ฟอร์ติเน็ตและไอดีซี แนะองค์กรในเอเชียแปซิฟิกพัฒนากลยุทธ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้องค์กร หลังภัยไวรัสระบาดทั่วโลก

Loading

  องค์กรทั่วเอเชียแปซิฟิกต่างเร่งปฏิรูปด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับการระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่อาจยังมีความล้าช้าอันเนื่องจากผู้บริหารในองค์กรจัดลำดับความสำคัญทางธุรกิจและกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีภายในองค์กรยังไม่ตรงกัน แต่การจัดวางการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมอย่างระมัดระวังและความร่วมมือกับพันธมิตรที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างศักยภาพทางดิจิทัลที่ตนต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไอดีซีผู้ให้บริการชั้นนำด้านการวิจัยและคำแนะนำด้านไอทีระดับโลกได้ออกรายงานฉบับใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการจัดลำดับความสำคัญทางธุรกิจและทางเทคโนโลยีที่แตกแต่งกันอย่างชัดเจน ในขณะที่ฟอร์ติเน็ต (Fortinet®) ผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ผู้บริหารด้านความปลอดภัย (CISO) และทีมงานขององค์กรประสบความสำเร็จในโลกนิยมดิจิทัลเป็นอันดับหนึ่ง (Digital-first world) ในขณะนี้ รายงาน “หยุดการโต้ตอบ แล้วมาเริ่มวางแผนกลยุทธ์” จากไอดีซี (เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564) หรือ IDC InfoBrief: Stop Reacting, Start Strategizing (August 2021, IDC Doc #AP241253IB) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยฟอร์ติเน็ตนั้น ได้ระบุถึงแนวโน้ม ความเสี่ยง และความท้าทายมีเอกลักษณ์ที่เกิดขึ้นใน 6 ประเทศทั่วภูมิภาค ควบคู่ไปกับลำดับความสำคัญด้านธุรกิจและเทคโนโลยีที่ยังไม่ตรงกัน   ลำดับความสำคัญที่ยังไม่ตรงกัน จากการวิจัยของไอดีซีพบว่า ผู้บริหารระดับสูง (CxOs) ให้ความสำคัญไปที่การสร้างความยืดหยุ่น/ลดความเสี่ยง (61%) และการลดต้นทุน/การใช้การลงทุนให้เหมาะสม (63%) เป็นลำดับความสำคัญสูงสุดทางธุรกิจ ในขณะที่ทีมเทคโนโลยีเชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยด้านไอทีและการเปลี่ยนไปใช้โมเดลไฮบริดคลาวด์เป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความเสี่ยงที่ธุรกิจอาจหยุดชะงักและด้านความปลอดภัยไซเบอร์ได้ดี อย่างไรก็ตาม ไอดีซีพบว่าการนำเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยมาใช้เพื่อลดความเสี่ยง เป็นหนึ่งในลำดับความสำคัญด้านเทคโนโลยีที่ต่ำที่สุด (33%)…

อัปสกิลดิจิทัล เข้าใจ Digital Literacy คอร์สเรียนฟรี มีใบเซอร์

Loading

  อัพสกิลเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) จากคอร์สเรียนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื้อหาจะทำให้เราเข้าใจสังคมยุคดิจิทัลมากขึ้น ที่เริ่มจากขั้นพื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ Smart phone Tablet โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ ให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ง่ายขึ้น ก่อนเรียนต้องลงทะเบียนด้วยน้า แต่ไม่ยุ่งยาก ผ่าน Facebook หรือ Gmail พร้อมแล้วไปเริ่มเรียนกันเลย ? https://bit.ly/3DJ0DpD เรียนทั้งหมด 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (รวมทั้งหมด 15 ชั่วโมง) เนื้อหาที่น่าสนใจทั้งหมด บทที่ 1 : Essence of Basic Computer and Mobile Devices บทที่ 2 : Key Applications Word Processing / Presentation / Spreadsheets บทที่ 3 : Security บทที่…

