ทำอย่างไรเมื่อ Facebook โดนแฮ็ก?! ขั้นตอนง่าย ๆ ที่คุณต้องรู้

Loading

  เรื่องการถูกแฮกเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง โดยเฉพาะกับบัญชี Facebook ที่เราใช้กัน ซึ่งการถูกแฮกก็มาในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้บัญชีของเราในการส่งข้อความที่เราไม่ได้เป็นคนเขียนเอง หรือการโพสต์ข้อความแปลก ๆ โดยที่ผู้ใช้เองไม่รู้ตัว เมื่อบัญชี Facebook ถูกแฮกก็ย่อมลามไปถึงการล็อกอินเข้าแอปต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น ถ้ามีผู้ไม่หวังดีแฮกเข้า Facebook ของเราได้ เขาก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนอื่น ๆ ได้อีก คำถามคือ จะทำอย่างไรต่อไปเมื่อรู้ว่าบัญชี Facebook ของตนเองถูกแฮก? พบคำตอบได้ในบทความนี้ เปลี่ยนพาสเวิร์ดทันที! ถ้าผู้ใช้งานยังโชคดีสามารถล็อกอินเข้าบัญชี Facebook ของตนเองได้ ควรรีบเปลี่ยนพาสเวิร์ดทันที แต่ถ้าล็อกอินไม่ได้ ให้ส่งคำขอตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ โดยไปที่หน้าค้นหาบัญชีของคุณ จากนั้นพิมพ์อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ-นามสกุล หรือชื่อผู้ใช้ที่เชื่อมต่อกับบัญชีของคุณ แล้วคลิก “ค้นหา” และทำตามขั้นตอนบนหน้าจอ       หากวิธีดังกล่าวยังใช้ไม่ได้ผล อาจเป็นไปได้ว่า มีคนเปลี่ยนอีเมลในบัญชีนั้นแล้ว ให้ใช้อีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์สำรองในการเข้าสู่ระบบ ตรวจสอบให้ดี สิ่งต่อมาที่ควรทำ คือ รายงานพฤติกรรมแปลกประหลาดที่เกิดขึ้นไปยัง…

สงครามโลกครั้งใหม่? สรุปz แบบเข้าใจง่าย

Loading

  explainer ความขัดแย้งอันรุนแรงของ 2 ชาติเพื่อนบ้าน อาจกลายเป็นชนวนเหตุสำคัญที่กลายเป็นสงครามโลก จุดเริ่มต้นคืออะไร ทำไมรัสเซียกับยูเครนกำลังจะทำสงครามกัน workpointTODAY จะอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายที่สุดใน 34 ข้อ   1) ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียมาก่อน แต่ในปี 1917 เมื่อราชวงศ์โรมานอฟหมดอำนาจ กลุ่มชาตินิยมยูเครนจึงขอแยกตัวออกไปเป็นประเทศ โดยมีเยอรมนีหนุนหลัง แต่พอเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 พร้อมทั้งมีการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ยูเครนจึงถูกรวมอยู่ในโซเวียต และสถาปนาเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน   2) ความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นในปี 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย แต่ละประเทศแยกกันไปมีเอกราชของตัวเอง และยูเครนเองก็เป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตาม โรงงานจัดเก็บอาวุธนิวเคลียร์ของโซเวียตตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศยูเครน แปลว่า หัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมด 1,249 หัว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของยูเครนไปโดยปริยาย   3) การมีหัวรบนิวเคลียร์อยู่ในมือ เป็นเครื่องการันตีความปลอดภัยของยูเครน ว่าจะไม่ปล่อยให้เพื่อนบ้านอย่างรัสเซียเข้ามารุกรานได้ อย่างไรก็ตาม สังคมโลกก็ไม่สบายใจนัก เพราะถ้าวันดีคืนดี ยูเครนโมโหขึ้นมาเมื่อไหร่ อาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ในทางที่ผิดก็ได้ เช่นยิงถล่มใส่ประเทศอื่น ดังนั้นจึงต้องการให้ยูเครนทำการกำจัดหัวรบนิวเคลียร์ให้หมด (Denuclearization)   4)…

