การปกป้องความปลอดภัยไซเบอร์อุปกรณ์ IoT บนแพลตฟอร์มคลาวด์

Loading

    เอเชียแปซิฟิก (APAC) ถือเป็นภูมิภาคแนวหน้าในการใช้ IoT โดยคาดว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะแตะระดับ 437 พันล้านดอลลาร์ไภายในปี 2568 ในขณะที่ตลาด IoT ของไทยมีมูลค่าราว 80,222 ล้านบาท อุปกรณ์ IoT ถือเป็นเสาหลักสำคัญของการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นซึ่งครอบคลุมการใช้งานหลากหลายด้าน ตัวอย่างเช่น เซนเซอร์ตรวจจับแสง เครื่องปรับอากาศในอาคารอัจฉริยะ ไปจนถึงหุ่นยนต์อัตโนมัติในระบบอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี อุปกรณ์อัจฉริยะจำนวนมากไม่ได้รับการออกแบบถึงระบบรักษาความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ หรือมีช่องโหว่ในรหัสโปรแกรมที่ใช้ในซัพพลายเชนของผู้ผลิตโดยที่ไม่มีใครรู้ตัว ช่องโหว่ความปลอดภัยดังกล่าวเมื่อผนวกกับเรื่องจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องเร่งทบทวนมาตรการด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ IoT เหล่านี้ที่อยู่บนเครือข่ายของตนเอง ดังนั้น เมื่อบริษัทเดินหน้าลงทุนในด้านการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ก็ควรให้ความสำคัญในระดับเดียวกันกับเรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการดำเนินงานแต่ละวันด้วย สิ่งที่ควรพิจารณาในด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ IoT มีอะไรบ้าง และเราจะจัดการกับเรื่องดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง ข้อจำกัดด้านความปลอดภัยในอุปกรณ์ IoT สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ การตรวจพบภัยคุกคามจากอุปกรณ์ IoT มักขึ้นอยู่กับการอัปเดตฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลอุปกรณ์ที่ตกเป็นเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ IoT บางประเภทไม่มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือพลังในการประมวลผลที่เพียงพอต่อการรองรับการจัดเก็บบันทึกระบบ หรือการเข้ารหัสเพื่อปกป้องข้อมูลที่อ่อนไหวระหว่างการประมวลผล ซึ่งอาจจะทำให้ข้อมูลเหล่านั้นตกอยู่ในความเสี่ยง ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ จึงไม่สามารถตรวจพบและปกป้ององค์กรได้อย่างมั่นใจจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ IoT ที่ไม่รู้จักและไม่สามารถจัดการได้ อีกทั้งความเสี่ยงดังกล่าวยังเพิ่มขึ้นในระบบการทำงานจากที่บ้านอีกด้วย โดยรายงานความปลอดภัยด้าน IoT ประจำปี 2564 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามราว 80% ในเอเชียแปซิฟิก (รวมประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งมีอุปกรณ์ IoT เชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กร รายงานว่า…

เปิดแนวโน้มเทคโนโลยีดิจิทัลปี 2023 ที่ทุกคนต้องเตรียมพร้อม

Loading

  “Bernard Marr” ที่เป็นนักอนาคตศาสตร์ (Futurist) ด้านเทคโนโลยี เมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาได้เขียนบทความแนะนำแนวโน้มเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญในปี 2023 ที่ทุกคนจะต้องเตรียมพร้อมนับตั้งแต่ตอนนี้!!!   เทคโนโลยีดิจิทัล เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมักจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาให้กล่าวขานกันเสมอ เช่น Metaverse, Web 3.0, AI, AR/VR ,NFT และ Quantum Computing ผู้บริหารบางองค์กรก็จะตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่ๆ บ้างก็กลัวตกเทรนด์ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ รีบนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในองค์กรแต่สุดท้ายแล้วบางเทคโนโลยีก็อาจยังไม่พร้อมและเป็นเรื่องใหม่จนเกินกว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน   ผมเองก็พยายามตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ ถ้ามีเวลาก็จะลงมือไปทดลองใช้บ้าง บางเทคโนโลยีก็พบว่าเป็นเรื่องน่าสนใจและเหมาะกับการนำมาประยุกต์ใช้งาน บางเทคโนโลยีก็อาจต้องรอเวลาให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้งานได้ในวงกว้าง บ้างก็เป็นการสร้างของนักการตลาดที่พยายามทำให้ดูดีกว่าความเป็นจริง และบ้างก็อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกว่าความคุ้มค่าต่อการลงทุน   แต่สิ่งสำคัญเราควรต้องศึกษาข้อมูลนักวิเคราะห์ที่เป็นกลาง และเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นอกเหนือจากบริษัทวิจัยชื่อดังอย่าง Gartner หรือ Forrester แล้ว ก็ยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีหลายๆ ท่านที่มักจะนำเสนอความคิดเห็นดีๆ ออกมาต่อสาธารณะ หนึ่งในนั้นที่ผมมักจะติดตามบ่อย ๆ คือ “Bernard…

