วิธีใส่ลายเซ็นใน google docs แบบลงลายมือชื่อตัวเอง

Loading

วิธีใส่ลายเซ็นใน google docs แบบลงลายมือชื่อตัวเอง เคยทำหรือไม่ หลายท่านอาจเคยเซ็นชื่อ PDF ลงบน Microsoft Word หรือ ไฟล์ PDF แล้ว แต่สำหรับ Google Docs ก็สามารถทำได้เช่นกันด้วยขั้นตอนง่ายๆ พร้อมเทคนิคการลงชื่อด้วยดังนี้   วิธีใส่ลายเซ็นใน google docs โดยเซ็นชื่อด้วยลายมือชื่อตัวเอง     เข้าเว็บไซต์ docs.google.com บนเว็บเบราว์เซอร์ จากนั้นเปิดเอกสารใหม่ของ Google Docs แล้วทำการคลิกเมนู แทรก >> เลือก ภาพวาด >> เลือก + ใหม่ ดังรูป     จะเปิดหน้าต่างภาพวาดขึ้นมา ให้คลิกที่รูปเส้น ดังรูป แล้วเลือกที่ลายเส้น     คุณสามารถใส่ลายเซ็นด้วยการคลิกเม้าส์แทนการลงปากกา แต่ถ้าอย่างง่ายที่สุดคือควรใช้หน้าจอสัมผัส หรือใช้ iPad หรือแท็บเล็ต…

ปืนแสงเลเซอร์พลังงานสูง AHEL ถูกส่งมอบให้กองทัพอากาศสหรัฐ

Loading

  ปืนแสงเลเซอร์พลังงานสูง AHEL โจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน อากาศและทางทะเล ด้วยความเร็วแสง ยืดหยุ่น แม่นยำและคล่องตัวสูง   บริษัท Lockheed Martin ผู้นำด้านเทคโนโลยีการบิน อวกาศและการทหารส่งมอบปืนยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูงรุ่นใหม่ล่าสุด AHEL หรือ Airborne High Energy Laser ให้กับกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาสำหรับติดตั้งบนเครื่องบินขนส่ง AC-130J ที่ถูกดัดแปลงให้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาดต่าง ๆ รวมไปถึงปืนยิงแสงเลเซอร์ อาวุธรูปแบบใหม่ล่าสุดทางด้านการทหารที่กองทัพประเทศมหาอำนาจหลายประเทศกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   การวิจัยพัฒนาปืนยิงแสงเลเซอร์ AHEL หรือ Airborne High Energy Laser เริ่มต้นเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน จากการค้นคว้าเกี่ยวกับการควบคุมและปล่อยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน อากาศและทางทะเล ด้วยความเร็วแสง มีความยืดหยุ่นแม่นยำคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนตำแหน่งและควบคุมระดับความเสียหายของเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปืนแสงเลเซอร์พลังงานสูงไม่เกิดเสียงดังขณะทำการยิง รวมไปถึงการใช้ต้นทุนในการโจมตีต่อครั้งที่ต่ำกว่าการใช้อาวุธจรวดเคมีและหัวรบดินระเบิด   การส่งมอบอาวุธปืนยิงแสงเลเซอร์ AHEL ให้กับกองทัพอากาศสหรัฐมีขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยขั้นตอนต่อไปเป็นการทดสอบยิงภาคพื้นดินเพื่อทำลายเป้าหมายและทดสอบติดตั้งเข้ากับเครื่องบินขนส่ง AC-130J Ghostrider ในลำดับต่อไป สำหรับเครื่องบินขนส่ง AC-130J…

สังคมโลก : สิ่งตอบแทน

Loading

  ผลสำรวจความคิดเห็นสาธารณะล่าสุด ในสหรัฐอเมริกา พบว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ที่ตอบคำถาม ต้องการเห็นชาวอัฟกันที่เคยทำงานช่วยเหลือทหารกองทัพสหรัฐ และพันธมิตรนาโต ในสงครามอัฟกานิสถาน ได้รับอนุญาตให้ตั้งรกราก เริ่มชีวิตใหม่ในดินแดนอเมริกา มีเพียง 9% ของชาวอเมริกัน ที่คัดค้าน โพลสำรวจโดยสำนักข่าวเอพี-ศูนย์วิจัยกิจการสาธารณะ เอ็นโออาร์ซี พบว่า 72% ของชาวอเมริกัน ต้องการให้รัฐบาลสหรัฐอนุมัติสถานะผู้ลี้ภัย แก่ชาวอัฟกันที่เคยเป็นล่ามแปลภาษา หรือ ทำงานอื่น ๆ ช่วยเหลือทหารสหรัฐในอัฟกานิสถาน รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว หากกลุ่มคนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบด้านความมั่นคง     ส่วนผลสำรวจคณะเจ้าหน้าที่สหรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ อดีตทหารผ่านศึกสงครามอัฟกานิสถาน และทีมงานอพยพชาวอัฟกันออกนอกประเทศ หลังกลุ่มตาลีบันบุกยึดกรุงคาบูล เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มคนเหล่านี้มองว่าเป็น “หน้าที่” และ “ความจำเป็น” ของทางการสหรัฐ ในการช่วยเหลือชาวอัฟกัน ที่เคยช่วยเหลือทหารสหรัฐ ในช่วง 20 ปีของการทำสงครามกับกลุ่มตาลีบันและกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ รวมถึง กลุ่มไอเอส ชาวอัฟกันเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อชีวิตสูงมาก เนื่องจากแต่ละคนถูกกลุ่มตาลีบันหมายหัวไว้หมด ในช่วงก่อนที่จะกลับมายึดครองอัฟกานิสถานเกือบทั้งประเทศ  …

ไม่ได้ไปต่อ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไม่ผ่านกฎหมายความเป็นส่วนตัว

