ผู้ใช้ chrome เปลี่ยนไปใช้ duckduckgo หลัง Chrome เก็บข้อมูลส่วนตัวเพียบ

Loading

ผู้ใช้ Chrome เปลี่ยนไปใช้ duckduckgo แล้ว หลังทราบข้อมูลจากทาง App Store บน iOS14 ที่ออกแบบมาใหม่และเริ่มใช้ในช่วงมิถุนายนปี 2020 โดยแต่ละแอปบน App Store ต้องแสดงข้อมูลความเป็นส่วนตัวแบบละเอียด เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ iOS ได้รับความโปร่งใสและเข้าใจมากขึ้นว่าแอพอาจเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้างเกี่ยวกับเรา ผู้ใช้ chrome เปลี่ยนไปใช้ duckduckgo หลังผวา Chrome แอบสอดแนมเก็บข้อมูลเพียบ   หากเปิดข้อมูลแอป chrome บน App Store ปรากฎว่าเว็บเบราว์เซอร์ chrome ได้แอบเก็บข้อมูลไว้เยอะมากเมื่อเทียบกับเว็บเบราว์เซอร์อื่นๆ ตามดังภาพ นอกจากนี้หากลองดูส่วนอื่นของแอป Google นั้นก็มีการเข้าถึงและเก็บข้อมูลผู้ใช้หลายอย่างเช่นกัน เชื่อว่าผู้ใช้ที่ไม่อยากให้ Google แอบเก็บข้อมูลส่วนตัวนั้นไว้คงมีความกังวลไม่น้อย     ขณะที่ฝั่ง duckduckgo browser ซึ่งได้จัดทำเว็บเบราว์เซอร์นั้นกลับไม่มีส่วนไหนที่จะเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้เลย     ดังนั้นหากต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่อยากให้ Google แอบสอดแนมตามเราละก็ลองใช้เว็บเบราว์เซอร์และเครื่องมือค้นหาจาก duckduckgo…

กรรมของศาลากลางจังหวัด! คนทำลายชาติ คนรักชาติ ต่างก็มุ่งเผาศาลากลางจังหวัด!!

Loading

  ศาลากลางจังหวัด ก็คือศูนย์บัญชาการปกครองของรัฐในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งก็เป็นสถานที่ไม่น่าจะเป็นพิษภัยสร้างความเดือดร้อนให้ใคร แต่ที่ผ่านมา ศาลากลางจังหวัดกลับเป็นที่ถูกวางระเบิดและวางเพลิงเผาจนวายวอดไปหลายต่อหลายครั้ง และคนเผาก็มีทั้งฝ่ายคนทำลายชาติและคนรักชาติ อย่างเช่น   เมื่อเช้าวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๕ เวลา ๐๘.๔๕ น.ขณะที่ประชาชนเริ่มมาติดต่อกับทางราชการที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ได้เกิดระเบิดขึ้นเสียงดังฟ้าถล่มไปทั้งเมือง เศษอิฐเศษปูนของอาคารตึก ๒ ชั้นของศาลากลางปลิ่วว่อน จากนั้นก็เกิดไฟไหม้ขึ้นท่วมอาคารด้านปีกซ้าย ซึ่งชั้นบนเป็นห้องทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าฯ และปลัดจังหวัด ส่วนชั้นล่างเป็นสำนักงานอัยการจังหวัดและประชาสงเคราะห์จังหวัด มีเสียงผู้คนที่ได้รับบาดเจ็บร้องกันโอดโอย   นายไสว ศิริมงคล ผู้ราชการจังหวัด ซึ่งมาทำงานก่อนเวลา ๘.๓๐ น.ทุกวันไม่เคยพลาด แต่ในวันนั้นนายอำเภอเมืองไปขอปรึกษาข้อราชการที่จวน จึงทำให้ออกมาช้า พอรถผู้ว่าเลี้ยวเข้าประตูศาลากลางเสียงระเบิดก็ดังขึ้น จึงรอดตายหวุดหวิด ส่วนนายเฉลิม พรหมเลิศ รองผู้ว่าฯ ซึ่งต่อมามีฉายาว่า “ป๋าเหลิม” ก็ถูก พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ รมต.มหาดไทย เรียกไปสัมมนาที่กรุงเทพฯ นายสมพงษ์ ศรียะพันธ์ ปลัดจังหวัด ผู้เป็นมือปราบ ผกค.ก็ป่วย นอนอยู่ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด คนที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายจึงรอดหมดทุกคน มี…

ดีอีเอส เร่งเครื่อง 3 งานหลัก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ

Loading

  กระทรวงดิจิทัลฯ เร่งเครื่อง 3 งานหลักเตรียมรับการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เต็มรูปแบบกลางปีนี้ ครอบคลุม การจัดทำกฎหมายลำดับรอง จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และวางกรอบแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มุ่งคุ้มครองเจ้าของข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ แนะประชาชนควรรู้ “สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งตามกฎหมายนี้กำหนดไว้ 8 เรื่อง นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) อยู่ระหว่างเร่งสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เต็มรูปแบบ ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยกำลังจัดทำ 3 เรื่อง ได้แก่ กฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมมูลฯ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ทั้งนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลฯ ได้กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ 8 เรื่อง คือ…

FBI เผยปี 2020 มีความเสียหายจากคดีทางไซเบอร์กว่า 4,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

