ขบวนการชุมนุมประท้วงในสหรัฐฯกับทั่วโลก: อะไรคือความเหมือน

Loading

ที่มาภาพ: https://www.nytimes.com/2020/06/01/us/floyd-protests-live.html Written by Kim เมื่อชาวอเมริกันนึกถึงการปกครองแบบอำนาจนิยม ที่ผู้นำเผด็จการข่มขู่จะใช้กำลังทหารกับผู้ประท้วง ประกาศเคอร์ฟิวห้ามการรวมกลุ่มของประชาชนรวมทั้งคุกคามและข่มขู่สื่อมวลชน พวกเขามีแนวโน้มจะคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ในกรุงไคโรมากกว่ามินนิแอโพลิส การวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่าย อาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ ประกอบกับภัยพิบัติทางเศรษฐกิจและการประท้วงในห้วงปัจจุบัน ทำให้จุดยืนระหว่างประเทศของสหรัฐฯตกต่ำอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประชาคมโลกหมดหวังกับผู้นำที่น่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบ คงเป็นไปไม่ได้ที่จะเพิกเฉยต่อความไม่เท่าเทียม การกดขี่และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่นำไปสู่การฟื้นคืนของการประท้วงทั่วโลกในปี 2019 ทั้งนี้ สหรัฐฯในฐานะผู้นำระดับโลกกลายเป็นพวกเดียวกันกับประเทศต่าง ๆ ที่เคยประสบเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างคาดไม่ถึง[1]           ห้วงเวลาหลายปีที่ชาวอเมริกันมองดูการเร่งปฏิกิริยาของขบวนการประท้วง จากสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติสี (Color Revolutions)[2] ที่เกิดขึ้นในประเทศที่แยกตัวจากอดีตสหภาพโซเวียตในช่วงกลางปี 2000 จนถึง Arab spring[3] ซึ่งครอบงำพาดหัวข่าวเมื่อต้นปี 2011 ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2020 ผู้ประท้วงชุมนุมบนท้องถนนเรียกร้องความยุติธรรม การปฏิรูปการเมืองและความรับผิดชอบในซูดาน อัลจีเรีย ชิลี ฮ่องกง เลบานอน และอีกหลายประเทศจากแอฟริกาเหนือถึงอเมริกาใต้           การประท้วงในสหรัฐฯ กรณีการเสียชีวิตของ George Floyd ชายผิวดำในระหว่างการเข้าควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจในมลรัฐมินนิโซตา สะท้อนให้เห็นความเสื่อมถอยของอำนาจทางศีลธรรม (Moral Authority) รัฐบาลประธานาธบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกวิจารณ์โดยประเทศที่ปกครองแบบอำนาจนิยม ซึ่งสหรัฐฯเคยเรียกหาความรับผิดชอบเกี่ยวกับประวัติที่น่าสังเวชด้านสิทธิมนุษยชน จากปักกิ่งถึงเตหะราน คำวิจารณ์จากจีน ซึ่งคุมขังชาวอุยกูร์นับล้านคนในค่ายอาจพูดด้วยน้ำเสียงไม่จริงใจ แต่เมื่อ “การตอบสนองดีที่สุดของสหรัฐฯแย่กว่าประเทศอื่น” ข้อโต้แย้งดังกล่าวก็หายไป…

การซื้อขายโปรแกรมสายลับ (SPYWARE) ที่ยังไม่มีการควบคุม

Loading

The entrance to the London office of Israeli private investigation firm Black Cube.Raphael Satter / AP ที่มา: https://www.haaretz.com/us-news/farrow-turned-black-cube-investigator-shadowing-him-during-weinstein-probe-1.7951350 Written by Kim ในปี 2019 รัฐชาติ (nation-states) หรือบุคคลที่มีความมั่งคั่งสามารถจ่ายเงินให้ “นักรบรับจ้าง” ดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมายรวมทั้งการจารกรรม ขโมยข้อมูล ข่มขู่และล่วงละมิดทางไซเบอร์ ทั้งนี้ บริษัทเอกชนผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของตนก่อนส่งออกโปรแกรมสะกดรอย (surveillance software) หรือโปรแกมสายลับ (Spyware)[1] อย่างไรก็ดี มาตรการตรวจสอบของภาครัฐได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอที่จะสะกัดกั้นรัฐบาลที่ปกครองด้วยความเข้มงวด (draconian regimes) ให้ได้มาซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขณะที่ภูมิศาสตร์การเมืองในปัจจุบันถูกกำหนดโดยการกระจายอำนาจจากรัฐชาติ และเร่งตัวขึ้นโดยเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ถูกควบคุมโดยกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น การแพร่ขยายและการใช้โปรแกรมสะกดรอยของรัฐอำนาจนิยม จึงสมควรได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ           บทความสามตอนที่เผยแพร่ใน The New Yorker[2] เปิดเผยข้อมูลการทำงานของบริษัทข่าวกรองเอกชนของอิสราเอลซึ่งรู้จักในชื่อ Black Cube[3] โดย Ronan Farrow นักข่าวสายสืบสวนอ้างว่าตนถูกสะกดรอยระหว่างการสืบสวนกรณี Harvey Weinstein[4] ผู้ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมรวมทั้งข่มขืนสตรีจำนวนมาก ตอนแรกของบทความ Farrow อธิบายว่าตนได้รับข้อความเสนอให้คลิกลิงก์และร่วมการสำรวจทางการเมือง ทั้งที่ตนไม่ได้คลิกลิงก์ดังกล่าว แต่นักสืบเอกชนของบริษัท Black Cube เริ่มได้รับข้อมูลพิกัดที่แน่นอนของตน ทำให้กระบวนการสะกดรอยทั้งหมดง่ายขึ้น การชักนำให้เป้าหมายคลิกลิงก์เป็นเทคนิคที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่โปรแกรมสะกดรอยซึ่งพัฒนาโดยบริษัทเอกชนและใช้กันทั่วโลก…

