ETDA เปิด 4 ภัยออนไลน์ ที่ธุรกิจต้องเจอยุคดิจิทัล แนะช่องทางนักธุรกิจรุ่นเก๋า-หน้าใหม่ เสริมภูมิคุ้มกันปิดช่องโหว่มิจฉาชีพ

Loading

ทุกวันนี้ โมเดล ‘ปลาเร็วกินปลาช้า’ ได้กลายเป็นแนวคิดการทำธุรกิจของหลายๆ อุตสาหกรรม ที่ต่างต้องเขย่าโครงสร้าง รูปแบบการทำงานขององค์กรและทีมงาน เพื่อปรับตัวให้ธุรกิจเติบโตเท่าทันโลกยุคดิจิทัล ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่หลายธุรกิจ ทั้งนักธุรกิจมือเก๋าผู้บริหารธุรกิจมานานหลายปี และนักธุรกิจมือใหม่ไฟแรง ล้วนมองเห็นโอกาสตรงกันที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจตนเอง และขยายการเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเลี่ยงหนีไม่ได้ นั่นคือ “การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์” โดยมีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น อาทิ การติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมการซื้อ-ขายสินค้าผ่านออนไลน์ การเปิดให้สมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์ การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ รวมถึงการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อธุรกิจผันตัวมาทำงานบนโลกออนไลน์มากขึ้นแล้ว โอกาสที่ได้เจอมิตรแท้ทางธุรกิจก็มีมาก แต่แนวโน้มเสี่ยงเจอมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาในรูปแบบ ‘ภัยออนไลน์’ ก็มีมากเช่นกัน ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยทางออนไลน์ที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะด้านธุรกิจทั้งในมุมเจ้าของธุรกิจ คนทำงาน รวมถึงคนทั่วไป ETDA จึงได้ก่อตั้งสถาบัน ADTE by ETDA (เอ็ดเต้ บาย เอ็ตด้า) ที่ได้รวบรวมหลักสูตรดิจิทัลด้านต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนได้พัฒนาองค์ความรู้ เรียนรู้การเติมทักษะดิจิทัล ความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในมิติที่สำคัญ พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์จากการศึกษาเคสกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง แต่ก่อนจะไปรู้ว่ามีหลักสูตรจำเป็นใดบ้าง ไปรู้จักภัยออนไลน์ที่ธุรกิจต้องเจอในยุคดิจิทัลกันว่ามีประเภทใดบ้าง…

ฝ่ายรัสเซียยืนยันว่า ‘ดอนบาสส์’ คือสมรภูมิสำคัญที่สุดของ ‘การปฏิบัติการพิเศษ’ ในยูเครน

