เกิดอะไรขึ้นในเอกวาดอร์? จากแดนสันติ ตกสู่ห้วงแห่งความรุนแรง

Loading

       •  ดินแดนที่เคยได้ชื่อว่าสงบสุขในอเมริกาใต้อย่างเอกวาดอร์ กำลังดำดิ่งสู่ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดการแหกคุกของหัวหน้าแก๊งคนสำคัญ ทำให้เกิดสถานการณ์ความไม่สงบไปทั่วประเทศ      •  ประธานาธิบดีคนใหม่ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรับมือความไม่สงบในประเทศ แต่กลับได้รับการต้อนรับด้วยความรุนแรงจากแก๊งอาชญากรรมที่ทรงอำนาจในเอกวาดอร์      •  เมื่อวันอังคารถึงขั้นเกิดเหตุกลุ่มมือปืนบุกรุกสถานีโทรทัศน์อย่างอุกอาจ คนร้ายพยายามให้ผู้ประกาศข่าวอ่านแถลงการณ์ของพวกเขา ก่อนจะถูกทหารเข้าจับกุมตัว   ประธานาธิบดี ดาเนียล โนบัว แห่งเอกวาดอร์ ออกคำสั่งให้กองทัพเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูความสงบในประเทศ หลังเกิดเหตุความไม่สงบต่อเนื่องหลายวัน ตั้งแต่การแหกคุกของหนึ่งในหัวหน้าแก๊งค้ายาเสพติดที่ทรงอำนาจที่สุดในประเทศ เกิดจลาตลในเรือนจำ ผู้คุมถูกจับเป็นตัวประกัน และเกิดระเบิดอีกหลายจุดในเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ   แต่ที่สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศ คือเหตุกลุ่มมือปืนพร้อมระเบิดบุกสถานีโทรทัศน์ TC Television ในเมืองกัวยากิล เมืองใหญ่สุดของเอกวาดอร์ เข้าไปในห้องส่งขณะกำลังมีการถ่ายทอดสด และพยายามใช้ปืนบังคับให้หนึ่งในผู้ประกาศข่าว อ่านข้อความของพวกเขา   แม้ว่าสุดท้ายแล้ว มือปืนกลุ่มนี้จะถูกทหารสยบและถูกจับกุมตัวอย่างรวดเร็ว แต่ภาพกลุ่มมือปืนสวมหน้ากาก โดยมีเจ้าหน้าที่ของ TC นั่งคุยคู้อยู่กับพื้น ก็ได้สร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวเอกวาดอร์ไปแล้ว และแสดงให้เห็นว่า ประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนที่สงบสุขแห่งนี้ กำลังตกลงสู่ห้วงแห่งความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ…

รู้จัก “ยือลาแป” ถนนสาย Killing Zone

Loading

  เหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธสงครามยิงถล่มรถของตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) 2 วันซ้อนที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประเด็นที่ต้องวิเคราะห์และหาคำตอบ 2 ประเด็นด้วยกัน   เพราะทั้ง 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีเป้าหมายเดียวกัน คือ กำลังพลของ ตชด. สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44   ทั้ง 2 เหตุการณ์ต้องบอกว่าสุดอุกอาจ ก่อเหตุกลางวันแสก ๆ ใช้อาวุธสงครามแบบไม่กลัวเปลืองกระสุน   เหตุแรกเกิดขึ้นหน้าร้านขายของชำใน อ.บันนังสตา จ.ยะลา วันพุธที่ 10 ม.ค.2567 มีกำลังพลบาดเจ็บสาหัส 2 าย   เหตุการณ์ที่ 2 เกิดขึ้นบนถนนสายเขายือลาแป ท้องที่ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส วันพฤหัสบดีที่ 11 ม.ค.2567 มี “ร้อยตำรวจโท” เสียชีวิต 1 นาย   2 ประเด็นที่ต้องหาคำตอบคือ ตชด.44 เป็นเป้าที่ถูกล็อกโดยกลุ่มก่อความไม่สงบในช่วงนี้หรือไม่…

