วิธีเช็กซิมลงทะเบียนด้วยชื่อใคร มีเบอร์อื่นที่เปิดด้วยบัตรประชาชนของเราหรือไม่

Loading

  วิธีเช็กซิมลงทะเบียนด้วยชื่อใคร มีหลายวิธีที่สามารถตรวจสอบได้ และมีวิธีเช็กเบอร์อื่นที่เปิดด้วยบัตรประชาชนของเราหรือไม่ และเช็กว่าบัตรประชาชนของเรานำไปใช้เปิดซิมเบอร์โทรศัพท์มือถือไปแล้วกี่เบอร์ เพื่อป้องกันถูกคิดค่าบริการจากคนอื่นที่ใช้บัตรประชาชนเราเปิดเบอร์ด้วย วิธีเช็กซิมลงทะเบียนด้วยชื่อใคร ? เบอร์เครือข่าย AIS หากทราบว่าเบอร์นี้เป็นเบอร์ของ AIS ง่ายสุดคือใส่ซิมลงในมือถือ ดาวน์โหลดแอป My AIS แล้วทำการ login ผ่าน OTP จะแสดงเบอร์โทรศัพท์ของคุณ หากมีการลงทะเบียนแล้วจะแสดงเป็นชื่อ นามสกุลเจ้าของเบอร์โทรในหน้าเมนูด้วย เบอร์เครือข่าย True ตรวจสอบได้ผ่านทางกด *153# โทรออก ระบบจะแจ้งว่าเบอร์นี้ลงทะเบียนกับบัตรลงท้ายอะไร สำหรับซิมระบบเติมเงิน ส่วนถ้าใช้ซิมรายเดือนก็จะเป็นการเช็คว่าจดทะเบียนแล้วหรือยัง เบอร์เครือข่าย dtac สามารถกด *102# โทรออกเพื่อเช็คเลขบัตรประชาชน 4 ตัวสุดท้ายที่จดทะเบียนด้วยเบอร์เติมเงิน วิธีตรวจสอบ มีเบอร์อื่นที่เปิดด้วยบัตรประชาชนของเราหรือไม่ หรือบัตรประชาชนของเราไปเปิดเบอร์มือถือเบอร์ไหนบ้าง     ดาวน์โหลดแอป 3 ชั้น ทาง App Store หรือ Google Play จากนั้นเตรียมบัตรประชาชนในการทำการลงทะเบียนด้วย เริ่มต้นเปิดแอป 3…

Human Error มนุษย์คือจุดอ่อน เปิดทางแฮกเกอร์เข้าโจมตี

Loading

ไม่มีใครไม่เคยทำผิดพลาด การทำผิดพลาดล้วนสร้างประสบการณ์และบทเรียนให้กับมนุษย์ นั่นคือวิธีที่เราเติบโตและเรียนรู้ แต่การรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ความผิดพลาดของมนุษย์อาจเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามมากเกินไป . จากการศึกษาของ IBM ข้อผิดพลาดของมนุษย์เป็นสาเหตุหลักของการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ 95 เปอร์เซ็นต์ พูดง่าย ๆ คือ หากเราสามารถลด Human Error ได้ เราสามารถลดการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากถึง 19 จาก 20 ครั้งเลยทีเดียว . ปัจจุบัน ประเทศถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกกำหนดเป็นเป้าหมายในการโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเราได้มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ในการดำเนินต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโควิด แต่นั่นก็ทำให้ตัวเลขการโจมตีเพิ่มสูงขึ้นมากเช่นกัน . ในบริบทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความผิดพลาดของมนุษย์หมายถึงการกระทำที่อาจไม่ได้ตั้งใจหรือขาดความยั้งคิดจนทำให้ความเสียหายเกิดขึ้น โดยพนักงานและผู้ใช้เป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่กระจาย หรืออนุญาตให้มีการละเมิดความปลอดภัยเกิดขึ้น ตั้งแต่การดาวน์โหลดไฟล์แนบที่ติดมัลแวร์มา การตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย ไปจนถึงการอนุญาติสิทธิ์โดยไม่รู้ตัว . ด้วยสภาพแวดล้อมการทำงานที่ก้าวหน้าและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงมีเครื่องมือและบริการต่างๆ ที่เราใช้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ในการยืนยันสิทธิ์เข้าใช้งาน เรามีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน และสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องจดจำสำหรับแต่ละรายการ ทั้งหมดนี้เพิ่มขึ้น ทำให้พนักงานเริ่มใช้ทางลัดเพื่อทำให้ชีวิตตัวเองง่ายขึ้น . สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิด…