เปิดโปง ‘ธนาคารสวิส’ ถูกใช้เป็นเส้นทางการเงินให้อาชญากรได้อย่างไร? ไทยแห่เปิดนับพันบัญชี

Loading

  ประเทศที่มีลูกค้าเป็นจำนวนมากที่สุดที่ใช้บริการเครดิตสวิสนั้นคือประเทศอย่างเวเนซุเอลาและประเทศอียิปต์ ซึ่งมีผู้เปิดบัญชีเครดิตสวิสประเทศละประมาณ 2,000 บัญชี และประเทศยูเครนกับประเทศไทย ที่มีผู้เปิดบัญชีอยู่ที่ประเทศละประมาณ 1,000 บัญชี สืบเนื่องจากที่สื่อต่างประเทศหลายสำนักได้รายงานข่าวการเปิดโปงครั้งใหญ่อันเกี่ยวข้องกับธนาคารเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของโลกอันได้แก่ธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse) โดยการเปิดโปงดังกล่าวนั้นได้บอกเล่าถึงวิธีการที่ลูกค้าผู้ร่ำรวยของธนาคารนั้นได้ดำเนินการปกปิดความมั่งคั่งของพวกเขา ซึ่งความมั่งคั่งดังกล่าวนั้นมีที่มาอันไม่ถูกกฎหมาย อาทิ มาจากการทรมาน การค้ายาเสพติด การฟอกเงิน และการทุจริตเป็นต้น จากกรณีดังกล่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายงานข่าวส่วนหนึ่งของสำนักข่าวการ์เดียน ซึ่งเป็นสำนักข่าวแรกๆที่รายงานการเปิดโปงนี้มานำเสนอมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การเปิดโปงข้อมูลบัญชีลูกค้าจำนวนกว่า 30,000 บัญชี ของธนาคารเครดิตสวัสจากทั่วโลกที่อยู่ในเอกสารที่รั่วไหลนั้นได้แสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านฟรังก์สวิส (3,538,151,085,000 บาท) ที่ถูกเก็บซ่อนอยู่ในหนึ่งในสถาบันการเงินอันเป็นที่รู้จักดีที่สุดของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และการเปิดโปงดังกล่าวนี้นั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความล้มเหลวในกระบวนการตรวจสอบของธนาคารเครดิตสวิส แม้ว่าจะมีการให้คำมั่นสัญญาจากทางธนาคารมาโดยตลอดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาว่าจะขจัดลูกค้าและเงินทุนอันน่าสงสัยออกไป อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินงานของสำนักข่าวการ์เดี้ยนร่วมกับสำนักข่าวอื่นๆนั้นพบว่า เครดิตสวิสยังคงมีการคงบัญชีและเปิดบัญชีใหม่ให้กับลูกค้าที่มีความเสี่ยงในด้านอาชญากรรมทั่วโลก ซึ่งอาชญากรรมที่ว่านี้ก็รวมไปถึงกรณีการค้ามนุษย์ในประเทศฟิลิปปินส์,ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ที่ฮ่องกงที่ต้องโทษจำคุกเพราะกรณีการจ่ายสินบน,มหาเศรษฐีผู้สั่งให้ฆาตกรรมแฟนสาป๊อปสตาร์ชาวเลบานอนที่ตอนนี้กำลังต้องต่อสู้ในหลายคดี,ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจน้ำมันของเวเนซูเอลา รวมไปถึงนักการเมืองผู้ทุจริตในยูเครนไปจนถึงอียิปต์ มีรายงานต่อไปด้วยว่า หนึ่งในบัญชีที่ถูกเปิดนั้น เจ้าของบัญชีเป็นผู้อยู่ในนครรัฐวาติกัน และยังพบด้วยว่าบัญชีนี้มีการใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนกว่า 350 ล้านปอนด์ (15,403,082,194 บาท) อันเกี่ยวข้องกับการลงทุนที่ไม่โปรงใสในอสังหาริมทรัพย์ที่กรุงลอนดอน ซึ่งจากการสืบเส้นทางการเงินของผู้ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีนี้นั้น ก็ทำให้เกิดกรณีการฟ้องร้องไปยังจำเลยหลายคนรวมไปถึงพระคาร์ดินัล อนึ่งที่ไปที่มาของการเปิดโปงข้อมูลจำนวนมหาศาลดังกล่าวนั้นมาจากผู้เปิดโปงอันไม่ระบุนามที่ได้ให้ข้อมูลกับหนังสือพิมพ์สัญชาติเยอรมนีชื่อว่า Süddeutsche Zeitung ซึ่งทางด้านของผู้เปิดโปงได้กล่าวว่า ตัวเขาเชื่อว่ากฎระเบียบเรื่องความลับของธนาคารสวิสนั้นเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักศีลธรรมและข้ออ้างในเรื่องของการปกป้องความเป็นส่วนตัวทางการเงินนั้นแท้จริงแล้วเป็นการปกปิดบทบาทของธนาคารสวิสในการทำงานร่วมกันกับผู้หลีกเลี่ยงภาษี…