Loading

ภาพถ่ายเมื่อวันอาทิตย์ (3 เม.ย.) แสดงให้เห็นโรงงานแห่งหนึ่งของบริษัทโรงงานเหล็กและเหล็กกล้า อาซอฟสตัล ที่อยู่ด้านหลังของพวกอาคารซึ่งได้รับความเสียหายจากการสู้รบระหว่างยูเครน-รัสเซีย ในเมืองมาริอูโปล เมืองท่าทางตอนใต้ของยูเครน การปฏิบัติการครั้งนี้ของรัสเซีย มุ่งโฟกัส (อย่างน้อยก็จวบจนถึงเวลานี้) แทบจะอย่างหมดสิ้นทีเดียวอยู่ที่เขตดอนบาสส์ในภาคตะวันออกของยูเครน โดยที่เวลานี้ ในลูฮันสก์ พื้นที่กว่า 93% ได้รับการ “ปลดแอกแล้ว” ขณะที่ในโดเน็ตสก์ พื้นที่เกือบๆ 60% อยู่ใต้การควบคุมของกองกำลังฝ่ายรัสเซีย และการต้านทานที่ยังหลงเหลืออยู่ในเมืองท่ามาริอูโปล ก็เป็นที่คาดหมายกันว่าจะถูกกวาดล้างไปภายใน 1 สัปดาห์ คณะเสนาธิการใหญ่ของกองทัพรัสเซีย ออกมาแถลงสรุปแบบเจาะลึกเมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางทหารเบื้องหลังการปฏิบัติการพิเศษในยูเครน ซึ่งกำลังส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่จะลดกิจกรรมทางทหารในเขตเคียฟ อันเป็นบริเวณเมืองหลวงของยูเครน และเขตเชอร์นิฮิฟ ทางภาคเหนือของยูเครน กล่าวโดยภาพรวม ข้อความที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียกำลังส่งออกมาก็คือว่า การปฏิบัติการครั้งนี้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 2 ประการแล้ว ได้แก่ การตรึงกองกำลังอาวุธของยูเครนและทรัพย์สินทางทหารเอาไว้ในเขตเคียฟ และประการที่สอง การป้องกันไม่ให้กองกำลังยูเครนเคลื่อนย้ายจากเขตต่างๆ ทางภาคตะวันตกและภาคกลางไปยังภาคตะวันออก “ด้วยการใช้ฐานะครอบงำทางอากาศอย่างสัมบูรณ์” และด้วยการใช้อาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำสูง โฆษกกระทรวงกลาโหมรัสเซีย กล่าวเอาไว้ดังนี้ “สายการติดต่อสื่อสารสำคัญๆ ทั้งหมด รวมทั้งการส่งกำลังบำรุงและกำลังกองหนุน ต่างตกอยู่ใต้การควบคุมอย่างเต็มที่แล้ว ระบบการป้องกันทางอากาศ โครงสร้างพื้นฐานด้านสนามบิน…

หมาหงอย

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ *************** จะว่าไปแล้วก็รู้สึกสงสารประชาชนชาวยูเครนซึ่งเวลานี้อยู่ในภาพบ้านแตกสาแหรกขาด บาดเจ็บล้มตาย ไร้ที่อยู่อาศัย เร่ร่อน ต้องคอยหลบลูกปืนและลูกระเบิด สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูก เมีย ผัว ญาติพี่น้อง เพราะนโยบายของผู้นำคนปัจจุบัน ที่ยอมตกเป็นเครื่องมือของอเมริกันและไปเปิดศึกกับรัสเซีย ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น ทั้งหมดจะโทษใครไม่ได้ นอกจากโทษชาวยูเครนที่เลือกนักพูดตลกเป็นประธานาธิบดี อาจคิดว่าเลือกคนพูดเก่ง ๆ วาทศิลป์ดี ๆ พูดจาให้คนฟังรู้สึกเคลิบเคลิ้มไปได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครนขณะนี้ คนยูเครนจะไปโทษคนอื่นไม่ได้นอกจากโทษตัวเอง และสายไปเสียแล้วที่จะแก้ไขนอกจากเผชิญกับชะตากรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ต้องวิเคราะห์วิจัยอะไรกันมาก คนที่ตามเรื่องยูเครนมาตลอดตั้งแต่เลือกตั้งได้ผู้นำคนนี้เป็นประธานาธิบดี ก็พอรู้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับยูเครนภายใต้การบริหารของผู้นำคนนี้ ซึ่งอเมริกาสนับสนุนให้ได้รับเลือกตั้งแทนประธานาธิบดีคนเก่าที่นิยมรัสเซีย โดยอ้างว่าเป็นการนำประชาธิปไตยมาสู่ยูเครน ที่คิดว่าอเมริกันจะช่วย ที่คิดว่ายุโรปจะช่วย ทีคิดว่านาโตจะช่วยหากรัสเซียบุกยูเครน แล้วมีประเทศไหนช่วยบ้าง ยูเครนสมัครเข้าเป็นสมาชิกนาโตโดยหวังว่าหากถูกรัสเซียโจมตี นาโตจะเข้ามาช่วยทางทหาร พอเกิดสงครามขึ้น ยูเครนสมัครเข้าเป็นสมาชิกนาโตอีกครั้งและขอให้นาโตพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วนรับยูเครนเข้าไปสมาชิก นาโตก็ไม่พิจารณา เพราะรู้ว่ากำลังเล่นกับของใหญ่คือ รัสเซีย ซึ่งผู้นำคนนี้ไม่ใช่ธรรมดา ยูเครนก็ต้องสู้กับรัสเซียแบบหัวเดียวกระเทียมลีบ สิ่งที่สหรัฐทำ คือ ส่งอาวุธมาให้ยูเครนเพื่อใช้สู้รบกับทหารรัสเซีย แต่ตัวทหารอเมริกันไม่ขอยุ่งเกี่ยวด้วย ยูเครนหารู้ไม่ว่าอาวุธที่อเมริกันส่งมาให้นั้นอาจเป็นการทดสอบอาวุธของตนที่ผลิตขึ้น หากได้ผลดี อเมริกันจะขายอาวุธให้สมาชิกนาโตและพันธมิตรได้อีกหลายพัน หรือหลายหมื่นล้านดอลลาร์ อุตสาหกรรมอาวุธอเมริกันที่หงอยอยู่นานจะได้เริ่มคึกคักเสียที…

