ฟูจิตสึ ใช้ เอไอ/ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ พยากรณ์สึนามิ แบบเรียลไทม์

Loading

โตเกียว เซนได และคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านภัยพิบัติระหว่างประเทศ (IRIDeS) ที่มหาวิทยาลัยโทโฮคุ สถาบันวิจัยแผ่นดินไหวที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ฟูจิตสึ และเมืองคาวาซากิ ร่วมมือจัดทำการทดลองภาคสนามของการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทำงานบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ฟูกากุ (Fugaku) ของฟูจิตสึ เพื่อการพยากรณ์สึนามิแบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดสูง สนับสนุนการอพยพสึนามิอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพระหว่างการฝึกซ้อมป้องกันภัยพิบัติในเมืองคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างการทดลองภาคสนาม ผู้เข้าร่วมจากชุมชนโดยรอบจะได้รับแจ้งเกี่ยวกับเวลาที่มาถึง รวมถึงความสูงของคลื่นสึนามิที่คาดการณ์ไว้ผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนที่พัฒนาโดยฟูจิตสึ การฝึกนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้อยู่อาศัย และหลีกเลี่ยงกรณีที่ผู้คนถูกทิ้งไว้เบื้องหลังระหว่างการอพยพ โครงการนี้แสดงถึงก้าวล่าสุดในการริเริ่มอย่างต่อเนื่อง ตามกรอบข้อตกลงที่ลงนามระหว่างเมืองคาวาซากิ และฟูจิตสึในปี 2557 ส่งเสริมการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน เพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมวิจัย และพัฒนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการร่วมมุ่งหวังลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสึนามิโดยใช้ไอซีทีในพื้นที่ชายฝั่งคาวาซากิ” ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้เข้าร่วมการทดลองภาคสนามผ่านแอพพ์ ทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการใช้วิธีการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในทางปฏิบัติที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) และเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับการพยากรณ์อุทกภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วมีส่วนสนับสนุนให้เกิดสังคมที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น     การทดลองภาคสนามเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการอพยพโดยใช้ข้อมูลพยากรณ์อุทกภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิด้วย AI โดยข้อมูลนี้จะถูกส่งไปยังแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาโดยฟูจิตสึ ซึ่งผู้อยู่อาศัย และผู้จัดงานจะอ้างอิงตามเวลาจริงในระหว่างการจำลองการอพยพ การทดลองภาคสนามจะดำเนินการภายใต้การดูแล และคำแนะนำของ…

เปิดคำแนะนำ เที่ยวสงกรานต์ให้ ‘ปลอดภัยไซเบอร์’ ลดเสี่ยงข้อมูลรั่ว!!

Loading

‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดคำแนะนำ เที่ยวสงกรานต์ให้ปลอดภัยไซเบอร์ คำแนะนำสำหรับบุคคลและภาคธุรกิจ ลดความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหลช่วงวันหยุดสงกรานต์ ในที่สุดฤดูร้อนก็มาถึง หลายคนพร้อมที่จะจัดกระเป๋าและเตรียมไปพักผ่อนในวันหยุด ได้วางงาน ผ่อนคลาย และใช้เวลาที่มีคุณภาพกับครอบครัวและเพื่อนฝูง เส้นแบ่งระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตเริ่มเลือนลางตั้งแต่เกิดโรคระบาด แนวคิดเรื่องความสมดุลระหว่างสองสิ่งเพิ่มมากขึ้น และ ‘vacation’ ก็พัฒนาไปสู่ ‘staycation’ และ ‘workcation’ ทำให้ในช่วงวันหยุดยาวนี้หลายๆ คนจึงเอางานติดตัวไปทำระหว่างท่องเที่ยวด้วย ซึ่งเป็นความท้าทายด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลองค์กรและข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแน่นอน แคสเปอร์สกี้ เปิดคำแนะนำ เพื่อความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ความปลอดภัยของข้อมูลกายภาพ เมื่อคุณทำงานที่สำนักงานของนายจ้าง การปกป้องข้อมูลส่วนใหญ่เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายไอที อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนย้ายงานของคุณระหว่างที่ทำงาน บ้าน และสถานที่พักผ่อน เช่น แล็ปท็อป ไฟล์ และแฟลชไดรฟ์ ทำให้ข้อมูลของบริษัทมีความเสี่ยงที่จะถูกละเลยหรือแม้กระทั่งถูกขโมย ถ้าเป็นไปได้ ให้แยกดีไวซ์สำหรับโฮมออฟฟิศและธุรกิจออกจากกัน เพราะนอกจากจะไม่ต้องแบกงานไปเที่ยวแล้ว ยังเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยมากขึ้นด้วย หากคุณต้องเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ แนะนำให้ใช้กระเป๋าแล็ปท็อปที่แข็งแรงซึ่งมีตัวล็อกและซิป ไม่ควรเก็บโน้ตบุ๊กพร้อมพาสเวิร์ดไว้ในกระเป๋าใส่แล็ปท็อป แนะนำให้ใช้ตัวจัดการพาสเวิร์ด (password manager) เพื่อสร้างและรักษาพาสเวิร์ดให้ปลอดภัย (การจำพาสเวิร์ดเอง 2-3 รายการนั้นปลอดภัยจริง และการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อช่วยจำนั้นช่วยได้มาก) ใส่ใจกับความปลอดภัยของข้อมูลดิจิทัล หากคุณต้องพกพาดีไวซ์ติดตัวไปด้วยในวันหยุด ให้พิจารณาถึงความเสี่ยงที่จะสูญเสียดีไวซ์และเตรียมตัวให้พร้อม…