“ระบบจดจำใบหน้า” ความน่ากลัวกับการสูญเสียความเป็นส่วนตัว

Loading

  “ระบบจดจำใบหน้า” ความน่ากลัวกับการสูญเสียความเป็นส่วนตัว ระบบจดจำใบหน้าถูกนำไปใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภาพจำนวนมหาศาลในหลายด้าน ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีด้านการมองเห็นของคอมพิวเตอร์ (Computer vision) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เอไอ” ได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก สามารถวิเคราะห์ภาพต่างๆ ได้มากมายดังเช่น แยกแยะสิ่งต่างๆ ในรูปได้ว่าคืออะไร รวมทั้งยังสามารถจดจำใบหน้าคนได้ดีกว่าคนอีกด้วย ทุกวันนี้เราสามารถใช้โปรแกรม Google len ในมือถือถ่ายภาพ แล้วค้นหาได้ว่ารูปนี้คืออะไร หรือแม้แต่ค้นหาแหล่งซื้อสินค้าและราคา ทำการแปลภาษาก็สามารถทำได้ ขณะเดียวกัน ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial recognition) โดยเฉพาะการใช้เพื่อระบุตัวตน เช่น การปลดล็อกโทรศัพท์มือถือ การเข้าสถานที่ทำงาน เข้าที่อยู่อาศัย รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน ความสามารถเทคโนโลยีในการมองเห็นทำงานได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิธีการในการคำนวณและประมวลผลที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญมากสุดคือ ทุกวันนี้มีฐานข้อมูลรูปภาพจำนวนมหาศาล ทำให้ระบบการมองเห็นนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เพื่อการค้นหาหรือแยกแยะรูปภาพต่างๆ ได้อย่างแม่นยำขึ้น ซึ่งในหลักการของเทคโนโลยีเอไอยิ่งมีข้อมูลมาก ความถูกต้องของการพยากรณ์ก็จะดียิ่งขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจหากเราค้นชื่อตัวเองใน Google แล้วสามารถแสดงรูปภาพที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตออกมาได้ เพราะคิดว่า Google ไปค้นหาข้อมูลในอินเทอร์หรือโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดียที่เปิดเป็นสาธารณะ แต่ในขณะเดียวกันเว็บไซต์ Yandex.com ก็สามารถค้นหาได้โดยใช้รูปภาพบุคคล เพื่อให้ได้รูปอื่นๆ ของคนนั้น รวมทั้งยังได้ชื่อของคนๆ…

ปภ. บูรณาการเตรียมพร้อมขับเคลื่อนแผน ปภ.ชาติ ปี 64 – 70 มุ่งลดความเสี่ยงสาธารณภัย สร้างประเทศไทยปลอดภัย

Loading

  กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บูรณาการทุกภาคส่วนเตรียมพร้อมขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564-2570 ซึ่งเป็นแผนแม่บทการจัดการสาธารณภัยฉบับใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ และจะได้ร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้การจัดการสาธารณภัย ของประเทศไทยมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์เป้าหมายการสร้างประเทศไทยให้มีความปลอดภัยอย่างยั่งยืน     นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นใน ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อให้การจัดการสาธารณภัยตอบโจทย์การสร้างประเทศไทยปลอดภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของบริบทต่างๆ ในปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.) และหน่วยงานรับผิดชอบด้านการจัดทำแผนการจัดการสาธารณภัยของประเทศ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564 – 2570 ซึ่งเป็นแผนฉบับใหม่ที่ปรับปรุงจากแผนฉบับเดิมที่ใช้มาครบ 5 ปี เพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการปฏิบัติให้หน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่นในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างบูรณาการเป็นระบบและมีทิศทางเดียวกัน ภายใต้วิสัยทัศน์ “สังคมไทยสามารถลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงอย่างปลอดภัยและยั่งยืน” โดยได้กำหนด 5 ยุทธศาสตร์หลักครอบคลุมการจัดการสาธารณภัยในทุกมิติ ทั้งในระยะการเตรียมความพร้อม การป้องกันและ ลดผลกระทบ การจัดการในภาวะฉุกเฉิน การฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย การเป็นหุ้นส่วนการจัดการสาธารณภัยระหว่างประเทศ…

อัฟกานิสถาน : ตาลีบัน, ไอเอส และอัลไคดา ความเหมือนและต่างของ 3 กลุ่มติดอาวุธมุสลิม

