ทำงานกับฟรีแลนซ์อย่างไรให้ปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

  การทำงานกับฟรีแลนซ์เป็นเรื่องปกติทั่วไปสำหรับผู้จัดการหลายคนมานานแล้ว แม้แต่ในองค์กรขนาดใหญ่ งานบางอย่างก็ไม่สามารถจัดการได้ภายในทีม รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่ปกติไม่สามารถจ้างพนักงานเพิ่มได้ แต่การเชื่อมโยงบุคคลภายนอกเข้ากับกระบวนการทำงานแบบดิจิทัลสามารถเพิ่มความเสี่ยงทางไซเบอร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานติดต่อกับตัวบุคคลโดยตรงโดยไม่ผ่านตัวแทนคนกลาง   อันตรายจากอีเมลขาเข้า ในการค้นหาฟรีแลนซ์ที่เหมาะสม คุณควรเริ่มคิดถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น เมื่อจะว่าจ้างใครสักคน เรามักจะขอดูพอร์ตโฟลิโอประวัติและผลงานก่อน ฟรีแลนซ์จะส่งเอกสาร ไฟล์ผลงาน หรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของเธิร์ดปาร์ตี้   นักวิจัยมักพบช่องโหว่ในเบราว์เซอร์หรือชุดโปรแกรมสำนักงาน ผู้โจมตีสามารถเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์ขององค์กรได้หลายครั้งโดยการแทรกสคริปต์ที่เป็นอันตรายลงในเอกสารข้อความ หรือโดยการฝังชุดช่องโหว่ในโค้ดเว็บไซต์ แต่บางครั้งเทคนิคดังกล่าวอาจไม่จำเป็น พนักงานบางคนพร้อมที่จะคลิกไฟล์ที่ได้รับโดยไม่ดูส่วนขยายก่อน และเปิดใช้ไฟล์ปฏิบัติการโดยไม่ระมัดระวัง   ผู้โจมตีสามารถแสดงพอร์ตโฟลิโอปกติได้ (ซึ่งอาจไม่ใช่ผลงานของตัวเอง) และส่งไฟล์ที่เป็นอันตรายในภายหลัง นอกจากนี้ ผู้โจมตีสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์หรือเมลบ็อกซ์ของฟรีแลนซ์ และใช้เพื่อโจมตีบริษัทของคุณได้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าอุปกรณ์หรือบัญชีของฟรีแลนซ์ได้รับการปกป้องอย่างไร และความปลอดภัยด้านไอทีของคุณก็ไม่สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คุณไม่ควรถือว่าไฟล์ที่ได้รับนั้นเชื่อถือได้ แม้ว่าจะมาจากฟรีแลนซ์ที่คุณทำงานด้วยมาหลายปีแล้วก็ตาม   มาตรการรับมือ: หากคุณต้องการทำงานกับเอกสารที่สร้างขึ้นนอกโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท การรักษาสุขอนามัยดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด พนักงานทุกคนควรตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงควรยกระดับความตระหนักด้านความปลอดภัยของตน นอกจากนี้ เราสามารถให้คำแนะนำที่ใช้งานได้จริงดังนี้   • ตั้งกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับการแลกเปลี่ยนเอกสาร และห้ามเปิดไฟล์หากไม่ปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ ไม่ควรรับส่งไฟล์ที่ขยายตัวเองได้ สำหรับไฟล์ที่ต้องใช้รหัสผ่านนั้น อาจจำเป็นต้องเลี่ยงผ่านตัวกรองป้องกันมัลแวร์ในอีเมลเท่านั้น • แยกใช้งานคอมพิวเตอร์ต่างหาก โดยแยกออกจากเครือข่าย หรือใช้เครื่องเสมือนเพื่อทำงานกับไฟล์จากแหล่งภายนอก หรืออย่างน้อยก็ตรวจสอบก่อน วิธีนี้จะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมากในกรณีที่มีการติดมัลแวร์…

