รัสเซีย-ยูเครน : ทำไมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริเฟียตกเป็นเป้าโจมตีบ่อย

Loading

ทหารรัสเซียยืนอยู่หน้าโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ซาโปริเฟีย สหประชาชาติและนานาประเทศหวั่นเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ หลังการยิงถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ที่ตั้งอยู่ในยูเครน แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ตกเป็นเป้าโจมตี หรือสมรภูมิรบ นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติเตือนว่า การโจมตีโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ซาโปริเฟีย ทางตอนใต้ของยูเครนเป็นการกระทำที่เหมือน “การฆ่าตัวตาย” โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพรัสเซีย ตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ตกเป็นเป้าโจมตีอีกครั้ง โดยรัสเซียและยูเครนต่างกล่าวโทษอีกฝ่ายว่าอยู่เบื้องหลัง “การโจมตีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เป็นการฆ่าตัวตาย ผมหวังว่าการโจมตีในลักษณะนี้จะจบลงเสียที และผมหวังว่า ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency–IAEA) จะเข้าถึงโรงไฟฟ้าได้” นายกูเตร์เรส กล่าว คำกล่าวของเลขาฯ ยูเอ็น ยังเกิดขึ้นหลังเขาเดินทางเยือนเมืองฮิโรชิมาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมขึ้นปราศรัยในโอกาสครบ 77 ปีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มเมืองแห่งนี้ ซึ่งถือเป็นเมืองแรกของโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยนายกูเตร์เรสเตือนว่า “มนุษยชาติกำลังเล่นกับปืนบรรจุกระสุน” เกิดอะไรขึ้น ซาโปริเซีย เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ปัจจุบัน กองทัพรัสเซียควบคุมโรงงาน นับแต่ต้นเดือน มี.ค. หรือเพียงไม่นานหลังส่งทหารบุกยูเครนเมื่อปลายเดือน ก.พ. การสู้รบในบริเวณโรงไฟฟ้าแห่งนี้เคยก่อให้เกิดความวิตกกังวลว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างโรงไฟฟ้าอาจปะทุเป็นวิกฤตนิวเคลียร์ขึ้นมาได้ และจะเลวร้ายกว่าเมื่อครั้งที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เกิดการหลอมละลายและระเบิดขึ้นเมื่อปี 1986 การสู้รบในบริเวณโรงงานซาโปริเซียปะทุขึ้นอีกในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างโรงงานหลายจุด จนเจ้าหน้าที่ต้องปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ลงเพื่อความปลอดภัย รัสเซียและยูเครนกล่าวโทษอีกฝ่ายที่ก่อเหตุโจมตีโรงงาน…

คอลัมน์ “นอกหน้าต่าง”: การที่ปักกิ่งซ้อมรบใหญ่รอบเกาะไต้หวันคราวนี้ ทำให้เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ ‘การทหารของจีน’

