No-Fly Zone! ปัญหาและทางเลือก

Loading

  “เขตห้ามบิน ไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องยูเครนเท่านั้น แต่จะช่วยคุ้มครองประเทศในกลุ่มพันธมิตรแอตแลนติกจากการโจมตีทางอากาศของรัสเซียอีกด้วย”   ประธานาธิบดีเซเลนสกี     “ถ้าเรา [นาโต] กระทำ [ตามคำขอของประธานาธิบดีเซเลนสกี] เราจะจบลงด้วยการเกิดของสงครามเต็มรูปในยุโรป… นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราตัดสินใจเรื่องนี้ด้วยความเจ็บปวด”   เจนส์ สโตลเต็นเบิร์ก (เลขาธิการนาโต)     จากถ้อยแถลงที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีเซเลนสกี และเกิดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนับตั้งแต่กองทัพรัสเซียตัดสินใจยาตราทัพเข้าสู่ดินแดนของยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คือคำขอให้สหรัฐอเมริกาและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กำหนดให้น่านฟ้าของยูเครนเป็น “เขตห้ามบิน” (no-fly zone)   แต่จะเห็นได้ชัดว่าแม้กองทัพรัสเซียจะโจมตียูเครนหนักเพียงใดก็ตาม รัฐบาลตะวันตกก็ไม่ยอมตอบรับคำร้องขอของผู้นำยูเครนแต่อย่างใด จนทำให้คนบางส่วนมีความรู้สึกว่า ในสถานการณ์สงครามที่กำลังเกิดขึ้นนั้น เสมือนกับการที่ตะวันตกทิ้งยูเครนให้ต้องเผชิญกับการโจมตีของรัสเซียอย่างโดดเดี่ยว   ดังนั้น บทความนี้จะนำเสนออย่างสังเขปถึงแนวคิดด้านความมั่นคงที่เรียกว่า “เขตห้ามบิน” คืออะไร หากมีการประกาศใช้แล้ว จะเกิดผลอะไรตามมา และถ้าไม่ประกาศใช้แล้ว ฝ่ายตะวันตกจะมีอะไรเป็นทางเลือก?     นิยาม แนวคิดเรื่องการประกาศ “เขตห้ามบิน” เป็นเรื่องใหม่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ และเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามเย็น และหากย้อนกลับไปในยุคสงครามเย็น เราจะไม่เห็นแนวคิดนี้มาก่อน ดังนั้น…

ผู้เชี่ยวชาญไฟฟ้า สภาวิศวกร แนะ “ปิดสวิซต์-ปลดทุกปลั๊ก” พร้อมเช็ค 10 เครื่องใช้ไฟฟ้าสุ่มเสี่ยง ก่อนทิ้งบ้านยาว

Loading

  กรุงเทพฯ 12 เมษายน 2565 – ผู้เชี่ยวชาญไฟฟ้า สภาวิศวกร แนะ “ปิดสวิซต์-ปลดทุกปลั๊กไฟ” พร้อมเช็ค 10 เครื่องใช้ไฟฟ้าสุ่มเสี่ยงก่อนทิ้งบ้านยาว อาทิ โทรทัศน์ พัดลม คอมพิวเตอร์ เต้ารับพ่วง โดยหากจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไฟไว้ควรตรวจสอบคุณภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัยอยู่เสมอ อาทิ สายไฟจะต้องติดตั้งได้มาตรฐานไม่มีรอยฉีกขาดและหมดสภาพการใช้งาน เต้ารับจะต้องใช้ชนิดที่ได้มาตรฐานแบบมีสายดินและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ติดตามข่าวสารและความรู้ใกล้ตัวเกี่ยวกับงานวิศวกรรม ตลอดจนความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรและวิศวกรอาสาที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า ความเสียหายเชิงโครงสร้างของอาคารและการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้า ฯลฯ ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก https://web.facebook.com/coethailand     นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 สภาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เผยว่า ทุกช่วงเทศกาลหรือช่วงที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ยาวหลายวันต่อเนื่องประชาชนมักจะมีแผนเดินทางท่องเที่ยวในต่างจังหวัดเพื่อพักผ่อนหย่อนใจคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นเวลานานจนอาจจะหลงลืมไปว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่จำเป็นต้อง ‘ปิด(สวิซต์)’ หรือ ‘ปลด(ปลั๊กไฟ)’ เมื่อไม่ได้ใช้งาน   ในนาม ‘ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้า’ จากสภาวิศวกร จึงขอเป็นอีกหนึ่งเสียงย้ำเตือนภาคประชาชนถึงการปฏิบัติดังกล่าว พร้อมเช็ค10 เครื่องใช้ไฟฟ้าสุ่มเสี่ยงก่อนทิ้งบ้านยาว เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ ทั้งไฟรั่ว ไฟช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร และกระแสฟ้าผ่ามาตามสายไฟฟ้า…

