เมื่อ Bitcoin เก็บความลับไม่อยู่ มันจึงสั่นสะเทือน

Loading

  ราคาของ Bitcoin ร่วงลงอีกครั้งในวันอังคารท่ามกลางการเทขายอย่างรุนแรงท่ามกลางการทะเขายคริปโตอย่างหนักด้วยเหตุผลต่างๆ นานา สื่อต่างประเทศบางแห่งชี้ว่าการเทขาย Bitcoin อาจเกี่ยวข้องกับความกังวลเรื่องความปลอดภัยของสกุลเงินดิจิทัล หลังจากที่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐสามารถกู้คืนค่าไถ่ส่วนใหญ่ที่จ่ายให้กับแฮกเกอร์ในรูปของ Bitcoin ซึ่งเป็นแฮกเกอร์ที่ทำการเจาะระบบเข้าโจมตีบริษัทท่อส่ง Colonial Pipeline จนสั่นสะเทือนอุตสาหกรรมพลังงานของสหรัฐ   อันที่จริงแล้วมันก้ำกึ่งระหวาง “เรื่องความปลอดภัย” และ “ความมั่นคง” และทั้งสองคำนี้ในภาษาอังกฤษใช้คำเดียวกันคือ Security ในแง่ของผู้ใช้ Bitcoin ข้อดีข้อหนึ่งของมันคือมีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูล แต่ในแง่ของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง Bitcoin มีส่วนทำให้เกิดปัญหาด้วยความมั่นคงได้ถ้ามันถูกใช้โดยอาชญากรอย่างกรณีของแฮกเกอร์กลุ่มดังกล่าว   สำนักข่าว AFP รายงานว่าที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลได้วิพากษ์วิจารณ์การเติบโตของคริปโตหลายครั้งหลายหน เช่น Bitcoin เนื่องจากความนิยมในหมู่อาชญากร อย่างไรก็ตาม ธุรกรรมที่โปร่งใสของเทคโนโลยี Bitcoin ก็สามารถนำมาใช้จัดการผู้ฝ่าฝืนกฎหมายได้เหมือนกัน   แฮกเกอร์อาชญากรไซเบอร์ที่เรียกตัวเองว่า Darkside และเป็นกลุ่มที่เรียกค่าดึงค่าไถ่ 4.4 ล้านดอลลาร์ในรูปของ Bitcoin จากบริษัทน้ำมัน Colonial Pipeline ได้รับบทเรียนจากความเป็นดาบสองคมของ Bitcoin   หลังจากการกรรโชกทรัพย์บริษัทใหญ่โดยอาศัยแรนซัมแวร์ทำให้ปิดเครือข่ายเชื้อเพลิงหลักในภาคตะวันออกของสหรัฐเมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าวว่าได้เรียกคืนเงินจำนวน 2.3 ล้านดอลลาร์จากการติดตามธุรกรรมทางการเงินแล้ว…

โดรนออกล่าสังหารมนุษย์ด้วยตัวมันเองโดยไม่ได้รับคำสั่ง

Loading

  นี่ไม่ใช่พล็อตเรื่องจากภาพยนต์ แต่เป็นเรื่องจริงเมื่อปัญญาประดิษฐ์สั่งการอาวุธสังหารให้ออกไล่ล่าเอง นิตยสาร New Scientist รายงานว่าได้รับข้อมูลจากรายงานของสหประชาชาติ (UN) เรื่องโดรนติดอาวุธที่ “ตามล่าเป้าหมายของมนุษย์” โดยไม่ได้รับคำสั่ง ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกที่โดรนทำนอกเนหือคำสั่งของมนุษย์ด้วยการไล่ล่าเพื่อสังหารมนุษย์ด้วยตัวมันเอง ในเหตุการณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2020 โดรน Kargu-2 โจมตีบุคคลหนึ่งโดยอัตโนมัติระหว่างความขัดแย้งระหว่างกองกำลังของรัฐบาลลิเบียและกลุ่มทหารนำโดยคาลิฟา ฮาฟตาร์ กองทัพแห่งชาติลิเบีย Kargu-2 สร้างขึ้นในตุรกี ซึ่งเป็นโดรนโจมตีที่หวังผลถึงชีวิตออกแบบมาสำหรับการทำสงครามแบบอสมมาตรและการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย Kargu-2 ยังเป็นโดรนที่บินได้ซึ่งใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้ด้วยเครื่องและการประมวลผลภาพแบบเรียลไทม์เพื่อติดตามและมีส่วนร่วมกับเป้าหมายโดยอัตโนมัติ โดรน Kargu-2 ตัวนี้มุ่งเป้าไปที่ทหารคนหนึ่งของ ฮาฟตาร์ขณะที่เขาพยายามจะล่าถอย ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ Daily Star และ New York Post รายงานว่าในเวลานั้นโดรนกำลังทำงานในโหมดอิสระที่ “มีประสิทธิภาพสูง” ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคนควบคุม” รายงานจากคณะผู้เชี่ยวชาญของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในลิเบียกล่าวว่า “ระบบอาวุธสังหารอัตโนมัติร้ายแรงได้รับการตั้งโปรแกรมให้โจมตีเป้าหมายโดยไม่ต้องมีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับอาวุธ อันที่จริงแล้วคือความสามารถในการ ‘ยิง ลืม และค้นหา’ (fire, forget and find) อย่างแท้จริง” ทั้งนี้ Fire-and-forget เป็นขีปนาวุธประเภทหนึ่งที่ไม่ต้องการคำสั่งเพิ่มเติมหลังจากการยิง เช่น การส่องสว่างของเป้าหมายหรือการนำทางด้วยวิทยุ และสามารถยิงถูกเป้าหมายโดยที่เครื่องยิงจรวดไม่อยู่ในแนวสายตาของเป้าหมาย…