ทำความรู้จักเขตปกครองดอแนตสก์-ลูฮันสก์ ที่ ‘ปูติน’ รับรองเอกราชจากยูเครน

Loading

A man walks past a road sign in the town of Avdiivka, Donetsk region, located on the front-line with Russia-backed separatists, Feb. 21, 2022.   เมื่อวันจันทร์ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย รับรองเอกราชของเขตปกครองดอแนตสก์และเขตปกครองตนเองลูฮันสก์ โดยลงนามในเอกสารที่ประกาศว่า เขตปกครองทั้งสองไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของยูเครนอีกต่อไป โดยก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง ผู้นำของเขตปกครองทั้งสองเผยแพร่คลิปวิดีโอขอให้มีการรับรองเอกราชของตน ที่ตั้ง เขตปกครองดอแนตสก์และเขตปกครองลูฮันสก์ ตั้งอยู่ในภูมิภาคดอนบาส ทางตะวันออกของยูเครนใกล้กับชายแดนรัสเซีย โดยเขตปกครองทั้งสองมีพื้นที่ที่อยู่ในการควบคุมของทั้งยูเครนและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน มีอุตสาหกรรมหลักคือการทำเหมืองถ่านหินและผลิตเหล็กกล้า ประชากร เขตปกครองดอแนตสก์และเขตปกครองลูฮันสก์มีประชากรรวมกัน 3.6 ล้านคน ส่วนใหญ่พูดภาษารัสเซีย เนื่องจากมีแรงงานชาวรัสเซียอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมากในยุคโซเวียต หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ รัฐบาลรัสเซียออกหนังสือเดินทางกว่า 720,000 เล่มให้ประชากรราวหนึ่งในห้าของภูมิภาคนี้ ตามรายงานของเอพี การควบคุมของกลุ่มกบฎ เมื่อปี ค.ศ.…

