กูเกิลเปิดตัว Google Cloud Security AI Workbench สู้ co-pilot ของไมโครซอฟท์ที่ใช้ GPT-4

Loading

    ในสนามสงครามธุรกิจคลาวด์ ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ Generative AI สามารถนำมาใช้งานเพื่อให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมได้ในเวลาสั้นลง เหมือนมี AI เป็นผู้ช่วย ซึ่งไมโครซอฟท์ ก็ได้นำเอนจิ้น GPT มาใช้งานกับ Microsoft Azure คลาวด์ของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   แน่นอนว่า กูเกิลก็ไม่สามารถอยู่เฉยได้ ล่าสุดในงาน RSA Conference 2023 กูเกิลได้เปิดตัว Google Cloud Security AI Workbench เป็นแพลตฟอร์มใช้สำหรับงานความปลอดภัยไซเบอร์โดยเฉพาะ โดยใช้พลังจาก Sec-PaLM ระบบโมเดลภาษาขนาดใหญ่ ที่สร้างมาเพื่อทำงานเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์   ตัวอย่างหนึ่งที่กูเกิลยกมาคือ ระบบ VirusTotal Code Insight ช่วยให้วิศวกรความปลอดภัย สามารถนำเข้าสคริปต์ และวิเคราะห์พฤติกรรมที่เป็นอันตรายได้ หรืออีกระบบคือ Mandiant Breach Analytics แจ้งเตือนผู้ใช้งานอัตโนมัติเมื่อพบพฤติกรรมละเมิด   Security AI Workbench เปิด API…

รู้จัก ‘ตำรวจลับ’ รัฐบาลทหารพม่า เครื่องมืออำมหิตที่ใช้ปราบฝ่ายประชาธิปไตย

Loading

  บทความในอิรวดีพูดถึงบทบาท ‘ตำรวจลับ’ ของเผด็จการพม่าที่ใช้สอดแนม-ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และล่าสุดยุครัฐบาลทหารมินอ่องหล่าย นอกจากเครือข่ายที่ใช้จับตาความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านเผด็จการพลัดถิ่นที่อยู่ในไทยแล้ว ยังพบว่าผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและปฏิรูปการเมืองช่วงรัฐบาลเต็งเส่ง ก็ยังกลายเป็นผู้ให้ข้อมูลกับตำรวจลับพม่าอีกด้วย   เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่เชี่ยวชาญประเด็นพม่าเขียนบทความเผยแพร่ในอิรวดี เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา พูดถึงการที่เผด็จการพม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้ “ตำรวจลับ” เพื่อคอยสอดแนมและปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งในประนอกประเทศ รวมถึงมีตำรวจลับเหล่านี้ในประเทศไทยด้วย แต่เผด็จการในยุคต่างๆ ก็มีการกวาดล้างเหล่าตำรวจลับพวกนี้เองและตั้งหน่วยใหม่ในชื่อใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ยุคของเนวิน มาจนถึงเผด็จการมินอ่องหล่ายในปัจจุบัน   โดยเผด็จการเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมี “ตำรวจลับ” เอาไว้ใช้งานเพื่อที่จะคงอยู่ในอำนาจได้ และยิ่งตำรวจลับเหล่านี้ มีความโหดเหี้ยมอำมหิตมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลดีกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น พวกนาซีเคยมีตำรวจลับชื่อหน่วยเกสตาโป ชาห์แห่งอิหร่านเคยอาศัยหน่วยซาวัคเป็นตำรวจลับและหน่วยข่าวกรอง เผด็จการแห่งโรมาเนีย นิโคแล โจเชสกู มี “กรมความมั่นคงแห่งรัฐ” ส่วนนายพลพม่านั้นมีหน่วยข่าวกรองของตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหลายชื่อในช่วงเวลาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเสาหลักทางอำนาจให้กับรัฐเผด็จการทหาร   แต่ด้วยความที่ว่า หน่วยตำรวจลับของพม่านั้นมีลักษณะปกปิดเป็นความลับ ทำให้มีอยู่อย่างน้อยสองครั้งที่หน่วยงานข่าวกรองกองทัพพม่าเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบรัฐซ้อนรัฐ ซึ่งกลายเป็นภัยต่อระเบียบรัฐแบบดั้งเดิม ทำให้มีการกวาดล้างผู้นำของตำรวจลับบางส่วนโดยมีการลงโทษคุมขังพวกเขาเป็นเวลายาวนาน   เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเผด็จการพม่าเริ่มหันมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจลับมีความจงรักภักดีต่อพวกเขาโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ นั่นกลายเป็นสาเหตุที่มินอ่องหล่าย ผู้นำระดับสูงของกองทัพและผู้นำเผด็จการทหารยุคปัจจุบัน ได้ให้ผู้นำระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเผด็จการคนก่อนๆ   พล.ท.เยวินอู ผู้ที่เป็นประธานของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักงานแห่งกิจการความมั่นคงเสนาธิการทหาร…

กฎหมายกับการกำกับธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

    “Platform economy” หรือ เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมากได้ ดังนั้น กฎหมายเพื่อควบคุมและดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงมีเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน   ผู้เขียนจึงข้อหยิบยกเนื้อหาบางส่วนของกฎหมายฉบับนี้ มาอธิบายให้ฟัง   ที่มาของกฎหมาย   ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีการตรา พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 (พ.ร.ฎ. แพลตฟอร์มดิจิทัล) โดยเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กำหนด “สิทธิ” ให้บุคคล “สามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ได้   หากภาครัฐเห็นว่า การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นว่านั้น อาจกระทบกับความมั่นคงทางการเงิน การพาณิชย์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับประชาชน ก็สามารถตรากฎหมาย เพื่อกำหนดให้การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ   แจ้งให้หน่วยงานใดทราบ?   กฎหมายกำหนดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลต้องแจ้งให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี หากเป็นผู้ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ใช้บังคับ ให้มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายภายใน 90…

Flipper Zero ทามาก็อตจิ๋ว ปลอมแปลงบัตร-คีย์การ์ด แฮ็กข้อมูลได้ อันตรายแค่ไหน

Loading

  Flipper Zero อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เหมือนของเล่นที่ต้องระวัง เนื่องจากอาจทำให้มิจฉาชีพสามารถปลอมแปลงบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต หรือคีย์การ์ดได้ ซึ่งเป็นไวรัลใน TikTok ที่ Flipper Zero สามารถปลดล็อกได้แม้กระทั่งรถ Tesla   Flipper Zero ได้เป็นไวรัลใน TikTok มากมาย Flipper Zero มีรูปร่างหน้าตาเหมือนทามาก็อตหรือของเล่นวัยเด็กที่เราคุ้นเคยกัน ซึ่งอุปกรณ์นี้ได้เคยเปิดระดมทุนใน Kickstarter.com ไปก่อนหน้านี้   ซึ่งทางผู้ผลิตได้โพสต์วีดีโอเกี่ยวกับ Flipper Zero ว่าทำอะไรได้บ้าง โซเชียลถึงกับตะลึง เพราะอุปกรณ์จิ๋วที่ดูเหมือนทามาก็อต กลับทำได้หลากหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น โคลนคีย์การ์ดเข้าห้องโรงแรม, โคลนกุญแจเปิดรถ, โคลนรีโมททีวีหรือแอร์ ทั้งหมดนี้ทำได้ด้วยทามาก็อตจิ๋วๆ หนึ่งอัน     Flipper Zero อันตรายแค่ไหนกัน?   ผู้เชี่ยวชาญยังพูดถึงอุปกรณ์นี้ว่าไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ซึ่งมีอุปกรณ์ที่คล้ายกับ Flipper Zero วางขายในร้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มานานแล้ว และได้พูดถึงวีดีโอการโชว์ปลดล็อกต่างๆ หรือการแฮ็ก ว่าไม่ได้ใช้เพียงอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวแต่ต้องใช้ความรู้พอสมควร    …

