ชาวมะกันเชื้อสายเอเชียแจ้งเหตุจากความเกลียดชังเกือบ 3,800 ครั้งช่วงโควิด

Loading

  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า องค์กรยุติความเกลียดชังต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก (AAPI) ได้เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 2563 จนถึง 28 ก.พ. 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทางองค์กรได้รับแจ้งเหตุที่เกิดจากความเกลียดชังเกือบ 3,800 ครั้ง รายงานระบุว่า ทาง AAPI ได้รับการแจ้งเหตุเหยียดเชื้อชาติที่มุ่งเป้าที่ชาวเอเชียรวม 3,795 ครั้ง ตั้งแต่การคุกคามด้วยวาจา แสดงความรังเกียจ ทำร้ายร่างกาย การคุกคามทางออนไลน์ ตลอดจนการละเมิดสิทธิพลเมือง เหตุการณ์ที่ได้รับแจ้งมากที่สุดได้แก่ การคุกคามด้วยวาจา (68.1%) การแสดงความรังเกียจ (20.5%) และการทำร้ายร่างกาย (11.1%) ตามลำดับ จำนวนผู้แจ้งเหตุเป็นผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย 2.3 เท่า เป็นชาวจีน 42.2% ตามด้วยชาวเกาหลี 14.8% และชาวเวียดนาม 8.5% รายงานระบุว่าเหตุการณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นในสถานที่ทางธุรกิจ (35.4%) บนท้องถนน (25.3%) และสวนสาธารณะ (9.8%) ตามลำดับ และมีจำนวนเหตุการณ์ทางออนไลน์คิดเป็น 10.8% จากเหตุการณ์ทั้งหมด…

เมื่ออินเดียไม่ง้อบิ๊กเทค

Loading

  ในฐานะประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทุกย่างก้าวของอินเดียย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงวงการเทคด้วย หลังจากปะทะกับจีนจนกลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ส่งผลให้เกิดการแอนตี้สินค้าจีนรวมทั้งการแบนแอปยอดนิยมอย่าง TikTok ที่มีผู้ใช้บริการในอินเดียกว่า 200 ล้านคนมาแล้วเมื่อกลางปีก่อน ล่าสุดอินเดียก็หันมาลงดาบกับบิ๊กเทคระดับโลก อย่าง Twitter Facebook YouTube WhatsApp ตลอดจนโซเชียลมีเดียต่างประเทศอื่น ๆ ด้วยการออกกฎเหล็กให้เจ้าของแพลตฟอร์มต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นใหม่ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และเจ้าหน้าที่ประสานงานกับภาครัฐ (ที่ต้องสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง) นอกจากนี้ ยังกำหนดให้บริษัทต้องเผยแพร่รายงานประจำเดือนด้านการปฏิบัติการกฎหมาย รวมทั้งแจกแจงรายละเอียดว่าแต่ละเดือนได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งหมดกี่เคส และดำเนินการแก้ไขอย่างไรบ้าง โดยให้เวลา 3 เดือนในการเตรียมตัว ชนวนที่ทำให้รัฐบาลของนายนเรนทรา โมดี ตัดสินใจรัวออกมาตรการคุมเข้มโซเชียลมีเดียจากต่างประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดจากความไม่พอใจที่ทวิตเตอร์แข็งขืนไม่ยอมแบนผู้ใช้งานบางบัญชีโดยเฉพาะบัญชีของสื่อมวลชน นักกิจกรรม และนักการเมือง ที่รัฐมองว่าอยู่เบื้องหลังการปั่นแฮชแท็กโจมตีร่างกฎหมายเกษตรฉบับใหม่ และสุมไฟให้การชุมนุมของเกษตรกรหลายแสนคนที่รวมตัวกันประท้วงร่างกฎหมายดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็น “เท็จ” และปราศจาก “หลักฐาน” แล้ว กฎต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีเป้าหมายที่จะเข้ามาควบคุม “ศีลธรรม” อันดีของสังคมด้วยการสั่งห้ามแพลตฟอร์มเผยแพร่ภาพโป๊เปลือยทุกชนิด ตลอดจนภาพที่ส่อให้ไปในเรื่องเพศและภาพล้อเลียนบุคคลต่าง…

