การปรับปรุงองค์การการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ด้วย Digital Transformation ตอนที่ 1

Loading

  คำว่า “Digital transformation” ตามนิยามภาษาไทยจาก Wikipedia คือ การใช้สิ่งที่ใหม่ ที่เร็ว และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของ Digital Technology เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นการนำเอาประโยชน์จาก Digital Technology เข้ามาปรับวิถีการทำงาน สมรรถนะของบุคลากร และนำไปแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่   ปัจจุบันการนำ Digital Transformation มาปรับปรุงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในภาคธุรกิจและการตลาด โดยนำมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนมีการใช้ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐาน รูปแบบและวัฒนธรรมภายในของกลุ่มธุรกิจและการตลาด วิธีดำเนินการ การให้บริการ ตลอดจนประเภทสินค้าในธุรกิจนั้น สำหรับการนำ Digital Transformation มาปรับประสิทธิภาพในส่วนราชการขณะนี้ คาดว่า “โอกาสที่จะเป็น” เป็นไปได้ยาก  เนื่องจากแต่ละหน่วยงานภายในหน่วยงานรัฐต่างมีวัฒนธรรมภายใน มีการกำกับการปฏิบัติงานด้วยระเบียบราชการและระเบียบภายในแต่ละหน่วยงานรัฐที่ต่างกัน อีกทั้งหน่วยงานรัฐบางแห่งยังมีกฎหมายรองรับเป็นการเฉพาะ เหล่านี้นับเป็นวิถีที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  แต่หากเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการแล้ว ในขั้นต้นก็จำเป็นต้องปรับความเข้าใจระหว่างทุกกลุ่มผู้บริหารภายในให้ตรงกันอย่างชัดเจนโดยปราศจากอคติที่จะก่อความสับสนให้ได้ก่อนที่จะนำเสนอต่อกลุ่มผู้บริหารระดับที่สูงกว่า เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานความเข้าใจในทางเดียวกัน   สำหรับข้อที่ควรพิจารณาให้ชัดเจนก่อนวางเป้าประสงค์ที่จะนำ Digital Transformation มาปรับใช้กับองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนนั้น ประเด็นแรก คือทำความเข้าใจกับ ความเป็นมานับแต่อดีตถึงปัจจุบันขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ประเด็นที่ 2 ความสอดคล้องและรองรับกันระหว่างกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน…

ข้อพิจารณาจากบางส่วนข้อมูลของหนังสือ “The room where it happened : A white house memoir” กับกฎหมายและระเบียบราชการไทย

Loading

  เนื้อหาของหนังสือ “The room where it happened : A white house memoir” เขียนโดยนายจอห์น โบลตัน อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่า จะส่งผลด้านวิกฤตศรัทธาต่อตัวประธานาธิบดีทรัมป์ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 และก่อนหน้าที่หนังสือเล่มนี้จะวางจำหน่ายเมื่อ 23 มิถุนายน 2563 ประธานาธิบดีทรัมป์แสดงออกถึงความไม่พอใจและพยายามขัดขวาง ทั้งให้สภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว (The White House National Security Council, NSC) ทำการตรวจสอบเนื้อหาที่อาจเปิดเผยหรือเชื่อมโยงถึงสิ่งที่เป็นความลับในครอบครองของราชการ เพราะนายโบลตันผู้เขียน เคยได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับทุกระดับชั้นของทางราชการในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง พร้อมกันนั้นยังมีการร้องขอต่อศาลรัฐบาลกลาง (Federal Government of United States) เพื่อออกคำสั่งให้นายโบลตันระงับการจัดพิมพ์และวางจำหน่าย ด้วยเหตุผลที่ว่าการดำเนินการตรวจสอบของฝ่ายรัฐยังไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ดี ศาลรัฐบาลกลางปฎิเสธคำร้องของฝ่ายรัฐดังกล่าว     เนื้อหาสาระ“The room where it happened…

การครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานรัฐ กับ ระเบียบและกฎหมายข้อมูลข่าวสารกับสิ่งที่เป็นความลับของราชการ