ความมั่นคงปลอดภัย “ไซเบอร์ของไทย” ต้องมีความเป็นอิสระ…ไม่พึ่งใคร

Loading

    เมื่อเร็วๆ นี้มีคนร้ายเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทั่วไป (Hacker) โดยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวประกอบไปด้วย เลขบัตรประจำตัวประชาชน, ชื่อ-นามสกุล, วัน เดือน ปีเกิด, ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ และพบมีการโพสต์จำหน่ายข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายการ ต่อมาทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนจนทราบว่าแฮ็กเกอร์ผู้ก่อเหตุที่ใช้ชื่อ 9near นั้นเป็นจ่าทหาร จ.ส.ท.เขมรัฐ บุญช่วย ทหารสังกัดกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) ล่าสุดผู้ต้องหารายนี้ได้มอบตัวต่อกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผู้ก่อเหตุยังไม่ได้นำข้อมูลไปขายหรือนำไปใช้ เพียงเป็นการนำมาโพสต์เพื่อสร้างกระแสในโซเชียลมีเดีย และเป็นการกระทำส่วนบุคคลเท่านั้นตามที่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ยืนยัน แต่เรื่องนี้ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งสำหรับเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cyber security) ของไทย     ข้อที่น่าสนใจคือ…ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเลือกตั้ง เรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นั้นนำไปสร้างเป็นประเด็นทางการเมืองได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้อันเนื่องมาจากประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก แต่ยังมีความรู้ความเข้าใจต่อ cyber security ไม่มากพอ   ยิ่งไปกว่านั้น…ประเทศของเรายังไม่มียุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่อิสระไม่ขึ้นต่อใคร ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของรัฐ และอดคิดไม่ได้ว่าการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในประเทศหรือกลุ่มอิทธิพลนอกประเทศหรือไม่ ….ในที่สุด การก่ออาชญากรรมไซเบอร์ที่เป็นการกระทำส่วนบุคคลก็อาจกลายเป็นเรื่องของการก่อการร้ายทางไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางได้   การสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต้องมีความเป็นอิสระโดยไม่ขึ้นต่อใคร…

ญี่ปุ่นปรับกระบวนยุทธ์อย่างสำคัญ

Loading

      ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ก่อนจะถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู 2 ลูก โดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้พ่ายแพ้สงครามในที่สุด ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ห้ามมิให้ญี่ปุ่นมีกองทัพทหารเยี่ยงประเทศอื่นใด แต่อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังสามารถมีกองกำลังป้องกันตนเองได้ (Self-defense force) โดยจะต้องปฏิบัติการแค่ภายในอาณาบริเวณ หรือน่านน้ำและน่านอากาศ และบนภาคพื้นดินภายในเขตดินแดนของตนเองเท่านั้น   ญี่ปุ่นจึงตกในสภาพที่อยู่ใต้อาณัติของสหรัฐอเมริกา ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยปริยาย เพราะสหรัฐฯ ได้ตั้งฐานทัพ และกองกำลังอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีนัยของการควบคุมญี่ปุ่นให้อยู่ในร่องในรอยและในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็อ้างตนว่าเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองญี่ปุ่นจากภยันตรายจากภายนอกประเทศด้วย จึงจัดได้ว่าญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรทางด้านการทหารและความมั่นคงอย่างเหนียวแน่น   จริงอยู่ที่ญี่ปุ่นรู้สึกว่ามีความมั่นคงปลอดภัย ก็เพราะมีสหรัฐฯ คอยเป็นโล่ และผู้ปกป้องคุ้มครองภัยให้ แต่ในระยะหลังๆ สหรัฐฯ ที่ทำตนเป็นเสมือนตำรวจโลก ได้มีภารกิจที่หลากหลายไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันก็พยายามเรียกร้องให้ประเทศพันธมิตรต่างๆ มาร่วมแบกภาระ แทนการพึ่งพาจากสหรัฐฯ อย่างเดียวแบบแต่ก่อน และยังขอให้ร่วมมือช่วยเหลือสหรัฐฯ ในโอกาสสำคัญที่จำเป็น ด้วยการร้องให้ประเทศพันธมิตรจัดเพิ่มงบประมาณทางทหาร เสริมสร้างความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ และการขยายและพัฒนากำลังพล อีกทั้งภยันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของโลก ก็มีรูปแบบขึ้นมาใหม่ เช่น การก่อการร้ายสากล และการบ่อนทำลายซึ่งกันและกันทางด้านระบบการสื่อสารทางอวกาศ…