ระบบตรวจจับสึนามิใหม่ของ NASA รู้ว่าจะเกิดก่อน 1 ชั่วโมง !!

Loading

    GUARDIAN ระบบจับคลื่นสัญญาณการเกิดสึนามิของ NASA สามารถช่วยให้เรารู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดสึนามิขึ้นก่อน 1 ชั่วโมง   คลื่นยักษ์ “สึนามิ” ถือเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่น่ากลัวและอันตรายที่สุดของโลก โดยเฉพาะเมืองหรือผู้คนที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่ง หากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้น มีโอกาสที่สึนามิจะเกิดขึ้นมาได้มาก โดยเฉพาะหากแผ่นดินไหวนั้นเกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลหรือภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิด และที่น่ากลัวที่สุดคือ ปัจจุบันเทคโนโลยีของมนุษย์รับรู้ว่าสึนามิกำลังเกิดขึ้นได้เร็วที่สุดเพียงไม่กี่วินาทีหลังเกิดสึนามิขึ้นมาแล้ว ซึ่งทำให้การเตรียมตัวในการอพยพผู้คนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยนั้นทำได้ยากและล่าช้า   GUARDIAN ระบบเตือนสึนามิของ NASA   GUARDIAN หรือ GNSS Upper Atmospheric Disaster Information and Alert Network คือ ระบบเตือนสึนามิ ที่พัฒนาโดยหน่วยงาน Jet Propulsion Laboratory (JPL) ของ NASA ความพิเศษของระบบนี้คือการที่มันใช้ “ข้อมูลจากดาวเทียม และ GPS รอบโลก” ในการตรวจสอบว่า “สึนามิกำลังจะเกิดขึ้นจริงไหม ?”   การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมและ GPS นี้…

ScamTok ระวังภัยมืดบน TikTok ในรูปแบบ TikTok Scam

Loading

    ScamTok ระวังภัยมืดบน TikTok ซึ่งเกิดขึ้นใกล้ตัวคุณตลอดเวลาที่ชมคลิป ด้วย TikTok ติดอันดับแอปโซเชียลที่โตไวที่สุดในยุคปัจจุบันนี้ ด้วยผู้ใช้หนึ่งพันล้านคนทั่วโลกในเวลาไม่ถึงทศวรรษ โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการดูคลิป TikTok เป็นประจำ อย่างไรก็ตามด้วยความนิยมของคลิป TikTok มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย มิจฉาชีพก็แอบแฝงอยู่ใน TikTok ด้วย ดำเนินการโจมตีทาง Social Engineering ในรูปแบบต่าง ๆ นั่นคือ TikTok Scam หรือเรียกสั้นๆว่า ScamTok ต่อไปนี้คือวิธีสังเกตและป้องกันภัยหลอกลวงของ TikTok   ScamTok ระวังภัยมืดบน TikTok ในรูปแบบ Tiktok Scam  รวมรูปแบบภัยหลอกลวง ScamTok หรือ TikTok Scam จากมิจฉาชีพบน TikTok มีดังนี้   1. ช่องทางรวยสบายรวดเร็วทันใจ พวกมิจฉาชีพใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมอินฟลูเอนเซอร์ที่กำลังเติบโตของ TikTok เพื่อส่งเสริมแผนการช่องทางรวยทันใจ ช่องอาชีพรุ่นใหม่รวยเร็ว โดยสแกมเมอร์ใช้ประโยชน์จากแนวโน้มเพื่อสร้างข้อเสนอทางธุรกิจที่ดูเหมือนจะมีกำไรแต่ไร้จุดหมาย พวกเขามาจากกูรูตัวปลอมที่แนะนำให้ผู้ชมส่งต่อเนื้อหาที่สร้างโดย…

เมื่อเบอร์มือถือ=ตัวตนของเรา

Loading

สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้     ในวันที่โทรศัพท์มือถือไม่ใช่เพียงแค่อุปกรณ์สื่อสารที่ไว้แค่ใช้โทรติดต่อหากันอย่างเดิม หากแต่ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อมต่อไปยังโลกทั้งใบ ผ่านแอปพลิเคชันและช่องทางโซเชียลมีเดีย ขณะเดียวกันเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้อยู่นั้น ยังเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสำหรับการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมด้านการเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ด้วยการกรอกรหัส OTP (One Time Password) ที่จะได้รับผ่านทาง SMS โทรศัพท์และเบอร์มือถือจึงเป็นเสมือนเครื่องมือยืนยันตัวตนในยุคดิจิทัล   เมื่อย้อนเวลาไปในปี 2557 สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ หรือแม้แต่การขอคืนเงินค่าใช้บริการ และยังมีประโยชน์ในมิติเชิงสังคมและความมั่นคงของประเทศในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องนำข้อมูลไปปราบปรามหรือจับกุมผู้กระทำความผิดได้   และต่อมาเมื่อปี 2562 สำนักงาน กสทช. ได้ยกระดับการลงทะเบียนซิมการ์ดโดยให้มีการพิสูจน์ยืนยันตัวตนด้วยอัตลักษณ์ (Biometric) เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างหรือสวมสิทธิ์ในการลงทะเบียนซิมการ์ดอันอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ใช้บริการตลอดจนปัญหาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ   อย่างไรก็ตาม การเติบโตของการใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นจากช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัย ก็มาพร้อมกับภัยที่มิจฉาชีพปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกลวงให้ทันสมัยเช่นกัน กสทช. จึงได้กำหนดนโยบายจัดระเบียบการลงทะเบียนซิมการ์ดเพิ่มเติม โดยหากกรณีที่ประชาชนต้องการใช้ซิมการ์ดมากกว่า 5 เบอร์ต่อ…

ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า พร้อมวิธีป้องกัน

Loading

    ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps เชื่อว่าหลายท่านใช้ Google Maps ในช่วงระหว่างเดินทาง หาร้านค้าเด็ด สถานที่โดนๆ เนื่องด้วยความนิยมของข้อมูล Google Maps ที่ใช้งานฟรี ให้ข้อมูลฟรีแบบนี้ กลายเป็นเป้าหมายหลักของมิจฉาชีพ กับการโกงด้านข้อมูลบน Google Maps ที่เรียกว่า Google Maps Scam มาดูกันว่าสิ่งที่ต้องระวังและลักษณะการโกงบน Google Maps มีอะไรบ้าง ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า   นี่คือตัวอย่างกลโกง 5 ข้อ ที่พบบน Google Maps ดังนี้   จ่ายเงินเพื่อเสนอรายชื่อใน Google Maps ให้โดดเด่นขึ้น   รายชื่อบน Google Maps ค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับทุกธุรกิจ ช่วยให้ลูกค้าค้นพบธุรกิจและรู้ว่าจะเข้าถึงพวกเขาเมื่อใดและอย่างไร มิจฉาชีพจึงหาทางเข้าหาเหยื่อโดยอุบายให้เสนอรายชื่อบน Google Maps และบางครั้งก็เสนอตำแหน่งที่โดดเด่น…

10 เทรนด์เทคโนโลยีองค์กรรัฐไฮเทค ปี 2566

Loading

    การ์ทเนอร์เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญต่อภาครัฐ ประจำปี 2566 กระตุ้นผู้บริหารไอที (CIO) ใช้ทุกเทรนด์ปรับองค์กรรัฐให้ทันสมัย (Modernization) มีข้อมูลเชิงลึก (Insights) และเปลี่ยนผ่านให้ทันโลก (Transformation) ระบุทั้ง 10 แนวโน้มเป็นแนวทางให้ผู้นำองค์กรภาคสาธารณะเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (หรือ Post-Digital Government) และมุ่งที่เป้าหมายของภารกิจทั้งหลายอย่างต่อเนื่อง   นายอาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ผู้บริหาร CIO ภาครัฐควรพิจารณาผลกระทบของแนวโน้มเทคโนโลยีที่มีต่อองค์กร และนำมาปรับใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อพิจารณารูปแบบการลงทุนพร้อมปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำและสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น   “ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังให้โอกาสสำคัญอีกหลายอย่างสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีภาครัฐต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่วๆ ไป ในขณะที่ยังต้องเดินหน้าปรับปรุงการส่งมอบบริการและรับมือกับผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อภารกิจหลัก”   เบื้องต้น การ์ทเนอร์คาดว่าในปี 2568 ราว 75% ของผู้บริหาร CIO ในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัยนอกเหนือจากในส่วนที่เกี่ยวข้องกับไอที ประกอบด้วยเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร การผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัปพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ…

แนวทางบรรเทาปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  ความท้าทายสำคัญในการรับมือกับ ภัยไซเบอร์ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นความท้าทายของทุกประเทศทั่วโลกนั่นคือ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ แม้ว่าจะมีความพยายามแก้ปัญหานี้โดยการเร่งผลิตทรัพยากรบุคคล   เรียกว่าแทบทุกมหาวิทยาลัยจะมีหลักสูตรด้านนี้ รวมถึงศูนย์ฝึกอบรมระยะสั้น ตลอดจนการเรียนผ่าน online ฯลฯ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่ดี จากผลสำรวจของ (ISC)2* พบว่าในปีพ.ศ. 2565 มีตำแหน่งงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ว่าง ยังไม่สามารถหาคนมาลงได้ถึง 3.4 ล้านตำแหน่งทั่วโลก   ความท้าทายนี้เริ่มตั้งแต่การสรรหา การพัฒนา ตลอดจนการรักษาบุคลากรที่มีประสบการณ์ให้ทำงานอยู่กับเรา สู้กับการแย่งชิงตัวพนักงาน ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงขึ้นอย่างมาก   นอกจากนี้ปัญหาที่แทรกซ้อนขึ้นมาคือ แม้จะมีความก้าวหน้าของเครื่องมือและเทคโนโลยีด้านการป้องกันภัยไซเบอร์ แต่หากเราไม่สามารถสรรหาบุคลากรเก่ง ๆ มาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ การลงทุนนั้นก็ไม่คุ้มค่าและไม่สามารถลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ลงไปได้   ผลของการขาดแคลนบุคลากร ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ตกอยู่ในความเสี่ยง และกำลังเดินเข้าสู่วังวนแห่งหายนะ (vicious cycle) กล่าวคือ เมื่อมีบุคลากรไม่เพียงพอ ทำให้บุคลกรที่มีอยู่ต้องรับภาระทำงานยาวขึ้นในแต่ละวัน ไม่สามารถหาวันลาพักผ่อนหรือวันหยุดได้   ประกอบกับภัยคุกคามที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นแรงกดดันให้เกิดภาวะ burnout หมดพลัง หมดไฟ และหมดแรงจูงใจให้สู้กับงาน จึงทยอยลาออกจากงานไป…