สิ่งที่องค์กรยังต้องทำ แม้มีการเลื่อน PDPA ออกไปอีก1ปี

Loading

  แม้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลสวนบุคคล 2562 หรือที่เรียกกันติดปากว่า PDPA จะได้ถูกเลื่อนการมีผลบังคับใช้กับหน่วยงานจากการเลื่อนรอบแรกให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ไปเป็น 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป แต่ยังมีเรื่องที่องค์กรยังต้องดำเนินการอยู่เรื่องหนึ่ง ที่ผู้บริหารในหลายองค์กรได้รับทราบค่อนข้างน้อยหรือรับทราบ แต่ให้ความสนใจค่อนข้างน้อย นั่น คือ   การที่ต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2563 โดยรัฐมนตรีฯได้ลงนามในประกาศไปเมื่อ เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และได้ให้มีผลบังคับใช้ไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 และได้มีประกาศเพิ่มเติมให้ยืดการมีผลบังคับใช้ไปจนถึง วันที่ 31 พฤษภาคม 2565   เนื้อหาหลักของประกาศฉบับนี้ได้วางแนวทางที่เป็นฐานสำคัญของการบริหารข้อมูลส่วนบุคคลคือ การกำหนดมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย เพราะหากการรักษาความมั่นคงปลอดภัยหรือที่เรียกกันติดปากว่า Data Security ไม่ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็นแล้ว การดูแลข้อมูลส่วนบุคคลให้ได้ตามข้อกำหนดของพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็จะทำได้บนความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอย่างที่เราได้รับทราบข่าวเรื่องการรั่วไหลหรือการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอยู่เป็นระยะ   ประกาศฉบับนี้ได้ให้ความหมายของคำว่า “ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล” เอาไว้ในช้อ…

มากาวา “หนูดมหากับระเบิด”ในกัมพูชา ถึงเวลาเกษียณ เป็นหนูตัวแรกที่ได้เหรียญกล้าหาญ

Loading

    เอเอฟพี รายงานว่า มากาวา หนูยักษ์แอฟริกันที่ได้รับการฝึกให้ “ดมหากับระเบิด” และถูกใช้งานให้ดมหาทุ่นระเบิดในพื้นที่ชนบทของกัมพูชามานาน 5 ปี กำลังจะได้รับการปลดเกษียณ ให้ไปพักผ่อนได้กินกล้วย และถั่วลิสงซึ่งเป็นของโปรด หลังจากทำงานหนักมาตลอด และโชว์ผลงานได้ยอดเยี่ยมกระทั่งเป็นหนูตัวแรกที่เคยได้รับรางวัลเหรียญทอง เชิดชูความกล้าหาญจากองค์กรการกุศลชื่อ PDSA ที่ตั้งมา 77 ปีและที่ผ่านมามีสัตว์หลายชนิดทั้ง สุนัข แมว หรือแม้แต่ นกพิราบ ที่เคยได้รางวัลจากองค์กรนี้     มากาวา เป็นหนูเพศผู้จากประเทศแทนซาเนีย ซึ่งได้รับการฝึกให้ดมหากับระเบิดโดยองค์กรการกุศลชื่อว่า APOPO ที่ช่วยฝีกมากาวา ให้ช่วยกำจัดทุ่นระเบิดจากพื้นที่ 225,000 ตารางเมตร หรือเท่ากับสนามฟุตบอล 42 สนาม ตลอดเวลา 5 ปีที่ทำหน้าที่นี้ โดยสามารถตรวจจับทุ่นระเบิดได้ 71 รายการ และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ยังไม่ระเบิด 38 รายการ “เขาเหนื่อยแล้ว สิ่งดีที่สุดคือให้เขาได้พัก ” ไมเคิล ฮีแมน ผู้จัดการโครงการของ APOPO ในกัมพูชาบอกกับเอเอฟพี…

