PDPA ทางเลือกทางรอด ไปต่อได้หรือไม่ | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือที่เรียกกันติดปากว่า PDPA จะมีผลใช้บังคับทั้งฉบับ 1 มิถุนายนนี้ แต่ก็ดูเหมือนจะมีเสียงสะท้อนมาจากภาคอุตสาหกรรมถึงความไม่พร้อมหลายๆ ประการ รวมถึงข้อกังวลที่กฎหมายลำดับรองต่าง ๆ ยังไม่ออกมาใช้บังคับอีกด้วย ซึ่งก็เป็นเสียงสะท้อนที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความสำคัญและควรพิจารณาอย่างรอบด้าน ผู้เขียนในฐานะนักวิชาการจึงขอแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกัน ดังนี้ (1) PDPA เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่เป็นระเบียบใหม่ของโลก การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรฐานสากล เป็นประเด็นที่จะถูกนำมาเป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขเพื่อกีดกันทางการค้าได้ในอนาคต การใช้บังคับของกฎหมายที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ๆฟจะช่วยส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในภาพรวม หนึ่งในมาตรฐานสูงสุด ณ ขณะนี้ได้แก่ GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป ที่เป็นต้นแบบสำคัญของ PDPA ของไทย ดังนั้น การมีสภาพบังคับของ PDPA จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในแง่ของการมีกฎหมายที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล (2) GDPR ใช้บังคับในเขตเศรษฐกิจยุโรปและสหภาพยุโรปรวม 30 ประเทศ หากรวมกับ UK GDPR ด้วย (แม้ว่าจะ Brexit แล้วแต่ยังใช้กฎหมายที่เป็นฉบับเดียวกับ GDPR ในเชิงเนื้อหา) จะรวมเป็น 31 ประเทศที่ใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน GDPR จึงกลายเป็นกฎหมายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ณ…

5 ข้อ Checklist PDPA องค์กรต้องทำอะไรอย่างไรบ้างในการบังคับใช้ PDPA 1 มิ.ย.65

Loading

  แม้จะเหลือเวลาอีกไม่นานก่อนการบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 แต่องค์กรก็สามารถเตรียมตัวให้เป็นไปตามข้อกำหนดให้ทันได้ ในบทความนี้ เราได้สรุปแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับองค์กรที่คุณกำพล ศรธนะรัตน์ – Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation แห่งก.ล.ต. และประธานชมรม DPO ได้แนะนำไว้มาให้ผู้อ่านได้ทราบและนำไปดำเนินการในองค์กรได้ทันที เปิด Checklist สิ่งที่องค์กรต้องทำ จากการแนะนำของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่องค์กรต้องเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA นั้นมีด้วยกันทั้งหมด 5 หัวข้อด้วยกัน โดยหลักการในแต่ละข้อมีสาระสำคัญดังนี้ 1. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer หรือ DPO) ซึ่งสามารถเป็นพนักงานภายในหรือภายนอกองค์กรที่ Outsource มาก็ได้ มีหน้าที่ในการดูแลให้องค์กรมีการคุ้มครองและรักษาควมปลอดภัยของข้อมูลตามกฎหมาย และเป็นผู้ประสานงานกับเจ้าของข้อมูลและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ส.ค.ส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแล 2.จัดทำประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) ที่ระบุถึงวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูล การนำไปใช้ และการส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานอื่นๆ 3.จัดทำ Record…

ทำไม ‘สนธิสัญญาความมั่นคง’ จีน – หมู่เกาะโซโลมอน สร้างเซอร์ไพรส์ ‘สหรัฐ’

