Password Checkup ส่วนเสริม Chrome ช่วยเตือนรหัสผ่านโดนแฮกรึไม่

Loading

มาแล้ว Password Checkup ส่วนเสริมของ Google Chrome ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้เรามากขึ้น แจ้งให้เรารู้ได้ว่ารหัสผ่านเราถูกแฮกรึเปล่า เดือนที่ผ่านมาเรียกว่ามีการหลุดบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านที่ถูกแฮกมาเป็นจำนวนมหาศาล แถมข่าวช่องโหว่และการจู่โจมต่างๆก็ออกมาอย่างต่อเนื่อง แล้วผู้ใช้อย่างเราๆจะต้องระมัดระวังตัวมากแค่ไหนถึงจะไม่ตกเป็นเหยื่อ ล่าสุดทาง Google ได้เพิ่มเครื่องมือใหม่ นั่นก็คือ Password Checkup ส่วนเสริมบน Google Chrome ที่ช่วยให้เราปลอดภัยมากขึ้น เมื่อเราติดตั้งและเปิดใช้งาน มันจะทำการเทียบบัญชีผู้ใช้ของคุณกับฐานข้อมูลที่ Google มีอยู่มากกว่า 4,000 ล้านข้อมูลที่บัญชีผู้ใช้ไม่ปลอดภัย เครื่องมือตัวนี้พัฒนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเข้ารหัสจาก Stanford University เพื่อให้มั่นใจว่าทาง Google จะไม่ได้ล่วงรู้ถึงบัญชีหรือรหัสผ่านของเราที่ถือเป็นความลับที่สุด เมื่อเราติดตั้งส่วนเสริมนี้บน Chrome แล้ว ก็จะมีไอคอนปรากฎขึ้นที่แถบด้านบน เมื่อเราทำการล็อกอิน Username หรือรหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย เคยมีประวัติในฐานข้อมูลว่าเคยโดนแฮกหรือมีรหัสผ่านหลุดออกมา ก็จะแจ้งให้เรารู้ทันที สิ่งที่เราต้องทำก็คือเข้าไปเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ให้เร็วที่สุดค่ะ ส่วนการทำงานนั้นจะออกแบบโดยไม่ให้รบกวนผู้ใช้คือ จะแจ้งเฉพาะกรณีที่ผู้ใช้มีความเสี่ยงจริงๆ คนที่ตั้งรหัสผ่านที่เดาได้ง่ายอย่าง 123456 อันนี้จะไม่แจ้งเตือนค่ะ ——————————————————– ที่มา : Dailygizmo / Feb 6, 2019 Link : https://www.dailygizmo.tv/2019/02/06/google-chrome-password-checkup/

TB-CERT แนะนำให้ระวังและร่วมจัดการกับเหตุการณ์ “ฟิชชิ่งเมล”

Loading

ศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร หรือ TB-CERT ได้ออกมาแนะนำให้ธนาคารสมาชิก TB-CERT ระวังและร่วมกันจัดการกับเหตุการณ์การหลอกลวงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต หรือ ฟิชชิ่ง (Phishing) ที่เกิดขึ้นกับหลายธนาคารในช่วงนี้ โดย TB-CERT ได้แนะนำให้ธนาคารสมาชิกร่วมกันในการดำเนินการเพื่อให้ธนาคารลดความเสี่ยงที่อาจจะสูญเสียข้อมูลสำคัญทางธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เกิดกับธนาคารเองและลูกค้าธนาคารที่ใช้บริการ Internet Banking ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ ก็ตาม ฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นเทคนิคการหลอกลวงข้อมูลที่มีมากว่ายี่สิบปีแล้วในโลกไซเบอร์โดยใช้วิธีการสร้างความน่าเชื่อถือโดยอาศัยชื่อของหน่วยงานหรือบุคคล ในช่วงไตรมาสที่สามของปีที่แล้วทาง TB-CERT ได้สังเกตุว่ามีปริมาณฟิชชิ่งที่เพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่ามีการสร้างฟิชชิ่งเว็บไซต์ โดยใช้โดเมนของประเทศในแอฟริกา .ga (Gabonese Republic) .ml (Replublic of Mali) ประเทศอาณาเขตของประเทศนิวซีแลนด์ .tk (Tokelau territory of New Zealand) เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตน้อยและสามารถจดทะเบียนโดเมนได้ง่าย จากนั้นจึงไปสร้างฟิชชิ่งเว็บไซต์ในอีกประเทศ และส่งฟิชชิ่งเมลอ้างว่าเป็นอีเมลจากธนาคาร เมื่อธนาคารได้ตรวจพบหรือรับทราบฟิชชิ่งก็จะแจ้งเครือข่าย CERT หรือหน่วยงานที่ช่วยประสานงานปิดฟิชชิ่งเว็บไซต์นั้นโดยเร็ว ในขณะเดียวกันก็ได้แจ้งเตือนลูกค้าทางเว็บไซต์ของธนาคารให้ระวังอีเมลลวง และบอกถึงวิธีการสังเกตว่าอีเมลที่ได้รับนั้นไม่ได้เป็นอีเมลที่มาจากธนาคารจริง ๆ การสร้างความเข้าใจเรื่องฟิชชิ่งถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชากรชาวอินเตอร์เน็ตจากเทคนิคการหลอกลวงข้อมูลหรือฟิชชิ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการก้าวต่อไปของเศรษฐกิจยุคดิจิตัล…