การใช้เทคนิคของแอปพลิเคชั่นหรือโปรแกรมสร้างรูปภาพเพื่อการบ่อนทำลาย ตอนที่ 2 (ตอนจบ)

Loading

          ปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและสารสนเทศ การใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ดีภัยที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน การละเมิดข้อมูล การบิดเบือนข่าวสารในสื่อโซเชียลมีเดียถูกพบเป็นจำนวนมาก เพราะการสร้างข้อมูลอันเป็นเท็จนั้นทำได้ง่ายมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น การใช้งานโปรแกรมตกแต่งรูปภาพในคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Photoshop, โปรแกรม Lightroom รวมถึงแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟน ผู้ผลิตได้พัฒนาโปรแกรมให้ใช้ง่ายขึ้น ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้ขั้นตอนการทำได้ด้วยตัวเอง ทั้งยังมีเนื้อหาและวิดีโอการสอนแบบไม่เสียเงินบริการผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ อย่างแพร่หลาย             Photoshop เป็นโปรแกรมกราฟิกของบริษัท Adobe สำหรับงานอุตสาหกรรมการพิมพ์ ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และงานด้านมัลติมีเดีย ที่ง่ายต่อการเรียนรู้เพื่อนำมาใช้งาน คุณสมบัติของโปรแกรม Photoshop ที่พิจารณาแล้ว เห็นว่ามีความเหมาะสมสำหรับนำมาประดิษฐ์ภาพถ่าย เพื่อเผยแพร่เป็นข้อมูลข่าวสารในการสร้างความน่าเชื่อถือหรือบ่อนทำลายความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี คุณสมบัติดังกล่าวคือ              1) ตกแต่งดัดแปลงหรือแก้ไข (retouching) เช่น ปรับสีที่ผิดเพี้ยน ปรับแสงเงาที่สว่างหรือมืดเกินไป ลบแสงสะท้อนจากแฟลช ดัดแปลงโครงสร้างในภาพ            …

การใช้เทคนิคของแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมสร้างรูปภาพเพื่อการบ่อนทำลาย ตอนที่ 1

Loading

          การสื่อข่าวสารด้วยรูปภาพที่ปรากฏใน Network ปัจจุบัน บางส่วนน่าจะเกิดจากการสร้างหรือปรับแต่งรูปภาพด้วยแอปพลิเคชัน (application) หรือโปรแกรม (program) ซึ่งประเมินวัตถุประสงค์การกระทำเช่นนี้ว่า มุ่งบั่นทอนความน่าเชื่อถือของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมาย เพราะข่าวสารรูปภาพที่เผยแพร่และกระจายออกสู่สาธารณะแล้ว ยากต่อการควบคุมหรือลบทำลายให้สูญหายอย่างสมบูรณ์ได้           การรายงานข่าวสารพร้อมรูปภาพการสังหารนายอุซามะห์ บิน ลาดิน เมื่อ  2 พฤษภาคม 2554 เป็นตัวอย่างการปรับแต่งรูปภาพเพื่อแสวงประโยชน์ในการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งส่งผลกระทบต่อรัฐบาลสหรัฐฯ โดยตรง ทั้งนี้ การสร้างรูปภาพประกอบจะช่วยเสริมความน่าเชื่อถือในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้เป็นอย่างดี นับเป็นส่วนหนึ่งของ Information operations (IO) ข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินการประเภทนี้ยากต่อการพิสูจน์ ทั้งไม่สามารถตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและรวดเร็ว และยากต่อการวางแนวทางเพื่อป้องกันและป้องปราม ตัวอย่างเช่น รูปภาพการเสียชีวิตของนายบิน ลาดิน ที่ปรากฏเป็นข่าวสารเมื่อปี 2554 นั้น สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างรูปภาพเหล่านั้นขึ้นได้ เช่น การใช้โปรแกรม Photoshop ตัดต่อและตกแต่งภาพตามต้องการ           รัฐบาลสหรัฐฯ ทราบดีว่าการใช้ปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุก (Offensive Information Operations) เช่น การให้ข้อมูลลวง  การบิดเบือนข่าวสาร การปฏิบัติการทางจิตวิทยา ฯลฯ  โดยใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตทำให้เป็นที่รับรู้ของประชาชนอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว จึงมีแนวทางการควบคุมข้อมูลข่าวสารอย่างรัดกุม การให้สัมภาษณ์ของนายบารัค โอบามา…