Loading

การที่จีนซ้อมรบด้วยกระสุนจริงรอบๆ ไต้หวัน ซึ่งได้เห็นเรือรบแดนมังกรหลายลำเข้าโอบล้อมเกาะแห่งนี้ กลายเป็นการเสนอโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เกี่ยวกับวิธีการซึ่งปักกิ่งอาจจะนำมาใช้ในการเปิดยุทธการทางทหารเพื่อโจมตีบุกยึดดินแดนซึ่งพวกเขาถือเป็นมณฑลกบฏของตนแห่งนี้ ปักกิ่งยังได้ประกาศมาตรการแซงก์ชันทางเศรษฐกิจและเพิ่มความพยายามในการโดดเดี่ยวไต้หวันในเวทีระหว่างประเทศ ในความเคลื่อนไหวซึ่งพวกผู้เชี่ยวชาญบอกว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมในช่องแคบไต้หวันไปอย่างถาวร ต่อไปนี้คือคำถามคำตอบบางข้อเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเรียนรู้ได้จากการที่จีนนำกำลังทหารออกมาเอ็กเซอร์ไซส์รอบๆ เกาะไต้หวันครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาคราวนี้ จีนสามารถที่จะดำเนินการปิดล้อมไต้หวันได้หรือไม่? ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่กองทัพจีนดำเนินการซ้อมรบที่บริเวณน่านน้ำฟากตะวันออกของเกาะไต้หวัน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่สุดในทางยุทธศาสตร์สำหรับการจัดส่งอาวุธยุทธสัมภาระต่างๆ ให้แก่กองทหารของเกาะ –รวมทั้งสำหรับการเดินทางเข้ามาของกำลังหนุนใดๆ จากฝ่ายอเมริกันที่อาจจะมีขึ้น นี่ถือเป็นลางร้ายสำหรับฝ่ายไต้หวัน ในการที่ปักกิ่งกำลังส่งสัญญาณแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเวลานี้สามารถปิดล้อมเกาะแห่งนี้ทั้งเกาะ อีกทั้งสามารถที่จะป้องกันห้ามปรามการเข้าออกของเรือและเครื่องบินไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายพลเรือน หรือของฝ่ายทหาร พวกนักวิเคราะห์คาดเดากันมานานแล้วว่า นี่น่าจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญอย่างหนึ่งที่จีนจะหยิบมาใช้ในกรณีเกิดสงครามบุกยึดไต้หวันขึ้นมา คริสโตเฟอร์ ทูมีย์ (Christopher Twomey) นักวิชาการด้านความมั่นคงแห่งสถาบันบัณฑิตนาวีสหรัฐฯ (US Naval Postgraduate School) ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้ความเห็นว่า จากวิกฤตครั้งนี้เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่า ปักกิ่งนั้นมีความสามารถที่ดำเนินการตอบโต้ในลักษณะเช่นนี้ และกระทั่งสามารถกระทำด้วยความดุเดือดเข้มข้นยิ่งขึ้นอีกด้วยซ้ำ ตามแต่ที่พวกเขาปรารถนา กระนั้นก็ดี เขาชี้ว่า “การรักษา (การปิดล้อม) เอาไว้เป็นสิ่งที่จะต้องใช้ต้นทุนสูงมาก ทั้งต้นทุนในด้านชื่อเสียงเกียรติภูมิของจีน และต้นทุนโดยตรงสำหรับการดำเนินการการทหารของจีน” ขณะที่จีนในปัจจุบันเผชิญกับภาวะย่ำแย่ทางเศรษฐกิจ จึงหมายความว่าแดนมังกรไม่น่าต้องการเสี่ยงภัยทำให้เกิดการสะดุดติดขัดอย่างใหญ่โตมโหฬารขึ้นมาในช่องแคบไต้หวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางสัญจรทางน้ำที่คึกคักวุ่นวายที่สุดของโลก อย่างน้อยก็สำหรับในตอนนี้ ฝ่ายทหารของจีนพร้อมรบขนาดไหน? จีนมีการขยายและปรับปรุงยกระดับกำลังทหารทั้งทางอากาศ อวกาศ และทางทะเลของตนอย่างรวดเร็วมาก ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะสำแดงอำนาจของตนออกไปทั่วโลก และลดช่วงห่างทางทหารที่ตามหลังสหรัฐฯ อยู่ให้หดแคบลงมา ทว่าถึงแม้สมรรถนะทางทหารของปักกิ่งไล่ไม่ทันของวอชิงตัน…

ทำไม “จีน” ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า “ไต้หวัน” คือดินแดนที่แยกจากจีนไม่ได้?