‘โบลท์’ เสริมมาตรการความปลอดภัยบริการในไทย

Loading

  “โบลท์” เดินหน้าลงทุนระบบรักษาความปลอดภัยบนแอป เสริมระบบอัตโนมัติ การตรวจสอบภาพถ่ายหน้าคนขับ ปุ่มช่วยเหลือฉุกเฉิน แชร์ทริปการเดินทาง ระบุหากถูกร้องเรียนจะไม่สามารถให้บริการ – รับบริการจากผู้โดยสารหรือผู้ขับขี่รายเดิมโดยอัตโนมัติ โบลท์ (Bolt) แอปพลิเคชันการเดินทางจากยุโรป ประกาศเปิดตัวมาตรการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในประเทศไทย   โดยมาตรการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยนี้ประกอบไปด้วย การตรวจสอบภาพถ่ายหน้าของคนขับ และมาตรการความปลอดภัยในระหว่างการเดินทางสำหรับการเดินทางผ่านยานพาหนะในแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นการสนับสนุนความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และผู้โดยสารจากฝ่ายด้านความปลอดภัยที่ได้รับการฝึกอบรมภายในบริษัท   การตรวจสอบภาพถ่ายหน้าของคนขับเป็นมาตรการใหม่ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ขับขี่ เเละลดการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยโดยรวมในการใช้บริการของทั้งผู้โดยสาร และผู้ขับขี่ผ่านแอปพลิเคชันโบลท์   ภายในมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยเพิ่มเติมในการเดินทาง โบลท์จะมีระบบในการเชื่อมต่อโดยอัตโนมัติกับผู้โดยสาร และคนขับผ่านแอปพลิเคชันเมื่อยานพาหนะหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลาที่ผิดสังเกต   เพื่อเป็นการยืนยันว่าทั้งผู้โดย และผู้ขับขี่ไม่ตกอยู่ภายในอันตรายใด ๆ ระบบจะให้ทางผู้ขับขี่ และผู้โดยสารได้รับตัวเลือกในการโทรติดต่อกับศูนย์บริการฉุกเฉินโดยตรง ให้ข้อมูลของการเดินทาง ความช่วยเหลือจากโบลท์ได้ด้วยการแจ้งเตือนในแอปพลิเคชัน   ในอนาคตโบลท์มีการวางแผนที่จะนำระบบตรวจสอบความปลอดภัยในการเดินทางอื่นๆ เพิ่มเติมในการใช้งานแอปพลิเคชัน เช่น การแจ้งเตือนเมื่อมีการออกนอกเส้นทาง และการสิ้นสุดการเดินทางที่ล่าช้า   โดยมาตรการในอนาคตเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนต่อเนื่องของโบลท์ในการพัฒนาทางด้านความปลอดภัยในแพลตฟอร์มของตน เพื่อให้โบลท์สามารถให้การสนับสนุนที่ดียิ่งขึ้นสำหรับทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร และเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือในการระบุ และป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสารได้   นอกจากนี้ ระบบที่ช่วยให้การเดินทางของโบลท์ปลอดภัยสำหรับคนขับ และผู้โดยสารมีเพิ่มเติมดังนี้   ระบบความปลอดภัย…

เปิดปากเล่าประสบการณ์สุดโหดจากตึก 9 เมืองเล่าก์ก่าย-ฐานใหญ่แก๊งคอลเซ็นเตอร์จีนเทารัฐฉานเหนือ

Loading

  รัฐฉาน เมียนมา – ทั้งคนไทย-พม่าเปิดประสบการณ์สุดโหด..หลังหลงกลเข้าร่วมแก๊งอาชญากรรมออนไลน์ใต้เงาทุนจีนเทารัฐฉานเหนือ บางส่วนถูกส่งเข้าตึก 9 เมืองเล่าก์ก่าย หนึ่งในฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ บางรายโดนขายต่อเป็นทอด มีทั้งบังคับขายตัว-ลวงเหยื่อทั่วโลก ก่อนถูกปราบ-ช่วยจนรอดมาได้     ตลอดหลายปีที่ผ่านมาขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สกิมเมอร์ ถ่ายทำภาพยนตร์ลามก และอาชญากรรมอื่น ๆ ได้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา เป็นฐานปฏิบัติการ มีทั้งคนตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวง-คนหลงเชื่อ/สมัครใจ เข้าร่วมขบวนการก่ออาชญากรรมออนไลน์   กระทั่งทางการจีนได้ขอความร่วมมือและบางแห่งเข้าปฏิบัติการเอง เดินหน้าปราบปรามกลุ่มจีนเทาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งเขตปกครองตนเองโกกั้ง เขตปกครองพิเศษที่ 2 (สหรัฐว้า) เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว จ.เมียวดี ประเทศเมียนมา ฯลฯ เพราะแก๊งจีนเทาส่งผลกระทบต่อชาวจีนอย่างหนัก   กอปรกับเกิดสงครามในเขตปกครองตนเองโกกั้ง และล่าสุดกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (Myanmar National Democratic Alliance Army: MNDAA) ซึ่งสนับสนุนประเทศจีนในการปราบแก๊งจีนเทาชนะสงครามและยึดพื้นที่ได้ทั้งหมด   พบว่าที่หลงและเข้าไปอยู่ใต้เงาแก๊งคอลเซ็นเตอร์-อาชญากรรมออนไลน์ หนีรอดและได้รับการช่วยเหลือส่งกลับช่วงเดือน พ.ย. 2566-ม.ค. 2567…