วิจัยเผย 10 อาชญากรรมไซเบอร์ ในปี 2022 ที่ทุกคนต้องระวัง!

Loading

อาชญากรรมไซเบอร์ – บริษัทวิจัย Cybersecurity Ventures เปิดเผยว่า ต้นทุนอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึงเกือบร้อยละ 15 ต่อปี ในช่วง 4 ปีข้างหน้า แตะระดับ 10.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี 2568 จากเพียง 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์รู้ซึ้งถึงกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จจากปีที่ผ่านมา ในปีที่ผ่านมา อาชญากรไซเบอร์ฉลาดขึ้นและเร็วขึ้น ในการปรับกลวิธีเพื่อพัฒนาแผนการใหม่ๆ ในปี 2022 “ด้วยสถานการณ์ของภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป และผลกระทบอย่างต่อเนื่องของการระบาดใหญ่ทั่วโลก เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต่างๆ ต้องตระหนักถึงแนวโน้มความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เพื่อให้สามารถดำเนินการในเชิงรุกและดำเนินการได้ในการปกป้องข้อมูล” นายซามานี ที่ปรึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยีของ Gartner กล่าว 10 อาชญากรรมไซเบอร์ ในปี 2022 ที่ทุกคนต้องระวัง! บริษัทวิจัย Cybersecurity Ventures ได้เผยถึง 10 อาชญากรรมด้านไซเบอร์ที่ต้องเฝ้าระวังในปีนี้ ซึ่งได้แก่ 1. ภัยไซเบอร์โจมตีระบบ OT (Operational Technology) Gartner บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยด้านเทคโนโลยีในคอนเนตทิคัตกล่าว…

ลบ Google Account จากทุก Devices เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล

Loading

    ใครใช้บัญชีกูเกิลเชื่อมต่ออยู่กับหลายอุปกรณ์ ทั้งบนมือถือ คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต หรือบางครั้งที่จำเป็นต้องล็อคอินใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่ไม่คุ้นเคย รู้มั้ยว่ามันอาจเป็นช่องโหว่ด้านความปลอดภัยได้เหมือนกัน   Techhub แนะนำวิธีเพิ่ม Security สูงสุดให้กับข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยเช็คว่า Google Account ของเรานั้นเคยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อะไรบ้าง หรือเผลอลืม Logout ออกจากอุปกรณ์ ที่ใช้แค่ชั่วคราว   วิธีนี้จะช่วยตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีอุปกรณ์แปลกปลอม ที่ไม่คุ้นเคยแอบมาล็อคอินใช้งานหรือไม่ ถ้ามีก็กดยกเลิกการเชื่อมต่อได้ทันที เรียกว่าเป็นป้องกันตัวเองแบบเบื้องต้นบนโลกอินเทอร์เน็ต หากเราไม่มั่นใจ กันไว้ดีกว่าแก้นะครับ เอาล่ะ มาลองดูกันครับว่าทำยังไง     1.เปิด Browser และคลิกไปที่ไอคอนของ Account เรา > คลิกไปที่ Manage your Google Account เพื่อเข้าไปหน้าตั้งค่า > ต่อมาไปให้เข้าไป Protect your account       2. พอคลิกที่ Protect…