Loading

  นักรบจีฮัดทั่วโลกต่างเฉลิมฉลองหลังกลุ่มตาลีบันได้กลับขึ้นสู่อำนาจในอัฟกานิสถานอีกครั้ง ซึ่งพวกเขาถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่เหนือความเกรียงไกรของกองทัพตะวันตก ทว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างหวั่นเกรงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดยุคใหม่ของอุดมการณ์จีฮัด หรือการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียกลาง โดยภัยคุกคามใหญ่ที่สุดนั้นมาจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอัลไคดา หรือ อัลกออิดะห์ และกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม หรือ ไอเอส ที่อ่อนกำลังลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ ในข้อตกลงที่ทำกับสหรัฐฯ ตาลีบันรับปากว่าจะไม่ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มสุดโต่งที่มีเป้าหมายในการโจมตีชาติตะวันตก อย่างไรก็ตามสายสัมพันธ์ของตาลีบันกับกลุ่มอัลไคดายังคงแน่นแฟ้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ากลุ่มไอเอส ซึ่งเป็นคู่แข่งกับอัลไคดานั้น จะต้องเผชิญแรงกดดันที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขายังมีความสำคัญและอิทธิพลอยู่ ส่วนกลุ่มรัฐอิสลามแห่งจังหวัดโคราซัน หรือ ไอเอส-เค ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของไอเอสในอัฟกานิสถานนั้น ไม่รอช้า ก่อเหตุโจมตีพื้นที่รอบนอกสนามบินกรุงคาบูลเมื่อ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 170 คน ในจำนวนนี้ 13 คนเป็นเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แต่นอกไปจากอุดมการณ์พื้นฐานเรื่องการทำจีฮัดแล้ว กลุ่มติดอาวุธมุสลิม 3 กลุ่มหลักนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ดร.คอลิน คลาร์ก นักวิจัยและนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากศูนย์ซูฟานในนครนิวยอร์ก ได้ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีและสรุปเรื่องนี้ไว้ว่า “ตาลีบันเป็นผู้เล่นสำคัญที่สุดในอัฟกานิสถาน อัลไคดาเป็นกลุ่มนักรบจีฮัดข้ามชาติที่กำลังฟื้นฟูเครือข่ายขึ้นอีกครั้ง กลุ่มไอเอสก็เช่นกัน แต่กลุ่มนี้จะต้องต่อสู้หนักมากกว่า เพราะเป็นศัตรูตัวฉกาจของทั้งอัลไคดาและตาลีบัน”   ต้นกำเนิด   อัลไคดาและตาลีบันเกิดขึ้นจากการต่อต้านการรุกรานของโซเวียตในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 และจากสถานการณ์วุ่นวายภายในอัฟกานิสถานช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ขณะที่ไอเอสถือกำเนิดขึ้นในอีกหลายปีให้หลัง จากสมาชิกที่เหลืออยู่ของกลุ่มอัลไคดาในอิรัก…

รู้จัก “LockBit” แรนซัมแวร์ ABCD ตัวร้ายที่โจมตีสายการบินในไทย

Loading

  ตามติดแรนซัมแวร์ LockBit ที่ถูกค้นพบในเดือนกันยายน 2019 พบหลายองค์กรตกเป็นเหยื่อ ตั้งแต่องค์กรในสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครน นอกจากนี้ ยังพบการโจมตีในหลายประเทศทั่วยุโรป ทั้งฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และเยอรมนี นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ไม่นานนี้เราเพิ่งได้เห็นภัยคุกคามไซเบอร์ที่โจมตีบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ในประเทศไทย รูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์มีเป้าหมายและมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีขอบเขตการโจมตีที่รุนแรงมากขึ้นอีก โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สายการบินชั้นนำของประเทศไทยรายหนึ่งได้ประกาศเหตุการณ์การละเมิดข้อมูลต่อสาธารณะ “ทั้งหมดนี้เกิดพร้อมกับที่กลุ่มแรนซัมแวร์ LockBit ได้ประกาศผลงานร้ายและอ้างว่าจะเปิดเผยไฟล์ข้อมูลบีบอัดขนาด 103 GB” แรนซัมแวร์ LockBit ถูกค้นพบในเดือนกันยายน 2019 ซึ่งเดิมมีชื่อว่าแรนซัมแวร์ “ABCD” ออกแบบมาเพื่อบล็อกการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแลกกับค่าไถ่ อาชญากรไซเบอร์ปรับใช้แรนซัมแวร์นี้บนตัวควบคุมโดเมนของเหยื่อ จากนั้นจะแพร่กระจายการติดเชื้อโดยอัตโนมัติ และเข้ารหัสระบบคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงได้ทั้งหมดบนเครือข่าย แรนซัมแวร์นี้ใช้ในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายประเภทเอ็นเทอร์ไพรซ์และองค์กรอื่นๆ เป้าหมายในอดีตที่โดดเด่น ได้แก่ องค์กรในสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครน นอกจากนี้ ยังพบการโจมตีในหลายประเทศทั่วยุโรป (ฝรั่งเศส…