ระวัง Add-on บน Chrome อาจดูเลขบัตรเครดิตคุณ

Loading

ระวัง Add-on บน Chrome อาจดูข้อมูลส่วนตัวของคุณอยู่ขณะใช้บริการเว็บไซต์ธนาคาร ช้อปปิ้งออนไลน์ หรือไม่เว้นแม้กระทั่งดูเลขบัตรเครดิตที่คุณกำลังป้อนอยู่ก็ได้ แอปต่างๆที่ติดตั้งเสริมลงบนเว็บเบราว์เซอร์ที่เห็นตาม Chrome , Firefox และ Edge เหล่านี้แหละมีหลายแอปที่กำลังแอบมองคุณใช้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์อยู่ นั่นหมายความว่า ส่วนขยายหรือ Add-On , Extension ที่ติดตั้งเพิ่มลงบนเว็บเบราว์เซอร์สามารถเข้าถึงหน้าเว็บทั้งหมดที่คุณเยี่ยมชมได้ ดูว่าคุณกำลังเรียกดูหน้าเว็บใดอ่านเนื้อหาและดูทุกสิ่งที่คุณพิมพ์ หากส่วนขยายนั้นเป็นแอปที่อันตรายละก็ อาจดูข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดของคุณทุกอย่างและส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา   ระวัง Add-on บน Chrome แอบดูทุกอย่างที่คุณทำบนเว็บไซต์ ดังนั้นเมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้บัญชีธนาคารออนไลน์ส่วนขยายเบราว์เซอร์ของคุณที่ทำงานอยู่ Add-on ที่ติดตั้งไปสามารถเห็นรหัสผ่านของคุณเมื่อคุณเข้าสู่ระบบและดูทุกสิ่งที่คุณเห็นในบัญชีธนาคารออนไลน์ของคุณ ยังสามารถบันทึกหน้าไว้เพื่อเตรียมสวมรอยแอบใช้บัญชีธนาคารออนไลน์ในภายหลัง แม้ว่า Add-on Extensions หรือส่วนขยายต่างๆ จะมีระบบอนุญาต แต่ส่วนขยายส่วนใหญ่นั้นเข้าถึงทุกอย่าง หรือบางตัวอาจทำงานบนบางเว็บไซต์ อย่างไรก็ตามส่วนขยายเบราว์เซอร์ส่วนใหญ่มีสิทธิ์รันแอบอ่านข้อมูลของคุณทุกเว็บไซต์ที่เว็บเบราว์เซอร์โหลด     การที่จะควบคุมส่วนขยายให้เลิกทำงานบางส่วนนั้น ใน Google Chrome และ Microsoft Edge คุณสามารถควบคุมสิทธิ์ “การเข้าถึงไซต์” ของส่วนขยายและเลือกว่าจะให้ทำงานโดยอัตโนมัติบนเว็บไซต์ทั้งหมดที่คุณเปิดเมื่อคุณคลิกหรือเฉพาะในบางเว็บไซต์ที่คุณแสดงรายการได้   Add-on…

สายลับก็มา! “ซีไอเอ” เปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่เข้าร่วมงานหน่วยข่าวกรอง

Loading

  สำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ CIA หวังกระตุ้นคนรุ่นใหม่เข้าร่วมงานกับหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ สะท้อนภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กรที่ทันสมัยและเข้าถึงหมู่คนหนุ่มสาวและคนหลากหลายเชื้อชาติมากกว่าที่เป็นอยู่ โปสเตอร์ภาพหญิงสาวสวย ผมดำขลับ หน้าตาคม ที่มุมหนึ่งเหมือนกับมีเชื้อสายฮิสแปนิก แต่อีกมุมเหมือนชาวตะวันออกกลาง พร้อมกับข้อความเชิญชวนให้เข้าร่วมงานกับสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ CIA เป็นหนึ่งในแคมเปญที่หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ตั้งเป้าหมายในการจ้างคนรุ่นใหม่ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมาร่วมทีมมากขึ้น ในเว็บไซต์ของ CIA ระบุว่า เราจะมอบสิ่งแวดล้อมสำหรับคนทำงานที่ชาญฉลาด มุ่งเน้นที่บุคลากรที่มีภูมิหลัง ความสนใจ ประสบการณ์ และมุมมองที่หลากหลาย พนักงานของเราจะทุ่มเททุกอย่างเพื่อปกป้องประเทศอย่างทั่วถึง การปรับโครงสร้างขององค์กรข่าวกรองระดับชาติ ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า แลงก์ลีย์ (Langley) ตามสถานที่ของสำนักงานใหญ่ในรัฐเวอร์จิเนียครั้งนี้ มุ่งเป้าไปกลุ่มคนรุ่นใหม่ ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2018 ในยุคของจีนา ฮาสเพล (Gina Haspel) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ เพื่อจ้างชาวอเมริกันรุ่นใหม่ที่ดีที่สุดและเก่งที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเพศสภาพ เชื้อชาติ หรือพื้นเพด้านวัฒนธรรมใดๆ ภาพลักษณ์ใหม่บนโลกออนไลน์ของ CIA เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อ 4 มกราคมที่ผ่านมา ตั้งแต่การเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน ที่สร้างความแตกต่างจากเว็บไซต์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ทั่วไป เมื่อเทียบกับหน่วยงานที่ใกล้เคียงกันอย่างสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ FBI ที่เป็นภาพถ่ายบุคคลที่ต้องการตัวมากที่สุดในสหรัฐฯ นอกจากการดึงดูดคนรุ่นใหม่มาร่วมงานผ่านการประกาศรับสมัครแล้ว…