ใช้ Google Authenticator อย่างไร?? ให้หายห่วงมือถือหาย มือถือพัง เข้าบัญชีไม่ได้

Loading

  หลังจากที่เราได้เตือนภัยผู้ใช้ Google Authenticator ไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่าอาจจะเข้าถึงบัญชีไม่ได้หากทำเครื่องหาย หรือเครื่องพัง เนื่องจากต้องใช้รหัสยืนยันที่ถูกสร้างขึ้นบนอุปกรณ์ ซึ่งบน Google Authenticator จะไม่มีการสำรองข้อมูลขึ้นบนคลาวด์ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงรหัสยืนยันดังกล่าวบนเครื่องอื่น ๆ ได้   วันนี้เราจะมาบอกทิปส์การใช้งาน หากต้องการใช้งาน Google Authenticator ต่อไป ให้หมดห่วงเรื่องอุปกรณ์สูญหาย อุปกรณ์พัง ที่จะมีผลทำให้เข้าถึงบัญชีที่ต้องใช้รหัสยืนยันจากอุปกรณ์   ทิปที่ 1: โคลนรหัสยืนยันมาไว้บนอุปกรณ์สำรอง   สำหรับสิ่งที่ง่ายที่สุด และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือ การโคลนรหัสยืนยันต่าง ๆ ที่อยู่บนแอป Google Authenticator ของอุปกรณ์์หลัก มาไว้บนอุปกรณ์อีกเครื่อง หากมีเครื่องสำรองส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต ที่ต้องมั่นใจว่าไม่มีคนอื่นสามารถเข้าถึงได้   วิธีการย้ายนั้น สามารถทำด้วยวิธีการง่าย ๆ คือ การส่งออกบัญชี หรือการ Export บัญชีจากหนึ่งเครื่อง เพื่อนำอุปกรณ์อีก 1 เครื่อง…

สังคมโลก : นักรบต่างชาติ

Loading

  ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา มีรายงานชาวต่างชาติหลายพันคน จากหลายประเทศทั่วโลก เดินทางเข้าไปในยูเครน เพื่ออาสาช่วยสู้รบต่อต้านทหารรัสเซีย ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า กรณีเช่นนี้ผิดกฎหมายใด ๆ หรือไม่   จากรายงานของสื่อหลายสำนัก รวมถึงรอยเตอร์ นักรบอาสานานาชาติ ที่ไปช่วยกองทัพยูเครน รวมถึงพลเมืองของแคนาดา จอร์เจีย อินเดีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐ เมื่อตรวจสอบดูกฎหมายของแต่ละประเทศพบว่า   ข้อมูลในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ระบุว่า กฎหมายไม่ห้ามพลเมืองอเมริกัน เข้าเป็นทหารในกองทัพของประเทศใดประเทศหนึ่ง การเป็นทหารประจำการ หรือสู้รบกับประเทศที่มีสันติภาพกับสหรัฐ อาจใช้เป็นมูลเหตุสละสัญชาติโดยสมัครใจ แต่คำวินิจฉัยบรรทัดฐานของศาลฎีกาสหรัฐ การเข้าเป็นทหารในกองทัพต่างชาติ เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถใช้เพิกถอนสัญชาติสหรัฐได้   กฎหมายอีกฉบับของสหรัฐ รัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลาง (Neutrality Act) บังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1794 (พ.ศ. 2337) กำหนดห้ามพลเมืองสหรัฐ ทำสงครามสู้รบกับรัฐบาลต่างชาติ ที่มีสันติภาพกับรัฐบาลสหรัฐ โดยกำหนดหนดโทษจำคุกผู้ฝ่าฝืนไว้ สูงสุดไม่เกิน 3 ปี กฎหมายฉบับนี้ซึ่งอาจจะถูกนำมาบังคับใช้ทางเทคนิค…