SOF หน่วยปฏิบัติการพิเศษของรัสเซียที่บุกตะลุยไปทุกแห่ง

Loading

  หนึ่งในพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วย SOF คือสมรภูมิสู้รบในยูเครนขณะนี้   ก่อนหน้านี้ โพสต์ทูเดย์นำเสนอเกี่ยวกับหน่วยสงครามพิเศษของรัสเซียที่ชื่อว่า Spetsnaz ไปแล้ว วันนี้มีอีกหนึ่งหน่วยที่น่าสนใจนั่นคือ Special Operations Forces (SOF) หรือหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่โหดไม่แพ้ Spetsnaz   SOF เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่มีความคล่องตัวสูง ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และมีความพร้อมในการรบอยู่ตลอดเวลา เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัสเซียทั้งในและนอกประเทศ ทั้งในยามสงบและยามสงคราม   ภารกิจที่ขึ้นชื่อของหน่วย SOF คือภารกิจไครเมียเมื่อปลายเดือน ก.พ. 2014 เจ้าหน้าที่ติดอาวุธไม่ทราบจำนวนของ SOF ร่วมกับหน่วยอื่นของกองทัพรัสเซียปลอมตัวเป็นทหารไม่มียศบุกเข้าแคว้นไครเมียของยูเครน แล้วยึดอาคารรัฐสภาไครเมีย รวมทั้งปิดกั้นสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น สนามบินซิมเฟอโรปอล   ปลายปี 2015 SOF เริ่มปฏิบัติการอย่างลับๆ ในซีเรีย และเริ่มเผยตัวในเดือน ม.ค. 2016 หลังประสบความสำเร็จในการสู้รบที่ลาตาเกีย สงครามกลางเมืองที่รัฐบาลซีเรียเปิดปฏิบัติการยึดพื้นที่เขตลาตาเกียติดกับพรมแดนตุรกีคืนจากกลุ่มกบฏ นอกจากนี้ยังชี้เป้าหมายให้กองทัพอากาศรัสเซียโจมตีทางอากาศและให้กองทัพเรือยิงขีปนาวุธ ไปจนถึงเป็นที่ปรึกษาการฝึกทหารให้รัฐบาลซีเรีย ค้นหาและทำลายเป้าหมายที่สำคัญของศัตรู สกัดกองกำลังศัตรูด้วยการซุ่มโจมตี การลอบสังหาร และโจมตีตอบโต้   SOF…

ปั้นอาสาสมัครดิจิทัลประจำหมู่บ้าน

Loading

  #เศรษฐศาสตร์ตลาดสด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เร่งผลักดันเยาวชนคนรุ่นใหม่หัวใจอาสาเป็น Youtuber, Net Idol ด้านดิจิทัลในชุมชน เสริมทัพเครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล ประจำหมู่บ้าน หวังสร้างเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับพื้นที่ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และปลอดภัย   สืบเนื่องจากปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ที่แพร่กระจายตามพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียและอินเทอร์เน็ตของประชาชน ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้งานโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้เกิดเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ง่าย   จากข้อมูลการเข้าร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก. ปอท) แนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีใน ปี พ.ศ. 2565 เมื่อพิจารณาข้อมูลจากสถิติการเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน บก.ปอท. ปี พ.ศ. 2561-2564 พบว่า รูปแบบของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือใช้เทคโนโลยีในการกระทำความผิดที่มีประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีมากที่สุด 5 อันดับแรก ดังนี้ อันดับ 1 คือ ความผิดฐานหมิ่นประมาท รองลงมาคือ การแฮก เพื่อปรับเปลี่ยนหรือขโมยหรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ ความเสียหายรวมประมาณ 67 ล้านบาท อันดับ 3 คือ การหลอกขายสินค้าบริการ…

คิดก่อนแสกน มิจฉาชีพใช้ QR Code ขโมยเงินอย่างไร

Loading

  ข้อความสแกมไม่มี อีเมลสแปมก็ไม่เคยหลวมตัวกด สายเรียกเข้าจากแก็งคอลเซ็นเตอร์ก็ไม่เคยได้รับ แล้วจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพจนเงินหายไปจากบัญชีได้อย่างไร!? ยังมี QR Code เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มิจฉาชีพอาจใช้ขโมยข้อมูลตัวตนหรือทรัพย์สินของคุณได้   QR Code คืออะไร QR ย่อมาจาก Quick Response เป็นโค้ดหน้าตาสีเหลี่ยมที่สามารถเชื่อมโยงกับลิงก์ URL ของเว็บไซต์ได้ ปัจจุบันองค์กร ธุรกิจ ร้านค้าต่างๆ มักใช้คิวอาร์โค้ดในการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือลิงก์ดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เราสามารถพบเห็นคิวอาร์โค้ดได้ทั่วไปตามสิ่งของต่างๆ เช่น สินค้า นามบัตร ใบปลิว โฆษณา หรือแม้แต่ที่ Counter จ่ายเงิน   ยิ่งในสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน คิวอาร์โค้ดได้ถูกนำมาใช้เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของผู้คนโดยติดหน้าทางเข้าของสถานที่ต่างๆ เพียงแค่ยกสมาร์ทโฟนขึ้นสแกนก็สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ URL ให้ยุ่งยาก คิวอาร์โค้ดสามารถสร้างขึ้นได้เอง และทำได้ง่ายมากผ่านบริการช่วยแปลง URL เป็น QR Code บนช่องทางออนไลน์ ซึ่งความง่ายดายเหล่านี้เอาที่เป็นช่องทางให้เหล่ามิจฉาชีพใช้หาประโยชน์   ความปลอดภัยของ QR Code…

