เปิดขบวนการ “บัญชีม้า” ช่องทางฟอกเงิน หลอกคนโอน แก๊งคอลเซ็นเตอร์

Loading

  กลโกงหนึ่งในการหลอกให้ผู้อื่นโอนเงินไปให้มิจฉาชีพ คือ การเปิดบัญชีม้า ซึ่งมีทั้งม้าสมัครใจและม้าแบบไม่ตั้งใจ ใช้ทำสารพัดเรื่องทุจริต ทั้งฉ้อโกง ยาเสพติด การพนัน ฟอกเงิน และแก๊งมิจฉาชีพ call center บัญชีม้า คืออะไร บัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลอื่นซึ่งถูกคนร้ายนำมาใช้เป็นช่องทางในการรับเงินและถ่ายโอนเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด เพื่อป้องกันไม่ให้มีพยานหลักฐานเชื่อมโยงมาถึงตัวได้ คนร้ายสามารถทำได้หลายวิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งบัญชีม้า ทั้งจากการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำไปใช้เปิดบัญชีในชื่อของคนนั้น ๆ หรือจ้างให้บุคคลอื่นเปิดบัญชี หรือรับซื้อบัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลทั่วไปเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด   บัญชีม้า พบได้อย่างแพร่หลายในสังคมออนไลน์ที่มีการขายบัญชีเงินฝากธนาคารอย่างเปิดเผย ตั้งแต่ราคา 800 บาท จนถึง 20,000 บาท โดยบัญชีม้าเหล่านี้จะถูกรวบรวมเป็นแพ็กเกจพร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและซิมการ์ดโทรศัพท์ที่เจ้าของบัญชีเปิดใช้งานด้วย เพื่อให้คนร้ายที่ซื้อบัญชีม้าไปแล้วสามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของบัญชีไปผูกกับ mobile banking เพื่อใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ได้ทันที ส่วนใหญ่ใช้ในทางทุจริต ฟอกเงิน เช่น หลอกขายสินค้าทางออนไลน์ แก๊งมิจฉาชีพ call center เกี่ยวกับการพนัน ฉ้อโกง ยาเสพติด ประเภทของ บัญชีม้า มีอยู่ 2 แบบคือ 1. ม้าสมัครใจ คือ การขายบัญชีธนาคารหรือ…

การแอบอัดเสียงใช้เป็นหลักฐานในคดีได้หรือไม่? | ภาณุพงศ์ เฉลิมสิน

Loading

  แต่เดิมนั้น การลักลอบบันทึกเสียงของคนอื่น จะผิดกฎหมายต่อเมื่อเป็นการลักลอบบันทึกคำสนทนาของคนอื่นที่มิใช่คู่สนทนา เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226 บัญญัติว่า พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน แต่ถ้าเป็นการบันทึกคำสนทนาของตนเองกับคู่สนทนา ถือว่าเป็นสิทธิของคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายที่บันทึกเสียงคำสนทนาของตนกับคู่สนทนาไว้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือบอกให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ล่วงหน้าก่อน ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2543 ได้เคยวางหลักเอาไว้ว่า เมื่อการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลย ซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนา เป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 243 วรรคสอง (ที่มา สกัดฎีกาเนติบัณฑิต-วิ.อาญา-ที่น่าสนใจ เตรียมสอบเนติฯ ภาค2 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559) ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา…

ฟริตช์ ฮาเบอร์ นักเคมีผู้ค้นพบแอมโมเนีย วัตถุดิบสำคัญในการผลิตปุ๋ยและระเบิด

Loading

ฟริตซ์ ฮาเบอร์ ผู้ค้นพบสารแอมโมเนีย หลายครั้งที่การค้นพบงานวิจัยทางวิทยาศาศตร์ มีคุณอนันต์โทษมหันต์ “จรรยากับวิทยาศาสตร์” จึงเป็นประเด็นถกเถียง นักวิทยาศาสตร์บางส่วนมักกล่าวอ้างว่า วิทยาศาสตร์พื้นฐานถือว่าเป็นกลาง ไม่มีจรรยา ไม่มีการเมือง ไม่มีวัฒนธรรม เฉกเช่นน้ำย่อมเดือดที่อุณหภูมิเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นที่ปักกิ่งหรือเบอร์ลิน และให้เหตุผลว่า นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ค้นคว้าความรู้ ส่วนนักอุตสาหกรรม , รัฐบาล ฯลฯ เป็นผู้นำไปใช้ หนึ่งในการค้นพบที่เป็นสร้างทั้งคุณและโทษก็คือ “แอมโมเนีย” วัตถุดิบสำคัญในการผลิตปุ๋ยเคมีและวัตถุระเบิด จอห์น คอร์นเวลล์ เล่าเรื่องราวไว้ใน “นักวิทยาศาสตร์ของฮิตเลอร์” (สนพ.มติชน, 2554) ที่นพดล เวชสวัสดิ์-แปล สรุปเนื้อหาไว้ดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยผู้เขียน) ฟริตซ์ ฮาเบอร์ (ค.ศ. 1868-1934) หนึ่งในนักเคมียิ่งใหญ่ที่สุดในต้นศตวรรษที่ 20 คือผลผลิตของระบบเยอรมัน เป็นตัวแทนของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้ศตวรรษที่ 20 เป็น “ศตวรรษเยอรมนี” ทำนองชีวิตของฟริตซ์ ฮาเบอร์ไม่ต่างไปจากเทพเจนัสของโรมันที่มี 2 หน้า เผชิญกับความดีงามและความชั่วร้าย ผลงานสร้างสรรค์วิทยาศาสตร์ที่จะใช้ประโยชน์ในยามสันติ เพื่อความสุขสมบูรณ์ของผู้คน หรือว่าจะใช้ในการทำลายล้างเหี้ยมโหด ทั้งหมดทั้งมวลเกิดจากสูตรเคมีหรือกลุ่มสมการเดียว การค้นพบที่มีชื่อฮาเบอร์ หรือชื่อคาร์ล…

