3 มุมมองความท้าทาย ’เอไอ‘ บนจุดตัดด้านจริยธรรม และธรรมาภิบาล

Loading

  การบังคับใช้กฎหมายด้านเอไอเพื่อให้มีจริยธรรม และธรรมาภิบาลเป็นความท้าทายใหม่ที่เข้ามาในทุกอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลของภาครัฐว่าจะมีทิศทางอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านทุกมิติ   ภายในงานเสวนา: AI Ethic: Trust & Transparency จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ”   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากของการใช้เอไอคือ สังคมมีความเป็นห่วงมากเกินไป ว่าเป็นดาบสองคม แต่ไม่รู้จักว่าจะใช้งานทางบวกอย่างไร และระวังเรื่องทางลบอย่างไร ด้านบวกหากไม่ใช่ ก็เปรียบเสมือนดาบทื่อ กลายเป็นไม่นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ เลย   ส่วนเรื่องการออกกฎหมายนั้น เชื่อว่า เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และ เป็นเรื่องของการบังคับใช้มาสเตอร์แพลน ที่ย่อมต้องตามมากับพัฒนาการ การใช้เอไอนั่นคือ การใช้งานอย่างมีจริยธรรม และมีกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ควบคู่กับการพัฒนาคนให้ใช้งานอย่างมีจริยธรรม ต่อไปเมื่อมีการนำเอไอมาใช้ จะเชื่อได้อย่างไร ถ้าเอไอตอบคำถามผิด จะรู้หรือมีกลไกในการตรวจสอบอย่างไร เพราะการตรวจเอไอไม่ได้ง่ายเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทดสอบออกมาได้ว่าโปรแกรมนี้ถูกหรือไม่   “เอไอขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลายคำตอบที่ได้ จะดีที่สุดกับองค์กรของท่านหรือไม่ หรือดีในแง่ของจริยธรรมหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างที่กฎหมายกำลังขับเคลื่อน เราต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าจะมีการจำกัดดูแลกลไกของมันได้อย่างไร”…

แอป ThaiD เพิ่มสูติบัตร ทะเบียนสมรส และทะเบียนหย่า

Loading

กระทรวงมหาดไทย   เพิ่มสูติบัตร ทะเบียนสมรส และทะเบียนหย่า จากเดิมที่สามารถแสดงได้ 2 เอกสารคือ บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน โดยผู้ใช้บริการสามารถแสดงเอกสารดิจิทัลผ่านแอปแทนการใช้เอกสารตัวจริงได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในด้านเอกสารงานทะเบียนเพิ่มมากขึ้น   น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และ โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ล่าสุดแอป ThaiD ได้เพิ่มเติมการแสดงเอกสารดิจิทัลบนแอปพลิเคชัน ThaID อีก 3 รายการ ได้แก่ ทะเบียนสมรส ทะเบียนการหย่า สูติบัตร โดยผู้ใช้บริการสามารถแสดงเอกสารดิจิทัลนี้ผ่านแอปพลิเคชันที่ติดตั้งเครื่องมือสื่อสารเช่นโทรศัพท์มือถือแทนการเอกสารตัวจริงได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งการเพิ่มเติมนี้เป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องจากที่ช่วงต้นปี 67 ที่ผ่านมาได้มีการเพิ่มบริการ แจ้งย้ายทะเบียนบ้านและคัดรับรองเอกสารทางทะเบียน ได้แก่ แบบรับรองรายการบุคคล (ทร.14/1) แบบรับรองรายการประวัติบุคคล (ทร.12/2) และแบบรับรองการเกิด(สูติบัตร) (ทร.1/ก) บนแอปพลิเคชัน ThaID ด้วย   “กระทรวงมหาดไทยขอเชิญชวนให้ประชาชนใช้แอปพลิเคชัน ThaID เพราะระบบนี้จะให้ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างๆ แทนบัตรประชาชนตัวจริงได้ ในแอปฯ…

ทำความเข้าใจความเสี่ยง ‘SaaS Attack Surface’

Loading

เนื่องจากเจ้าของแอป SaaS ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในฝ่ายไอที การโจมตี SaaS Attack Surface จึงเป็นการเปิดกว้างให้อาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จากช่องว่างด้านความปลอดภัย จากการสำรวจพบว่าในปี 2023 จำนวนแอป SaaS โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 371 แอปต่อองค์กรและอัตราการละเมิดข้อมูลกำลังทำลายสถิติใหม่ในสหรัฐฯ รายงานว่าปี 2023 เป็นปีที่เลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์

Cyber Resilience ความท้าทายทางไซเบอร์ในยุคปัจจุบัน

Loading

จากเอกสารเผยแพร่ของ World Economic Forum เรื่อง Global Cybersecurity Outlook 2024 ซึ่งสำรวจความเห็นจากผู้นำองค์กรทั่วโลก ได้แสดงให้เห็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความท้าทายรอบด้าน อันเกิดจากความไม่มั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี

สเปนใช้หุ่นยนต์สุนัข Robot dog ลาดตระเวน หาคนทำผิดกฎจราจร

Loading

  สเปน ใช้ หุ่นยนต์สุนัข หรือ Robot dog ซึ่งทำงานด้วยระบบ AI ในการช่วยลาดตระเวน ในเมือง โดยมีจุดประสงค์ หาผู้กระผิดกฎจราจร ผู้ที่ละเมิดกฎทางเท้าอาทิใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนพื้นที่ห้ามใช้   โดยเมื่อก่อน หุ่นยนต์แบบนี้ ใช้การควบคุมทางไกล แต่ตอนนี้ มันสามารถควบคุมตัวของมันเอง ผ่านระบบ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ได้แล้ว   ทั้งนี้ คนที่ควบคุมเจ้าหุ่นยนต์นี้ ก็สามารถตรวจจับ วิเคราะห์ และประเมินสิ่งต่างๆ ว่าสิ่งใดเป็นอันตราย   สเปน เริ่มมีการใช้ หุ่นยนต์สุนัข หรือ Robot dog ซึ่งทำงานด้วยระบบ AI ในการช่วยลาดตระเวน ในเมือง โดยมีจุดประสงค์ หาผู้กระทำผิดกฎจราจร ผู้ที่ละเมิดกฎทางเท้าอาทิใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าบนพื้นที่ห้ามใช้     เทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว นับตั้งแต่ตื่นเช้าจนถึงเข้านอน , ไม่ว่าจะในช่วงเวลาไหน เทคโนโลยีก็มีบทบาทในชีวิตเสมอๆ ,…

ภาพวันแม่กับการใช้เทคโนโลยี

Loading

  การเผยแพร่ภาพแม่กับลูกเนื่องในโอกาสวันแม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ แทนที่จะสื่อถึงชาวโลกว่าพระองค์ทรงมีสุขภาพดีเป็นปกติแล้วและกำลังมีความสุขอยู่กับพระโอรสและพระธิดา กลับสร้างปัญหาสาหัสแบบคาดไม่ถึง   กล่าวคือ ไม่นานหลังจากภาพนั้นกระจายออกไป สำนักข่าวใหญ่หลายแห่งแถลงว่า ตนได้บอกให้ผู้รับภาพงดเผยแพร่ต่อเพราะสงสัยว่าภาพนั้นได้รับการตกแต่งด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยส่งผลให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงเต็มร้อย   ต่อมา เจ้าหญิงทรงรับว่าพระองค์ทรงตกแต่งภาพนั้นจริงและทรงขออภัยในความไม่เดียงสาของความเป็นช่างภาพมือใหม่ซึ่งทดลองใช้เทคโนโลยีที่ไม่ค่อยคุ้นเคย   เหตุการณ์นั้นบานปลายเป็นประเด็นใหญ่ภายในเวลาอันสั้น เนื่องจากมีผู้ชี้ว่าทางในวังของอังกฤษได้ใช้วิธีสร้างภาพให้ดูดีเกินความเป็นจริงมานาน และฝ่ายต่อต้านการมีกษัตริย์ได้พยายามขุดคุ้ยเรื่องในแนวนี้มาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง   ในบางกรณีถึงกับใช้เทคโนโลยีใหม่แอบถ่ายภาพ หรือดักฟังการสนทนาของราชวงศ์ส่งผลให้เรื่องไปถึงโรงศาล การเผยแพร่ภาพดังกล่าวจึงอาจเป็นน้ำผึ้งอีกหนึ่งหยดที่ส่งผลให้เกิดจุดพลิกผันอันสำคัญยิ่งในราชวงศ์อังกฤษได้   ผู้ดูโดยทั่วไปคงไม่รู้ว่าภาพดังกล่าวนั้นได้รับการตกแต่ง แต่สำนักข่าวใหญ่ ๆ มีทั้งเทคโนโลยีร่วมสมัยและความเชี่ยวชาญในการดูภาพจึงรู้ เมื่อรู้แล้วก็มิได้อำไว้เพราะเกรงใจราชวงศ์ หากแถลงออกมาเนื่องจากยึดจรรยาบรรณในด้านวิชาชีพของตนสูงกว่าความเกรงใจในตัวบุคคล หรือสถานะทางสังคมของเขารวมทั้งราชวงศ์   เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นประเด็นใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกครั้ง กล่าวคือ เทคโนโลยีมีประโยชน์มหาศาล แต่มีโทษ หรือคำสาปแฝงมาด้วยเสมอ   โทษอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความมักง่าย และความตั้งใจใช้เทคโนโลยีโดยขาดจรรยาบรรณ หรือเจตนาร้าย   ภาพ : เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงขอโทษที่ตกแต่งภาพทางการจากสำนักพระราชวังเคนซิงตัน จนสำนักข่าวดังหลายแห่งลบออกจากระบบ   ด้านประโยชน์นั้นเราคุ้นเคยกับมันในชีวิตประจำวันจนแทบไม่นึกถึง ผู้กำลังอ่านบทความนี้คงมีเครื่องมือทำด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยและอาจใช้มันอ่านอยู่ด้วยรวมทั้งโทรศัพท์อัจฉริยะ คอมพิวเตอร์จำพวกพกพาและคอมพิวเตอร์จำพวกตั้งโต๊ะ   ส่วนผู้อ่านการพิมพ์บนหน้ากระดาษก็อาจมิได้นึกถึงว่ากระดาษและตัวหนังสือที่ปรากฏต่อหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างด้วยกัน   ส่วนด้านโทษก็มีมาก…