วิธีตรวจสอบไฟล์ว่าปลอดภัยหรือไม่ ก่อนดาวน์โหลดผ่านบราวเซอร์

Loading

  วิธีตรวจสอบไฟล์ว่าปลอดภัยหรือไม่ ก่อนดาวน์โหลดผ่านบราวเซอร์ หากคุณกังวลว่าไฟล์อาจเป็นอันตรายละก็ เดี๋ยวนี้คุณสามารถสแกนไฟล์เพื่อหามัลแวร์ ด้วยเอ็นจิ้นแอนตี้ไวรัสมากกว่า 90 รายการก่อนดาวน์โหลดแล้ว ด้วยขั้นตอนง่ายๆดังนี้   วิธีตรวจสอบไฟล์ว่าปลอดภัยหรือไม่ ก่อนดาวน์โหลดผ่านบราวเซอร์ สแกนลิงก์โดยใช้ VirusTotal ป้องกันมัลแวร์       ในการดำเนินการนี้ คุณจะต้องค้นหาลิงก์ดาวน์โหลดไฟล์ นั่นคือลิงก์โดยตรงเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ ไม่ใช่แค่ที่อยู่ของหน้าดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสแกนไฟล์ .exe คุณจะต้องมีลิงก์โดยตรงไปยังไฟล์ .exe หากคุณต้องการสแกนไฟล์ .doc คุณจะต้องมีลิงก์โดยตรงไปยังไฟล์ .doc เป็นต้น จากนั้นคลิกขวา เลือกคัดลอกที่อยู่ลิงก์       จากนั้นเปิดเว็บไซต์ virustotal.com เลือกแท็บ url แล้ววาง url ไฟล์นั้นลงไปแล้วทำการสแกนเลย     ถ้าไฟล์นั้นไม่มีปัญหาเลยระบบจะขึ้นเป็นตัวเลขสีเขียว 0/65 แต่ถ้ามีจะขึ้นจำนวนรายชื่อมัลแวร์ที่พบในไฟล์     ในที่นี้ขึ้นจาก 3 ใน 65…

การเก็บสำเนาบัตรประชาชนเพื่อการยืนยันตัวตน

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กร ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องปฏิบัติเมื่อดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้หลายประการ   อาทิ สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 30 (Right of access) สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 31 (Right to data portability) สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 32 (Right to object)   สิทธิในการขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 33 (Right to erasure) สิทธิในการระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 34 (Right to restriction of processing) และสิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามมาตรา 36 (Right to rectification)   การดำเนินการตามคำร้องขอใช้สิทธิในบริบทของการบริหารจัดการมีประเด็นสำคัญหลายประการที่องค์กรต่าง ๆ อาจจะต้องเตรียมความพร้อมก่อนที่กฎหมายจะใช้บังคับทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน 2565   อาทิ ช่องทางการรับคำร้อง การตรวจสอบยืนยันตัวตน การค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำร้อง…

82% ของแอปพลิเคชันภาครัฐ มีข้อบกพร่อง ‘ความปลอดภัย’