ข้อมูลรั่วเปิดโปง เครดิตสวิส เป็นแหล่งซุกซ่อนความมั่งคั่งของผู้พัวพันอาชญากรรม

Loading

  เครดิตสวิส ผู้ให้บริการด้านการเงินการธนาคารรายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ ปฏิเสธการกระทำผิด หลังเกิดกรณีข้อมูลรั่วไหลครั้งใหญ่ที่เผยให้เห็นว่าลูกค้าหลายรายที่พัวพันการกระทำผิดกฎหมายได้ใช้สถาบันการเงินแห่งนี้เป็นแหล่งซุกซ่อนความมั่งคั่ง ผู้แจ้งเบาะแสนิรนามได้ส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินไว้กับเครดิตสวิส กว่า 18,000 บัญชี ซึ่งมีทรัพย์สินรวมกันกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่หนังสือพิมพ์สัญชาติเยอรมัน Süddeutsche Zeitung บัญชีเหล่านี้มีทั้งบัญชีส่วนบุคคลและบัญชีนิติบุคคล รวมทั้งผู้ที่เปิดบัญชีมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1940 แต่ส่วนใหญ่เป็นบัญชีที่เปิดขึ้นตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา Organized Crime and Corruption Reporting Project (OCCRP) เครือข่ายผู้สื่อข่าวไม่แสวงหาผลกำไร ที่รายงานเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมและการทุจริต ได้แบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ให้แก่องค์กรสื่อเกือบ 50 ราย อาทิ หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน และนิวยอร์กไทมส์ ซึ่งได้ตรวจสอบข้อมูล และพบหลักฐานบ่งชี้ว่า เครดิตสวิสได้เปิดหรือเก็บรักษาบัญชีของลูกค้าความเสี่ยงสูงที่มีส่วนพัวพันกับอาชญากรรมร้ายแรงหลายราย เช่น การฟอกเงิน การค้ายาเสพติด และการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ตาม เครดิตสวิสได้ออกแถลงการณ์เมื่อ 20 ก.พ. โดยปฏิเสธข้อกล่าวหาและการอนุมานใด ๆ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจโดยมิชอบของธนาคาร เครดิตสวิส ระบุว่า ข่าวที่สื่อนำเสนอครั้งนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต ในบางกรณีย้อนหลังไปถึงช่วงทศวรรษที่ 1940…

ฟอร์ติเน็ต เตือนจับตา 5 เป้าหมายใหม่ภัยไซเบอร์

Loading

ฟอร์ติเน็ต คาดการณ์ปี 65 พบแนวโน้มภัยไซเบอร์จะเพิ่มการโจมตี 5 เป้าหมายใหม่ เกาะกระแสการทำงานที่บ้าน (WFH) เทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานในโครงสร้างพื้นฐาน (OT) คริปโต อีสปอร์ต และดาวเทียม นางสาวณภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฟอร์ติเน็ต หนึ่งในผู้นำด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยระดับโลก กล่าวว่า แนวโน้มด้านไอทีในปีนี้ จากความจำเป็นในการทำงานได้จากทุกที่ และเทรนด์การทำงานที่บ้าน (Work From Home) และการใช้งานผ่านคลาวด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งให้การรักษาความปลอดภัยจำเป็นต้องครอบคลุมการเชื่อมโยงไปถึงอุปกรณ์ที่พนักงานใช้ทำงานจากนอกออฟฟิศด้วย เนื่องจากแฮกเกอร์ และการโจมตีทางไซเบอร์ จับตามองเทรนด์นี้ และที่ผ่านมาพบการโจมตีผ่านช่องโหว่ความปลอดภัยของอุปกรณ์ในกลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยโดยรวมขององค์กรด้วย     ดังนั้น ในฟากขององค์กรนอกเหนือจากให้ความสำคัญกับการติดตั้งโซลูชั่นด้านความปลอดภัย ยังต้องมุ่งเน้นในการให้ความรู้กับบุคลากรเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักและรู้เท่าทัน เช่น ไม่หลงเชื่ออีเมล์หลอกลวง (ฟิชชิ่งเมล์) หรือคลิกลิงค์ที่ไม่รู้จัก ขณะที่ในส่วนของฟอร์ติเน็ต ก็เน้นการจัดชุดโซลูชั่นเพื่อสนับสนุนลูกค้าองค์กรด้วยราคาที่จับต้องได้มากขึ้น “จากเทรนด์การทำงานขององค์กรยุคใหม่ พบการหลอมรวมกันระหว่างเครือข่ายและคุณสมบัติด้านปลอดภัยจะเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น ดังนั้นอุปกรณ์จำเป็นต้องทำงานด้านความปลอดภัยและด้านเครือข่ายในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ มีผลทำให้ต้องการประสิทธิภาพความเร็วของโซลูชั่นความปลอดภัย ฟอร์ติเน็ตได้เร่งพัฒนานวัตกรรมโปรเซสเซอร์การประมวลผล NP7 และ CP9 รุ่นใหม่…