7 เดือนแรกปี 65 มูลค่ารวมสินทรัพย์คริปโตที่โดนแฮกเกอร์เจาะระบบทะลุ 1.4 พันล้านดอลลาร์

Loading

  รายงานการวิจัยเผยตั้งแต่ต้นปี 2022 แฮกเกอร์ได้เจาระบบเข้าถึงสินทรัพย์ Crypto มูลค่ารวมแล้วกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์ โดยส่วนใหญ่เน้นการจู่โจมบน Ronin Bridge, Harmony และ Nomad จากการเปิดเผยของ cryptopotato ระบุถึงผลการศึกษาของ Chainalysis ซึ่งได้ตีแผ่ข้อมูลของผู้กระทำผิดที่ได้ขโมยทรัพย์สินดิจิทัลมูลค่าประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์ ระหว่างเดือนมกราคม 2022 จนถึงตอนนี้ โดยแฮกเกอร์จะเน้นการโจมตีบนสะพานเชื่อมต่อระหว่างบล็อกเชน cryptocurrency มากที่สุด ตัวอย่างของการโจมตีดังกล่าวในปี 2022 ได้แก่ การใช้ประโยชน์จาก Horizon bridge มูลค่า 190 ล้านดอลลาร์บน Nomad Bridge และการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของ crypto นั่นคือการโจมตี Ronin ที่มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 615 ล้านดอลลาร์ Crypto Bridges คือเป้าหมายหลักที่อาชญากรไซเบอร์นิยม แม้ว่าอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากตลาดกระทิงในปี 2564 ได้สร้างระบบนิเวศที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนรายใหม่และบริษัทต่างๆ แล้วในทางกลับกัน…

ภาพเก่าเล่าตำนาน : จารกรรม…ข้อมูลปรมาณู…จากอเมริกา

Loading

ผู้เขียน พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก 6 สิงหาคม และ 9 สิงหาคม 2488 …อเมริกาเอาระเบิดปรมาณูไปทิ้งใส่เกาะญี่ปุ่น 2 เมือง 2 ลูก… 15 สิงหาคม 2488 ญี่ปุ่นประกาศ “ยอมแพ้” สงคราม มหาอำนาจทั้งหลาย “ตาลุกวาว” …เฮ้ย…นี่ระเบิดอะไร (วะ) อเมริกา ผลิตปรมาณูได้ยังไง …อั๊วจะผลิตมั่ง! “สายลับ” ของมหาอำนาจโซเวียต…ต้องหา “สูตรลับ” ให้ได้     บทความตอนที่แล้ว ของผู้เขียน “เรื่องใครคิด-ผลิต ระเบิดปรมาณู” ถูกส่งต่อกันไปแพร่หลาย… คุณพอล เฟโนลิโอ (Paul Fenoglio) เพื่อนรัก อดีตนายทหารอเมริกันในไทย ที่อ่านภาษาไทยได้ดีอยู่ในอเมริกา ส่งข้อมูลในประวัติศาสตร์อเมริกามาให้เพิ่มเติม… (คุณพอลเคยเป็นนายทหารที่มาศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาคณิตศาสตร์ หลังเกษียณอายุราชการทหาร กลับไปอเมริกาพร้อมคุณดุษณี ปัจจุบัน พอลเป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ใน…