ข้อพิจารณาเปรียบเทียบการใช้ระบบสารสนเทศของทรัมป์ กับกฎหมายการกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ของไทย

Loading

ขอนำข้อความจากการทวีตของนายทรัมป์ แสดงถึงการดูหมิ่น นายโจสการ์ โบโรห์ และนางมิก้า เบรสซินสกี้ พิธีกรรายการข่าวเช้า Morning Joe ทางสถานี MSNBC เมื่อ 30 มิ.ย.60 มาเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับพิจารณาเปรียบเทียบความผิดเกี่ยวกับกฎหมายกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย และข้อขัดแย้งระหว่างกฎหมายอื่นๆ ดังนี้ การโพสต์แสดงความคิดเห็นและพาดพิงบุคคลอื่นบนระบบออนไลน์ ในลักษณะดูหมิ่นเจาะจงบุคคลอย่างเปิดเผย ทั้งเผยแพร่ให้กลุ่มผู้ติดตามจำนวนมากได้รับรู้บนระบบออนไลน์ ย่อมทำให้ผู้นั้นได้รับความอับอายและเสื่อมเสีย หากเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยสามารถพิจารณาได้ว่าเป็น ความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยปกติความผิดฐานหมิ่นประมาทในประเทศไทยควบคุมและคุ้มครองโดยประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหมายรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ในกรณีของนายทรัมป์ เทียบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย จึงเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ส่วนการนำเสนอผ่าน Twitter ส่วนตัวนั้น เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย เพราะนายทรัมป์ มีกลุ่มผู้ติดตามประมาณสามสิบล้านคน จึงเท่ากับเป็นการใช้ระบบออนไลน์เผยแพร่โดยทั่วไปจนเป็นที่รับทราบของประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญากำหนดว่าข้อมูลที่ปรากฏความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจริงหรือข้อมูลเท็จ ถือเป็นความผิดเท่าเทียมกัน แม้จะตีความข้อความของนายทรัมป์ ว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่เนื้อความตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอม­พิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 กำหนดโทษเฉพาะความผิดจากข้อมูลคอมพิวเตอร์ “ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน” และ“อันเป็นเท็จ” เท่านั้น ซึ่งการทวีตดังกล่าวเป็นเนื้อหาจริงจากการกระทำของนายทรัมป์โดยตรง มิได้ถูกนำไปบิดเบือนหรือเป็นข้อมูลเท็จแต่อย่างใด…

บัญชีธนาคารของคุณปลอดภัยจากแฮกเกอร์แค่ไหน?