New Normal หลังโควิด-19 … โลกที่ Cyber Security และ Privacy ไปคู่กัน

Loading

New Normal (ความปกติแบบใหม่) คือ พฤติกรรมอะไรที่ผิดปกติกลายเป็นพฤติกรรมปกติ เช่น ทุกคนใส่หน้ากากและทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ก็เช่นกัน อย่างแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ที่เป็นประเด็นในโลกออนไลน์ ทำให้เห็นว่าประชาชนตื่นตัวเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) มากขึ้น อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cyber Security กล่าวกับ The Story Thailand ว่า คนทั่วโลกจะมอง 2 สิ่ง คือ เรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และ ความเป็นส่วนตัว ถ้าเจาะลึกไปที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จะเห็นว่า DP ตรงกลางมาจากคำว่า Data Protection หมายความว่าข้อมูลต้องถูกป้องกัน คือ เรื่องการเก็บข้อมูลให้ปลอดภัย คนที่เก็บข้อมูลไว้และไม่รักษาความปลอดภัยจะต้องรับผิดชอบ จึงไม่ต้องกังวลการที่ภาครัฐหรือเอกชนนำข้อมูลไปเก็บ เพราะมีกฎหมายคุ้มครองอยู่ และสามารถร้องเรียนได้เมื่อเกิดความเสียหาย ถึงแม้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะเลื่อนไป 1 ปี ในบางมาตรา แต่เรื่องความปลอดภัย (Security) ไม่ได้ถูกเลื่อนออกไป ซึ่งในมาตรา 4 ได้ระบุไว้ชัดเจน…

“ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติหลัง COVID-19”
 ประเทศไทยควรปรับสมดุลอย่างไร-ด้านใดบ้าง จึงจะไปต่อได้อย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน

Loading

By :  Atthasit Mueanmart ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนาและคิดค้นวัคซีน COVID-19 กันอย่างเร่งด่วน เพื่อฝ่าวิกฤตโรคอุบัติใหม่นี้ไปให้ได้ รวมถึงงานวิจัย “วัคซีนชนิด mRNA” ที่ศูนย์วัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ได้มอบหมายให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ หลังทดสอบในหนูทดลองแล้วประสบความสำเร็จดี และกำลังเตรียมจะทดสอบในลิงในประเทศไทยสัปดาห์หน้าต่อไป ขณะเดียวกัน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ก็ได้มองไปข้างหน้าถึงโลกยุคหลัง COVID-19 ผ่านการนำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงชาติหลัง COVID-19 จากหนังสือ “โลกเปลี่ยน ไทยปรับ : หลุดจากกับดัก พ้นจากโลกที่ล้มเหลว” ผลงานเขียนของ ดร.สุวิทย์ เองที่ได้เผยแพร่สู่สาธารณชนไปแล้วก่อนหน้านี้ โดย ดร.สุวิทย์ ชี้ว่าหากมองวิกฤตเป็นโอกาส การแพร่ระบาดของ COVID–19 อาจเป็นตัวแปรในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่เปลี่ยน “โลกที่ไม่พึงประสงค์” เป็น “โลกที่พึงประสงค์” ทำให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนสมมติฐานในความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ กลายเป็นการผนึกกำลังร่วม การคำนึงถึงประโยชน์จากธรรมชาติ ก่อให้เกิดคุณค่าอย่างไม่สิ้นสุด สถานการณ์ COVID-19 ทำให้เห็นว่าเรากำลังอยู่ในยุค “หนึ่งโลก หนึ่งชะตากรรมร่วม” (One World, One Destiny)“จากนี้ไป เวลาสุขเราก็จะสุขด้วยกัน เวลาทุกข์เราก็จะทุกข์ด้วยกัน จากโลกที่ไร้ความสมดุล ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพและความไม่มั่นคงตามมา เกิดเป็นวงจรอุบาทว์โลก (Global Vicious Circle)” ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) การสร้างรัฐ–ชาติ (Nation Building) ผ่านเสรีภาพ (Liberty) ความเสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity) ในศตวรรษที่ผ่านมา จะถูกแทนที่ด้วย การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ผ่านการกระชับแน่นภายในกลุ่ม (Bonding) การเชื่อมโยงข้ามกลุ่ม (Bridging) และยึดโยงระหว่างสถาบัน (Linking) ในโลกหลัง COVID-19 โดยแนวทางในการการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ มี 2 แนวทางหลัก คือ การออกแบบสวัสดิการสังคมใหม่ ด้วยการใช้ Negative Income Tax (NIT) และโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Net) เช่น การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย การมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอกับการใช้ชีวิต การช่วยเหลือผู้บกพร่องทางร่างกายและผู้สูงอายุ การขจัดความยากจนอย่างตรงจุด และแผนประกันชีวิต/สุขภาพ รูปแบบใหม่ เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้น ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้มักจะกลายเป็นปัญหาที่แต่ละประเทศต้องเผชิญ ที่ผ่านมามีนักวิชาการหลายคนได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหานี้…