จาก ‘Influencer จัดตั้ง’ ถึง ‘Propaganda ยุค 5 G’/บทความพิเศษ จักรกฤษณ์ สิริริน

Loading

จาก ‘Influencer จัดตั้ง’ ถึง ‘Propaganda ยุค 5 G’   ก่อนยุค 1 G โลกของเรามี Propaganda ในฐานะ “โฆษณาชวนเชื่อ”   ที่ไม่ว่าจะอยู่ในอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด ต่างก็ล้วนใช้ Propaganda เป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในยุทธศาสตร์การตลาด เช่น “ลัทธิฟาสซิสต์”   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ค่ายคอมมิวนิสต์” ที่ขึ้นชื่อลือชาด้านการนำแนวคิด Propaganda มาใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการประชาสัมพันธ์แนวคิดของพรรคฯ เพื่อดึงมวลชน และขยายเขตงานออกไปอย่างไม่สิ้นสุด   ศาสตราจารย์ ดร. Garth Jowett และศาสตราจารย์ ดร. Victoria O’Donnell เจ้าของหนังสือ Propaganda and Persuasion ได้อธิบายนิยามของ Propaganda ว่าหมายถึง “ความพยายามอย่างเป็นระบบโดยเจตนา ในการกำหนดรูปแบบการรับรู้ การปรับเปลี่ยนความเข้าใจ และโน้มน้าวพฤติกรรม เพื่อการตอบสนองความตั้งใจ จนกระทั่งบรรลุจุดมุ่งหมายของผู้โฆษณาชวนเชื่อ”   ศาสตราจารย์…

เตือนภัย! 8 โปรแกรม Remote Desktop ที่มิจฉาชีพนำมาใช้ดูดเงิน

Loading

  โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ หรือ “โปรแกรมสนับสนุนระยะไกล” ที่เราสามารถรีโมทไปสั่งการเครื่องคอมได้เสมือนเรากดปุ่มรีโมทสั่งทีวี ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานมาก ๆ จนโปรแกรมนี้ได้กลายมาเป็นกลโกงใหม่ของมิจฉาชีพที่ใช้ดูดเงินนั่นเอง โปรแกรมที่ว่ามีถึง 8 อย่าง คือ 1. TeamViewer ถือเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในไทย ด้วยความที่เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ฟรี แถมยังมีสามารถใช้งานได้ทุกฟีเจอร์ที่จำเป็นต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ คีย์ลัดไปหาเครื่องที่รีโมทอยู่ , สามารถถ่ายโอนไฟล์จากเครื่องที่เราใช้อยู่ ไปหาเครื่องที่รีโมทคอมพิวเตอร์เข้าไปได้ , อีกทั้งยังสามารถควบคุมแบบข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-Platform) เช่น ควบคุมจากมือถือเพื่อสั่งการ คอมพิวเตอร์ที่เปิดไว้ได้ด้วย ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อรีโมทเสมอไป ซึ่งสะดวกมาก ๆ เวลาที่เราไม่อยู่หน้าจอแล้วดันมีงานเข้าฉุกเฉิน 2. AnyDesk เป็นโปรแกรมที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก รองรับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในหลากหลายแพลตฟอร์ม ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows , Mac , Linux , Raspberry Pi , Chrome OS , iOS และ…

PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คืออะไร กับสิ่งที่ประชาชนต้องรู้ ก่อนบังคับใช้ PDPA มิถุนายนนี้

Loading

PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คืออะไร กับสิ่งที่ประชาชนต้องรู้ เกี่ยวกับ PDPA ก่อนเตรียมบังคับใช้จริง 1 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้ ทางด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เตือนประชาชน เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่เป็นเจ้าของข้อมูลตามกฎหมาย หากผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลพบการกระทำผิด การละเมิด หรือกระทบสิทธิตามกฎหมายก็สามารถดำเนินการทั้งในทางอาญา ทางแพ่ง หรือทางปกครองตามขั้นตอนของกฎหมาย หลังบังคับใช้ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก จนสร้างความเดือดร้อน หรือความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม จึงกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไปขึ้นมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้กำชับให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดที่เกี่ยวข้องเร่งทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงสาระสำคัญของกฎหมาย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็พร้อมที่จะบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม เกิดประสิทธิภาพ สมกับเจตนารมณ์ที่มีการประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้นมา PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คืออะไร กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ย่อมาจากคำว่า Personal Data…