เรียก ‘ค่าไถ่ไซเบอร์’ ด้วย ‘อีเมล’
3 มีนาคม 2563 | โดย นักรบ เนียมนามธรรม | คอลัมน์ THINKSECURE เปิดเบื้องหลัง เมื่อองค์กรใหญ่รายหนึ่งถูกจู่โจมด้วยวิธีการส่ง “อีเมลหลอกลวง” ที่ซับซ้อน (Spear-phishing) จนทำให้เกิดผลกระทบกับการผลิตและกำไรของบริษัทในเวลาต่อมา การจู่โจมด้วยแรนซัมแวร์เริ่มกลับมาแพร่หลายอีกครั้ง เชื่อหรือไม่ว่า แม้องค์กรจะวางระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ดีอย่างไร ระบบนั้นก็จะถูกเจาะเข้ามาได้ หากองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้บุคลากรที่ทำงานในองค์กร ไม่นานมานี้หน่วยงานด้านความมั่นคงทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และโครงสร้างทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ได้แจ้งเตือนไปยังหน่วยงานสำคัญๆ ทางด้านสาธารณูปโภคเกี่ยวกับการเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์ หรือแรนซัมแวร์ตัวใหม่ที่อาจก่ออันตรายให้กับองค์กร การแนะนำนี้เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัททางด้านพลังงานธรรมชาติถูกจู่โจมด้วยวิธีการส่งอีเมลหลอกลวงที่ซับซ้อน (Spear-phishing) ซึ่งได้แนบแรนซัมแวร์ หรือก็คือมัลแวร์เรียกค่าไถ่โดยการเข้ารหัสไฟล์ข้อมูล ไปยังระบบเครือข่ายภายในของบริษัท และเข้ารหัสข้อมูลสำคัญๆ รวมถึงทำให้เซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัวไม่สามารถที่จะทำงานได้เป็นเวลาเกือบสองวันเลยทีเดียว การจู่โจมด้วยแรนซัมแวร์นี้ได้เริ่มกลับมาแพร่หลายอีกครั้งพร้อมด้วยการยกระดับความถี่ในการโจมตี รวมถึงขยายผลการจู่โจมให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานดังกล่าวพบว่า การจู่โจมนั้นไม่ได้กระทบกับระบบควบคุม (PLCs) และเหยื่อที่โดนจู่โจมยังสามารถควบคุมระบบปฏิบัติการได้อยู่ แต่ผลจากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ทางบริษัทพิจารณาว่าสมควรที่จะปิดระบบ จนทำให้เกิดผลกระทบกับการผลิตและกำไรของบริษัทในเวลาต่อมา ซึ่งผลกระทบนั้นกระทบเฉพาะกับระบบที่เป็น Windows-based Systems และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตั้งอยู่ ณ สถานที่ที่ถูกโจมตีเท่านั้น และทางบริษัทสามารถที่จะฟื้นฟูการโจมตีครั้งนี้ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ถูกโจมตีออก และใส่การตั้งค่าเข้าไปใหม่ อย่างไรก็ดีการแจ้งเตือนยังไม่ได้ระบุรายละเอียดมากนัก และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการใช้ลิงก์หลอกลวงส่งมาพร้อมกับแรนซัมแวร์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ได้มีการเปิดเผยว่า ในเดือน…