ถอดบทเรียนมหาอุทกภัยกรุงโซล อะไรคือสาเหตุและแนวทางรับมือในอนาคต

Loading

  – จากเหตุการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมครั้งใหญ่ ในกรุงโซลและพื้นที่ใกล้เคียง เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 14 ศพ และยังมีผู้สูญหายอีก 4 ราย ประชาชนอย่างน้อย 163 ราย ต้องไร้ที่อยู่อาศัย – นายกเทศมนตรีกรุงโซลประกาศทุ่มงบประมาณ 1.5 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท ในช่วงทศวรรษข้างหน้าเพื่อปรับปรุงระบบการระบายน้ำสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ 6 เส้นทางเพื่อรองรับน้ำท่วมครั้งใหญ่ในอนาคต –  ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ภาวะโลกร้อนได้ทำให้ฝนตกหนัก และสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรงมากขึ้น โดยในปีนี้ฝนตกหนักผิดปกติและคลื่นความร้อนที่รุนแรงกว่าทุกปี ได้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปหลายพันคน และมีประชาชนต้องไร้ที่อยู่อาศัยอีกหลายล้านคน ทางการเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ฝนตกหนักน้ำท่วมครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 14 ศพ ในจำนวนนี้อยู่ในกรุงโซล 8 ศพ อยู่ในจังหวัดคยองกี 4 ศพ และอีก 2 ศพอยู่ที่จังหวัดกังวอน ทางภาคตะวันออก และยังมีผู้สูญหายอีก 4 ราย ทั้งในกรุงโซล…

วิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับผู้สูงอายุ มุกไม่ใหม่ แต่ผู้ใหญ่ควรรู้!

Loading

  วิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับผู้สูงอายุ เพราะมิจฉาชีพมีแนวโน้มพุ่งเป้าหมายไปที่ผู้สูงอายุทางออนไลน์มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้สูงวัยที่ไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างทันการณ์ ซึ่งช่องโหว่นี้ถูกใช้เป็นช่องทางการทำทุจริตและฉ้อโกงของกลุ่มมิจฉาชีพ ดังนั้น เพื่อก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเองมีความต้องการที่จะมองหาคนที่จะสามารถสอนอธิบายเครื่องมือใหม่ๆ เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และต้องการรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมและแตกต่างจากคนทั่วไป บทความนี้ได้รวบรวมเคล็ดลับด้านความปลอดภัย ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุจะไม่ตกเป็นเหยื่อกลอุบายของกลุ่มมิจฉาชีพทางออนไลน์ วิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับผู้สูงอายุ มุกไม่ใหม่ แต่ผู้ใหญ่ควรรู้! เปิดใช้งานการตั้งค่าความปลอดภัยเหล่านี้ในโทรศัพท์มือถือ 1. เปิดตั้งค่าล็อกโทรศัพท์ โดยคุณมีสามตัวเลือกหลักเกี่ยวกับการล็อกโทรศัพท์: รหัสผ่าน , PIN หรือไบโอเมตริกซ์ รหัสผ่านเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุด ตามหลักการแล้ว รหัสผ่านของคุณควรมีความยาวอย่างน้อย 12 ตัวอักษรและประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขปนกันไป คุณอาจตั้งรหัสด้วยแบบนี้ดังนั้นรหัสผ่านที่มีชื่อคู่สมรสของคุณและปีที่คุณพบจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  2. ซ่อนการแสดงตัวอย่างการแจ้งเตือน เพราะเป็นความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย แม้ว่าโทรศัพท์ของคุณจะล็อกอยู่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น หากคุณทำโทรศัพท์หาย ทุกคนสามารถอ่านข้อความของคุณได้ และคนแปลกหน้าอาจเห็นข้อมูลที่คุณต้องการเก็บไว้เป็นส่วนตัวได้  3. เปิดอัปเดตอัตโนมัติสำหรับแอปและความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือ จะได้ไม่จำเป็นต้องมองหาแอปที่ยังไม่ได้อัปเดตด้วยตนเองเพื่อคอยกดปุ่ม Update โดยทั้ง App Store และ Play Store จะอัปเดตแอปให้คุณโดยอัตโนมัติ แต่เช็กให้แน่ใจว่าคุณใช้ Wi-Fi เพื่อที่การดาวน์โหลดจะไม่เกี่ยวกับใช้บนเครื่อข่ายมือถือ 4G ,…