Loading

“นายกรัฐมนตรีหมู่เกาะโซโลมอน” ออกโรงปกป้องสนธิสัญญาด้านความมั่นคงที่เพิ่งลงนามไปกับจีนเมื่อเร็วนี้ๆ ท่ามกลางความกังวลจากประเทศเพื่อนบ้านร่วมมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ออสเตรเลีย ไปจนถึงสหรัฐฯ นายมานาสเซห์ โซกาวาเร นายกรัฐมนตรีหมู่เกาะโซโลมอน กล่าวต่อรัฐสภาว่า ข้อตกลงที่มีต่อรัฐบาลปักกิ่งตอกย้ำถึงความจำเป็น ในการจัดการกับ “สถานการณ์ความมั่นคงภายใน” ของหมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะโซโลมอนต่อสู้กับความไม่สงบทางการเมืองมาช้านาน โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้มีเหตุการณ์ผู้ประท้วงรวมกลุ่มกันที่ไชน่าทาวน์ ในเมืองโฮนีอารา หลังจากนั้นเดินเท้าและพยายามบุกเข้าไปในบ้านพักของนายโซกาวาเร ก่อนหน้านี้ มีเหตุการณ์ความรุนแรงอีกหลายครั้ง และยังเกิดรัฐประหารเมื่อปลายทศวรรษที่ 1990 ทำให้ออสเตรเลียส่งเจ้าหน้าที่ช่วยรักษาเสถียรภาพบ้านเมือง ตามคำร้องขอรัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอน สนธิสัญญาฯ หายนะ “ออสเตรเลีย – สหรัฐฯ” รัฐบาลแคนเบอร์ราส่งสัญญาณเตือนสนธิสัญญาความมั่นคงดังกล่าว หลังจากร่างเอกสารฯได้หลุดเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่สหรัฐฯแสดงความกังวลว่า เรื่องนี้อาจส่งผลให้ “จีนตั้งฐานทัพ” ในมหาสมุทรแปซิฟิก มาร์ค แฮร์ริสัน อาจารย์อาวุโสด้านจีนศึกษาของมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย บอกกับอัลจาซีราว่า ข้อตกลงนี้ถือเป็น “หายนะ” สำหรับออสเตรเลีย และสหรัฐฯ เพราะมีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับรัฐบาลปักกิ่งมานานแล้ว “เรื่องนี้ท้าทายออสเตรเลีย ว่าจะประเมินอนาคตในภูมิภาคต่อไปอย่างไร เพราะจีนกำลังแผ่อิทธิพลในภูมิภาคนี้มากขึ้น” แฮร์ริสัน กล่าว หมู่เกาะโซโลมอน มีประชากรน้อยกว่า 700,000 คน…

ที่มาก่อนการแบนผ้าคลุมหน้าในฝรั่งเศส

Loading

ประเด็นการห้ามสวมผ้าคลุมหน้าของสตรีมุสลิมในฝรั่งเศสที่บังคับใช้มา 11 ปี กลับมาร้อนอีก เมื่อมารีน เลอ เพน ชูนโยบายห้ามสวม “ฮิญาบ” ที่เป็นเพียงผ้าคลุมศีรษะแต่เปิดหน้าของสตรีมมุสลิม และอาจเป็นตัวชี้ขาดก็ได้ว่าใครที่จะเป็นผู้ชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกในยุโรปที่กล้าหาญชาญชัยเสี่ยงต่อความขัดแย้งในสังคม ด้วยการบังคับใช้กฎหมายห้ามสวมผ้าคลุมหน้าไม่ว่าจะเป็น บุรกอ หรือ นิกอบ เมื่อวันที่ 11 เมษายน ปี 2554 ในสมัยของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โคซี โดยเรียกว่า “รัฐบัญญัติห้ามปกปิดใบหน้าในสาธารณสถาน” เช่น ท้องถนน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ ระบบขนส่งมวลชนและสวนสาธารณะ ยกเว้นกรณีเดินทางในรถส่วนบุคคลแม้ไม่ได้เป็นผู้ขับหรืออยู่ในมัสยิด     กฎหมายฉบับนี้อ้างอิงตัวเลขประมาณการณ์ในขณะนั้นว่า ในจำนวนประชากรมุสลิม 4-6 ล้านคน มีสตรีที่สวมผ้าคลุมหน้าตามประเพณีอาหรับและเอเชียใต้แค่ 2,000 คนเท่านั้น แต่ซาร์โกซีถูกวิจารณ์หนักว่าต้องการเสียงสนับสนุนจากกลุ่มขวาจัด และเมินเฉยต่อเสียงร้องเรียนชาวมุสลิมและนักสิทธิมนุษยชนที่ว่า เป็นการกดดันฝ่ายที่เปราะบางที่สุดในสังคมเพื่อเอาใจฝ่ายที่รังเกียจผู้อพยพ ที่กลัวว่าอิสลามจะเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมของฝรั่งเศส กฎหมายกำหนดว่าผู้ที่ไม่ยอมเปิดหน้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจเอกลักษณ์จะถูกนำไปสถานีตำรวจ และเจ้าหน้าที่อาจใช้วิธีเกลี้ยกล่อมให้ยินยอม แต่ถ้ายืนกรานว่าจะไม่ยอมเปิดหน้าก็อาจถูกปรับเงิน 150 ยูโร ก่อนถูกส่งไปอบรมความประพฤติ บทลงโทษยังลามไปถึงผู้เป็นพ่อ สามี หรือผู้นำศาสนา ที่บังคับให้สตรีสวมผ้าคลุมหน้า ที่จะถูกปรับเงิน…

