อัฟกานิสถาน : ตาลีบันกับสงครามลับกำจัดไอเอสป่วนเมือง

Loading

  ทุก ๆ 2-3 วัน ศพถูกนำมาทิ้งที่ชานเมืองจาลาลาบัดทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน   บางศพอยู่ในสภาพถูกยิงหรือไม่ก็ถูกแขวนคอ บางศพถูกถูกตัดคอ ในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกงของผู้ตายหลายคนมีกระดาษที่เขียนด้วยลายมืออ้างว่าพวกเขาเป็นสมาชิกของสาขาของรัฐอิสลาม หรือ ไอเอส ในอัฟกานิสถาน ไม่มีใครยอมรับว่า เป็นผู้ลงมืออย่างโหดเหี้ยมในการสังหารที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายนี้ แต่คนจำนวนมากเชื่อว่า เป็นฝีมือของตาลีบัน ไอเอสก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในเดือน ส.ค. ที่ด้านนอกสนามบินกรุงคาบูล ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 150 คน และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของตาลีบัน ทั้งสองกลุ่มกำลังต่อสู้กันอย่างบ้าระห่ำ โดยมีเมืองจาลาลาบัดเป็นสมรภูมิของการสู้รบ   ตอนนี้อัฟกานิสถานมีความสงบมากขึ้นแล้ว หลังตาลีบันยุติการสู้รบเมื่อเข้ายึดประเทศได้ แต่ในเมืองจาลาลาบัด กองกำลังของตาลีบันเผชิญกับการโจมตีตามเป้าหมายสำคัญเกือบทุกวัน ไอเอส หรือที่คนในท้องถิ่นรู้จักในชื่อว่า “ดาเอช” กำลังใช้ยุทธวิธีตีแล้วหนีเช่นเดียวกับที่ตาลีบันใช้กับรัฐบาลอัฟกานิสถานก่อนหน้านี้จนประสบผลสำเร็จ รวมถึงการวางระเบิดริมถนน และการลอบสังหาร ไอเอสกล่าวหาตาลีบันว่า “ละทิ้งศาสนา” จากการที่ไม่มีความสุดโต่งมากพอ ด้านตาลีบันเห็นไอเอสว่า เป็นพวกมีแนวคิดสุดโต่งนอกรีต ในจังหวัดนันการ์ฮาร์ ที่ตั้งของเมืองจาลาลาบัด หัวหน้าของหน่วยข่าวกรองของตาลีบันคือ ดร.บาเชียร์ เขามีชื่อเสียงในด้านความโหดร้าย ก่อนหน้านี้เขาเคยช่วยขับไล่ไอเอสออกไปจากฐานที่มั่นขนาดเล็กที่ ไอเอสก่อตั้งขึ้นในจังหวัดคูนาร์ที่อยู่ข้างเคียง   ดร.บาเชียร์ปฏิเสธส่วนเกี่ยวข้องกับซากศพที่ถูกทิ้งไว้ให้คนดูริมถนน แต่เขากล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า คนของเขาได้จับกุมสมาชิกไอเอสหลายสิบคน นักรบไอเอสจำนวนมากที่ถูกจำคุกในสมัยของรัฐบาลปัจจุบัน หลบหนีออกจากเรือนจำไปในช่วงที่เกิดความวุ่นวายจากการที่ตาลีบันยึดครองประเทศอัฟกานิสถาน…