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับประชาชน: บันทึกภาพ/แชร์ภาพคนอื่น ผิดกฎหมาย?

Loading

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) หากไม่มีอะไรผิดพลาด จะประกาศบังคับใช้วันที่ 27 พฤษภาคมนี้ โดยพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือชื่อย่อ PDPA (Personal Data Protection Act) ฉบับ 2560 นี้เป็นพ.ร.บ.ที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองประชาชน ปกป้องข้อมูลส่วนตัวทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งในบทความ ‘PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บรรทัดฐานใหม่ของชีวิตดิจิทัล’ ในเว็บไซต์ Brandinside กล่าวสรุปอย่างง่ายไว้ว่า “หนึ่งความเข้าใจผิดต่อเรื่องหลักการเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคือ คิดว่าจะเป็นมาตรการที่ห้ามใช้ ห้ามบันทึก ข้อมูลของคน ซึ่งผิดไปจากข้อเท็จจริง เพราะที่จริงแล้ว เนื้อหาหลักคือ ให้นำไปใช้เท่าที่จำเป็น ปลอดภัย และโปร่งใส” ดังนั้นทีมงานวิจัยโครงการของศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง, ชวิน อุ่นภัทร, ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล และ พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล จึงจัดเสวนาให้ความรู้เรื่องพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับประชาชน ในมุมมองประชาชนว่าเราควรรู้อะไรบ้าง เช่น การบันทึกภาพ หรือแชร์ภาพถ่ายคนอื่น จะโดนปรับสามแสนบาทไหม? ทางแฟนเพจ Law Chula โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ อยากถ่ายรูปเพื่อน แต่กลัวโดนจับ หนึ่งในความเข้าใจผิดยอดฮิตของ PDPA  คือหากถ่ายรูปเพื่อน ครอบครัว แล้วอัปโหลดลงโซเชียล อาจถูกจับหรือปรับได้ ฐิติรัตน์…

สงครามอัฟกานิสถาน : สันติภาพที่สั่นคลอน หลังเหตุโจมตีงานศพ-แผนกทำคลอดในโรงพยาบาล

Loading

เหตุการณ์ที่กลุ่มติดอาวุธโจมตีแผนกทำคลอดของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 24 ราย ทั้งแม่ ทารกแรกเกิด และพยาบาล ไม่เพียงเท่านั้น กระทรวงสาธารณสุขอัฟกานิสถานแจ้งว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 16 ราย ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้ก่อเหตุซึ่งเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลดาชต์-อี-บาร์ชี ในกรุงคาบูล กลุ่มตาลีบันเองก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขณะที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลามหรือไอเอส ออกมาบอกว่าอยู่เบื้องหลังเหตุโจมตี อีกเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นที่งานศพนายตำรวจ ชั้นผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งทางตะวันตกของประเทศ เหตุรุนแรงสองเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในวันเดียวกันคือเมื่อวันที่ 12 พ.ค. สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการเจรจาสันติภาพช่างเปราะบางแค่ไหน และความหวังว่าสงครามที่ดำเนินมาหลายทศวรรษจะสิ้นสุดก็ยิ่งริบหรี่เข้าไปใหญ่ ประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ได้สั่งให้กองทัพหันไปเริ่มปฏิบัติการโจมตีกลุ่มตาลีบัน และกลุ่มติดอาวุธ อื่น ๆ อีกครั้ง เขากล่าวหาว่ากลุ่มติดอาวุธเหล่านี้ไม่ได้สนใจคำขอร้องให้ลดละการก่อเหตุลงเลย นสพ.นิวยอร์กไทมส์ รายงานว่า โดยรวมแล้วมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในวันที่ 12 พ.ค. วันเดียว ราว 100 คน เกิดอะไรขึ้นที่โรงพยาบาล ราว 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ชาวบ้านในพื้นที่เล่าว่าได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 2 ระลอก ส่วนแพทย์คนหนึ่งที่หนีออกมาจากโรงพยาบาลดาชต์-อี-บาร์ชี ในกรุงคาบูล บอกบีบีซีว่า มือปืนลงมือก่อเหตุขณะที่มีคนอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 140 คน…