มาตรการในการลดการแพร่กระจายเนื้อหาอันไม่เหมาะสม บนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับภาครัฐ

Loading

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันการใช้งานสื่ออินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้งานบนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ซึ่งเป็นสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีอิทธิพลสูง เนื่องด้วยมีการเชื่อมโยงกับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก และมีการสร้างส่วนร่วมกับผู้ใช้งานให้มีปฏิสัมพันธ์กัน อาทิเช่น FacebookInstagram Twitter Youtube เป็นต้น ทั้งนี้ภาครัฐทุกภาคส่วน มีหน้าที่ในการช่วยกำกับดูแลการใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม ถูกกฎหมาย ตลอดจนเฝ้าระวังมิให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือก่อให้เกิดปัญหาสังคม อย่างไรก็ตามหน่วยงานภาครัฐอาจจะตกเป็นเป้าหรือเครื่องมือของผู้ไม่ประสงค์ดี เพื่อใช้ในการแพร่กระจายเนื้อหาอันไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของเนื้อหาอันไม่เหมาะสมโดยไม่เจตนา สำหรับมาตรการในการลดการแพร่กระจายเนื้อหาอันไม่เหมาะสมบนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับภาครัฐ มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องดำ เนินการตามมาตรการนี้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม ๒. กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐโดยทั่วไป สำหรับมาตรการดังกล่าว มีดังนี้ กลุ่มที่ ๑. สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามการเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม มาตรการในการดำเนินการ เหตุผล ๑. ให้ใช้บัญชีใช้งาน (Account) ที่สร้างขึ้นใช้เป็นการเฉพาะสำหรับการติดตาม : สำหรับการติดตามกลุ่มบุคคลหรือติดตามเนื้อหาอันไม่เหมาะสมบนสื่อสังคมออนไลน์ ให้ใช้บัญชีใช้งาน (Account) ที่สร้างขึ้นใช้เป็นการเฉพาะสำหรับการติดตาม กล่าวคือ ห้ามใช้บัญชีที่เป็นของตนเองที่มีการเชื่อมโยงกับเพื่อนสมาชิกคนอื่น (Friend) เข้าทำการติดตาม สื่อสังคมออนไลน์ เช่นYoutube และ Facebookจะพิจารณาเนื้อหาที่เฝ้าติดตาม…

‘ก่อการร้ายใหม่’ เติบโตและก่อการในบ้านเกิด!

Loading

คอลัมน์ : โลกใบใหม่ อภิชาต ทองอยู่      การขยายตัวตามภารกิจก่อการร้ายใหม่ที่มีพัฒนาการเติบโตขึ้น และก่อการร้ายในบ้านเกิดเป็นการก่อการร้ายที่น่าประ หวั่นพรั่นพรึงยิ่ง โดยเฉพาะหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันในยุโรป อันมีมูลเหตุจากการอพยพย้ายถิ่นของอิสลามิกชน รอบๆ ยุโรป ที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานขยายประชากรในช่วงความสับสนของโลกที่ผ่านมา!      เหตุก่อการร้ายสายพันธุ์ใหม่ มีสาเหตุหนึ่งมาจากการขยายตัวของประชากรมุสลิมในยุโรป ที่อพยพเข้าไปอยู่สร้างครอบครัวและขยายตัวเติบโตขึ้นเป็นอิสลามิกชนในยุโรป ที่วันนี้มีบทบาททางสังคมการเมืองและกฎหมายในฐานะพลเมืองของยุโรป! สถานการณ์ด้านประชากรนี้สร้างความตื่นตระหนกให้สังคมยุโรปโดยรวมอย่างยิ่ง! เพราะหน่วยข่าวกรองของยุโรปพบว่า การก่อการร้ายสายพันธุ์ใหม่ในประเทศต่างๆ ในยุโรปนั้น เกิดขึ้นจากพลเมือง คนใน ของแต่ละประเทศเอง ไม่ว่าที่ฝรั่งเศส อังกฤษ สวีเดน เยอรมัน อิตาลี ฯลฯ คนกลุ่มนี้ได้มอบกายใจให้กับกลุ่มผู้บงการหัวรุนแรง! ทำให้คนที่เคยเป็นคนเล็กๆ ที่เกิดและเติบโตขึ้นมาในแต่ละถิ่นย่านของยุโรปแปรสภาพเป็นผู้ก่อการร้ายที่ช่วยเพิ่มอำนาจความรุนแรงให้กับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ในฐานะผู้ปฏิบัติการตอบโต้ลัทธิตะวันตก ที่พร้อมจะเปลี่ยนทุกสถานที่/ทุกเทศกาลให้กลายเป็นโศกนาฏกรรมไปโดยพริบตา ขึ้นอยู่กับเวลา โอกาส และสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยเท่านั้น เป็นการลงทุนที่ได้ผลของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในสังคมยุคใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก      เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา มีโอกาสไปสังเกตการณ์ที่อิตาลีในเมืองสำคัญอย่าง โรม วาติกันฟลอเรนซ์ เวนิซ และมิลาน สัมผัสเห็นได้ชัดว่าความสงบสุขร่าเริงมีชีวิตชีวาของอิตาลี โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ๆ ที่เป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองการค้านั้นเปลี่ยนไป ทุกแห่งมีมาตรการตรวจตราเฝ้าระวังเข้มข้น มีตำรวจ…

