เมื่อสมาชิกราชวงศ์อังกฤษระดับสูง ต้องขึ้นศาลครั้งแรกในรอบ 130 ปี เจ้าชายแฮร์รีเบิกความกรณี ‘ข้อมูลลับ’ หลุด

Loading

  หนึ่งในประเด็นใหญ่หน้าสื่อหลายวันที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น ‘การฟ้องร้องของเจ้าชายแฮร์รี (Prince Harry) ดยุกแห่งซัสเซกส์ (Duke of Sussex) ต่อหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ในสหราชอาณาจักร ‘มิร์เรอร์’ (Mirror) หลังให้เหตุผลว่า ต้องการทวงคืนความยุติธรรมให้ตนเอง และเมแกน มาร์เคิล (Meghan Markle) ดัสเชสแห่งซัสเซกส์ (Duchess of Sussex) หรือภรรยาของเขา ซึ่งปรากฏการณ์นี้นับเป็นครั้งแรกในรอบ 130 ปี ที่สมาชิกราชวงศ์ระดับสูงแห่งอังกฤษให้ปากคำการพิจารณาคดีตั้งแต่ศตวรรษที่ 19   เพื่อติดตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น The Momentum จึงสรุปและรวบรวมข้อมูลเรื่องราวการยื่นฟ้องของเจ้าชายแฮร์รีต่อมิร์เรอร์ดังต่อไปนี้   มูลเหตุที่เจ้าชายแฮร์รีถึงฟ้องมิร์เรอร์?   เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา เจ้าชายแฮร์รีปรากฏตัวที่ศาลสูงของประเทศอังกฤษ ในฐานะพยานเพื่อยื่นฟ้องต่อ ‘มิร์เรอร์กรุ๊ป’ (Mirror Group) บริษัทใหญ่เจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือ Daily Mirror, Sunday Mirror และ Sunday People ด้วยข้อหา ‘การแฮ็กข้อมูลทางโทรศัพท์’…

เทคโนโลยี ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ คืออะไร และทำไมเกาหลีเหนือถึงพยายามเร่งพัฒนาอย่างหนัก

Loading

    เมื่อไม่นานมานี้ เกาหลีเหนือเพิ่งทดสอบขีปนาวุธวิถีโค้งข้ามทวีป (ICBM) ที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการใช้เชื้อเพลิงลักษณะนี้กับจรวดขีปนาวุธพิสัยไกล และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพิ่มศักยภาพทางการรบของกรุงเปียงยางด้วยความสามารถเตรียมตัวยิงภายในระยะเวลาอันสั้น   แต่ ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ ที่ว่านี้ คืออะไร แล้วทำไมเกาหลีเหนือถึงเร่งพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวมาเสริมโครงการขีปนาวุธของตน   เทคโนโลยี ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ คืออะไร   โดยหลัก ๆ แล้ว เทคโนโลยีเชื้อเพลิงแข็ง คือ การผสมเชื้อเพลิงและตัวออกซิไดเซอร์ หรือสารตัวให้ออกซิเจน เข้าด้วยกัน โดย ผงโลหะ เช่น อะลูมิเนียม มักถูกใช้เป็นเชื้อเพลิง และแอมโมเนียม เปอร์คลอเรต ก็เป็นตัวออกซิไดเซอร์ที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด   เชื้อเพลิงและตัวออกซิไดเซอร์จะถูกผนวกเข้ากันด้วยวัสดุยางแข็งและบรรจุอยู่ในปลอกโลหะ เมื่อจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งเผาไหม้ ออกซิเจนจากแอมโมเนียม เปอร์คลอเรตจะรวมเข้ากับอะลูมิเนียมเพื่อผลิตพลังงานมหาศาลและอุณหภูมิมากกว่า 2,760 องศาเซลเซียส ที่สร้างแรงขับและส่งให้ขีปนาวุธออกจากแท่นยิงได้   ใครมีเทคโนโลยีนี้อยู่ในมือบ้าง     จีนคือผู้ที่คิดค้นเทคโนโลยีเชื้อเพลิงแข็งมาตั้งแต่เมื่อหลายศตวรรษก่อน เพื่อใช้กับดอกไม้ไฟ และก่อนจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ด้วยงานพัฒนาของฝั่งสหรัฐฯ   ในแง่การใช้งานกับขีปนาวุธนั้น สหภาพโซเวียตยิงขีปนาวุธข้ามทวีป…

การโจมตี ‘แรนซัมแวร์’ ยังคงมีช่องทางให้เติบโต

Loading

  แรนซัมแวร์ยังไม่มีทีท่าจะถึงจุดต่ำสุดและอาจพุ่งทะลุเพดานทางทฤษฎีในเร็ววันนี้ หากมีกรณีการบุกโจมตีระบบขององค์กร ตัวการที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ แรนซัมแวร์   ในช่วงนี้ถือได้ว่า “แรนซัมแวร์” ได้ออกปฏิบัติการ เปิดการโจมตีในทั่วทุกมุมโลก เห็นได้จากรายงานเรื่องการละเมิดข้อมูลประจำปีล่าสุดของ Verizon ที่แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ช่องโหว่ Log4j ในการโจรกรรมทางดิจิทัล โดยบุคลากรขององค์กรเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์   ในรายงานของ Verizon เปิดเผยตัวเลขเหตุการณ์การโจรกรรรมซึ่งมีสูงถึง 16,000 ครั้งในปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการละเมิดข้อมูลมากกว่า 5,000 ครั้ง ตั้งแต่ พ.ย.2021 ถึง ต.ค. 2022   มีมากกว่า 15,000 เหตุการณ์ หรือประมาณ 42% เป็นการโจมตีแบบ DDoS ที่เข้ามาขัดขวางบริการหรือรบกวนการเข้าถึงเว็บไซต์และระบบอื่นๆ ที่ดำเนินการอยู่โดยการโจมตี DDoS นั้นรุนแรงขึ้นและได้ทำลายสถิติ สังเกตได้จากการที่แฮกเกอร์สามารถเจาะระบบหรือใช้บ็อตเน็ตโจมตี   บริษัทข่าวกรองด้านภัยคุกคามและความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เปิดเผยข้อมูลภายในที่มีการรวบรวมจากลูกค้าและการตอบสนองต่อเหตุการณ์การโจมตีที่เกิดว่า การโจมตีแรนซัมแวร์ลดลงในปี 2565 ก่อนที่จะกลับมาพุ่งสูงขึ้นใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566   สอดคล้องกับข้อมูลของ Verizon ที่รายงานว่า แรนซัมแวร์เกิดขึ้นอยู่ที่ 24%…