รวม 5 แอปช่วยจำ Password ดาวน์โหลดติดไว้ ไม่ต้องกลัวลืมรหัสผ่าน โหลดฟรี

Loading

  แอปช่วยจำ Password กลายเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน เนื่องจากเรามักลืมรหัสผ่านบ่อย ๆ เมื่อมีบัญชีผู้ใช้หลากหลายเช่นรหัสอีเมล รหัสบัญชีต่าง ๆ ซึ่งเราได้รวบรวม 5 แอปฯ ช่วยจำพาสเวิร์ดมาให้โหลดฟรี ๆ เอาใจคนขี้ลืมรหัส   แอปช่วยจำ Password สามารถช่วยให้คนขี้ลืมหรือไม่อยากจดไว้ในกระดาษหรือโน้ต ซึ่งปัจจุบันรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดมักถูกแฮ็กจากการปล่อยปะละเลยในการจดรหัสผ่านในโทรศัพท์ เราจึงได้รวบรวมแอปช่วยจำรหัสผ่านมาให้โหลดไปใช้กัน   1. LastPass แอปพลิเคชันจัดการรหัสผ่าน สามารถใช้ได้ทั้งแบบฟรีและพรีเมียม สามารถเก็บรหัสผ่านบัญชีต่าง ๆ ไว้ได้ในที่เดียว พร้อมช่วยแนะนำรหัสผ่านที่ถูกคาดเดายาก ป้องกันการโดนแฮ็ก สามารถกรอกรหัสผ่านให้อัตโนมัติได้     2. Dashlane แอปพลิเคชันช่วยจำรหัสผ่านที่มีฟีเจอร์การช่วยตั้งรหัสผ่านที่คาดเดายาก และใส่รหัสผ่านให้โดยอัตโนมัติได้ แถมยังมีฟีเจอร์สำหรับกระเป๋าเงินดิจิทัลอีกด้วย     3. Roboform แอปพลิเคชันที่ช่วยจำรหัสผ่านได้ไม่จำกัดจำนวน เข้าถึงได้หลากหลายอุปกรณ์ มีฟีเจอร์ตั้งรหัสผ่านแบบฉุกเฉินอีกด้วย     4. KeePass Password Safe แอปพลิเคชันช่วยจำรหัสผ่านที่เหมาะกับคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถใช้เฉพาะกับระบบ PC…

อว.คิกออฟปี 67 ใช้ “เอกสารอิเล็กทรอนิกส์” ระหว่างหน่วยงาน

Loading

  อว. คิกออฟปี 67 ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน ผ่านระบบใบรับรองดิจิทัล Thai University Consortium ที่พัฒนาขึ้นเอง ลดใช้กระดาษ ลดค่าใช้จ่าย จัดส่งเอกสารได้รวดเร็ว ถูกต้องและป้องกันการสูญหายของเอกสาร   น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อว. ได้ออกประกาศ เรื่อง การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่อดิจิทัลภายใต้ใบรับรองดิจิทัล Thai University Consortium (TUC) ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)   เพื่อให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในสังกัด อว. สามารถปรับใช้ในงานทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภายใน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งภายใต้ระบบ TUC นี้ อว. จะให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด ติดต่อ (รับ-ส่ง) เอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์   เช่น ระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาด้วยกัน ระหว่างสำนักงานปลัด อว.และสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างองค์การมหาชน องค์กรอิสระ และรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น…