หยุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ ICS ผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ

Loading

  OT และ IT Security กลายเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   ปัจจุบันมีความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ในทั่วทุกมุมโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และแน่นอนว่าโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่มีระบบควบคุมอุตสาหกรรมแบบอัตโนมัติก็ตกเป็นเป้าหมายหลักในการบุกโจมตี   เพื่อสกัดหรือทำให้ระบบการดำเนินงานต้องหยุดชะงักซึ่งจะสร้างความเสียหายและสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างที่หลายคนไม่คาดคิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่มีการเลือกตั้งและสงครามที่มีความผันผวนสูง   เมื่อช่วงปลายเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา หน่วยงานความปลอดภัยทางไซเบอร์และโครงสร้างพื้นฐาน หรือ CISA (Cybersecurity and Infrastructure Security Agency) ของสหรัฐได้เผยแพร่ข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนเพื่อให้ผู้ใช้งานตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจจะขึ้นจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ICS (Industrial Control Systems) ผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ   โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ออกมาให้คำแนะนำในเรื่องดังกล่าว ให้ผู้ใช้งานยกเลิกการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมอุตสาหกรรม ICS ทั้งหมดกับอินเทอร์เน็ตแบบสาธารณะ   เพราะการเชื่อมต่ออุปกรณ์โดยตรงกับอินเทอร์เน็ตสาธารณะเป็นการเปิดช่องโหว่ให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เจาะระบบเพื่อเข้าโจมตีได้อย่างง่ายดาย   การยกเลิกการเชื่อมต่อดังกล่าวนับเป็นขั้นตอนเชิงรุกเพื่อลดพื้นที่การโจมตี และสามารถลดความเสี่ยงต่อกิจกรรมทางไซเบอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตและที่เป็นอันตรายจากผู้ไม่ประสงค์ดีจากภายนอกได้อย่างทันที   จากการตรวจสอบระบบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีหลายพันรายการที่ดูเหมือนว่าจะถูกควบคุมด้วยโปรแกรมลอจิกคอลโทรลเลอร์ PLC (Programmable Logic Controller) ใช้สั่งการระบบเครื่องจักรและขั้นตอนการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมโดยหลายองค์กรมีการติดตั้งและตั้งค่าทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไม่ถูกต้องทำให้เกิดความเสี่ยงถูกโจมตี   นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในหลากหลายฟังก์ชั่น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สำนักงานไปจนถึงระบบการผลิตที่เชื่อมต่อกับคลาวด์ ปัญหาหลักๆ จึงอยู่ที่อุปกรณ์และระบบที่ไม่ได้รับการทดสอบและไม่ได้รับการออกแบบมาให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่สุดท้ายก็ยังเลือกที่จะกำหนดค่าแบบนั้นอยู่   อาจจะเป็นเพราะว่าองค์กรหลายแห่ง ทีมงานฝ่ายผลิตดูแลระบบไม่ใช่ฝ่ายไอทีที่ตั้งค่าระบบให้จึงไม่ได้แนะนำเรื่องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย…

สกมช.ร่ายแผนงานป้องภัยไซเบอร์ ระบุปี’68 ถูกท้าทายจากภัยด้าน AI

Loading

  สกมช.เตรียม พร้อมยกระดับขีดความสามารถบุคลากร ผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย คาดปีหน้า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ในปี 2568 สกมช. มีแผนการดำเนินงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ในการขยายความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น   รวมถึงการระมัดระวังการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีภัยที่แฝงเข้ามาในลักษณะ AI ด้วย นอกจากนี้ สกมช.จะเร่งแผนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชนทุกช่วงวัยให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย   ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สกมช. ได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งและปลอดภัย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (บุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างบริการภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย   เขา กล่าวว่า สกมช.ยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…

‘Threat Intelligence’ หน่วยข่าวกรอง ช่วยรับมือภัยคุกคาม

Loading

ฟีดข้อมูลภัยคุกคามถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มาในหลากหลายรูปแบบผ่านการอัพเดทตัวบ่งชี้ช่องโหว่ (Indicators Of Compromise หรือ IOC) แบบแบบเรียลไทม์ เช่น IP และ URL ปลอมที่เป็นอันตราย

บอร์ดดีอีไฟเขียวร่างยุทธศาสตร์ ‘ข้อมูลชาติ’ เชื่อมข้อมูลรัฐผ่าน ‘คลาวด์’

Loading

สดช.เคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลของประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “รัฐบาลยุคดิจิทัล เคลื่อนไทยด้วยยุทธศาสตร์ข้อมูล” เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐ ดึงเอกชนเชื่อมโยงดาต้ายึดหลักความปลอดภัยข้อมูล มุ่งตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และการใช้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ

เมื่อเสียง AI เหมือนมนุษย์เกินไปจนน่าขนลุก ล่าสุด ตัดสินใจระงับใช้งานไป

Loading

เมื่อเสียง AI เหมือนมนุษย์เกินไปจนน่าขนลุก หลังทำเสียง สการ์เลตต์ โจแฮนสัน จนเจ้าตัวไม่สบายใจ ล่าสุดตัดสินใจระงับใช้งานไป

รวมวิธีเช็กเบอร์มิจฉาชีพ 2567 เบอร์ไหนห้ามรับ เช็กง่าย ๆ ได้ที่นี่

Loading

เช็กมิจฉาชีพยังไง? ปัญหามิจฉาชีพติดต่อมายังเบอร์โทรศัพท์ของเรา เพื่อต้องการล้วงข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกโอนเงินด้วยวิธีต่างๆ ยังคงเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนกังวลใจในการรับสายเบอร์แปลก ทว่าในปัจจุบันก็ยังพอมีช่องทางง่ายๆ ในการเช็กเบอร์มิจฉาชีพ 2567 ผ่านออนไลน์ที่ทุกคนสามารถทำตามได้ง่ายๆ ในเบื้องต้น เพื่อเป็นการช่วยคัดกรอง “เบอร์โทรที่ไม่ควรรับ” ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นเบอร์ของเครือข่าย Call Center ของแก๊งมิจฉาชีพ บทความนี้ ไทยรัฐออนไลน์นำ 5 วิธีเช็กเบอร์มิจฉาชีพแบบง่ายๆ มาฝากกัน