เรียนรู้ที่จะอยู่กับเฟคนิวส์

Loading

  เฟคนิวส์ กับ สื่อดิจิตัล หรือสื่อโซเชียล สื่อออนไลน์ แล้วแต่จะเรียก ดูจะเป็นของคู่กัน ไม่ใช่ว่าสื่อยุคก่อนไม่มีเฟคนิวส์ จริงๆแล้วมีเช่นเดียวกัน แต่สื่อขณะนั้นเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ ที่ไม่รวดเร็ว กว้างไกล แบบสื่อดิจิตัล และสื่อพวกนี้มีจรรยาบรรณที่ยึดถือ “ เสรีภาพพร้อมความรับผิดชอบ” แต่โลกสมัยใหม่ที่คนสื่อสารผ่านสื่อดิจิตัล คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว กว้างขวาง และง่ายขึ้น ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงสื่อดิจิตัล พร้อมเสรีภาพในการแสดงออก แต่ไม่เคยพูดถึงความรับผิดชอบ ปัจจุบัน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กต่างก็มีโทรศัพท์มือถือที่ใช้ติดต่อถึงกันและรับข้อมูลข่าวสาร เฟคนิวส์จึงถูกใช้ผ่านสื่อนี้มากขึ้น   คำว่า “เฟค นิวส์” เราใช้เป็นคำรวมเรียกข่าวที่ไม่จริง ไม่ว่าจะเป็นข่าวปลอม ข่าวปล่อย ข่าวลวง ข่าวหลอก ข่าวลือ ฯลฯ สรุปแล้วคือข่าวที่ไม่จริงนั่นเอง หรือข่าวบิดเบือน หรือจริงบางส่วน เท็จบางส่วน คงไม่มีใครปล่อยข่าวเท็จทั้งหมดจนคนรู้ทัน คนที่ปล่อยเฟคนิวส์มีความมุ่งหมายที่จะทำให้คนเข้าใจผิดและกระทำการในสิ่งที่ตนต้องการ เช่น สร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง ก่อการจลาจล ต่อต้านรัฐบาล หลงด่ารัฐบาล หรือทำลายสถาบันหลักของชาติ ฯลฯ   สภาพสังคมไทยปัจจุบัน…

โรงแรมยูโรปา ในเบลฟาสต์ โรงแรมที่ถูกระเบิดมากสุดในยุโรป

Loading

  คอลัมน์ แกะรอยต่างแดน : โรงแรมยูโรปา ในเบลฟาสต์ โรงแรมที่ถูกระเบิดมากสุดในยุโรป ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โรงแรมยูโรปา ในกรุงเบลฟาสต์ เมืองหลวงของไอร์แลนด์เหนือ เป็นที่รองรับ “นักข่าว” มากกว่ารองรับ “นักท่องเที่ยว” อันเนื่องมาจาก เป็นโรงแรมที่เกิดระเบิดบ่อยครั้งที่สุดในยุโรป โดยถูกระเบิดมากถึง 33 ครั้ง จากฝีมือของกองทัพสาธารณรัฐไอแลนด์ หรือ ไออาร์เอ จนได้ชื่อว่าเป็นโรงแรมที่ถูกระเบิดโจมตีมากที่สุดในยุโรป   โดยโรงแรมยูโรปาแห่งนี้ มีทั้งตกเป็นเป้าโจมตี และที่หลบภัยของนักข่าว ในช่วงเหตุนองเลือดในไอร์แลนด์เหนือ เมื่อช่วงทศวรรษ 1970 , 1980 และ 1990 ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่โรงแรมนี้กลายเป็นเป้าหมายอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสื่อระดับโลก และผู้สื่อข่าว ที่มาคอยทำรายงานข่าวเรื่องความขัดแย้งรุนแรงในไอร์แลนด์เหนือ   โรงแรมยูโรปา ถือเป็นสัญลักษณ์ของสุขนิยมและความทันสมัยของกรุงเบลฟาสต์ ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ก่อนจะกลายเป็น “เป้าหมาย” ของการโจมตีของกลุ่มไออาร์เอ “อีกครั้ง” เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม สหภาพโปรเตสแตนท์ ที่ต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร กับกลุ่มสาธารณรัฐคาทอลิก ซึ่งเป็นกลุ่มน้อย…