Loading

  ในบทความนี้ “อ้ายจง” มาวิเคราะห์ข้อมูลจากทางจีนที่ชี้แจงสู่ประชาคมโลกถึงเหตุผลว่า ทำไมจีนถึงยืนกรานอย่างหนักแน่นในประเด็น “ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ไม่สามารถแยกได้” ประเด็นความตึงเครียดสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน ระหว่าง จีนแผ่นดินใหญ่ และ ไต้หวัน โดยมีบุคคลที่สามเข้ามาเอี่ยวด้วยคือ สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นกระแสอันร้อนแรงที่จีนออกมาตรการต่างๆ ตอบโต้อย่างต่อเนื่องหลัง แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา เดินทางไปเยือนไต้หวัน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 โดยไม่สนคำคัดค้านของทางจีน ที่ยืนยันมาโดยตลอดว่า ถ้าหาก “เพโลซี” เดินทางไปไต้หวัน นั่นหมายถึง การละเมิดคำมั่นสัญญาที่จีนและอเมริกากระทำไว้ในปี 1979 เมื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตว่า “อเมริกาจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่เป็นทางการกับไต้หวัน” แต่การเดินทางของเพโลซีครั้งนี้ จีนถือว่าเป็นทางการ ทั้งไปในฐานะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกา และไปด้วยเครื่องบินทหารกองทัพอเมริกา เป็นการบ่งบอกถึง “ต้องการสานสัมพันธ์กับไต้หวันอย่างเป็นทางการ” ดังนั้น ในบทความนี้ อ้ายจง จึงวิเคราะห์ข้อมูลจากทางจีนที่ชี้แจงสู่ประชาคมโลกถึงเหตุผลของพวกเขา เพื่อตอบคำถามที่หลายคนอาจสงสัยและติดค้างในใจว่า ทำไมจีนถึงยืนกรานอย่างหนักแน่นและดูเหมือนจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงได้ ในประเด็น “ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ไม่สามารถแยกได้” 1. จีนอ้างอิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ชายฝั่งทะเล ที่จัดทำโดย เสิ่น…

ไทยรั้งท้าย ‘ดัชนีดิจิทัล’ เอเชียแปซิฟิก วิกฤติ ‘บุคลากร’ อุปสรรคใหญ่

Loading

  ดัชนีความคล่องตัวทางดิจิทัลภูมิภาคเอเชีย-แปซิก ประจำปี 2565 โดย “ไอดีซี” และ “Workday” ผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านการเงินและทรัพยากรบุคคลสำหรับองค์กร ระบุว่า องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทย 91% ยังคงล้าหลังในเรื่องของความคล่องตัวทางดิจิทัล (Digital Agility)   “ไอดีซี” และ “Workday” เผยว่า ดัชนีความคล่องตัวทางดิจิทัลขององค์กรไทยจัดอยู่ในระดับที่ “ดำเนินการล่าช้า” หรือ “กำลังวางแผน” ซึ่งนับว่าสวนทางกับโอกาสในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล หรือดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และการปรับใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด   นอกจากนี้ พบด้วยว่าในแง่ของการสรรหาและดึงดูดบุคลากร ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญถือเป็นหนึ่งในปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรไทย และเป็นอุปสรรคต่อการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น     ไทยรั้งท้าย ตกไปอยู่ที่อันดับ 9   จากผลการศึกษา พบว่า 9 ประเทศที่ได้รับการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีระดับความก้าวหน้าด้านความคล่องตัวทางดิจิทัลที่แตกต่างกัน   สำหรับองค์กรไทย มีเพียง 9% เท่านั้นที่มีความคล่องตัวทางดิจิทัลในระดับสูง ส่งผลให้ไทยครองอันดับ 9 โดยลดลงหนึ่งอันดับเมื่อเทียบกับการจัดอันดับเมื่อปี 2563   โดยไทยถูกแซงหน้าโดยอินโดนีเซีย ซึ่งครองอันดับ 8…