Loading

  โดย ฐิติพล ปัญญาลิมปนันท์   ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในไทยผลักดันให้ลูกค้าหันมาทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนของธนาคาร ธนาคารมักยืนยันว่ามีความปลอดภัย แต่ลูกค้ามั่นใจได้จริงแค่ไหน พิชญะ โมริโมโต พยายามแฮกเข้าระบบของธนาคารเป็นประจำและมักประสบผลสำเร็จ แต่ต่างจากอาชญากรไซเบอร์ เพราะเขาเป็น “แฮกเกอร์สายขาว” ซึ่งหน้าที่ก็คือช่วยให้เงินฝากในบัญชีของธนาคารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เขาพบก็คือระบบการรักษาความปลอดภัยของธนาคารโดยรวมยังมีจุดอ่อน “ยังไม่ค่อยปลอดภัยเท่าที่ควร ยังมีหลาย ๆ ครั้ง ที่พบช่องโหว่ที่มีความรุนแรงสูงมาก แต่ไม่มีการซ่อมแซม” พิชญะ ผู้มีตำแหน่งผู้ให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัย ของบริษัท SEC Consult กล่าว บริการยิ่งหลากหลายยิ่งเสี่ยงมากขึ้น ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศจะต้องทดสอบความปลอดภัยของระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยผู้ตรวจสอบจากนอกองค์กร นั่นหมายถึงธนาคารต้องจ้างมืออาชีพตรวจสอบด้านความปลอดภัยระบบอย่าง พิชญะ เข้ามาทำงาน สิ่งที่เขาทำคือจำลองสถานการณ์เหมือนเป็นแฮกเกอร์ที่พยายามเจาะระบบ เพื่อวิเคราะห์ว่าสามารถโจมตีทางใดได้บ้างและรายงานต่อธนาคารเพื่อแก้ไข พิชญะ อธิบายว่าความเสี่ยงของระบบนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า attack surface นั่นคือช่องทางหรือพื้นที่แฮกเกอร์สามารถทำงานได้ กล่าวคือ ยิ่งมีบริการออนไลน์หลายรูปแบบ ยิ่งมีโอกาสเกิดช่องโหว่ได้มากขึ้น “เขาอาจจะมองว่าถึงมีช่องโหว่จริง แต่เขาก็มีทีมมอร์นิเตอร์และมั่นใจว่าจะระงับเหตุได้ทันท่วงที” พิชญะกล่าว แต่ในมุมมองของเขา ธนาคารควรจะแก้ไขทันทีและปิดไม่ให้ใช้งานในส่วนนั้นจนกว่าจะแก้ไขเสร็จ ไม่ใช่เลือกดำเนินการเฉพาะเมื่อเรื่องนั้น “กลายเป็นกระแสบนพันทิปหรือเฟซบุ๊ก” เพราะถึงแม้จะมีการสอดส่องตลอดเวลา…

Information Operating (IO)…กับ..การบ่อนทำลาย

Loading

                   การใช้สื่อสารสนเทศเป็นช่องทางแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ต่อกรณีต่างๆ ทั้งการตำหนิ กล่าวโทษ หรือตอบโต้โดยเฉพาะกับสื่อมวลชนที่เสนอข่าวสารหรือวิจารณ์ในทางลบต่อตนเองและการดำเนินนโยบายของตน ส่งผลให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับฐานะผู้นำประเทศ แม้ว่าจะปรากฏข่าวสารว่าที่ปรึกษาประธานาธิบดี และนางเมลาเนีย ทรัมป์ ภรรยา ต่างพยายามดูแลการใช้สื่อสารสนเทศของนายทรัมป์ แต่นายทรัมป์คงยืนยันการใช้สื่อสารสนเทศในรูปแบบเดิม เพราะเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่เข้าถึงผู้ติดตาม (follow) ของตน ซึ่งมีจำนวนประมาณสามสิบล้านคน อย่างไรก็ดี มีกลุ่มชาวอเมริกันทำการร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัทที่ให้บริการ  สื่อสารสนเทศปิดบัญชีผู้ใช้ของนายทรัมป์ ด้วยเหตุผลว่าเป็นการ post ข้อความที่จาบจ้วงหรือล่วงเกินผู้อื่น และน่าจะเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อนโยบายการใช้งานของบริษัทที่ให้บริการ(ข้อบังคับของทวิตเตอร์)  กรณีที่เกิดขึ้นนั้น เป็นที่น่าพิจารณาว่าการใช้สื่อสารสนเทศที่เกิดขึ้นดังกล่าวนับเป็นการทำ Information Operating (IO) ด้วยข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลกระทบต่อนายทรัมป์ ทั้งในด้านลบและด้านบวก  เป็นการบ่อนทำลายวิธีหนึ่งที่จำเป็นต้องกำหนดมาตรการ รักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลและป้องกัน จึงขอนำกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับการส่งข้อความทาง Twitter ส่วนตัวของนายทรัมป์ เมื่อ 30 มิถุนายน 2560 ซึ่งมีเนื้อหาดูหมิ่นนายโจสการ์ โบโรห์ และ นางมิก้า เบรสซินสกี้ พิธีกรรายการข่าวเช้า Morning Joe ทางสถานี…

ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น การจัดส่งและเผยแพร่ข้อมูลเอกสารทางราชการ

Loading

ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น การจัดส่งและเผยแพร่ข้อมูลเอกสารทางราชการ จัดทำโดย สพธอ. ดาวน์โหลด