ข้อพิจารณาด้านการ รปภ. ต่อกรณีในไอวอรีโคสต์

Loading

      เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2559  กลุ่มคนร้ายติดอาวุธ 6 คน บุกยิงชาวต่างชาติที่โรงแรม 3 แห่งในเขตแกรนด์บัสซัม ไอวอรีโคสต์ มีผู้เสียชีวิต 18 คน ประกอบด้วยประชาชน 15 คน และเจ้าหน้าที่กองกำลังพิเศษ 3 นาย บาดเจ็บอีก 33 คน และคนร้ายเสียชีวิต 3 คน ทั้งนี้กลุ่มก่อการร้าย อัล กออิดะห์ แห่งอิสลามิก มาเกร็บ (Al-Qaeda in the Islamic Maghreb : AQIM) อ้างความรับผิดชอบ อย่างไรก็ดี นับเป็นการโจมตีครั้งแรกของกลุ่มอัล กออิดะห์ แห่งอิสลามิก มาเกร็บใน ไอวอรีโคสต์ ข้อสังเกต           2.1 จากเหตุการณ์ในไอวารี่ โคสต์ คาดว่า เป็นการตอบโต้ต่อฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศที่เกี่ยวข้องกับ“โอเปอเรชั่น บาร์เคน” ซึ่งเป็นปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มก่อความไม่สงบในแอฟริกาและต่อกรณีปฏิบัติการในมาลี…

กรณีการรั่วไหลจากการใช้อีเมล์ของนางฮิวลารี คลินตัน

Loading

            กรณีการตรวจพบการใช้อีเมล์ของนางฮิวลารี คลินตัน ระหว่าง มี.ค.58- ม.ค.59 ที่อาจเป็นผลให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลข่าวสารที่มีชั้นความลับของรัฐบาลสหรัฐฯ พร้อมข้อพิจารณา ดังนี้           1.พฤติกรรมการใช้งานโซเชียล คอมมูนิตี้ผ่านอุปกรณ์ที่ไม่มีการแบ่งแยกให้ชัดเจนระหว่างการใช้งานเกี่ยวกับเรื่องราชการหรือเรื่องส่วนตัว                – การใช้งานผ่านอุปกรณ์ส่วนตัวแทนการใช้อุปกรณ์ของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทันสมัยมากขึ้นและหลายบริษัทเปิดให้บริการคลาวด์สาธารณะ ทำให้เกิดความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งาน ในกรณีการพบอีเมล์ของนางคลินตัน ซึ่งเกี่ยวพันกับข้อมูลข่าวสารที่กำหนดชั้นความลับของทางการสหรัฐฯ ถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ส่วนตัวของนางคลินตัน  ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลต่างๆ ของรัฐจากเครื่องภายในของรัฐ ไปยังเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์ของผู้ให้บริการภายนอกได้                – การใช้งานโซเชียล คอมมูนิตี้ระหว่างเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวไม่แบ่งออกจากกันให้ชัดเจน ในระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง รมว.กต.สหรัฐฯ เป็นเวลา 4 ปีของนางคลินตัน ไม่เคยขอบัญชีอีเมล์(account)ประจำตำแหน่ง *.gov ที่มีความปลอดภัยสูง และการใช้อีเมล์ส่วนตัวส่งข้อมูลทางราชการ ย่อมมีความเสี่ยงในการล่วงละเมิดข้อมูลมากกว่าการใช้อีเมล์ที่ผ่านโดยโดเมนของรัฐบาลกลาง ซึ่งหากเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงจะตกเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มแฮกเกอร์มากขึ้น…

คาดปี 59 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ต -การขู่กรรโชกมากขึ้น

