพืชของตนใกล้กับชายแดนยูเครนเมื่อวันอังคาร และทำให้มีผู้เสียชีวิตสองคนนั้น อาจเป็นจรวดรุ่น S-300 ซึ่งเป็นระบบขีปนาวุธยุคโซเวียตที่ถูกใช้จากทั้งฝั่งยูเครนและรัสเซีย   ทางด้าน เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ กล่าวว่า อาวุธดังกล่าวอาจเป็นขีปนาวุธป้องกันทางอากาศของยูเครน แต่รัสเซียเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดต่อเหตุดังกล่าว เนื่องจากรัสเซียบุกรุกยูเครน จุดชนวนให้เกิดสงครามมาเกือบเก้าเดือนแล้ว โดยขณะนั้น…

เมื่อ WIFI อาจจะถูกนำไปใช้ในงานจารกรรม

Loading

  เราทราบดีว่าเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ WIFI ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่เรา แต่มุมมองต่อ WIFI ของเราอาจเปลี่ยนไป เมื่อล่าสุดมีการดัดแปลงอุปกรณ์ให้ใช้ประโยชน์จากระบบนี้ในการจารกรรม   ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายสื่อสารที่มีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัย 4 ด้วยเราพึ่งพาระบบเครือข่ายแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร, ตรวจสอบเส้นทาง, การเงิน ฯลฯ กลายเป็นเทคโนโลยีซึ่งขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน แต่ล่าสุดความอันตรายกลับเพิ่มขึ้นเมื่อมีผู้มองเห็นแนวทางการใช้ระบบ WIFI ในการโจรกรรม   แต่ก่อนอื่นคงต้องอธิบายรูปแบบการทำงานของ WIFI เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของเพิ่มเติมกันเสียก่อน     ระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ครอบคลุมทั่วโลก   คาดว่าปัจจุบันผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกท่านคงรู้จัก WIFI หรืออินเทอร์เน็ตไร้สายกันมาบ้าง หลายท่านอาจเข้าใจว่าคำนี้มาจาก Wireless Fidelity แต่ต้นตอจริงของคำนี้มาจากเครื่องหมายการค้าขององค์กร Wi-Fi Alliance ที่เป็นผู้คิดค้นระบบนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี 1999   ระบบการทำงานของ WIFI ถือเป็นระบบ LAN ไร้สาย ส่วนหนึ่งของ IEEE 802.11 ทำหน้าที่สื่อสารกันผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยคลื่นวิทยุแบบเดียวกับสัญญาณโทรศัพท์มือถือและบลูทูธ คอยทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์และบริการ ด้วยระดับความถี่คลื่นอยู่ที่ 2.4 GHz…

เมื่อโจรไซเบอร์เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ

Loading

  เมื่อโจรไซเบอร์เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ยังคงสังเกตเห็นการลดลงของจำนวนการตรวจจับมัลแวร์บนอุปกรณ์โมบายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ในช่วงมกราคม-มิถุนายน 2022 แคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามโจมตีผู้ใช้อุปกรณ์โมบายในประเทศไทย 6,754 ครั้ง ซึ่งต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 88% ซึ่งมีตัวเลขความพยายามโจมตี 54,937 ครั้ง (ไม่รวมแอดแวร์และริสก์แวร์)   ประเทศไทยมีสถิติที่สำคัญในช่วงสามปีที่ผ่านมา ในปี 2019 มีการบันทึกการตรวจจับโมบายมัลแวร์ 44,813 ครั้ง ในปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่โรคระบาดใหญ่ถึงจุดสูงสุด จำนวนการตรวจจับลดลงเหลือ 28,861 ครั้ง โดยจำนวนความพยายามโจมตีสูงสุดคือเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา คือ 66,586 ครั้ง   แม้ว่าจำนวนโมบายมัลแวร์บนอุปกรณ์โมบายทั่วโลกและระดับภูมิภาคจะลดลง แต่การโจมตีก็มีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในแง่ของฟังก์ชันและเวกเตอร์ของมัลแวร์ นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้สังเกตุเห็นผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดภัยคุกคามทางไซเบอร์ หนึ่งในสิ่งที่อันตรายที่สุดในคือแบงก์กิ้งมัลแวร์   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เมื่อเร็ว ๆ…