19 ปี หลังวินาศกรรม 9/11: อัล-ไคดายังคงเป็นภัยคุกคาม

Loading

ที่มาภาพ: https://www.history.com/topics/21st-century/9-11-timeline?li_source=LI&li_medium=m2m-rcw-history Written by Kim 19 ปี หลังการก่อวินาศกรรม 9/11 อัล-ไคดาได้วิวัฒนาการไปจากเดิมอย่างมาก แม้การวางแผนโจมตีในประเทศตะวันตกลดลง แต่ยังคงสามารถทำสงคราม (กลางเมือง) ยืดเยื้อและก่อความไม่สงบในรัฐที่อ่อนแอ กลุ่มก่อการร้ายที่ดำเนินงานแบบเดียวกัน (Franchise groups) และพันธมิตรในเยเมน ซีเรีย โซมาเลียและที่อื่น ๆ อาจมีความแตกต่าง แต่อัล-ไคดายังคงยืดหยุ่นและมุ่งมั่นในการญิฮาดระดับโลก ด้วยการรุกคืบเข้าหาประชาชนระดับรากหญ้าในท้องถิ่น โดยปล่อยให้รัฐอิสลาม (IS) ทนทุกข์กับความพยายามต่อต้านการก่อการร้ายของตะวันตก อย่างไรก็ตาม  การดำเนินนโยบายแข่งขันเพื่อครองความเป็นเจ้าโลก (hegemony) ของสหรัฐฯ จะต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังโดยไม่ละเลยการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายในรัฐที่อ่อนแอและพื้นที่ที่ไร้การปกครอง[1]           เกือบสองทศวรรษหลังการโจมตีสหรัฐฯเมื่อ 11 กันยายน 2001 อัล-ไคดาได้วิวัฒนาการจากกลุ่มก่อการร้ายที่นำโดยโอซามา บินลาดิน มานำโดยอัยมาน อัลซาวาฮิรี ผู้นำอันดับสอง ขณะที่ สหรัฐฯโดย Mike Pompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวเมื่อมีนาคม 2020 ว่า “อัล-ไคดาเป็นเพียงเงาของตัวตนในอดีต” แม้ผู้นำหลายคนถูกสังหารหรือถูกจับกุม แต่ยังคงเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และยืดหยุ่นรวมทั้งเป็นกรณีศึกษาการก่อการร้าย อัล-ไคดาโอ้อวดว่ามีสมาชิก 30,000 – 40,000 คนทั่วโลกและมีส่วนร่วมในความขัดแย้งตั้งแต่เขต Levant[2] ไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้           กลุ่มก่อการร้ายที่ดำเนินการแบบเดียวกันเช่น อัล-ไคดาในคาบสมุทรอาหรับ (AQAP) ในเยเมน Hurras al-Din ในซีเรียและกลุ่มพันธมิตรในแอฟริกาตะวันตก โซมาเลีย ฟิลิปปินส์และอนุทวีปอินเดีย…

TikTok คงจะต้องลาก่อน: เกี่ยวอะไรกับความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

