รัฐบาลดิจิทัล (1): ความฝัน หรือ ความหวัง?

Loading

คุณจำได้ไหมว่าไปติดต่อราชการครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ถ้าไม่มีธุระจำเป็น เราคงไม่อยากจะติดต่อกับราชการ เพราะก่อนไปก็ต้องหาข้อมูลว่า ธุระที่จะไปทำนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานไหน (ยุ่ง) ศึกษาขั้นตอนและกฎระเบียบ ซึ่งเขียนเป็นภาษาราชการ อ่านแล้วไม่เข้าใจ (ยาก)

วิเคราะห์: ฉากต่อไป หลัง ‘ทรัมป์’ กลายเป็นอดีตผู้นำสหรัฐฯ คนแรกที่ต้องคดีอาญา

Loading

อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นอดีตผู้นำสหรัฐฯ คนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกันที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในคดีอาญา แม้ว่าเขาจะยังคงเป็นอิสระระหว่างรอการพิจารณาคดี และมีโอกาสหลีกเลี่ยงโทษจำคุกได้ทั้งหมด ต่อข้อกล่าวหาปลอมแปลงข้อมูลทางการเงินช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 แต่อนาคตทางการเมืองของเขายังคงเป็นสิ่งที่ต้องจับตากันต่อไป

รู้จัก แอปทางรัฐ คืออะไร พร้อมวิธีลงทะเบียน เพื่อรับเงินดิจิทัล และติดต่องานราชการ

Loading

แอปทางรัฐ เปรียบเสมือนผู้ช่วยคนใหม่ที่รวบรวมบริการภาครัฐกว่า 149 รายการไว้บนมือถือของคุณ เพียงดาวน์โหลดแอปและลงทะเบียนใช้งาน ก็สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางไปที่หน่วยงาน ไม่ต้องรอคิว ไม่ต้องเสียเวลา

ChatGPT ภาพหลอน และการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  หลาย ๆ ท่านอาจเคยได้ยินว่า Generative AI อาจให้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ ดังนั้น ผู้ใช้งานโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM: Larger language models) จึงต้องมีความตระหนักรู้ในข้อจำกัดของเทคโนโลยีประกอบด้วย   ข้อมูลที่ผิดพลาดอาจจะเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐาน หรืออาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลก็ได้ ลองจินตนาการว่าหาก Generative AI ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวท่าน เช่น “วันเดือนปีเกิด” ท่านในฐานะของผู้ใช้งานโมเดลภาษาหเล่านั้นหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่อาจสร้างความเสื่อมเสียต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล   ท่านจะมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรบ้างหรือไม่ เพื่อจะทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่ถูกประมวลผลหรือแสดงผลโดย Generative AI นั้นถูกต้อง หรือขอให้ลบข้อมูลเหล่านั้นออกจากการประมวลผลหรือการแสดงผลลัพธ์   การที่ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ในทางเทคนนิค เรียกว่า AI Hallucination หรือการประดิษฐ์ภาพหลอนโดย AI   คือกรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นผลลัพธ์การตอบสนองที่สร้างโดย AI ที่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นข้อเท็จจริง     เปรียบเสมือนภาพหลอนในจิตวิทยาของมนุษย์ที่อาจเกิดจากข้อจำกัดของโมเดล AI เอง…

TTC-CERT แจ้งเตือนแคมเปญฟิชชิ่งที่กำหนดเป้าหมายต่อผู้ใช้งานบริการโทรคมนาคมและไปรษณีย์ทั่วโลก

Loading

  ศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม (ศูนย์ TTC-CERT) ได้ติดตามและวิเคราะห์แคมเปญการหลอกลวงขนาดใหญ่ผ่านช่องทาง SMS หลอกลวง (Smishing) อีเมลหลอกลวง (Phishing Email) และเว็บไซต์หลอกลวง เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและ/หรือข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้บริการด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคมทั่วโลก   แคมเปญดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 โดยใช้โดเมนหลอกลวงมากกว่า 300 โดเมน ปลอมแปลงเป็นบริษัทภาคบริการไปรษณีย์ บริษัทโทรคมนาคม และองค์กรต่างๆ กว่า 50 แห่งทั่วโลก ซึ่งจากชื่อโดเมนหลอกลวงที่พบ ศูนย์ TTC-CERT มีความมั่นใจในระดับสูง (High Level of Confidence) ว่ากลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มนี้มุ่งเป้าโจมตีไปที่บุคคลต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ใช่เป็นการมุ่งเป้าโจมตีคนไทยหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น โดยโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำฟิชชิ่ง (Phishing Infrastructure) มีความซับซ้อน ประกอบด้วยเว็บแอปพลิเคชันที่ปลอมเป็นบริษัทด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม เพื่อล่อลวงผู้ใช้บริการและขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน (Sensitive Information) ข้อค้นพบที่สำคัญ (Key Finding) •  แคมเปญดังกล่าวมีเครือข่ายโดเมนหลอกลวงที่กว้างขวางมากกว่า 300 โดเมน โดยปลอมแปลงเป็นบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย (Legitimate Company)…

แนะนำวิธีตั้งค่า-บล็อกเบอร์คอลเซ็นเตอร์ ที่โทรมาจากต่างประเทศ!

Loading

  สืบนครบาล แนะนำวิธีตั้งค่า และบล็อกเบอร์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่โทรปฏิบัติการจากต่างประเทศ มี 2 วิธีง่าย ๆ เพื่อความปลอดภัย ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ!   ปัจจุบัน มิจฉาชีพต่างมีวิธีการหลากหลายในการหลอกลวงเหยื่อไม่ว่าจะเป็นทั้งในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ โดยเฉพาะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ระบาดหนักขึ้นในระยะหลังมานี้ ที่เริ่มมีฐานปฏิบัติการจากต่างประเทศมากขึ้น จึงมีการใช้เบอร์โทรศัพท์จากต่างประเทศ โทรเข้ามาหลอกลวงคนไทยมากขึ้น   ด้วยเหตุนี้ เฟซบุ๊กเพจ สืบนครบาล IDMB ได้ออกมาโพสต์แนะนำวิธีบล็อกเบอร์มิจฉาชีพที่โทรมาจากต่างประเทศ ให้เราลองปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัย   Freepik สืบนครบาล แนะนำวิธีตั้งค่า และบล็อกเบอร์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่โทรปฏิบัติการจากต่างประเทศ   สืบนครบาล ระบุว่า กสทช. ได้มีมาตราการบังคับให้ใส่เครื่องหมายบวก (+) หน้าหมายเลขโทรศัพท์ที่โทรมาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น +697, +698 หรือ +66   ซึ่งหากใครที่ไม่มีธุระติดต่อกับต่างประเทศ ไม่มีญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก หรือไม่มีความจำเป็นต้องรับสายจากต่างประเทศ สามารถตั้งค่าบล็อกเบอร์โทรศัพท์เพื่อป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ดังนี้   วิธีบล็อกเบอร์โทรจากต่างประเทศ (สายที่มีเครื่องหมาย + นำหน้าเบอร์โทร)   • …