Loading

               จากหลายกรณีการเผยแพร่สำเนาเอกสารราชการที่กำหนดชั้นความลับ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารหรือพฤติการณ์ส่วนบุคคล เช่น กรณีนายเนติวิทย์ ภัทร์ไพศาลดำรง เปิดเผยผ่านสื่อออนไลน์ เมื่อ 21 มิถุนายน 2561 เกี่ยวกับสำเนาหนังสือตอบจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับประวัติของนายเนติวิทย์ฯ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการพิจารณาของกรมการปกครองในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิ สมาคม ตามสั่งการของที่ประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม ครั้งที่ 2/2561 ที่ให้กองบัญชาการตำรวจสันติบาลร่วมกับประชาคมข่าวกรอง รวบรวมพฤติกรรม ความเคลื่อนไหวของนายเนติวิทย์ฯ ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากสมาคมแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสมาคม ประเภทเยาวชน สาระสำคัญของสำเนาหนังสือนั้นเป็นรายงานตามสั่งการของที่ประชุมข้างต้น พร้อมกับแจ้งการตรวจสอบว่า พฤติการณ์ของนายเนติวิทย์ฯ ไม่เหมาะสมหรือขัดต่อคุณสมบัติที่ดีที่จะเป็นกรรมการสมาคมฯ ข้อมูลของนายเนติวิทย์ฯ ดังกล่าวจัดประเภทเป็นข้อมูลส่วนบุคคลในครอบครองของหน่วยงานรัฐ ที่ทำเพื่อการใช้งานราชการ ฉะนั้น วิธีดำเนินการต่อข้อมูลเหล่านี้จึงเกี่ยวข้องกับระเบียบราชการว่าด้วยสิ่งที่เป็นความลับของราชการ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 รวมถึงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เมื่อมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ เป็นต้น ด้วยเหตุที่เคยเกิดขึ้นจึงสมควรนำมาพิจารณาเกี่ยวกับการรองรับหรือสอดคล้องต่อกันระหว่างกฏหมาย ระเบียบกับวิธีปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ          …

การบ่อนทำลายสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร

Loading

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 ให้ความหมายคำว่า “การบ่อนทำลาย” (subversion) คือ การกระทำใด ๆ ที่มุ่งก่อให้เกิดความแตกแยก ความปั่นป่วน ความกระด้างกระเดื่อง อันจะนำไปสู่ความไม่สงบ หรือความอ่อนแอภายในชาติ หรือต่อสภาพทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา หรือทางใดทางหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือล้มล้างสถาบันการปกครองของประเทศ หรือเพื่อทำลายความจงรักภักดีของประชาชนในชาติต่อสถาบันของชาติ หรือเพื่อประโยชน์แก่รัฐต่างประเทศ  การบ่อนทำลายนับเป็นกลวิธีที่สามารถนำมาใช้กับเป้าหมายพื้นฐานทุกกลุ่มของประเทศได้  โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อทำลายความเป็นรัฐ หรือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือทำลายสถาบันแห่งชาติ เดิมการบ่อนทำลายเป็นยุทธวิธีที่ต้องดำเนินการอย่างปิดบังในพื้นที่ควบคุมของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมาย การบ่อนทำลายจึงเป็นการดำเนินการที่จะมีเพียงผู้ให้การสนับสนุนกับผู้ปฏิบัติที่ได้ทราบถึงภารกิจ  เพราะเป็นภารกิจที่เสี่ยงภัยอันตรายจนอาจถึงชีวิตของผู้ปฏิบัติ ซึ่งต้องจำกัดการรับทราบได้เท่าที่จำเป็น  เนื่องจากการแฝงเข้าไปค้นหาจุดอ่อนของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมาย ทั้งที่ฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมายอาจมีความเข้มแข็งเท่าเทียมกันหรือสูงกว่า ต่อเมื่อการเข้าไปสร้างความอ่อนแอ แตกแยกจนประสบผลแล้ว จึงจะดำเนินการทำลายอำนาจของฝ่ายที่ตกเป็นเป้าหมายให้สูญสลาย  วิธีการบ่อนทำลายนี้อาจไม่ทำลายหรือส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้าง หรือทำให้สูญเสียชีวิต เช่น วิธีการต่อสู้อื่นเหมือนอย่างการก่อวินาศกรรม หรือการก่อการร้าย หรือการทำสงครามสู้รบ การบ่อนทำลายเป็นวิธีที่ยากต่อการป้องกันหรือแม้แต่การวางมาตรการป้องปราม เพราะเป็นการสร้างหรือนำอคติของมนุษย์ที่มีต่อกันมาเป็นแนวทางในการทำลายหรือทำร้ายระหว่างกัน  ซึ่งเป็นกลวิธีที่ใช้มานับแต่สมัยพุทธกาล จะเห็นได้จากคำสอนเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ซึ่งเล่าถึงกลวิธีเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม  เริ่มจากความต้องการขยายดินแดนและนำไปสู่การสู้รบระหว่างแคว้นโบราณ 2 แคว้นในอินเดีย คือ แคว้นมคธกับแคว้นวัชชี ที่ต่างไม่ประสบผลแพ้-ชนะต่อกัน  ฝ่ายแคว้นมคธจึงใช้วิธีบ่อนทำลายแคว้นวัชชี ด้วยการทำอุบายส่งวัสสการพราหมณ์ ปุโรหิตแห่งแคว้นมคธ เข้าไปยุยงให้กลุ่มกษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี แตกความสามัคคีจนแคว้นวัชชีอ่อนแอลง  แคว้นมคธจึงส่งกองทัพเข้ายึดครองได้สำเร็จ การทำการบ่อนทำลายจำเป็นต้องอาสัยสภาพพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำเนินการ  เริ่มจากสภาพทางการเมืองภายในประเทศ…