แนวคิดทางอาชญากรรมไซเบอร์กับเงินในบัญชีที่หายไป

Loading

  ในยุคที่ทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อการทำงานกับอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of things) ปฏิเสธไม่ได้ว่าความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์หรือทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง   กฎหมายนอกจากจะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทางกายภาพแล้ว ในทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ไซเบอร์) ก็ควรขยายขอบเขตให้ได้รับความคุ้มครองด้วยเช่นเดียวกัน   “อาชญากรรมไซเบอร์” ยังไม่มีนิยามที่เป็นที่ยอมรับสากล หากแต่อาจแยกลักษณะร่วมกันได้ เช่น เหตุเกิดในพื้นที่ไซเบอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลักษณะการกระทำ ผลของการกระทำ ผู้กระทำ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ อุปกรณ์เครื่องมือหรือวิธีการ เป็นต้น และอาจจะกล่าวได้ว่าอาชญากรรมไซเบอร์เป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง   จากเหตุการณ์ที่มีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมากเนื่องจากเงินในบัญชี หรือบัตรเครดิต/เดบิต หายไป ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนอย่างยิ่ง บางท่านอาจต้องเปิดดูเงินในบัญชีออนไลน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าเงินในบัญชีไม่หายไปใช่หรือไม่   ข้อสันนิษฐานหนึ่งที่เป็นสาเหตุดังกล่าวคือ “เกิดจากมิจฉาชีพสุ่มยิงบอท” ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจัดได้ว่าเป็นอาชญากรรมไซเบอร์ในกลุ่มความผิดต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์   ตามอนุสัญญาอาชญากรรมไซเบอร์และกฎหมายของประเทศไทยยังไม่ได้มีการกำหนดความผิดสำหรับบอทเน็ต (Botnet) ไว้โดยเฉพาะ แต่ฐานความผิดที่มีอยู่อาจนำมาปรับใช้ได้ตามลักษณะพฤติกรรมและข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป และอาจเกี่ยวข้องกับความผิดหลายฐานได้ เช่น   ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (2)…

ชำแหละอดีต ปัจจุบัน อนาคต “ข้อพิพาททะเลจีนใต้” กับบทบาทของไทย

Loading

  เรียบเรียงปัญหา “ข้อพิพาททะเลจีนใต้” ที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์กำลังคุกรุ่น   “ทะเลจีนใต้” เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลกและสิ่งแวดล้อม และมีผลประโยชน์มหาศาลที่หลายประเทศจับจ้อง จนเกิดเป็นข้อพิพาทที่ดำเนินมายาวนานหลายสิบปี และย้อนไปได้นานนับร้อยนับพันปี ข้อพิพาททะเลจีนใต้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า จะเกิดผลกระทบอะไรกับประเทศไทยและอาเซียนบ้าง นำมาสู่การชำแหละสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทะเลจีนใต้ในงานสัมมนาออนไลน์ “ไขปัญหาทะเลจีนใต้ ความหวัง ความจริง และท่าทีของสหรัฐอเมริกา”     โดยงานสัมมนาดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ สมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย สถานทูตอเมริกา และศูนย์เอเชียแปซิฟิกศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   ข้อพิพาททะเลจีนใต้คืออะไร รศ.ดร.ภูมิ มูลศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เท้าความให้ฟังว่า ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์บางส่วน และทั้งหมด บริเวณเหนือดินแดน และอธิปไตยในน่านน้ำทะเลจีนใต้ หมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) และหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) “พื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลจีนใต้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และยังเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าทางทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ดังนั้น ทะเลจีนใต้จึงมีความสำคัญในมิติเชิงยุทธศาสตร์เชิงเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศอ้างกรรมสิทธิ์ และส่งผลไปสู่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีต” คณบดีกล่าว   ข้อมูลจาก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) พบว่า…

Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !?