Loading

  เทคโนโลยีการจดจำใบหน้านั้นมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ ในประเทศจีนได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การบังคับใช้กฎหมาย ใครไม่ข้ามทางม้าลาย ใบสั่งส่งถึงบ้าน หรือบ้วนน้ำลายหรือทิ้งขยะในที่สาธารณะก็ต้องจ่ายเช่นกัน พร้อมกันนี้ ในแง่ของการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล จีนใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อจ่ายค่าเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ทำให้คนจีนไม่ต้องควักเงิน บัตร หรืออะไรต่างออกมาจ่ายเงิน เพียงแค่เดินผ่านไประบบจะทำการหักเงินในบัญชีอัตโนมัติ ทั้งนี้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากำลังได้รับความนิยมทั่วโลก แม้จะมีการต่อต้านจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนและรัฐบาลทั่วโลก แต่บริษัทใหญ่ ๆ อย่างเช่น Amazon และ Clearview ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและพยายามขายเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย แต่เรื่องนี้กำลังถูกยุติในฝั่งยุโรป โดยรัฐสภายุโรป (EP) MEPs ได้เรียกร้องอย่างเป็นทางการให้แบนการใช้เทคโนโลยีการจดใบหน้าในพื้นที่สาธารณะ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน นอกจากนี้ MEPs รู้สึกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเลือกปฏิบัติระหว่างชนกลุ่มน้อย ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และสมาของกลุ่ม LGBT เพราะมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนอัลกอริทึ่มของระบบ อาจใส่อคติลงไป ทำให้ Ai อาจมีอคติเช่นกันครับ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีปัญหาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หากเรื่องนี้ถูกบังคับใช้เมื่อใด ประเทศที่อยู่สมาชิกประเทศยุโรปจะต้องไม่มีการใช้ Facial Recognition ในที่สาธารณะทั้งหมด รวมถึงประเทศที่มีการใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น…

‘สกมช.’ จับมือ ‘เทรนด์ไมโคร’ ปั้นนักรบไซเบอร์อุดช่องโหว่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ

Loading

  เมื่อมีการใช้งานออนไลน์มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่ายผ่านอุปกรณ์ของตนเอง จึงกลายเป็นการเพิ่มโอกาสให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือ สร้างภัยหลอกลวงต่างๆ ถึงผู้คนได้ง่าย ดังนั้นคนทุกกลุ่มจึงจำเป็นต้องมีความรู้เท่าทันภัยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย มาตรการแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทว่า ปัญหาที่สำนักงานและประเทศไทยกำลังเผชิญคือบุคลากรที่จะเข้ามารับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์นั้นไม่เพียงพอ   ***ไทยขาดบุคลากรป้องกันภัยไซเบอร์หลักแสนคน ‘พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์’ เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เหตุผลที่บุคลากรไซเบอร์ขาดแคลนเป็นเพราะบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้เทคนิครอบด้าน ดังนั้น กว่าจะสร้างบุคคลากรที่ทำงานด้านนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้เวลานานและต้องมีการวางแผนระยะยาวในการสร้างบุคลากรเพื่อมาสนับสนุนการทำงานด้านนี้ของประเทศได้ ขณะที่ สกมช.เป็นสำนักงานที่มีอัตราโครงสร้างพนักงาน 480 คน แต่เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณและการสนับสนุนด้านบุคลากร ทำให้ในปัจจุบันบุคลากรของ สกมช.มีเพียง 40 คนโดยประมาณ บวกกับลูกจ้างอีกประมาณ 20 คน ทำให้สำนักงานประสบปัญหาด้านการดำเนินงาน สกมช.จึงพยายามแสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรต่างๆ ที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาบุคลากรในทุกมิติ อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางไซเบอร์มีการขยายตัวมากขึ้นในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลให้การใช้งานระบบดิจิทัลมากขึ้น ทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีมองเห็นโอกาสในการคุกคามความปลอดภัยตามช่องทางเหล่านี้กันมากขึ้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ด้านซิเคียวริตี หรือความมั่นคงปลอดภัยตามหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ กันอย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ต้องเร่งเสริมสร้างความรู้และยกระดับทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยเป็นสำคัญ และมีแนวทางและกระบวนการในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเท่าทันต่อเหตุการณ์ สำนักงานจึงได้มีการหารือกับบริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับโลก…

ไมโครซอฟท์รายงานภัยไซเบอร์ปี 2021 การโจมตีส่วนมากมาจากรัสเซีย, Ransomware โจมตีกลุ่มค้าปลีกหนักสุด

Loading

  ไมโครซอฟท์ออกรายงานการป้องกันภัยไซเบอร์ประจำปี 2021 ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ช่วงกลางปี 2020 จนถึงกลางปี 2021 ที่ผ่านมา แสดงถึงระดับภัยที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจของกลุ่มคนร้ายในโลกไซเบอร์มีระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในตัวเอง   การโจมตีรูปแบบต่างๆ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย เช่น ค่าเจาะระบบ 250 ดอลลาร์ (8,000 บาท), ค่าใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ 66 ดอลลาร์ (2,000 บาท), ค่ารหัสผ่านที่ถูกเจาะ 0.97 ดอลลาร์ (30 บาท) ต่อ 1,000 รายการ, ค่าส่งเมลหลอกลวงแบบเจาะจง (spearphishing) ครั้งละ 100 – 1,000 ดอลลาร์ (3,400 – 34,000 บาท) รายงานพบว่ากลุ่มแฮกเกอร์ระดับรัฐ (nation state actor) มาจากฝั่งรัสเซียสูงสุด โดยนับจากปริมาณการโจมตี รองลงมาได้แก่ เกาหลีเหนือ, อิหร่าน, จีน, เกาหลีใต้, ตุรกี…