นักวิเคราะห์ชี้พวกบริษัทผลิตอาวุธสหรัฐฯ จะได้ประโยชน์ระยะยาวจากสงครามยูเครน

Loading

บรรดาบริษัทผู้ผลิตอาวุธสหรัฐฯ ไม่ได้ทำเงินโดยตรงจากอาวุธหลายพันชิ้นที่ส่งไปยังยูเครน ทั้งขีปนาวุธ โดรน และอาวุธอื่นๆ แต่พวกเขาเตรียมกอบโกยผลกำไรในระยะยาว ผ่านการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ประเทศต่างๆ ที่กระตือรือร้นเสริมแสนยานุภาพป้องกันตนเองรับมือรัสเซีย เหมือนกับประเทศตะวันตกอื่นๆ สหรัฐฯ เปิดคลังแสงของตนเอง ส่งมอบอาวุธต่างๆ แก่ยูเครน ยกตัวอย่างเช่น จรวดที่ยิงด้วยการประทับบ่า สติงเจอร์และเจฟลิน อาวุธเหล่านี้เรย์เธียน เทคโนโลยีส์ และล็อคฮีด-มาร์ติน ที่ได้จ่ายเงินกันมานานแล้ว ดังนั้น ผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทเหล่านี้ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า จึงยังไม่น่าเติบโตขึ้นอย่างโดดเด่น อันเนื่องจากการเร่งรีบส่งมอบอาวุธแก่ยูเครน เพื่อนำไปต่อสู้สกัดการรุกรานของยูเครน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตคลังแสงของกองทัพสหรัฐฯ จำเป็นต้องเติมเต็มเหล่าอาวุธที่ขาดหายไปจากการส่งมอบให้แก่เคียฟ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานโดยอ้างโฆษกกระทวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า เพนตากอนมีแผนใช้เงิน 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจุดประสงค์นี้ ในร่างงบประมาณฉบับหนึ่งที่ผ่านความเห็นชอบเมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขีปนาวุธต่อต้านรถถังเจฟลิน ผลิตภายใต้กิจการร่วมค้าระหว่างล็อคฮีด กับเรย์เธียน ส่วนขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานสติงเจอร์ของเรย์เธียน เคยถูกระงับการผลิตก่อนหน้านี้ จนกระทั่งเพนตากอนมีคำสั่งซื้ออาวุธดังกล่าว 340 ล้านดอลลาร์ในช่วงฤดูร้อนปีก่อน “เรากำลังสำรวจทางเลือกต่างๆ ในการเติมเต็มคลังแสงของสหรัฐฯ ให้เร็วขึ้น และทดแทนคลังแสงที่หมดลงของพันธมิตรและคู่หู” โฆษกกล่าว “เราจะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูฐานอุตสาหกรรม เพื่อให้กลับมาผลิตได้อีกรอบ” “ถ้ามีการส่งมอบสติงเจอร์ 1,000 ลูก และเจฟลิน 1,000…