Loading

  Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !? ในทุก ๆ วัน มีคนเกือบ 2,000 ล้านคนทั่วโลกที่กำลังไถฟีด Facebook (เฟซบุ๊ก) และในทุก ๆ วันมีกว่า 300 ล้านภาพ ที่ถูกอัปโหลดเก็บไว้บนเฟซบุ๊ก เอาหน่วยย่อยลงมาหน่อย ในทุก 1 นาที มี 590,000 คอมเมนต์ และ 290,000 สเตตัสเกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก เราอาจคิดว่าเราทุกคนกำลังใช้เฟซบุ๊ก แต่แท้จริงแล้วเฟซบุ๊กกำลังใช้เรา 2,895 ล้านคนคือจำนวนของบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กล่าสุด ณ ปัจจุบัน ถ้าถามถึงสัดส่วนประชากรโลกก็เพียง 36 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง อ้าว! ยังไม่ถึงครึ่งอีกหรอเนี่ย แต่นั่นก็ทำให้เฟซบุ๊กกลายเป็นโซเซียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก และคงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่า เฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังที่สุด และมีอิทธิพลต่อผู้คนทั่วโลกมากที่สุด รวมทั้งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจ สังคม จนไปถึงการเมืองได้เลย   รายได้ล่าสุด เมื่อครองโลกได้ขนาดนี้จึงไม่แปลกใจนัก ที่บริษัทเฟซบุ๊กจะทำเงินมหาศาล โดยตัวเลขล่าสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2021…

วิธีเปิด Facebook Protect ยืนยันตัวตน เพื่อความปลอดภัย หากไม่ยืนยันจะถูกล็อกบัญชี

Loading

    วิธีเปิด Facebook Protect ยืนยันตัวตน ภายใน 15 วันก่อนถูกล็อกบัญชี เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน facebook ของคุณ ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้บัญชี facebook มีความปลอดภัยขึ้นระดับสูงสุด หากคุณไม่ยอมตั้งค่าเปิดใช้งาน Facebook Protect ภายในเวลาที่กำหนด บัญชีของคุณจะถูกล็อก ไม่สามารถเข้าสู่ระบบของ facebook ได้ทันที จะบังคับให้ไปตั้งค่าเปิด Facebook Protect ให้เรียบร้อย   วิธีเปิด Facebook Protect บนแอป Facebook   แตะที่ไอคอน เมนู >> เลือก การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว >> เลือก การตั้งค่า แล้วเลือกที่ รหัสผ่านและการรักษาความปลอดภัย เลือกที่ Facebook Protect (สังเกตระบุว่า ยังปิดอยู่)   จะขึ้นข้อความแนะนำบริการ Facebook Protect ให้แตะที่ ถัดไป…

ไขข้อสงสัย!! Facebook Protect คืออะไร?? ต้องเปิดใช้งาน ไม่นั้นจะใช้งานเฟซบุ๊กไม่ได้

Loading

  เมื่อวานนี้หลาย ๆ คนคงจะได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook ให้เปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งเป็นฟีเจอร์ความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก​ (Facebook) ที่บังคับให้ผู้ใช้เปิดใช้งาน มิเช่นนั้นผู้ใช้จะไม่สามารถใช้บริการเฟซบุ๊กได้จนกว่าจะเปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งก็มีผู้ใช้หลาย ๆ คนที่วิตกกังวล ว่าควรเปิดใช้งานดีหรือไม่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Facebook Protect กันดีกว่า ว่าตกลงแล้วคืออะไร??     เดิมทีเมื่อปีที่แล้ว Facebook Protect มีให้บริการในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่บัญชีของนักการเมือง พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ กรรมการการเลือกตั้ง และผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเพจที่ได้รับการรับรอง (เครื่องหมายถูกสีฟ้า) ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้ง ที่มีการกำหนดว่าผู้ใช้จะเป็นที่จะต้องตั้งค่าการยืนยันตัว 2 ขั้นตอน และเปิดให้เฟซบุ๊กสามารถมอนิเตอร์การใช้งานเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการโดนแฮกนั่นเอง     ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีรายงานจาก Axios ว่าในปี 2021 นี้ เฟซบุ๊กจะมีการขยายประเทศที่ให้บริการ Facebook Protect กับประเภทบัญชีที่กว้างมากยิ่งขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้บางคนในประเทศไทยได้รับการแจ้งเตือนดังกล่าว ซึ่งถ้าไม่เปิดใช้งานภายใน 15 วัน…