สร้างสมดุลให้โลกดิจิทัล

Loading

    ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเคยชินกับการใช้ชีวิตคู่ขนานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และชีวิตในโลกดิจิทัลสลับกันไปมาอย่างคุ้นเคย ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานในโลกจริงมาทั้งวันแต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลก็ทำได้อย่างไร้รอยต่อ   เพราะเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นในการใช้งานในด้านธุรกิจและสถาบันการศึกษา เมื่อมาถึงยุคโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   แต่ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกยังมีให้เราเห็นและก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในการใช้งานโดยเฉพาะด้านการดูแลสินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรามักจะเข้มงวดมาก   ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากที่ต้องคิดให้ดีว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใด เพราะปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น การคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เราจะเอาเงินไปฝากไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   นอกเหนือจากนั้นก็ยังต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม รวมไปถึงของมีค่าอื่นๆ ที่ต้องคิดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก การเก็บรักษาจึงมักกระจายทั้งเก็บไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน รวมไปถึงบ้านพ่อแม่ ฯลฯ   หรือไม่ก็เก็บไว้ในตู้เซฟที่สถาบันการเงินต่างๆ มีไว้ให้บริการซึ่งก็จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกันว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือบริษัทอื่นใด จะเลือกใช้บริการที่สาขาไหนระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยที่ใกล้บ้าน   เราจะเห็นความเข้มงวดในการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่สวนทางกับโลกดิจิทัลโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับคนทั่วไปแล้วมักจะมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ต่ำกว่าโลกแห่งความเป็นจริงมาก   อาจเป็นเพราะเราเห็นแก่ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานจนมองข้ามความปลอดภัยจนทำให้เราขาดสมดุลในการใช้งานระหว่างโลกทั้งสองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วระบบการจัดการสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก แต่เรากลับมองข้ามไปและสนใจแต่ความสะดวกที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น   ที่สุดแล้วเราจึงมักจะให้ข้อมูลและสิทธิในการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเรากับระบบดิจิทัลมากเกินความจำเป็น จนหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์แก่เราอยู่ในทุกวันนี้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จำนวนมหาศาล และเมื่อบริหารจัดการไม่เหมาะสมก็อาจมีข้อมูลหลุดรั่วออกมาตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ   ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเหล่านี้มีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ไปจนถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมซึ่งก็คือรอยเท้าดิจิทัลที่เก็บบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าเราเข้าไปที่เว็บใด สนใจเนื้อหาแบบไหน…

ChatGPT ความเสี่ยงจาก การสร้างเนื้อหาที่ผิดพลาด

Loading

    ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม   ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเราจะเห็นความน่าทึ่งจากความสามารถของ ChatGPT ในการสร้างข้อมูล   แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ยังพบว่า ChatGPT อาจจินตนาการและสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาได้ด้วย จนเริ่มมีคำถามว่าเราควรจะอนุญาตให้มีการใช้ ChatGPT ในงานด้านต่างๆ เพียงใด และหากมีการนำมาใช้งานจำเป็นจะต้องระบุด้วยหรือไม่ว่าเนื้อหาถูกสร้างจาก ChatGPT   เหตุผลหลักที่ทำให้ ChatGPT สร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้นั้น เกิดจากการที่ ChatGPT ได้รับการเรียนรู้มาด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต ที่อาจประกอบไปด้วยข้อมูลทั้งที่ถูกต้อง และที่ไม่ถูกต้อง ซึ่ง ChatGPT ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่มันจะสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกมาในบางครั้งจากคลังความรู้ที่ผิดๆ บางส่วน   นอกจากนี้ ChatGPT ถูกฝึกอบรมมาจากข้อมูลถึงเมื่อเดือนกันยายน…

เรื่องต้องรู้? “ประชุมออนไลน์” ต้องมี 7 องค์ประกอบที่ ก.ม. รองรับ!

Loading

    กำลังเป็นประเด็นร้อนของสังคม อย่างมากสำหรับกรณี คลิปการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ของ ไอทีวี เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 66 กับรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น   กำลังเป็นประเด็นร้อนของสังคม อย่างมากสำหรับกรณี คลิปการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ของ ไอทีวี เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 66 กับรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ในประเด็นที่ว่า ไอทีวี ยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับสื่อหรือไม่ ที่พบว่า การตอบคำถามสถานะบริษัทเรื่องธุรกิจสื่อ กลับพบคำตอบไม่ตรงกับเอกสารรายงานการประชุม   โดย รายการ “ข่าว 3 มิติ” นำมาเปิดเผยที่แรก จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และมีการตั้งข้อสังเกตว่า มีการแก้ไขรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่   ซึ่งการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ของ ไอทีวี เป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า การประชุมออนไลน์ หรือ อี-มีทติ้ง (e-Meeting)   วันนี้พามารู้จักกันว่า…