Loading

     กรุงเทพฯ 12 ก.พ. เทรนด์ไมโครคาดปี 59 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ต -การขู่กรรโชกออนไลน์-การแฮ็กระบบหวังผลการเมืองจะเพิ่มสูงขึ้น นี้แนวโน้มแฮ๊กเกอร์ขยันเขียนไวรัสพร้อมปรับตัวพัฒนาเทคนิกโจมตีที่ซับซ้อน      นายคงศักดิ์  ก่อตระกูล ผู้จัดการอาวุโสด้านเทคนิค บริษัทเทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) กล่าวว่า  ปี 2559 จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตโดยมัลแวร์ที่แฝงอยู่ในรูปโฆษณาและการขู่กรรโชกออนไลน์จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้แฮกเกอร์ที่มีจุดประสงค์ทางการเมืองจะใช้วิธีการซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จุดประสงค์จริงของแฮ๊กเกอร์ที่หวังผลทางการเมือง ไม่ได้ต้องการแค่การเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์แต่เป็นการขโมยข้อมูลภายในระบบ  แฮ็กเกอร์จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ที่เข้ามาฝังตัวเพื่อขู่กรรโชกจะเพิ่มขึ้น แม้จะมีการรับมือด้วยการออกกฎหมายและลงทุนระบบแต่ยังคงท้าทายแฮ๊กเกอร์ให้โจมตีโดยเทคนิควิธีที่พิเศษมากขึ้น      “แนวโน้มภัยคุกคามในปีนี้คือ การโจมตีผ่านช่องทางออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อข้อมูลและการทำธุรกรรมขึ้นสู่ออนไลน์มากขึ้นเท่าใดการโจมตีจะเพิ่มสูงมากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งมี 4G การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้น  อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะพบช่องโหว่มากขึ้น , ไวรัสบนมือถือจะโตเร็วขึ้นถึง 20 ล้านตัว เนื่องจากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีจำนวนมาก แฮ็กเกอร์จึงขยันเขียนไวรัสบนมือถือ ,การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นเป้าหมายการโจมตีมากขึ้นเพราะการทำธุรกรรมบนมือถือได้รับความนิยมมากขึ้น การแฮ๊กเมือถือได้ย่อมจะได้ข้อมูลทางการเงินไปมากขึ้น , ตำแหน่งงานใหม่เพื่อภัยคุกคามนอกจากผู้บริหารทางไอที โดยตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องและป้องกันข้อมูลของบริษัทจะเป็นตำแหน่งงานที่องค์กรทั้งหลายตั้งขึ้น โดยหน้าที่ขอตำแหน่งดังกล่าวคือการกำหนดชั้นการเข้าถึงข้อมูลขององค์กรในระดับต่างๆ ,ไวรัสที่แฝงมากับโฆษณาทำให้การขายโฆษณาออนไลน์ทำได้ยากขึ้น , การออกกฎหมายควบคุมอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ทั่วโลกจะมีความครอบคลุมขึ้นเพื่อให้เอาผิดได้มากขึ้น” นายคงศักดิ์ กล่าว…

ดึงหน่วยงานรัฐรับมือป้องกันภัยไซเบอร์ 252 หน่วยงาน

Loading

     กรุงเทพฯ 11 ก.พ. เผยไทยติดอันดับเสี่ยงภายคุกคามไซเบอร์อันดับที่ 25 เสี่ยงอันดับ 2 ในอาเซียน รัฐบาลเร่งดึงหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมรับมือป้องกันภัยไซเบอร์ครบ 252 หน่วยงาน คาดใช้เวลาปีครึ่ง      นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเปิดโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ให้หน่วยงานสำคัญของประเทศว่า คณะกรรมการเตรียมการสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล (กรรมการดีอี) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความมั่นคงทางไซเบอร์กับระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ ในอนาคตภาครัฐต้องปรับเข้าสู่การบริหารและการบริการด้วยดิจิทัลตามแผนแม่บทที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานของหน่วยงานรัฐบาลในส่วนนี้ความมั่นคงปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในระบบ      นายอุตตม กล่าวอีกว่า จากสถิติของศูนย์ประสานการรักษความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ หรือไทยเซิร์ต ในปี  2015 ต้องจัดการกับภัยคุกคามรวม  4,300  กรณี ในจำนวนนี้เป็นภัยคุกคามที่ไม่พึงประสงค์1500 กรณี หรือร้อยละ 35 รองลงมาคือภัยจากการหลอกลวง 1100 กรณี  ประเทศไทยถูกจัดอันดับความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ในลำดับที่ 25 ของโลก และอันดับที่ 2 ในอาเซียน ซึ่งไม่ใช่สถิติที่ดี เพื่อป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้หน่วยงานภาครัฐจึงมีโครงการในการดูแลภัยคุกคามไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมแล้ว 40 หน่วยงาน คาดว่าจะมีหน่วยงานเข้าร่วมในปีนี้อีก…