TikTok to launch court action over Donald Trump’s crackdown ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/technology/2020/aug/23/tiktok-to-launch-court-action-over-donald-trumps-crackdown “สังคมที่เปิดกว้างจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุดในอนาคต ประเทศที่เศรษฐกิจเปิดกว้างให้ความสำคัญกับผู้หญิงและสร้างพื้นที่ให้ผู้ประกอบการคือ ประเทศที่จะเติบโตรวดเร็วที่สุด….ขอย้ำอีกครั้งว่าอย่าเป็นพวกบ้าอำนาจในศตวรรษที่ 21 เพราะความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตขึ้นอยู่กับการมอบพลังให้ผู้คน Alec J. Ross” Written by Kim ข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯกับจีนขยายตัวไปสู่สังคมออนไลน์ (social media) เมื่อประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ออกคำสั่งฝ่ายบริหารโดยมุ่งเป้าที่แอปยอดนิยม TikTok[1] จังหวะเวลาของคำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องทางการเมืองและการปกป้องทางการค้า แต่ TikTok ก็เหมือนบริษัทสื่อสังคมอื่น ๆ ที่เก็บเกี่ยวข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ แม้ข้ออ้างของรัฐบาลทรัมป์ไม่ตรงประเด็น แต่ TikTok ก็ไม่น่าจะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การแพร่ขยายข้อมูลบิดเบือน (disinformation) และความเป็นไปได้ที่จีนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจกลั่นกรองเนื้อหาในแอป TikTok เป็นประเด็นที่น่ากังวลมากที่สุด[2]           เมื่อต้นสิงหาคม 2020 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหาร เพื่อควบคุม TikTok สื่อสังคมออนไลน์ที่กำลังเติบโตเจ้าของคือ ByteDance ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีน ซึ่งให้บริการแอปพลิเคชันทำคลิปวิดีโอสั้น ขณะที่คำสั่งของทรัมป์อ้างความชอบธรรมด้านความมั่นคงในการจัดการกับ TikTok แต่ก็มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงว่าแอปพลิเคชันดังกล่าวมีอันตรายที่ชัดเจนต่อผลประโยชน์แห่งชาติด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ คำสั่งดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ภายใน 45 วันนับจาก 6 สิงหาคม 2020 นอกจากห้ามแบ่งปันแอปพลิเคชันวิดิโอบนมือถือ ยังห้ามการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในสหรัฐฯและ TikTok ด้วย การห้าม TikTok เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ Microsoft กำลังเจรจาเพื่อซื้อ TikTok และด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะได้ประโยชน์ที่สำคัญในการเจรจาต่อรอง การห้ามใช้ TikTok ในสหรัฐฯซึ่งมีการดาวน์โหลดมากกว่า 175 ล้านครั้งจะส่งผลกระทบอย่างเป็นสำคัญต่อรายได้ของ ByteDance เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของ TikTok มาจากการโฆษณา สงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ – จีนเกิดขึ้นไล่เลี่ยกับที่ Facebook ปั่นกระแส Instagram Reels แอปพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้สร้างวิดีโอ “ความบันเทิงสั้น” เมื่อ 5…

การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: แยกแยะ “สัญญาณ” และ “สิ่งรบกวน” (ตอนที่ 3)

Loading

  ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/2012/10/24/books/nate-silvers-signal-and-the-noise-examines-predictions.html Written by Kim  ข้อเสนอประการที่สาม หนึ่งในความสำคัญลำดับต้น ๆ คือ การมุ่งเน้นความพยายามในการรวบรวมข่าวกรอง (intelligence collection effort) ควรได้รับการเน้นย้ำครั้งแล้วครั้งเล่า หากช่องว่างระหว่างการวิเคราะห์บนพื้นฐานความน่าเชื่อถือ ทันสมัย แม่นยำและการประมาณการบนพื้นฐานของการคาดคะเน (speculation) ด้วยข้อมูลที่อาจไม่น่าเชื่อถือน้อยลงเท่าใด ความเป็นไปได้ของการคาดการณ์จะมีความแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าที่ไหนก็ตามที่เป็นไปได้ควรวางภาระไว้ที่ผู้รวบรวม (บุคคลากรที่ทำงานในระบบรวบรวม) ซึ่งจัดเตรียมข้อมูลดิบที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เพื่อปิดช่องว่าง           แน่นอนว่ามีอันตรายแอบแฝงจำนวนมาก ระบบ (ปฏิบัติการ) รวบรวมมีความสามารถเพียงเล็กน้อยในการจำแนกความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูลที่ตรงประเด็นและไม่ตรงประเด็น (relevant and not-relevant data)” ระหว่าง “เสียงรบกวน (noise)” และ “สัญญาณ (signal)”[1] การกรองข้อมูลที่เข้ามายังคงเป็นความรับผิดชอบนักวิเคราะห์ข่าวกรองเสมอ ภาพแคปจากไทยรัฐออนไลน์ ตัวอย่างการวิเคราะห์ข่าวกรองหรือการประมาณการข่าวกรองด้วยการแยกแยะ “สัญญาณ” และ “สิ่งรบกวน” ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในไทย คือ พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ฉบับออนไลน์) เมื่อ 3 กันยายน 2563 เรื่อง จับสัญญาณ “ปฏิวัติ” ปฏิบัติการ “ลับ” ทบ.เคลื่อนพลฝึกซ้อม-พร้อมรบ เพื่อเรียความสนใจของ “ผู้บริโภค” ข่าวสาร[2] แต่ในฐานะนักวิเคราะห์มีความจำเป็นที่จะต้องแยกแยะสองสิ่งดังกล่าวซึ่งมีผลต่อการประมาณการที่ถูกต้อง แม่นยำ          ประการที่สี่หนทางปฏิบัติสุดท้าย ควรทำให้ระบบการรวบรวมข่าวกรองและนักวิเคราะห์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด (close ties…

การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: เด็กชายจากโคเปนเฮเกน (ตอนที่ 2)

Loading

ที่มาภาพ: captured at: https://www.youtube.com/watch?v=GBKXTx45yGE Written by Kim บทความตอนที่แล้วได้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่าง “หมอดู” กับ “นักวิเคราะห์ข่าวกรอง” ในตอนนี้เราจะอภิปรายถึงการดำเนินหนทางปฏิบัติสำคัญ 4 แนวทาง เพื่อตอบสนองความต้องการที่จำเป็นของประชาคมข่าวกรองและผู้ที่พึ่งพาอาศัยการประมาณการให้ดียิ่งขึ้น ประการแรก ควรมีการจัดตั้งองค์การข่าวกรองที่ครอบคลุมเบ็ดเสร็จ (Comprehensive intelligence organizations) เพื่อบูรณาการการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการวิเคราะห์ ระบบแยกส่วนโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบเฉพาะเรื่อง เช่น หน่วยงานหนึ่งจัดเตรียมประเด็นทางการเมืองเท่านั้น อีกหน่วยเตรียมการทางทหารและยังมีหน่วยวิเคราะห์ทางสังคม – เศรษฐกิจ จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการสังเคราะห์รายงานอย่างเป็นอิสระ ผลผลิตของระบบที่แยกจากกันเป็นการรวบรวมรายงานเป็นตอน ๆ อาจไม่มีการวางแผนหรือมุ่งเน้นแง่มุมด้านใดด้านหนึ่งมากเกินจริง[1] สถานการณ์อันตรายไม่แพ้กันที่ดำรงอยู่ เมื่อไม่มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่สังเคราะห์รายงานวิเคราะห์อิสระของสำนักงานต่าง ๆ ให้ดีเพียงฉบับเดียว แต่ละหน่วยงานต่างรายงานการคาดทำนายของตนไปยังผู้ตัดสินใจโดยตรง ปัญหาคือ อุปมาเหมือนคนป่วยไข้ไม่สบายแยกปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น ประสาทวิทยา หัวใจ กระดูก แพทย์แต่ละคนก็ตรวจรักษาและวินิจฉัยซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดความงงงวย ในการตัดสินใจเลือกการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา ประการที่สอง คัดเลือกนักวิเคราะห์ข่าวกรองทุกระดับด้วยความรอบคอบ (very carefully selected at all echelon) เนื่องจากองค์ประกอบของความไม่แน่นอนสูง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการใช้นักวิเคราะห์ที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและเห็นคุณค่าความเป็นไปได้ที่มีนัยสำคัญของพัฒนาการใหม่ นักวิเคราะห์ข่าวกรองจะต้องสามารถเปลี่ยนการวิเคราะห์ครั้งก่อนอย่างรวดเร็วเมื่อข้อมูลบ่งชี้ถึงความจำเป็น หากปราศจากคุณภาพที่จำเป็นของความยืดหยุ่นในการวิเคราะห์ ชะตากรรมของนักวิเคราะห์จะถูกชี้ด้วยความประหลาดใจ ซึ่งเป็นคำถามของเวลาและโอกาส…

การประมาณการและพยากรณ์ในงานข่าวกรอง: “หมอดู” กับ “นักวิเคราะห์ข่าวกรอง” (ตอนที่ 1)

