หน้าที่ดำเนินการตามคำร้องขอใช้สิทธิ | Tech, Law and Security

Loading

  หน้าที่ดำเนินการตามคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหน้าที่ของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของคำร้องขอใช้สิทธิแต่ละประเภท ภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด การจัดให้มีระบบการจัดการเพื่อดำเนินการตามคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการจัดทำบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ครบถ้วน จะช่วยส่งเสริมให้ทุกองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปฏิบัติต่อสิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่ต้องปฏิบัติเมื่อดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้หลายประการ อาทิ (1) สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 30 (Right of access) (2) สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 31 (Right to data portability) (3) สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 32 (Right to object) (4) สิทธิในการขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 33 (Right to erasure) (5) สิทธิในการระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 34 (Right to restriction of processing) (6) สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามมาตรา 36 (Right…

“เป็นหู เป็นตา”

Loading

  เมื่อสองเดือนก่อน ผู้บริหารระดับสูง 8 คนของสายการบินไหหลำ ใส่เสื้อเชิ้ตแขนยาว ไม่มีเสื้อกันหนาว ออกไปยืนเรียงแถวกันภายนอกอาคาร ที่นครปักกิ่ง กลางอากาศเย็นเฉียบที่ 0 องศาเซลเซียส ไม่ใช่ว่าผู้บริหาร อยู่ดีๆเกิดนึกสนุก ออกไปยืนหนาวสั่นรับความเย็นเช่นนั้น เป็นเวลานานถึง 40 นาที แต่เป็นเพราะถูกคำสั่งลงโทษ ให้ทำเช่นนั้นครับ สาเหตุก็เพราะ มีผู้โดยสารระดับพลาตินัมของสายการบิน ลงเครื่องบินที่กรุงปักกิ่งแล้วเขาเหลือบไปเห็นแอร์โฮสเตสหญิงคนหนึ่ง เธอนั่งตัวงอด้วยความหนาวสั่นอยู่ริมถนน ระหว่างที่เธอกำลังรอรถบัส   น้องคนนั้น อยู่ในชุดปฏิบัติงานของสายการบิน ที่ออกแบบไว้สำหรับใช้สวมใส่ในฤดูร้อน เป็นชุดขาสั้น มองเห็นท่อนขาสูงขึ้นไปจนเหนือเข่า และไม่มีเสื้อคลุมกันหนาว แต่ขณะนั้น อากาศได้เปลี่ยนเป็นฤดูหนาวแล้ว ผู้โดยสารคนนั้น ถ่ายภาพพนักงานต้อนรับแล้วไปให้ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินไหหลำ ผลก็คือการลงโทษผู้บริหาร 8 คนอย่างที่เห็น เพื่อ “ให้รู้เสียบ้างว่า อย่าเอาแต่นั่งในออฟฟิศ แล้วคิดว่าฤดูอะไรก็เหมือนกันแหละ… ออกไปแก้ปัญหาซะ”   วิธีลงโทษแบบนี้ คงทำได้ในประเทศจีนและอีกบางประเทศเท่านั้น ประเทศอื่นๆคงทำได้ยากสักหน่อย แต่ประเด็นของผมไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ ผมมองไปที่บทบาทของผู้โดยสารคนนั้นมากกว่า มีคำกล่าวภาษาไทยที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี ที่เรียกว่า “เป็นหู เป็นตา” ผมคิดว่าผู้โดยสารคนนั้น…

การปกป้องข้อมูลด้วยการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้จริงไหม