Meta ไม่ใช่คนแรก กองทัพสหรัฐยืนหนึ่ง สร้าง metaverse สำเร็จแล้ว

Loading

  ตั้งแต่ Facebook เริ่มรีแบรนด์ตัวเองเป็น Meta เมื่อปลายปีที่แล้ว ดูเหมือนว่าทุกอุตสาหกรรมพยายามที่จะเอาตัวเองไปผูกติดอยู่กับ metaverse ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่เชื่อหรือไม่ว่า ยังมีหน่วยงานบางแห่งที่ทรงพลังมากกว่า Meta เสียอีก และสร้าง metaverse จริง ๆ ขึ้นมาได้สำเร็จแล้ว นั่นคือ กองทัพของสหรัฐนั่นเอง   US.Army ได้สร้างโปรแกรมฝึกทหารที่เรียกว่า Their Synthetic Training Environment (STE) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ปี 2017 มีเป้าหมายที่จะแทนที่โปรแกรมการจำลองแบบดั้งเดิมทั้งหมด และจะรวมระบบต่าง ๆ เข้าไว้ในระบบเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ทั้งหมด   STE นั้นแตกต่างจากวิธีการแบบเดิมที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น หากจะโฮสต์ฝาแฝดดิจิทัล หรือ Digital Twins ของโลกใบนี้ขึ้นมา เขาจะใช้สถาปัตยกรรมคลาวด์ที่มีจุดเด่นในการขยายขนาดได้อย่างอิสระ และจะสตรีมข้อมูลภูมิประเทศที่มีความเที่ยงตรงสูง (ภาพถ่ายเหมือนจริง) ไปยังการจำลองที่เชื่อมต่อแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ ตัวอย่างเช่น ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในเครื่องจำลองรถถังจะมองเห็นต้นไม้ พุ่มไม้ และสิ่งปลูกสร้างเดียวกันกับนักบินในเครื่องจำลองการบินที่เชื่อมต่อกัน ทำให้การสื่อสารและการสนับสนุนทางอากาศทำได้อย่างแม่นยำมากขึ้น…

Focus : เทียบชัดๆ แสนยานุภาพ ‘จีน-ไต้หวัน’ ใครอยู่-ใครไปหากเกิดสงครามเต็มขั้น

Loading

การเยือนกรุงไทเปของ แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ทำให้ข้อพิพาทเรื้อรังระหว่างจีนกับไต้หวันกลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าที่ทั่วโลกจับตามองในสัปดาห์นี้ ขณะที่หลายฝ่ายเป็นกังวลว่าความตึงเครียดที่เกิดขึ้นอาจกระตุ้นให้ปักกิ่งเพิ่มแรงบีบต่อไต้หวัน หรืออาจตัดสินใจบุกยึดในอีกไม่ช้า นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่าโอกาสรอดของไต้หวันนั้นมีน้อยมาก หากว่าจีนตัดสินใจใช้ปฏิบัติการทางทหารอย่างเต็มรูปแบบเข้ายึดเกาะแห่งนี้ “เมื่อคุณตั้งคำถามว่าจีนสามารถทำได้หรือไม่ คุณกำลังมองถึงต้นทุนปฏิบัติการที่จีนจะต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรือรบหรือกำลังพลที่อาจต้องสูญเสียไป ซึ่งจีนมีกำลังพอที่จะทำได้แน่นอน” ดร.โอเรียนา สไกลาร์ แมสโตร ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย ให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์กไทม์ส “ทว่าไต้หวันเองก็มีอาวุธที่จะป้องกันตัวเอง และหากสหรัฐฯ ยื่นมือเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยไต้หวัน คำถามคือสงครามครั้งนี้จะนำไปสู่การนองเลือดมากขนาดไหน?”     +++ ข้อมูลจาก Global Fire Power 2022 ให้ตัวเลขเปรียบเทียบแสนยานุภาพทางทหารระหว่างจีนกับไต้หวันเอาไว้ดังต่อไปนี้ +++ – จีนมีทหารประจำการพร้อมรบราว 2 ล้านนาย และมีกองกำลังสำรอง 510,000 นาย ขณะที่ไต้หวันมีทหารประจำการราว 170,000 นาย แต่มีกองกำลังสำรองมากถึง 1.5 ล้านนาย – กองทัพจีนมีเครื่องบินทั้งหมด 3,285 ลำ ขณะที่ไต้หวันมี 741 ลำ – จีนมีฝูงบินขับไล่มากถึง…