เปิดแนวทางรับมือกับ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ , SMS หลอกลวง จาก AIS, dtac, Truemove-H

Loading

  หลายคนคงเห็นคลิปแกล้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ผ่านหน้าผ่านตากันมาบ้างแล้ว ในช่วงปีที่ผ่านมาก็เกิด SMS หลอกลวงระบาดหนักในหมู่คนใช้ iPhone ส่วนปีนี้ก็มีแก๊งคอลเซ็นเตอร์อาละวาดโดนกันถ้วนหน้าเลยทีเดียว ซึ่งจะมาในรูปแบบแอบอ้างเป็นขนส่งชื่อดัง หรือแอบอ้างเป็นคนหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อหลอกล่อให้โอนเงิน ซึ่งก็มีคนหลงเชื่อและสร้างความน่ารำคาญเป็นอย่างมาก เดี๋ยวนี้ค่ายมือถือทั้ง AIS, DTAC, TRUE ออกบริการสำหรับลูกค้าให้สามารถแจ้งเบอร์และ SMS หลอกลวง ไปดูของแต่ละค่ายดีกว่าว่ามีมาตรการและขั้นตอนอย่างไรบ้าง AIS 1185 เริ่มที่ AIS ที่ประกาศก่อนใครเลย เปิดตัว สายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ หรือ AIS Spam Report Center ให้ลูกค้า AIS สามารถโทรฟรีในรูปแบบ IVR Self Service และ AI Chatbot เพื่อแจ้งเบอร์โทรหรือ SMS ที่คาดว่าเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ โดยทำงานร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ เพื่อสืบสวน สอบสวน ตรวจสอบ…

การทูตกับความท้าทายในปี 2565

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ****************** ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นที่ใดในโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทยไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม ไม่มากก็น้อย ดังนั้น รัฐบาลต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา เพราะอาจส่งผลกระทบทางบวกหรือลบต่อผลประโยชน์ของชาติ เวลานี้ จุดร้อนแห่งหนึ่งของโลกอยู่ที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งอยู่ในยุโรปตะวันออก ห่างไกลจากไทยหลายพันไมล์ แต่โลกเวลานี้เป็นโลกาภิวัฒน์ไปแล้ว และไทยก็เข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือตลอดเวลา เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมและมีมติประณามรัสเซีย ไทยก็ต้องตัดสินใจว่าจะเห็นด้วยกับมตินั้น หรือคัดค้าน หรืองดออกเสียง โดยคำนึงถึงประโยชน์ระยะสั้นและระยะยาวของประเทศเป็นสำคัญ แน่นอน การตัดสินใจย่อมไม่ถูกใจคนไทยทุกคน เพราะบางคนเชียร์รัสเซีย ไม่ต้องการให้ประณามรัสเซีย บางคนเห็นใจยูเครน ต้องการให้ประณามรัสเซีย บางคนก็บอกว่า เรื่องนี้ไกลเมืองไทย และไม่เกี่ยวกับไทยโดยตรง ดังนั้น ไทยควรงดออกเสียง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดีที่สุด มีเสียงวิจารณ์ต่อมาว่า ทำไมเราไปประณามรัสเซีย ทำไมไม่งดออกเสียง เพราะรัสเซียเป็นมิตรประเทศของไทย ฯลฯ ซึ่งทางการไทยได้ชี้แจงแล้วว่า ให้ไปดูมติของไทยชนิดคำต่อคำ ไม่มีประโยคใดเลยที่เราประณามรัสเซีย เพียงแต่ไทยได้แสดงจุดยืนในหลักการที่ประเทศหนึ่งไม่ควรรุกรานอีกประเทศหนึ่งเท่านั้น เวลานี้ สหรัฐฯ ได้กลับฟื้นอิทธิพลของตนในเอเชียเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาค หลังจากทิ้งเอเชียไปนานเพราะมัววุ่นอยู่กับการจัดการกลุ่มก่อการร้าย อัล ไกดา และไอสิส ในตะวันออกกลาง พอหันกลับมาอีกที จีนเติบใหญ่อย่างแข็งแรงทั้งด้านเศรษฐกิจและการทหาร ชนิดหายใจรดต้นคออเมริกัน…