Loading

  FBI ได้ออกมาเปิดเผยรายงานของตนเกี่ยวกับคดีทางไซเบอร์ในปี 2020 ปรากฏว่ามูลค่าความเสียหายสูงถึง 4,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งมากกว่าปี 2019 ถึง 700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ   สถิติที่น่าสนใจคือ ปี 2020 FBI ได้รับการร้องเรียนถึง 467,000 คดี ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปี 2019 เกือบเท่าตัว (467,361 กรณี) ทีมงาน FBI ได้ช่วยผู้เสียหายได้เงินคืนจากธนาคารสำเร็จกว่า 82% และสามารถให้ธนาคารล็อกเงินต้องสงสัยได้กว่า 380 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ คดีความทั้งหมดแจกแจงได้ดังนี้ 1.) 240,000 คดีความเป็นประเภท Phishing, Vishing และ Smishing 2.) 108,000 เป็นกรณีของการหลอกซื้อ/หลอกขายสินค้า 3.) ข่มขู่จำนวน 76,000 คดี 4. ข้อมูลรั่วไหล 45,000 คดี 5.) ขโมยตัวตน 43,000 คดี…

ชาวมะกันเชื้อสายเอเชียแจ้งเหตุจากความเกลียดชังเกือบ 3,800 ครั้งช่วงโควิด

Loading

  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า องค์กรยุติความเกลียดชังต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก (AAPI) ได้เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 2563 จนถึง 28 ก.พ. 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางองค์กรได้รับแจ้งเหตุที่เกิดจากความเกลียดชังเกือบ 3,800 ครั้ง รายงานระบุว่า ทาง AAPI ได้รับการแจ้งเหตุเหยียดเชื้อชาติที่มุ่งเป้าที่ชาวเอเชียรวม 3,795 ครั้ง ตั้งแต่การคุกคามด้วยวาจา แสดงความรังเกียจ ทำร้ายร่างกาย การคุกคามทางออนไลน์ ตลอดจนการละเมิดสิทธิพลเมือง เหตุการณ์ที่ได้รับแจ้งมากที่สุดได้แก่ การคุกคามด้วยวาจา (68.1%) การแสดงความรังเกียจ (20.5%) และการทำร้ายร่างกาย (11.1%) ตามลำดับ จำนวนผู้แจ้งเหตุเป็นผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย 2.3 เท่า เป็นชาวจีน 42.2% ตามด้วยชาวเกาหลี 14.8% และชาวเวียดนาม 8.5% รายงานระบุว่าเหตุการณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นในสถานที่ทางธุรกิจ (35.4%) บนท้องถนน (25.3%) และสวนสาธารณะ (9.8%) ตามลำดับ และมีจำนวนเหตุการณ์ทางออนไลน์คิดเป็น 10.8% จากเหตุการณ์ทั้งหมด…

เมื่ออินเดียไม่ง้อบิ๊กเทค

Loading

  ในฐานะประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทุกย่างก้าวของอินเดียย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงวงการเทคด้วย หลังจากปะทะกับจีนจนกลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ส่งผลให้เกิดการแอนตี้สินค้าจีนรวมทั้งการแบนแอปยอดนิยมอย่าง TikTok ที่มีผู้ใช้บริการในอินเดียกว่า 200 ล้านคนมาแล้วเมื่อกลางปีก่อน ล่าสุดอินเดียก็หันมาลงดาบกับบิ๊กเทคระดับโลก อย่าง Twitter Facebook YouTube WhatsApp ตลอดจนโซเชียลมีเดียต่างประเทศอื่น ๆ ด้วยการออกกฎเหล็กให้เจ้าของแพลตฟอร์มต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นใหม่ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และเจ้าหน้าที่ประสานงานกับภาครัฐ (ที่ต้องสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง) นอกจากนี้ ยังกำหนดให้บริษัทต้องเผยแพร่รายงานประจำเดือนด้านการปฏิบัติการกฎหมาย รวมทั้งแจกแจงรายละเอียดว่าแต่ละเดือนได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งหมดกี่เคส และดำเนินการแก้ไขอย่างไรบ้าง โดยให้เวลา 3 เดือนในการเตรียมตัว ชนวนที่ทำให้รัฐบาลของนายนเรนทรา โมดี ตัดสินใจรัวออกมาตรการคุมเข้มโซเชียลมีเดียจากต่างประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดจากความไม่พอใจที่ทวิตเตอร์แข็งขืนไม่ยอมแบนผู้ใช้งานบางบัญชีโดยเฉพาะบัญชีของสื่อมวลชน นักกิจกรรม และนักการเมือง ที่รัฐมองว่าอยู่เบื้องหลังการปั่นแฮชแท็กโจมตีร่างกฎหมายเกษตรฉบับใหม่ และสุมไฟให้การชุมนุมของเกษตรกรหลายแสนคนที่รวมตัวกันประท้วงร่างกฎหมายดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็น “เท็จ” และปราศจาก “หลักฐาน” แล้ว กฎต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีเป้าหมายที่จะเข้ามาควบคุม “ศีลธรรม” อันดีของสังคมด้วยการสั่งห้ามแพลตฟอร์มเผยแพร่ภาพโป๊เปลือยทุกชนิด ตลอดจนภาพที่ส่อให้ไปในเรื่องเพศและภาพล้อเลียนบุคคลต่าง…