Loading

  รู้จัก การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมและการรับมือกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ด้วย QKD เหตุใด “โตชิบา” จึงลงทุนวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับ QKD และวิทยาศาสตร์ควอนตัมเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการป้องกันภัยทางไซเบอร์ วิกฤตโรคระบาดกำลังทำให้แรนซัมแวร์ในลักษณะ Double-threat , การโจรกรรมข้อมูล และการโจมตีด้วยเทคนิค Supply-chain attack ที่ซับซ้อนเพิ่มสูงขึ้น โชคยังดีที่อาชญากรทางไซเบอร์ถูกขัดขวางไว้ด้วยการเข้ารหัสในระดับองค์กร ซึ่งไม่อาจถูกเจาะเข้าไปได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม ด้วยการมาถึงของการประมวลผลควอนตัม แม้แต่การปกป้องข้อมูลด้วยวิธีนี้ก็ตกอยู่ในอันตราย เมื่อขุมพลังในการประมวลผลอันทรงพลังอยู่ใกล้แค่เอื้อม อาชญากรทางไซเบอร์จะสามารถหาทางเจาะผ่านอัลกอริทึมการเข้ารหัสได้ งานวิจัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทยได้แสดงให้เห็นแล้วถึงการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมในวิทยาการเข้ารหัส และอาชญากรทางไซเบอร์ก็กำลังจับตามองการพัฒนาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด นี่คือเหตุผลที่เรายกระดับงานวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับควอนตัมของโตชิบาเพื่อให้เท่าทันต่อผู้ไม่ประสงค์ดีเหล่านี้ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับ SpeQtral บริษัทด้านเทคโนโลยีควอนตัมที่ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเสนอโซลูชันด้านการสื่อสารที่ปลอดภัยในเชิงควอนตัมที่ได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (QKD) ของโตชิบา การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมคืออะไร การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (QKD) ใช้ในการกระจายรหัสลับดิจิทัลที่สำคัญเพื่อปกป้องข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงที่จำเป็นอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมหลายภาคส่วน ข้อมูลที่ปลดล็อกจะเข้าถึงได้เฉพาะเมื่อรหัสดิจิทัลที่ถูกต้องอยู่ในมือของผู้รับแล้วเท่านั้น แต่ปัญหาคือรหัสดิจิทัลอาจถูกขโมยหรือถูกใช้ในทางที่ผิดได้ แฮกเกอร์ทางไซเบอร์สามารถปลดล็อกข้อมูลที่ขโมยมาได้โดยใช้รหัสที่มีความปลอดภัยบกพร่องได้ ส่วนสำคัญของการรักษาความปลอดภัยด้วย QKD ขึ้นอยู่กับการเข้ารหัสแต่ละบิตผ่านโฟตอน (อนุภาคของแสง) แต่ละตัวที่ถูกส่งออกมา ตัวอย่างเช่น ผ่านเส้นใยแก้วนำแสงทั่วไป เนื่องจากความพยายามในการอ่านโฟตอนจะเปลี่ยนการเข้ารหัสที่ทำไว้ จึงทำให้การรักษาความลับของรหัสแต่ละตัวสามารถได้รับการทดสอบและยืนยันได้ นอกจากนี้ QKD ยังคงมีความปลอดภัยแม้จะมีความก้าวหน้าทางด้านคณิตศาสตร์และการประมวลผลในอนาคต รวมถึงพลังในการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ควอนตัมอีกด้วย ซึ่งไม่เหมือนกับโซลูชันด้านความปลอดภัยอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี QKD ข้อมูลที่เข้ารหัสไม่เพียงแต่จะปลอดภัยจากการปลดล็อก แต่ความพยายามใดๆ ในการแฮ็กรหัสดิจิทัลยังถูกตรวจจับได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลและข้อความต่างๆ จะเข้าถึงได้โดยผู้รับที่ตั้งใจไว้เท่านั้น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเเห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) กำลังดำเนินการเพื่อให้เทคโนโลยี QKD ใช้งานได้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมเพื่อบ่มเพาะ “ตัวเข้ารหัสที่ทนต่อควอนตัม” ประเภทใหม่ลงในบริการด้านการเงิน ภาครัฐ และธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพที่ทำงานร่วมกับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูง นอกจากนี้ ประเทศไทยก็มีการค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาการเข้ารหัสที่เข้มข้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ในการศึกษาระบบการดักจับอะตอมเดี่ยว นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นที่กำลังศึกษาเทคโนโลยีควอนตัม เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ รวมถึงกิจการเพื่อสังคมอย่าง บริษัท ควอนตัมเทคโนโลยีฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) จำกัด…

มายังไง!? Google Maps ถ่ายติดเครื่องบินทิ้งระเบิดล่องหน B-2 Spirit Stealth Bomber

Loading

  ตั้งแต่มี Google Maps ให้เราได้ใช้กันมา ก็เคยมีเหตุการณ์ที่ภาพถ่ายจากดาวเทียมถ่ายติดภาพแปลก ๆ ออกมาให้่เราได้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ แต่รอบนี้ก็ไม่ธรรมดาอีกแล้วครับ ถึงขนาดถ่ายติดเครื่องบินทิ้งระเบิดล่องหน ‘B-2 Spirit Stealth Bomber’ ที่ยากต่อการตรวจจับได้เลยทีเดียว ผู้ใช้งานเว็บไซต์ Reddit ‘Hippowned’ ตาดี เจอเครื่องบินทิ้งระเบิดล่องหน B-2 Spirit Stealth Bomber ในภาพถ่ายดาวเทียมของ Google Maps ขณะที่กำลังบินอยู่เหนือทุ่งนาในรัฐมิสซูรี ห่างประมาณ 50 ไมล์ทางตะวันออกจากเมืองแคนซัสซิตี   ซึ่งถ้าใครอยากดูพิกัดใน Google Maps ก็สามารถตามไปดูไปเลยครับตามพิกัดนี้เลยครับ 39°01’18.5”,-93°35’40.5” ประวัติ B-2 Spirit Stealth Bomber คือเครื่องบินทิ้งระเบิดล่องหนที่ผลิตในสมัยสงครามเย็น โดยบริษัท นอร์ทธรอป กรัมแมน (Northrop Grumman) พร้อมเทคโนโลยีอำพลางขั้นสูงที่ยากต่อการตรวจจับด้วยระบบป้องกันทางอากาศยาน สามารถบรรทุกระเบิดได้ถึง 40,000 ปอนด์ (ประมาณ 18,000 กิโลกรัม) รวมไปถึงอาวุธนิวเคลีย…