Loading

ที่มาภาพ: https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/1823259/your-horoscope-for-27-dec-2-jan Written by Kim ในอดีตกาลที่ผ่านมา “กษัตริย์” และ “นายพล” มักจะไปหารือขอคำแนะนำจากนักดาราศาสตร์หรือโหราจารย์ (หมอดู) ก่อนตัดสินใจเรื่องสำคัญ เช่น การทำสงครามหรือออกรบ ซึ่งเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาแบบเก่าภายใต้เงื่อนไขความไม่แน่นอน แม้พวกเราหลายคนยังคงอ่านคำพยากรณ์รายวันเพื่อความสนุกและบันเทิงหรือไปหาหมอดู (ดูหมอ) แต่รัฐบาลในยุคสมัยใหม่แทบจะไม่ต้องพึ่งพาวิธีการ “ปรึกษา” แบบโบราณ           ปัจจุบันผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการข่าวกรองได้สืบทอดบทบาทของบุคคลลึกลับเหล่านั้น ยกเว้นผู้ที่ถูกเรียกว่า นายทหารฝ่ายเสนาธิการ (staff officers) หรือข้าราชการพลเรือน (civil servants) แม้พวกเขาทำหน้าที่เป็นมือขวาของผู้มีอำนาจตัดสินใจ ทั้งนี้ ความพยายามใด ๆ ที่จะบรรยายรายละเอียดเชิงเปรียบเทียบระหว่าง “นักวิเคราะห์” และ “หมอดู” จะเปิดเผยให้เห็นมนุษย์สองจำพวกที่แตกต่างกัน           ผู้มีอาชีพด้านการข่าวกรองไม่เคยอ้างตนว่าสามารถทำนายอนาคตได้ แม้จะมีความลับรายล้อมอยู่รอบตัวอย่างสม่ำเสมอ งานข่าวกรองเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมาแบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างในการวิเคราะห์ งานข่าวกรองมีขีดความสามารถและความได้เปรียบอันเป็นที่เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันควรตระหนักถึงข้อจำกัด ผู้มีอำนาจตัดสินใจทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ต้องแบ่งปันความรับผิดชอบกับนักวิเคราะห์ข่าวกรองในกรณีที่ตัดสินใจแย่ ๆ บนพื้นฐานของการประมาณการแบบคาดเดา           บทความนี้[1]จะพูดถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างข่าวกรองกับ “ลูกค้า (clients)” หรือ “ผู้ตัดสินใจ” ที่อาจนำไปสู่การทำงานที่มีการบูรณาการเป็นอย่างดีและความพึงพอใจมากขึ้น ลักษณะพิเศษของนักวิเคราะห์ข่าวกรอง (The Special Traits of…

“ซื้อพาสปอร์ตย้ายประเทศ” วิธีใช้เงินแก้ปัญหาช่วงโควิด-19 ระบาด

Loading

FILE PHOTO: Photo illustration of a Cypriot passport, October 12, 2019. REUTERS/Stringer/Illustration/File Photo สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า แม้คนส่วนใหญ่จะท่องเที่ยวได้น้อยลงในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่สำหรับคนที่ร่ำรวยมหาศาลนั้น สามารถ “ซื้อ” พาสปอร์ตของประเทศอื่นๆ ที่ปกติปิดชายแดนจากประเทศของพวกเขาได้ การซื้อพาสปอร์ตไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด รัฐบาลหลายประเทศมีโครงการมอบสัญชาติหรือวีซ่าให้ชาวต่างชาติที่ลงทุนเม็ดเงินในประเทศเหล่านี้ โดยในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา จุดประสงค์ของผู้ที่ลงทุนเพื่อรับสัญชาติใหม่ที่มีทรัพย์สินตั้งแต่ 2 – 50 ล้านดอลลาร์หรือมากกว่านั้น คือเพื่อเสรีภาพในการบ้ายถิ่นฐาน สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือเหตุผลด้านไลฟ์สไตล์เช่น เพื่อเข้าถึงการศึกษาที่ดีขึ้น หรือเสรีภาพพลเมืองที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ บรรดาครอบครัวเศรษฐีก็มีเหตุผลในการซื้อสัญชาติหรือวีซ่าเพิ่มขึ้นด้วยคือ การรับบริการด้านสุขภาพและการหาประเทศอื่นรองรับเผื่อเหตุการณ์ในอนาคต โดมินิค โวเล็ค หัวหน้าแผนกเอเชียของบริษัทให้คำปรึกษาด้านการถือสัญชาติและการหาที่พำนัก Henly & Partners กล่าวกับทางซีเอ็นเอ็นว่า คนร่ำรวยมักไม่วางแผนล่วงหน้า 5-10 ปีแต่วางแผนด้านการเงินและความเป็นอยู่ล่วงหน้านานถึงกว่าร้อยปี โดยเฉพาะในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด เนื่องจากนี่อาจไม่ใช่การระบาดครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียวในชั่วชีวิตของพวกเขา ทางบริษัทยังได้รับคำขอรับบริการจากลูกค้ามากขึ้นถึง 49…