Loading

  จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจสอบช่องโหว่อย่างเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น   จากการศึกษาค้นคว้าครั้งใหม่ของบริษัทซอฟต์แวร์ Veracode พบว่า แอปพลิเคชันภาครัฐมากกว่า 4 ใน 5 หรือ 82% มี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงสุดในบรรดาอุตสาหกรรมทั้งหลาย   นักวิจัยยังพบอีกว่า ภาครัฐใช้เวลาประมาณ 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในการจัดการแก้ไขข้อบกพร่องภายหลังจากการตรวจพบ   นอกจากนี้ 60% ของข้อบกพร่องที่บุคคลภายนอกสามารถตรวจพบได้ แต่ภาครัฐยังคงไม่สามารถแก้ไขได้หลังจาก 2 ปีผ่านไป ซึ่งเป็นกรอบเวลาถึง 2 เท่าของอุตสาหกรรมอื่นๆ และ 15 เดือนตามค่าเฉลี่ยนอกอุตสาหกรรม   โดยรายงานนี้อิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากการสแกน 20 ล้านครั้งผ่าน 5 แสนแอปพลิเคชันของภาครัฐ การผลิต การบริการทางการเงิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม การดูแลสุขภาพและเทคโนโลยี   ภาครัฐยังมีอัตราการแก้ไขข้อบกพร่องได้ต่ำที่สุดคืออยู่ที่ 22% เมื่อเทียบกับทุกอุตสาหกรรม นักวิจัยกล่าวว่าผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐมีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางซอฟต์แวร์ซับพลายเซน เหมือนกับ SolarWinds และ Kaseya…

หน่วยโดรนพิฆาต Aerorozvidka เมื่อมนุษย์ไอทีสวมบทนักรบยูเครน

Loading

  เมื่อเหล่าหัวกะทิด้านไอที รวมตัวกันในหน่วยโดรนพิฆาต ต่อกรกับกองทัพรัสเซีย เมื่อวันที่ 9 เม.ย. เว็บไซต์ Business Insider ได้รายงานถึง Aerorozvidka ซึ่งเป็นหน่วยโดรนชั้นยอดของยูเครนที่ก่อตั้งโดยอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญด้านไอที พวกเขาสร้างหรือดัดแปลงโดรนเพื่อใช้การโจมตีกองทัพรัสเซีย ไม่ว่าจะเป็นการวางระเบิดรถถังหรือรถหุ้มเกราะของรัสเซีย ซึ่งหน่วยนี้กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญในการรับมือกับการรุกรานของรัสเซีย Aerorozvidka ที่รวบรวมอาสาสมัครที่มีความเก่งกาจด้านไอที บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต่างมารวมตัวกันที่นี่ เพื่อออกแบบยุทโธปกรณ์สำหรับสนับสนุนกองทัพยูเครน พวกเขาจะสร้างหรือดัดแปลงโดรนที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ให้กลายเป็นโดรนสังหาร เพื่อซุ่มวางระเบิดยานพาหนะของรัสเซียในยามวิกาล “พวกเรามาจากคนละที่เลย แต่ตอนนี้เราทุกคนเป็นทหาร” มิไคโล สมาชิกคณะกรรมการและหัวหน้าฝ่ายสื่อสารของ Aerorozvidka กล่าวกับ Insider “บางคนจบปริญญาเอก บางคนจบปริญญาโท บางคนมาจากอุตสาหกรรมไอที และอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย แต่สิ่งสำคัญที่รวมเราเป็นหนึ่งเดียว คือความปรารถนาที่จะชนะสงครามครั้งนี้” รู้จัก Aerorozvidka Aerorozvidka เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2014 เพื่อต่อกรกับรัสเซียที่พยายามผนวกไครเมีย และรับมือกับกลุ่มก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนในภูมิภาคดอนบัสที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย น่าเศร้าที่ผู้ก่อตั้ง Aerorozvidka เสียชีวิตในปฏิบัติการที่ดอนบัสเมื่อปี 2015 มิไคโล เปิดเผยว่าหน่วยปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนประมาณ 300 ภารกิจต่อวัน และได้ทำลายยานพาหนะของรัสเซียหลายสิบคันหรืออาจจะถึงหลายร้อยคัน โดยปกติแล้ว Aerorozvidka…