การก่อการร้าย ภัยใกล้ตัวคนเมือง รู้ทัน รู้ระวัง เพื่อสังคมปลอดภัย

Loading

อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ แนะสังคมตระหนักภัย “การก่อการร้ายในสังคมเมือง” สร้างองค์ความรู้รับมือเมื่อเกิดเหตุ เสนอรัฐลงทุนด้านความมั่นคง แม้ปัจจุบันสถานการณ์โรคระบาด สภาวะสงคราม และราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานรายวัน จะเป็นปัญหาที่ตรึงความสนใจของผู้คนจำนวนมากเนื่องจากเป็นปัญหาที่กระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างหนัก แต่ก็อย่าได้ละเลย “การก่อการร้าย” ที่ยังเป็นภัยใกล้ตัวผู้คนในสังคมเมือง โดยเฉพาะท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่มีความขัดแย้ง ทั้งนี้ จากดัชนีการก่อการร้ายทั่วโลก ปี 2565 (2022 Global Terrorism Index) ประเทศไทยได้คะแนนอยู่ในอันดับที่ 22 จาก 163 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วถึง 3 อันดับ นั่นหมายความว่าประเทศไทยยังคงได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายในระดับที่ค่อนข้างสูงทีเดียว (ที่มา: https://www.visionofhumanity.org/maps/global-terrorism-index/#/) “ในฐานะประชาชนที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง เราควรตระหนักถึงอันตรายจากการก่อการร้าย และมีความรู้เพียงพอที่จะระแวดระวังตัวให้รอดจากเหตุร้าย และช่วยให้สังคมเมืองของเราปลอดภัยมากขึ้น” ศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในรายการ “รอบตัวเรา” ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ เมื่อเร็วๆ นี้   ศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข การก่อการร้ายต่างจากอาชญากรรมอย่างไร ศ.ดร.สุรชาติ กล่าวว่า…

Check list การเตรียมความพร้อม PDPA ของหน่วยงาน

Loading

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีรายละเอียดหลายประการที่องค์กรจะต้องจัดเตรียม ทั้งในด้านของเอกสารและกระบวนการ บทความนี้ได้รวบรวมข้อสรุปเบื้องต้นในการตรวจสอบความพร้อม องค์กรสามารถนำข้อสรุปเบื้องต้นนี้ไปพิจารณาประกอบ เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย ผู้เขียนจำแนกเป็น 2 ส่วนคือ ข้อกำหนดตามกฎหมายที่ให้องค์ต้องจัดทำและตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดีภายในองค์กร ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มีข้อกำหนดตามกฎหมายให้องค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลปฏิบัติหลายหลายประการ อาทิ (1) การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) กฎหมายกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอาจจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 41 ซึ่งอาจแต่งตั้งจากพนักงานภายในองค์กรหรือแต่งตั้งผู้รับจ้างให้บริการตามสัญญา (2) การจัดทำประกาศความเป็นความส่วนตัว หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อของ Privacy Notice ซึ่งเป็นการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับรายละเอียด วิธีการ การดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงรายละเอียดก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 23 (3) การจัดทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผล (Records of Processing Activities) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่ในการจัดให้มีบันทึกรายการกิจกรรมอย่างน้อยตามที่ระบุไว้ในมาตรา 39 เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสำนักงานฯ สามารถตรวจสอบได้ (4) การจัดทำแบบคำขอความยินยอม (Consent Form) ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ความยินยอมเป็นฐานทางกฎหมายในการประมวลผล หลักเกณฑ์ในการขอความยินยอมต้องเป็นไปตามมาตรา 19…