Cybersecurity ปราการด่านหน้าของโลกดิจิทัล

Loading

  ทุกวันนี้หลายบริษัท ทำงานหรือทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ทำให้ระบบการรักษาความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้น ธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cybersecurity จึงเป็นที่สนใจ และคาดว่าจะเติบโตสูงมากในอนาคต หลังจากเกิดการแพร่ระบาดในปี 2020 เป็นต้นมา โลกเข้าสู่ยุคแห่ง Digital อย่างเต็มรูปแบบ การใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากการทำงานที่ออฟฟิศกลับกลายเป็นต้องทำงานจากที่บ้าน พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่เปลี่ยนไป ทำให้ธุรกรรมทางการเงินถูกทำผ่านระบบ Digital Banking มากขึ้น การพบแพทย์ทางไกลผ่านแอพพลิเคชั่นก็เป็นที่นิยมมากขึ้นในชั่วพริบตา ส่งผลให้ข้อมูลสำคัญจำนวนมากมาย ถูกส่งผ่านบนโลกออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ธุรกิจด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cybersecurity จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะมีบทบาทสำคัญและน่าจะเติบโตไปพร้อมกับโลก Digital โลกเข้าสู่ยุค Digital ในทุกอุตสาหกรรม ข้อมูลสำคัญอาจเป็นเป้าหมายของอาชญากรทางไซเบอร์ ปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าทุกอิริยาบถในการดำเนินชีวิตขับเคลื่อนอยู่บนโลกดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ธุรกรรมทางการเงิน การซื้อสินค้า การศึกษา หรือแม้กระทั่งการพบแพทย์ ซึ่งถ้าหากแนวโน้มนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องก็จะยิ่งทำให้ข้อมูลสำคัญต่างๆ อาทิ ข้อมูลความลับทางธุรกิจ ข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน ถูกถ่ายโอนเข้าไปสู่โลกดิจิทัลเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ดูเผินๆ อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลสำคัญเหล่านั้นอาจกำลังตกเป็นเป้าของอาชญากรทางไซเบอร์ ซึ่งจะนำไปสู่การถูกโจรกรรมข้อมูล และสร้างความเสียหายเป็นจำนวนเงินมหาศาลก็เป็นได้   Cybersecurity เชื่อมโยงกับทุกอุตสาหกรรม   การถูกโจรกรรมทางไซเบอร์พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และความเสียหายมีมูลค่าสูงขึ้น…

ครบรอบ 17 ปี นักวิจัย ห่วงการรับมือสึนามิ ยังขาดความตื่นตัว-อพยพไม่ทัน

Loading

  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวและส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ จนเกิดกระแสในโลกโซเชียลติดอันดับ 2 ของทวิตเตอร์ประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2564 ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวมีหลายรูปแบบ บางแบบจะไม่สามารถเตือนภัยได้ แต่บางรูปแบบอาจจะเตือนภัยได้แต่ก็เพียงไม่กี่สิบวินาทีก่อนเกิดการสั่นสะเทือนรุนแรง ในกรณีภาคเหนือของประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งส่งผลรุนแรงในระยะใกล้จุดศูนย์กลาง จึงเป็นแผ่นดินไหวในรูปแบบที่ไม่สามารถเตือนภัยได้  ส่วนกรณีของกรุงเทพมหานคร การสั่นสะเทือนจะเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีศูนย์กลางห่างไกลออกไปนับร้อยกิโลเมตร ในกรณีเช่นนี้มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว ซี่งอาจจะเตือนได้เพียง 10-20 วินาทีก่อนที่คลื่นแผ่นดินไหวจะวิ่งมาถึงกรุงเทพฯ ระยะเวลาเตือนภัยสั้น ๆ นี้จึงอาจไม่เพียงพอที่จะอพยพผู้คนออกจากอาคาร แต่อาจช่วยให้หลบเข้าที่ปลอดภัยได้ หรืออาจนำมาใช้ในการชะลอความเร็วของรถไฟความเร็วสูงที่จะมีในอนาคต เพื่อให้รถวิ่งช้าลงและไม่ตกรางจนเกิดอันตราย แนะวิธีป้องกันประชาชนต้องมีความพร้อม อพยพอยู่เสมอ สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นมีหลายรูปแบบ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองโกเบเมื่อหลายสิบปีก่อน และแผ่นดินไหวที่จังหวัดคุมาโมโตะ เป็นแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางใกล้ตัวเมืองมาก จึงไม่สามารถเตือนภัยได้ เพราะคลื่นแผ่นดินไหววิ่งเร็วมากด้วยความเร็วประมาณ 3-6 กิโลเมตร/วินาที ทำให้คลื่นแผ่นดินไหววิ่งมาถึงตัวเมืองในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก ๆ ในทะเลที่อยู่ห่างจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร กรณีเช่นนี้คลื่นแผ่นดินไหวจำเป็นต้องใช้เวลาหลายสิบวินาที หรืออาจมากกว่า 1…