‘นักสืบโซเชียล’ กับข้อมูล รอยเท้าบนโลกดิจิทัล

Loading

    ข้อมูลที่ถูกนำมาเปิดเผยต่างๆ ไม่ใช่แค่ข้อมูลประเภทที่เป็น “รอยเท้าบนโลกดิจิทัล” (Digital Footprint) ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลจากกล้อง CCTV ภาพถ่าย ตามสถานที่ต่างๆ ด้วย   กรณีการเสียชีวิตของนักแสดงสาว “แตงโม นิดา” เป็นข่าวดังที่สุดในสื่อต่างๆ ของบ้านเราช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะข่าวการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ของคดีที่มีอยู่ในโลกโซเชียล แม้ข้อมูลที่นำมาเสนอในโลกโซเชียล จะมีออกมามากมาย ทั้งที่จริงและเท็จ บ้างก็เป็นความเห็นต่างๆ ที่ทำให้สังคมสับสนยิ่งขึ้น แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า ข้อมูลในบางเรื่องที่ชาวโซเชียลขุดออกมามีประโยชน์ไม่น้อย ทำให้สังคมมีข้อมูลที่มีความชัดเจนขึ้น แม้กระทั่งตำรวจยังต้องออกมายอมรับในความสามารถของนักสืบโซเชียลที่ช่วยให้มีข้อมูลต่างๆ นำไปสู่การสืบสวนที่ดี   ข้อมูลที่ถูกนำมาเปิดเผยต่างๆ ไม่ใช่แค่ข้อมูลประเภทที่เป็น “รอยเท้าบนโลกดิจิทัล” (Digital Footprint) ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลจากกล้อง CCTV ภาพถ่าย ตามสถานที่ต่างๆ ด้วย   ปัจจุบันเราอยู่บนโลกของดิจิทัลทำให้ข้อมูลต่างๆ ของเราทุกเก็บไว้มากมาย การที่คนไทยใช้เวลาเฉลี่ยราว 9 ชั่วโมงต่อวัน ในการเล่นอินเทอร์เน็ตทำให้เราทิ้งข้อมูลเอาไว้บนโลกดิจิทัลอย่างมากมาย ทั้งการใช้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ติ๊กต็อก…

โฟกัสโลกรอบสัปดาห์ : 6 เมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์การรบรัสเซีย-ยูเครน

Loading

  โฟกัสโลกรอบสัปดาห์ : 6 เมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์การรบรัสเซีย-ยูเครน   กรุงเคียฟ (Kyiv)   ภาพความเสียหายของร้านล้างรถ หลังจากถูกรัสเซียทิ้งระเบิด ที่เมืองบารีชิฟคา ทางตะวันออกของกรุงเคียฟ   เมืองหลวงของยูเครนที่มีประชากร 2.8 ล้านคน เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และเป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาล และที่อยู่ของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำของยูเครน เมืองนี้เป็นเป้าหมายสำคัญของรัสเซีย ซึ่งขณะนี้ถูกกองทัพรัสเซียปิดล้อมพื้นที่ทางตอนเหนือ และค่อยๆรุกคืบเข้าใกล้ใจกลางเมืองไปเรื่อยๆ ภาพรถถังและรถทหารรัสเซียเคลื่อนขบวนเป็นแถวยาวกว่า 40 ไมล์ พบเห็นในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง และจากที่นั่นกองทัพรัสเซียได้ยิงจรวดถล่มเมือง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม เสาสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุของกรุงเคียฟถูกขีปนาวุธโจมตี และยังเกิดการระเบิดในบริเวณใกล้เคียงอีกหลายจุด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ราย ขณะนี้ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสารและระบบรถไฟในเมืองส่วนใหญ่ยังคงใช้ได้ แต่โรงเรียนและร้านค้าเกือบทั้งหมดปิด ขณะที่ประชาชนในเมืองหลายหมื่นคนต้องอพยพหนีสงคราม ซึ่งทั้งหมดมุ่งหน้าไปยังเมืองลวิฟ ซึ่งมีชายแดนติดกับโปแลนด์ด้วยความหวังว่าจะได้ลี้ภัยสงครามไปยังพื้นที่ปลอดภัยในฝั่งตะวันตก     เมืองคาร์คีฟ (Kharkiv) ภาพความเสียหายที่เมืองคาร์คีฟ   เมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของยูเครน มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 1.4…