กรณีสหรัฐสั่งปิดสถานกงสุลจีนที่เมืองฮิวสตัน

Loading

จากเหตุการณ์เมื่อ 21 กรกฎาคม 2563 (เวลาท้องถิ่น) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สั่งปิดสถานกงสุลจีนประจำเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐฯ ภายในวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563 รวมเป็นเวลา 72 ชั่วโมงที่เจ้าหน้าที่จีนทั้งหมดพร้อมทรัพย์สินทุกประเภทจะถูกขนย้ายออกจากที่ตั้งของสถานกงสุลจีนดังกล่าว  เช่นนี้เมื่อ 22 กรกฎาคม 2563 ปรากฎกลุ่มควันจากภายในพื้นที่ตั้งอาคารสถานกงสุลจีน ซึ่งประเมินว่า กลุ่มควันนี้น่าจะมาจากการเผาเอกสารของเจ้าหน้าที่จีน  เพราะในแต่ละหน่วยงานรัฐที่ตั้งอยู่นอกดินแดน ต่างต้องมีแผนการปฏิบัติเพื่อปกป้อง ดูแลรักษา และคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครอง โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับภาวะฉุกเฉินหรือการสุ่มเสี่ยงต่อภยันตรายและกระทบผลประโยชน์ของชาติ เหตุที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะเป็นไปตามแผนการปฏิบัติต่อทรัพย์สินในครอบครอง โดยเป็นการทำลายทรัพย์สินบางส่วนที่เป็นภาระในการเคลื่อนย้ายหรือง่ายต่อการสูญหายขณะเคลื่อนย้าย เช่น เอกสาร สื่อต่างๆ ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลข่าวสาร และการทำลายจึงมักใช้วิธีเผาไฟ เนื่องจากเป็นวิธีทำลายที่ให้ผลดีที่สุดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะนำไปกู้สภาพคืนได้ยาก  ตัวอย่างเช่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากกองทัพญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐฯ ที่เพิร์ลฮาเบอร์ รัฐฮาวาย สหรัฐฯ เมื่อ 7 ธันวาคม 2484  หน่วยงานรัฐประจำในสหรัฐฯ ของญี่ปุ่น ทำการเผาทำลายเอกสาร และสื่อจัดเก็บข้อมูลทุกประเภท เป็นต้น หากนำมาพิจารณากับระเบียบราชการของไทยด้านมาตรการรักษาสิ่งที่เป็นความลับและการรักษาความปลอดภัยของทางราชการแล้ว  กรณีที่แต่ละหน่วยงานรัฐของไทยต้องเผชิญภาวะเช่นเดียวหรือคล้ายคลึงกับกรณีสถานกงสุลจีนที่เมืองฮิวสตัน…

กรณีเอกสารลับขององค์กรอิสระถูกนำไปเปิดเผยสาธารณะ

Loading

ด้วยเหตุที่ต้องดูแล คุ้มครอง และป้องกันข้อมูลข่าวสารในครอบครองของทางราชการโดยเฉพาะที่กำหนดชั้นความลับหรือสำคัญ ให้มีความปลอดภัย ไม่รั่วไหลไปสู่ผู้ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือถูกนำออกไปเปิดเผยสาธารณะก่อนเวลาอันสมควร ทางราชการจึงกำหนดระเบียบสำหรับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐอื่นให้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ จึงมีการกำหนดระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ซึ่งประกาศใช้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ.2540 ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติขึ้น แต่ด้วยความหลากหลายของหน่วยงานรัฐและองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามสภาพการปรับเปลี่ยนในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ส่งผลให้ระเบียบราชการตามกล่าวข้างต้น ซึ่งได้ประกาศใช้มาก่อนนั้น ไม่ครอบคลุมหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นใหม่และเกิดความไม่ชัดเจนในการถือปฏิบัติตามระเบียบนั้นๆ อย่างเช่น หน่วยงานของรัฐตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ไม่ได้ระบุถึงองค์กรอิสระที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เป็นต้น เมื่อนำกรณีสำนวนสืบสวนการกู้ยืมเงินของพรรคอนาคตใหม่ถูกนำไปเปิดเผยต่อสาธารณะ และเป็นเอกสารกำหนดชั้นความลับของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จึงเป็นที่สังเกตเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติต่อเอกสารในครอบครองของสำนักงาน กกต. เนื่องจาก สำนักงาน กกต. มีหน้าที่รับผิดชอบ ครอบครองและดูแลรักษาเอกสารที่มีความสำคัญหลายประเภทและมีจำนวนมาก แต่ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบ ข้อกำหนด หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการที่แสดงไว้ใน www.ect.go.th/ect_th/ ซึ่งเป็นเพจเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ สำนักงาน กกต. พบระเบียบภายในเกี่ยวกับการจัดการเอกสารเพียงระเบียบเดียว คือ ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเก็บรักษาและการทําลายเอกสาร พ.ศ.2552 โดยตามเนื้อหาของระเบียบ กกต. นั้น พิจารณาได้ว่า เป็นการจัดการด้านธุรการพื้นฐานและไม่ได้ระบุถึงการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ ระเบียบ กกต.…