วิธีสร้างสตอรี่ไลน์ และวิธีตั้งค่าความเป็นส่วนตัวสตอรี่ ให้เห็นเฉพาะเพื่อนสนิท

Loading

วิธีสร้างสตอรี่ไลน์ และวิธีตั้งค่าความเป็นส่วนตัวสตอรี่ ซึ่งตอนนี้แอป LINE สามารถแชร์ให้เพื่อนๆของเรารู้แบบใหม่ในรูปแบบสตอรี่ ตามรอยแอปโซเชียลดังอย่าง facebook , instagram หรือ TikTok ที่เพิ่งมีสตอรี่ด้วยเช่นกัน หากคุณคือผู้ชมสามารถดูสตอรี่ได้โดยแตะไอคอนโปรไฟล์ของเพื่อนๆที่มีสีเขียวล้อมรอบอยู่ แต่ถ้าคุณจะโพสต์ลงสตอรี่ไลน์ละก็ สามารถทำได้ทั้งบนไอโฟนและแอนดรอยด์ โดยมีวิธีการดังนี้     วิธีสร้างสตอรี่ไลน์ และวิธีตั้งค่าความเป็นส่วนตัวสตอรี่     เปิดแอป LINE แล้วแตะที่รูปโปรไฟล์ตัวเอง       จากนั้นแตะที่ สตอรี่     จากนั้นถ่ายภาพ หรือถ่ายวิดีโอตามต้องการ เมื่อถ่ายแล้วจะมีเครื่องมือสำหรับตกแต่งเพิ่มเติม เช่น สติ๊กเกอร์ ข้อความ อิโมจิ ฟิลเตอร์     จากนั้นเลือกความเป็นส่วนตัวว่าจะแชร์เพื่อนทุกคนมั้ย หรือแชร์เฉพาะเพื่อนบางคนเท่านั้นก็ได้เช่นกัน     เมื่อเสร็จแล้ว คลิกที่ไอคอนซ้ายมือเพื่อดาวน์โหลดรูปหรือวิดีโอสตอรี่ที่แต่งบนแอป LINE ได้ หรือแตะเสร็จสิ้น เพื่อทำการโพสต์ลงบนสตอรี่ทันที   เพื่อน ๆ…

วิธีป้องกันโดนแฮก IP Address บนคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน

Loading

  วิธีป้องกันโดนแฮก IP Address โดย IP Address หรือที่อยู่อินเทอร์เน็ตโปรโตคอลเป็นหมายเลขเฉพาะที่กำหนดให้กับทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ทั้ง สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้นั้น อุปกรณ์จะได้ IP Address ที่ไม่ซ้ำกัน โดยปกติแล้วเราอาจไม่สนใจ หรือให้ความสำคัญกับ IP Address แต่บทความนี้นำเสนอในแง่มุมที่กลุ่มแฮกเกอร์มีแนวโน้มสนใจที่จะ Hack เพื่อให้ทราบ IP Addresss ของเรา แล้วหลังจากนั้นจะสามารถล้วงแอบดูข้อมูลต่าง ๆ ของเรา หรือนำ IP Addresss ของเราไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย   IP Address ที่กลุ่มแฮกเกอร์จ้องจะแฮกนั้น มักตั้งใจเพื่อนำไปใช้สำหรับกิจกรรมที่ผิดกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น ใช้ดาวน์โหลดข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาตบนอินเทอร์เน็ต หรือจะนำมาใช้เพื่อติดตามตำแหน่งของคุณ เป็นต้น   หากจำกันได้ในเรื่องการแฮกกล้อง IP Camera ก็เกิดขึ้นจากการแฮก IP Address นั่นเอง ซึ่งเกิดจากที่คุณละเลย ไม่ได้ให้ความสำคัญ จึงไม่ได้ตั้งค่าความปลอดภัยให้กล้อง…

วิธีใช้ Safety Check บนไอโฟน วิธีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยบนไอโฟน

Loading

วิธีใช้ Safety Check บนไอโฟน วิธีการตรวจสอบด้านความปลอดภัย ทั้งนี้ iOS16 ได้เพิ่มและแนะนำการตั้งค่านี้ในการตรวจสอบด้านความปลอดภัยระหว่างเครื่องไอโฟน และบัญชี Apple ID ของคุณ  เช็กเพื่อยกเลิกการเชื่อมต่อ iPhone ของคุณจากผู้ใช้รายอื่นที่เราเคยแชร์ 

หมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นข้อมูลส่วนบุคคล???

Loading

  ในประเทศโปแลนด์ มีระบบหมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดิน ซึ่งถูกนำขึ้นเผยแพร่ในเว็บไซต์ www.geoportal.gov.pl โดยหน่วยงานรัฐ GGK เป็นเวลามากกว่า 48 ชั่วโมง   GGK (Surveyor General of Poland: GGK) เป็นหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ด้านการสำรวจข้อมูลภูมิศาสตร์ ขณะที่การเผยแพร่หมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดินถูกกล่าวถึงในสื่อต่าง ๆ ของประเทศโปแลนด์ ทำให้ Polish Supervisory Authority (Polish SA) นำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาและให้ GGK ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลดังกล่าว   GGK เห็นว่าการนำหมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดิน (เป็นข้อมูลตัวเลข) เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ “ไม่” ถือว่าเป็นเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล   เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลตาม GDPR (กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป) และ GGK มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการเผยแพร่ข้อมูลนั้น     Polish SA พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วมีความเห็น ดังนี้   1) หมายเลขการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นข้อมูลส่วนบุคคล โดยตาม GDPR…