ไบเดนประณาม “อาชญากรรมจากอคติ” ต่อคนเชื้อสายเอเชีย

Loading

    ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่า “การก่ออาชญากรรม” ต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา “ไม่ใช่นิสัยพื้นฐานของความเป็นอเมริกัน” และ “ต้องยุติ” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวในช่วงหนึ่งของการแถลงเกี่ยวกับสถานการณ์โรคโควิด-19 เมื่อวันพฤหัสบดี ว่าสหรัฐมีอัตราการเกิด “อาชญากรรมจากอคติ” หรือ “อาชญากรรมจากความเกลียดชัง” ต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ในระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา ทั้งในรูปแบบของการประทุษร้ายโดยตรงต่อร่างกาย การใช้วาจาเหยียดหยามดูหมิ่น และการโยนความผิดให้อีกฝ่าย “เป็นแพะรับบาป” ผู้นำสหรัฐกล่าวต่อไปว่า อเมริกาเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 มานาน 1 ปีแล้ว ทุกฝ่ายร่วมกันต่อสู้ด้วยความอดทน โดยเฉพาะบุคลากรการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด่านหน้า ที่จำนวนไม่น้อยมีเชื้อสายเอเชีย แต่ทุกคนพยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อช่วยเหลือชาวอเมริกันทั้งประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤติด้านสาธารณสุขครั้งนี้ โดยไม่หวั่นเกรงว่า ตัวเองคือกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อ   Biden calls out the rise in hate crimes against Asian Americans during…

ชาวสวิตเซอร์แลนด์ลงประชามติสวมผ้าคลุมหน้าผิด กม. แต่ไม่พาดพิงมุสลิม

Loading

  ข้อเสนอของพวกขวาจัดที่ต้องการห้ามสวมผ้าปกคลุมใบหน้าในสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับชัยชนะอย่างฉิวเฉียดในศึกประชามติแบบมีพันธะผูกพันเมื่อวันอาทิตย์ (7 มี.ค.) โดยการทำประชามติครั้งนี้เกิดขึ้นตามแรงกระตุ้นของคนกลุ่มเดียวกันที่เคยเสนอโหวตห้ามก่อสร้างหอคอยสุเหร่ามาแล้วในปี 2009 จากผลประชามติอย่างเป็นทางการในเบื้องต้นพบว่า มาตรการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสวิตเซอร์แลนด์ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนอย่างฉิวเฉียด 51.2% ต่อ 48.8% ข้อเสนอภายใต้ระบบประชาธิปไตยโดยตรงของสวิตเซอร์แลนด์ ยังมีเป้าหมายหยุดความรุนแรงบนท้องถนนจากฝีมือพวกผู้ประท้วงสวมหน้ากาก และไม่ได้พาดพิงของอิสลามโดยตรง แต่กระนั้นก็มีพวกนักการเมืองท้องถิ่น สื่อมวลชนและนักเคลื่อนไหวบางส่วน ให้สมญานามมันว่าเป็น “บูร์กาแบน” “ในสวิตเซอร์แลนด์ วัฒนธรรมของเราคือคุณต้องโชว์ใบหน้า มันเป็นสัญญาณของเสรีภาพขั้นพื้นฐาน” วอลเตอร์ ว็อบมันน์ ประธานคณะกรรมการประชามติและสมาชิกรัฐสภาจากพรรคสวิส พีเพิลส์ กล่าวก่อนการโหวต เขาบอกต่อว่า “การปกปิดใบหน้าเป็นสัญลักษณ์อิสลามการเมืองอันสุดโต่ง ที่เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆในยุโรป ซึ่งไม่ควรปรากฏอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์” กลุ่มมุสลิมต่างๆ ประณามประชามติครั้งนี้ และบอกว่าพวกเขาจะเดินหน้าคัดค้านถึงที่สุด “การตัดสินใจในวันนี้เป็นการเปิดแผลเก่า รังแต่ขยายหลักการความไม่เท่าเทียมทางกฎหมาย และส่งสารอย่างโจ่งแจ้งแห่งการกีดกันชนกลุ่มน้อยมุสลิม” สภากลางมุสลิมในสวิตเซอร์แลนด์ระบุ พวกเขาสัญญาว่าจะยื่นคัดค้านทางกฎหมายต่อกฎหมายทั้งหลายที่บังคับใช้มาตรการห้ามสวมผ้าปกคลุมใบหน้า และจะดำเนินการระดมทุนไว้คอยช่วยเหลือบรรดาผู้หญิงที่ถูกปรับเงินจากฐานความผิดดังกล่าว “การบรรจุกฎระเบียบด้านการแต่งกายไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แค่กัดกร่อนสิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิง แต่มันยังเป็นการก้าวถอยหลังสู่อดีต” สหพันธ์องค์กรอิสลามในสวิตเซอร์แลนด์กล่าว พร้อมระบุว่าค่านิยมแห่งความเป็นกลาง อดทนอดกลั้นและผู้ประนีประนอมของสวิตเซอร์แลนด์กำลังถูกบั่นทอนจากประเด็นถกเถียงนี้ ฝรั่งเศสห้ามสวมผ้าคลุมทั้งใบหน้ายามอยู่ในที่สาธารณะมาตั้งแต่ปี 2011 ส่วนเดนมาร์ก ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์และบัลแกเรีย ก็ห้ามสวมผ้าคลุมทั้งใบหน้าหรือบางส่วนในที่สาธารณะแล้วเช่นกัน ขณะที่ในสวิตเซอร์แลนด์เอง มีอยู่ 2…